ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 07:56:28 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:42:10 am »

มงคลที่ ๑๑





บำรุงบิดามารดา - ฝ่าเท้ามารดา หนทางพาสู่สวรรค์


        บุคคลใดปฏิบัติชอบในมารดา ในบิดา ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในสาวกของพระตถาคตเจ้า คนเช่นนั้นย่อมได้ บุญมากแท้ เพราะความประพฤติธรรมในมารดาบิดา ในโลกนี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญเขา ครั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

        เครื่องพันธนาการที่คอยเหนี่ยวรั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ติดข้องอยู่ในภพสาม ไม่ใช่เครื่องจองจำที่ใช้เหนี่ยวรั้งนักโทษ แต่เป็นความยินดีในทรัพย์สินเงินทอง และในกามคุณทั้งหลาย หากเราไม่มีสติกำกับให้ดี เท่ากับว่า เราตกอยู่ในที่คุมขังที่แน่นหนาที่สุด ยากที่จะหลุดพ้นออกมาได้ เพราะจะถูกกักขังกันเป็นชั้นๆ เริ่มตั้งแต่ นิริยภูมิ มนุสสภูมิ โลกสวรรค์ แม้กระทั่งพรหมและอรูปพรหม ล้วนตกอยู่ในที่คุมขังทั้งสิ้น  ดังนั้น ควรหมั่นให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ฝึกฝนอบรมใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ  เมื่อความบริสุทธิ์เต็มเปี่ยม จิตจะหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการทั้งปวงและมุ่งสู่พระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขอันเป็นอมตะอย่างแท้จริง


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยขตสูตร ว่า


"มาตริ ปิตริ จาปิ        โย สมฺมาปฏิปชฺชติ

ตถาคเต จ สมฺพุทฺเธ        อถวา ตสฺส สาวเก
พหุญฺจ โส ปสวต        ปุญฺญปิ ตาทิโส นโร ฯ
ตาย ธมฺมจริยาย        มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
อิเธว นํ ปสํสนฺติ        เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ

        บุคคลใดปฏิบัติชอบในมารดา ในบิดา ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในสาวกของพระตถาคตเจ้า คนเช่นนั้นย่อมได้บุญมากแท้ เพราะความประพฤติธรรมในมารดาบิดาในโลกนี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญเขา  ครั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์"


      บิดามารดา ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นทิศเบื้องหน้า ที่เราจะต้องเคารพบูชากราบไหว้ เป็นบุพการีชนที่มีอุปการะต่อเราก่อนใครๆ เป็นบุรพาจารย์ คือ เป็นครูคนแรกของลูกที่สอนให้รู้จักยืน เดิน นั่ง นอน สอนการพูดจา และกิริยามารยาทต่างๆ ท่านเป็นพรหมของลูก คือ มีพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ ได้แก่ มีความเมตตาปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด มีความกรุณาปรานี ไม่หวังสิ่งตอบแทนจากลูก ขอเพียงให้ลูกเติบโตเป็นคนดีของสังคมเท่านั้น ก็พอใจแล้ว  ครั้นลูกประสบความสำเร็จ พ่อแม่ก็เป็นคนแรกที่มีมุทิตาจิต ปลื้มอกปลื้มใจ ที่เห็นลูกเจริญรุ่งเรืองในชีวิตและมีอุเบกขาธรรม มีใจเป็นกลางรักลูกทุกคนเท่ากันหมด


       พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประพฤติตนเป็นแบบอย่างของความเป็นลูกยอดกตัญญูมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ตั้งแต่สมัยเป็นพระมหาชนก แบกมารดาว่ายข้ามมหาสมุทร ๗ วัน ๗ คืน ไม่ยอมปล่อยมารดาทิ้งให้เป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายกลางทะเล  เมื่อเสวยพระชาติเป็นสุวรรณสาม มีพ่อแม่ตาบอดสนิททั้งสองข้าง ท่านก็อุปัฏฐากบำรุงเป็นอย่างดี


        แม้กระทั่งพระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ทรงสามารถประพฤติวัตร คือ ความกตัญญูกตเวทีได้อย่างสมบูรณ์


        *เช่นในสมัยที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นช้างเผือก ที่มีความ กตัญญู มีบริวารถึง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก สามารถปกครองช้างทั้งหมดให้อยู่กันอย่างมีความสุข มารดาของท่านตาบอด ไม่สะดวกในการหาอาหารด้วยตนเอง ในคืนวันหนึ่ง พญาช้างโพธิสัตว์จึงพามารดาไปอยู่ในถ้ำที่เชิงเขาตามลำพัง คอยหาน้ำ หาอาหารมาเลี้ยงดูแลท่านด้วยความกตัญญู 

        ต่อมา พรานป่าคนหนึ่งเข้าไปล่าสัตว์ในป่าใหญ่ เกิด เดินหลงป่าวนอยู่ถึง ๗ วัน ๗ คืน หาทางออกไม่พบ กระทั่งเดินมาพบพญาช้าง พระโพธิสัตว์จึงให้นายพรานนั่งบนหลัง และนำออกจากป่าไป นายพรานเป็นคนอกตัญญู คิดจะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คิดว่าหากกลับไปถึงในเมืองเมื่อไรจะต้องไปกราบทูลพระราชา เผื่อจะได้รับพระราชทานเงินรางวัลบ้าง


        ขณะที่ออกจากป่า นายพรานได้แอบทำเครื่องหมายตามต้นไม้ เมื่อกลับถึงบ้านโดยปลอดภัยแล้ว จึงไปกราบทูลพระราชา บังเอิญในช่วงนั้น ช้างมงคลของพระราชาล้มตายลง พระราชาทรงดีพระทัย รับสั่งให้นายหัตถาจารย์เดินทางเข้าป่าพร้อมกับนายพราน เพื่อที่จะไปนำพญาช้างโพธิสัตว์ มาเป็นช้างมงคลประจำเมือง


        เมื่อพญาช้างเห็นนายหัตถาจารย์ พร้อมกับทหารมากมายเข้ามาในป่าใหญ่ รู้ว่าภัยกำลังจะเกิดขึ้น เพราะอาศัยบุรุษชั่วที่เคยช่วยเหลือไว้ ท่านจึงสอนตนเองว่า ตัวเรานี้เป็นผู้มีกำลังมาก สามารถจะกำจัดช้างได้ตั้ง ๑,๐๐๐ เชือก หากโกรธแล้ว สามารถทำแว่นแคว้นของพระราชาให้ย่อยยับได้ แต่วันนี้ เพื่อรักษาศีล แม้เราจะต้องถูกเขาผูกไว้ที่เสาล่ามช้าง เอาหอกทิ่มแทง เราจะไม่โกรธ จะอดทน เมื่อคิดอย่างนั้น ท่านจึงน้อมศีรษะลงและยืนนิ่งเฉย


         นายหัตถาจารย์เห็นพญาช้าง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลักษณะครบทุกประการ จึงกล่าวด้วยความเมตตาว่า "มานี่แน่ะลูก มาเป็นช้างมงคลของพระราชาเถิด" แล้วขึ้นขี่หลัง นำกลับไปกรุงพาราณสี ฝ่ายมารดาพระโพธิสัตว์ เห็นว่าลูกช้างไม่กลับมาหา ก็นึกเอะใจว่า คงถูกจับตัวไปแล้ว จึงไม่ยอมดื่มน้ำ      ไม่ยอมไปที่ไหนเลย นางคิดถึงลูกมากจึงตั้งใจว่า หากลูกช้าง ไม่กลับมา จะไม่ยอมกินอาหาร


        แม้พระโพธิสัตว์จะได้รับการต้อนรับอย่างดี อยู่ในโรงช้างที่ประพรมด้วยน้ำหอม มีอาหารรสเลิศ แต่ก็คิดถึงมารดาตลอดเวลา ไม่ยอมรับอาหารใดๆ เช่นกัน เมื่อพระราชาทรงทราบข่าว จึงเสด็จมาดูช้างมงคลด้วยพระองค์เอง ทรงอ้อนวอน พระโพธิสัตว์ว่า "ดูก่อนพญาช้างผู้ประเสริฐ เชิญพ่อรับคำข้าวเถิด อย่าได้ผ่ายผอมเลย ราชกิจที่จะต้องทำมีอยู่มากมาย เชิญกินก่อนเถิด"


        พระโพธิสัตว์ได้แผ่กระแสแห่งความเมตตาไปยังพระราชา พลางอธิษฐานจิตพร้อมกับกล่าวเป็นภาษามนุษย์ว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพเจ้ามีแม่ซึ่งตาบอด รอคอยอาหารจากข้าพเจ้า อยู่ในป่า นางอดอาหารมาหลายวัน เมื่อไม่มีผู้นำทาง คงจะสะดุดตอไม้ ตกเหวตายอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นหากปราศจาก มารดา ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้"

        พระราชาทรงสดับเช่นนั้นแล้ว รู้สึกชื่นชมในความกตัญญูของพญาช้าง จึงรับสั่งให้นายหัตถาจารย์ปล่อยพญาช้าง กลับไปหามารดาตามเดิม

        เมื่อพญาช้างหลุดพ้นจากเครื่องผูก ได้รับอิสรภาพแล้ว ก่อนจะออกจากเมือง ได้แสดงทศพิธราชธรรมถวายพระราชา พร้อมเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริพาร จากนั้นก็มุ่งหน้าไปหามารดา ซึ่งรอคอยอยู่ในป่า ท่านได้เลี้ยงดูมารดาซึ่งตาบอดจนตลอดอายุขัย  เมื่อละโลกแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวรรค์


        นี่เป็นตัวอย่างของความกตัญญูกตเวทีของพระบรมศาสดาของเรา ในสมัยที่ยังสร้างบารมีอยู่ เราจะเห็นว่า กี่ภพ  กี่ชาติ ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ หรือสัตว์ก็ตาม พระองค์ได้บำเพ็ญวัตรของผู้มีความกตัญญู บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดาได้อย่างสมบูรณ์ มาในภพชาติสุดท้าย พระองค์ยังเสด็จไปโปรดเทพบุตรพุทธมารดาถึงบนสวรรค์ ให้ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน


        เพราะฉะนั้น ทุกท่านต้องตระหนักถึงคุณธรรมความกตัญญูไว้ให้ดี ต้องหาโอกาสตอบแทนผู้มีพระคุณ บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดาของเราให้ดี ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลใดปฏิบัติชอบในมารดา ย่อมได้บุญมากแท้ ครั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์" คำว่า ปฏิบัติชอบ เราก็รู้หลักกันหมดแล้วว่า ต้องให้ท่านมีศรัทธา ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

        วิธีการที่ควรประพฤติปฏิบัติในแต่ละวัน คือ การแสดงออกทางกายและทางวาจาต่อท่าน จงอย่าดูเบา ทางกายต้องปรนนิบัติท่านให้ดี ทางวาจาต้องมีถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ไม่พูดจาให้ท่านสะเทือนใจ ก่อนนอนก็ให้ก้มกราบ ระลึกถึงคุณของบิดามารดา นั่นคือ หนทางพาสู่สรวงสวรรค์ เพราะเรากำลังกราบเนื้อนาบุญ กราบพระประจำบ้าน ใครที่กราบพ่อกราบแม่ได้ แสดงว่ามีจิตใจสูงมาก ยอมรับคุณธรรมความดีของท่านทั้งตัวและหัวใจ ตัวเราจะเป็นที่รองรับของคุณธรรมความดีทั้งหลาย ดังนั้นให้ทุกท่านบำรุงบิดามารดาให้ดี และประพฤติดีปฏิบัติชอบต่อท่าน ทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่า เป็นอภิชาตบุตร


พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

*มก. สีลวนาคจริยา เล่ม ๗๔ หน้า ๒๓๔

http://www.dmc.tv/page_print.php?p=/mongkol02-60.html