ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 07:56:58 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:57:03 am »

สาธุครับ


 :07: :07: :07:

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:47:39 am »

ฝ่ายชนนีของมาณพหนุ่มนั้น ครั้นได้ฟังวาจาของปิยบุตรสุดที่รักบอกว่าจักใคร่ไปทำงานเพื่อหวังความก้าวหน้า จะกล่าวห้ามปรามเสียก็ไม่สมควร จึงกล่าวว่า

“ดูกรพ่อผู้ปิยบุตร ทุกวันนี้ชีวิตแม่ย่อมเนื่องอยู่กับเจ้าผู้เป็นลูกรัก เพราะฉะนั้นเจ้าจะไปที่ไหนก็จงไปตามใจเถิดแต่ว่าขอให้แม่นี้ได้ไปกับเจ้าได้อยู่ใกล้ๆ เจ้าเสมอก็แล้วกัน”

มาณพหนุ่มได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดีกึ่งวิตก จึงรีบลามารดาไปที่ท่าเรือสำเภา เข้าไปหานายพานิชผู้ใจดีแล้วแจ้งความว่า

“ข้าแต่ท่านผู้มีจิตกรุณา บัดนี้การที่ข้าพเจ้าจะทำงานในเรือไปกับท่านยังต่างประเทศนั้น ข้าพเจ้าจะไปแต่ตัวคนเดียวหาได้ไม่ ถ้าท่านมีความกรุณา ขอจงอนุญาตให้ข้าพเจ้าพามารดาไปด้วยเถิด แท้จริงมารดาของข้าพเจ้านั้นเป็นคนชราอนาถาหาที่พึ่งมิได้ บุตรธิดาคณาญาติผู้ใดใครผู้หนึ่งนอกจากข้าพเจ้าแล้วที่จะบำรุงอุปัฏฐากเป็นไม่มีเลย ข้าพเจ้าจึงไม่อาจสละทิ้งมารดาทิ้งมารดาได้แค่เดียวดายได้”

ฝ่ายนายสำเภาได้ฟัง ก็ยิ่งมีจิตกรุณานักหนา จึงตอบเป็นทีมธุรวาทีว่า

“ดูกรพ่อผู้เจริญ เออ พ่อนี้ก็เป็นคนดีมีกตัญญูรู้คุณอุตส่าห์ชุบเลี้ยงมารดาอยู่ด้วยหรือ เออดีแล้ว จงพามารดาไปด้วยเถิด เราจะรับอุปการะทั้งสิ้นโดยสุจริตใจ เพราะรักใคร่ในน้ำใจจริงๆ อย่าวิตกกังวลไปเลย”

มาณพก็มีจิตโสมนัสยินดี อัญชลีกรกล่าวขอบคุณนายพานิช แล้วรีบมายังเรือนของตน แจ้งความแก่มารดาให้ทราบแล้วก็เลือกเก็บทรัพย์สมบัติอันไม่ค่อยจะมีค่านัก รวบรวมได้ห่อหนึ่ง แล้วจึงพามารดาของตนสู่สำนักของนายสำเภา ครั้นได้เวลาเรือออกจากท่าจะไปยังต่างประเทศแล้ว นายสำเภาผู้มีใจกรุณาก็มอบหมายหน้าที่ให้นายมาณพหนุ่มนั้นทำตามกำลังความสามารถ มาณพนั้นก็มิได้ประมาทอุตสาหะประกอบกิจทุกประการเป็นอันดี

เมื่อเรือสำเภาแล่นไปในมหาสมุทรทะเลใหญ่ประมาณได้ 7 วัน สำเภานั้นต้องลมพายุใหญ่เหลือกำลังก็เลยถึงซึ่งความอัปปางทำลายล่มจมลงในท้องมหาสมุทร บรรดามนุษย์พานิชนิกรทั้งหลายรวมทั้งนายสำเภาผู้ใจดีก็สิ้นชีวิตถึงแก่มรณาเป็นภักษาแห่งเต่าปลาทั้งหลายในมหาสมุทรนั้น

ฝ่ายมาณพหนุ่ม เมื่อพบประสบการณ์อันร้ายแรงเช่นนั้นก็ตั้งสติมั่นจัดแจงแต่งตัวให้ทะมัดทะแมงเป็นอันดี พอได้ทีก็โลดโผนโจนออกไปจากเรือที่กำลังอัปปางเพื่อรักษาชีวิตแห่งตนไว้ ครั้นแล้วรำลึกได้ถึงมารดาจึงเหลียวหลังกลับมาแลดู ก็บังเอิญให้เห็นมารดายังไม่ตาย ยังเหนี่ยวต้นไม้หักห้อยตัวอยู่จึงดีใจนักหนา ว่ายน้ำกลับมารับมารดาให้นั่งเหนือคอของตนแล้วก็พาว่ายน้ำไปในมหาสมุทร แม้ว่าจะแลเห็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่สุดวิสัยไม่เห็นฟากฝั่งจะข้ามไปให้รอดชีวิตได้ ถึงกระนั้นก็มิได้ย่อท้อถอยความเพียรเสีย แม้จะเพลียแสนเพลียเหน็ดเหนื่อยนักหนา ก็สู้อุตสาหะอดทนต่อต้านทานกำลังน้ำเชี่ยวเค็มเต็มไปด้วยคลื่น ด้วยน้ำใจเด็ดเดี่ยวมากไปด้วยความพยายามอดทนเป็นยิ่งนัก เพื่อที่จักนำมารดาไปให้รอดชีวิตให้จงได้

กล่าวฝ่ายท้าวสุทธาวาสมหาพรหมอนาคามี ซึ่งสถิตอยู่ ณ ชั้นอกนิฎฐภพพรหมโลกโพ้น เพื่อคอยแลเล็งเพ่งดูหมู่สัตว์ประสงค์จะเลือกคัดจัดสรรผู้มีหฤทัยองอาจเต็มไปด้วยอุตสาหะใหญ่ใจกล้าสามารถที่จะกระทำพุทธการกธรรมได้ คราวนั้นทอดทัศนาลงมาเห็นมาณพผู้กำลังแบกมารดาว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทร จึงดำริว่า “โอ บุรุษนี้เป็นมหาบุรุษโดยแท้ ดูรึ ไม่เอื้อเฟื้อย่นย่อต่อมหาสมุทรอันสุดลึกซึ้งกว้างไกล สู้อดทนพยายามว่ายน้ำ เพื่อพามารดาให้ข้ามพ้นบรรลุถึงฝั่งก็บุคคลผู้มีใจพยายามมั่นคงเต็มไปด้วยอุตสาหะใหญ่เห็นปานนี้ จึงควรนับว่าเป็นผู้สามารถเพื่อที่จะบำเพ็ญพุทธการกธรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้” เมื่อท้าวมหาพรหมผู้วิเศษคำนึงฉะนี้แล้ว ก็เข้าดลจิตให้มาณพหนุ่มนั้นปณิธานปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ

เวลานั้น มาณพหนุ่มผู้ซึ่งมีน้ำใจเด็ดเดี่ยวอดทนเป็นมหาบุรุษ เมื่อแบกมารดาว่ายอยู่ในหมู่คลื่นอันมีกำลังกล้าซัดซ่ามาปะทะประหารจึงให้เกิดอาการอ่อนเพลียเหน็ดเหนื่อยนักหนา ก็จมลงไปในมหาสมุทรหน่อยหนึ่งแล้วก็โผล่ขึ้นมาอีก ในเวลานาทีอันเลวร้ายใกล้มรณะ ด้วยเดชะอำนาจแห่งนำหฤทัยที่ท้าวมหาพรหมผู้วิเศษให้นึกนั้น ก็บังเกิดความคิดขึ้นมาว่า

“ถ้าตัวเราถึงแก่ชีวิตพินาศขาดสูญลงไปในท้องมหาสมุทรทะเลใหญ่พร้อมกับมารดา ณ กาลบัดนี้ ขอกุศลที่เราแบกมารดาว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเหน็ดเหนื่อยนักหนานี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ ขอเราพึงอาจนำสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นลุถึงฝั่งโน้น คือ อมตมหานิพพาน”

ครั้นคิดดังนี้แล้ว มาณพหนุ่มนั้นก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า

“เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ขอเราพึงนำสัตว์ทั้งหลายให้เปลื้องตนพ้นจากวัฏสงสารด้วยเถิด อนึ่ง เมื่อเราข้ามจากวัฏสงสารได้แล้วขอให้เราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวัฏสงสารได้ด้วยเถิด”

เมื่อนึกปณิธานดังนี้แล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ พละกำลังที่จวนจะหมดสิ้น ก็พลันเกิดมีขึ้นมาอีกด้วยกำลังแห่งพรหมอนุเคราะห์ มาณพหนุ่มนั้นจึงอุตสาหะแบกมารดาว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร สองสามวันก็บรรลุถึงฝั่ง พอพามารดาขึ้นฝั่งได้แล้ว ก็เข้าไปอาศัยบ้านแห่งหนึ่งอยู่ ทำงานเลี้ยงชีวิตด้วยความยากจนสืบไป ครั้นถึงแก่กาลกิริยาสิ้นชีวิต กุศลก็ส่งให้ได้ขึ้นไปอุบัติเกิดในสวรรค์สุคติภูมิ

ชีวประวัติของมาณพหนุ่มเข็ญใจนี้ แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดั้งเดิมเริ่มแรก เพื่อต้องการพระพุทธภูมิขององค์สมเด็จพระสรรเพชญ์มิ่งมกุฏศรีศากยมุนีโคดม บรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลาย คือ พระองค์เริ่มตั้งปณิธานความปรารถนาครั้งแรก ตั้งแต่ปางเมื่อเสวยพระชาติเป็นมาณพหนุ่มแบกมารดาว่ายข้ามมหาสมุทรที่เล่ามานี้ แล้วต่อจากนั้น พระองค์ท่านก็มีหฤทัยมั่นคงตั้งความปรารถนาในทุกๆ ชาติที่เกิดเริ่อยมาไม่เปลี่ยนแปลงก็เป็นอันแสดงว่า พระองค์ทรงเริ่มเป็นพระโพธิสัตว์ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา เพราะทรงปรารถนาพระพุทธภูมิหรือพุทธภาวะซึ่งเป็นคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว ฉะนั้นต่อแต่นี้ไป จะเรียกคำแทนชื่อพระองค์ว่า พระโพธิสัตว์ ในพระชาติต่างๆ ที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้เป็นส่วนเล็กน้อยที่พระองค์เกิดเท่านั้น อย่าพลันเข้าใจว่าพระองค์เกิดเพียงไม่กี่ชาติเท่าที่เล่ามานี้เป็นอันขาด ความจริง พระองค์เกิดเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีมากมายจนนับพระชาติไม่ถ้วน ไม่สามารถจะประมวลมาให้สิ้นสุดลงได้ จะยกย่องเอาแต่บางพระชาติมาเล่าไว้ในที่นี้เท่านั้น เมื่อได้ทำความเข้าใจเป็นอันดีเช่นนี้แล้ว ก็จะขอเล่าเรื่องการสร้างพระบารมีของสมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:47:01 am »

มาณพหนุ่มผู้เข็ญใจ


กาลครั้งนั้นยังมีมาณพหนุ่มผู้ยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง เมื่อถึงกาลชนมายุเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาจึงคิดจะปลูกฝังแต่งตั้งให้มีครอบครัวตามประเพณี แต่มาณพนั้นมิได้มีความปรารถนาด้วยประมาณตัวว่าตนเป็นคนยากจน ครั้นชนกชนนีรบเร้าเฝ้ารำพันปลอบ จึงตอบว่า

“ข้าแต่พ่อแม่ทั้งสอง ทุกวันนี้ทรัพย์สมบัติอันหนึ่งอันใดที่มีค่าในเรือนของเราก็มิได้มี เพราะว่าเราเป็นคนเข็ญใจ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงยังมิพอใจจะมีเหย้ามีเรือน เมื่อมาดาบิดาทั้งสองยังครองชีวิตอยู่ตราบใด ข้าพเจ้าก็จักอุปฐากบำรุงเลี้ยงไปตามประสายาก จนกว่าชีวิตข้าพเจ้าจะหาไม่” เมื่อให้คำตอบดังนี้แล้ว ก็ทำการงานเลี้ยงดูท่านทั้งสองเป็นนิตย์ ครั้นจำเนียรกาลนานมา ท่านบิดาก็ถึงแก่กรรมไปตามธรรมดาของสังขาร

ตั้งแต่นั้นมา มาณพหนุ่มก็มิได้มีความประมาท หมั่นระวังระไวเอาใจใส่อภิบาลมารดาด้วยความรัก เที่ยวแสวงหาหักไม้ในอรัญพอแก่ความต้องการแล้วก็มามาขายได้มูลค่าเท่าใดก็จ่ายจัดเครื่องภัตตาหารได้แล้วก็นำมาอุปฐากบำรุงเลี้ยงมารดาเป็นกิจวัตรตลอดมาทุกวิวากาล

วันหนึ่งมาณพหนุ่มผู้ยากไร้นั้น ครั้นเสร็จการเรือนแล้วก็เข้าไปสู่อรัญประเทศเข้าหาฟืนแลผักได้มากเหลือกำลัง นำกลับมาในระหว่างทางก็ให้เหนื่อยกายกระหายหิวน้ำนัก จึงแวะเข้าอาศัยพักนั่งอยุ่ริมฝั่งน้ำใต้ต้นไทรใบดกหนาแห่งหนี่งใกล้ท่าเรือสำเภา นึกในใจว่า จักเอนกายพอคลายเหนื่อยสักหน่อยจึงจะค่อยเดินทางกลับบ้านต่อไป แล้วก็เอนกายระงับหลับม่อยไปครู่หนึ่ง พอตื่นขึ้นมาเหลือบไปเห็นเรือสำเภาจึงเกิดความคิดอันบรรเจิดจ้าคำนึงไปว่า

“อา บัดนี้ เรากำลังเป็นคนหนุ่มอยู่ในปฐมวัน มีกำลังกายอุดมดี จึงอาจแสวงหาผักฟืนอันเป็นงานหนักถึงเพียงนี้ได้ก็เมื่อกายแก่ชราล่วงกาลนานไปถอกกำลังแล้วก็ดี เราจักมีความสามารถประกอบการงานอันหนักอย่างที่กำลังกระทำอยู่ทุกวันนี้ได้หรือ จำเราจะคิดขยับขยายหาทางประกอบอาชีพเสียใหม่เข้าไปหานายสำเภานั้นแล้วของานทำเพื่อนำค่าจ้างมาเลี้ยงดูมารดา เช่นนี้น่าจะเป็นการดี” ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงผันผายเข้าไปหาพ่อค้าผู้ใหญ่นายสำเภา แล้วกล่าวขึ้นว่า

“ข้าแต่นาน กาลบัดนี้ ข้าพเจ้าซึ่งมีความยากจนเข็ญใจนัก จึงเซซังสู่สำนักท่านด้วยหวังใจว่า ถ้าท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าก็จักขอทำงานอยู่กับท่านด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อไป”

ฝ่ายนายสำเภาผู้ใหญ่ ครั้นได้ฟังวาจาของมาณพหนุ่มมาอ้อนวอนของานทำเช่นนั้นก็พลันให้เกิดความสงสาร กอปรทั้งได้เห็นรูปร่างของมาณพหนุ่มดูอุดมไพบูลย์ไปด้วยกำลังกายอาจทำงานต่างๆ ได้โดยง่าย จึงตกลงใจอนุเคราะห์เร่งรับคำโดยเร็วว่า

“เออ พ่อนี้ร่างกายก็ดี ทั้งมีปัญญาพูดจาก็คมสันสมควรอยู่ มาเถิดเราจักรับอนุเคราะห์ จะต้องการค่าจ้างเท่าไร เราจักให้ตามต้องการอีกทั้งเสบียงอาหาร เมื่อต้องการก็จงเอาไปก่อนเถิด เราจะรับเลี้ยงเจ้าไปตายเท่าวันมรณะ เจ้าอย่าได้คิดรังเกียจเลย”

มาณพหนุ่มคนเข็ญใจ เมื่อได้รับอนุเคราะห์เช่นนั้นก็มีจิตยินดีนักหนา กล่าวคำอำลาแล้วเดินนึกสรรเสริญคุณนายเรือสำเภาพ่อค้าใหญ่ไปพลาง จนมาถึงร่มไทรที่พัก เพื่อจะนำผักและฟืนไปขายเสียก่อนก็กลับวิตกไปอีกว่า

“หากเราจะไปต่างประเทศกับพวกพ่อค้าพานิชในเรือสำเภา มารดาเราอยู่ข้างหลังใครจักอภิบาลบำรุงเลี้ยงดูเล่า เรานี้น่าจะเป็นคนคิดผิดเสียในครั้งนี้กระมังหนอ แต่จะอย่างไรก็ตามจำเราจะต้องไต่ถามบอกความแก่มารดาดูเสียก่อน แล้วจึงจะค่อยผ่อนผันตามสมควรในภายหลัง” คิดดังนี้แล้วก็ยกภาระอันหนักนั้นขึ้นใส่บ่าไปขาย ได้มูลค่าแล้วก็จับจ่ายภัตตาหารกลับมาสู่เรือน ประกอบสรรพกิจที่เคยทำมา ครั้นมารดาบริโภคอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าไปกราบกรานเล่าเรื่องที่ตนคิดจะไปทำงานกับพวกพานิชย์ยังต่างประเทศให้ฟัง
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:46:00 am »

 :27: มีอีก สำนวน นำมาจากเว็บ คนเมืองบัว
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:33:12 am »

พระชาติแรกของการปรารถนาพุทธภูมิ



พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สร้างบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ จนครบถ้วนบริบูรณ์ ใช้เวลาถึง ๒๐ อสงไขย กับอีกแสนมหากัป พระพุทธองค์ทรงตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งแรก เมื่อ ๒๐ อสงไขย กับอีกแสนมหากัปที่แล้ว ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นมาณพหนุ่มผู้ยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง
 
 

เพราะฉะนั้น เราไปเห็นใครที่มีฐานะยากจน อย่าไปดูหมิ่นเขา เพราะอาจจะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคตก็ได้ เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ที่เริ่มต้นชีวิตก่อนที่จะมาเป็นพระบรมศาสดาด้วยชีวิตที่ลำบากยากจน เข็ญใจ เกิดในสังคมเกษตรกรรม
 
 

เรื่องมีอยู่ว่า มีมาณพหนุ่มท่านหนึ่งมีความกตัญญูรู้คุณ ฐานะทางบ้านยากจน ต้องทำงานเลี้ยงดูมารดาบิดา เมื่อมารดาบิดาแก่แล้วจึงคิดจะหาคู่ครองให้กับมาณพนั้นตามประเพณี เพราะอยากเห็นหลาน แล้วก็อยากให้ลูกมีแม่บ้านมาช่วยผ่อนแรง แต่มาณพนั้นไม่ได้มีความปรารถนาด้วยประมาณตนว่า เรามีฐานะยากจน ครั้นมารดาบิดารบเร้าอยู่เสมอ เพื่อให้มาณพนั้นแต่งงานเร็วๆ แต่มาณพนั้น กลับกล่าวว่า "ครอบครัวเราน่ะยากจนยิ่งนัก ไม่มีสมบัติมีค่าอะไรเลย ลูกไม่อยากมีครอบครัว แต่อยากจะเลี้ยงดูบิดามารดาจนกว่าชีวิตจะ หาไม่"พ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ตามใจลูก มาณพนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาเลี้ยงดูมารดาบิดาต่อไป
 
 

ต่อมาไม่นาน บิดาก็ถึงแก่กรรมเพราะ โรคชรา มาณพนั้นก็เลี้ยงดูมารดาของตนเองเป็นอย่างดี ทำงานหนักกว่าเดิม โดยได้เที่ยวไปหาของป่ามาขาย เมื่อได้เงินมาก็นำมาให้มารดาไว้ใช้สอย
 
 

วันหนึ่ง ขณะเดินทางกลับจากป่า ได้เห็นเรือสำเภาจอดอยู่ที่ท่าเรือ ก็เกิดความคิดว่า เรา ยังหนุ่มยังแน่นยังมีเรี่ยวแรงที่จะทำอาชีพที่ดีกว่านี้ หาเงินได้มากกว่า การเก็บของป่ามาขาย ถ้าเราได้ไปทำงานบนเรือสำเภาก็คงจะสามารถเลี้ยงดูมารดาได้ดีขึ้น แล้วเมื่อไปถึงเมืองอื่น ที่มีช่องทาง ทำมาหากินที่ดี เรากับมารดาจะได้ไปตั้งรกรากกันที่นั่น
 
 

คิดดังนั้นแล้วมาณพก็เข้าไปหาเจ้าของเรือสำเภา ซึ่งเป็นพ่อค้าใหญ่ แล้วก็กล่าวว่า "ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน จะมาขอทำงานรับใช้ท่านด้วยความซื่อสัตย์สุจริต"พ่อค้าได้ฟังคำของมาณพนั้นแล้ว ด้วยความสงสาร และเห็นว่ามาณพนั้น มีรูปร่าง แข็งแรงสมบูรณ์ สามารถที่จะช่วยงานได้อย่างเต็มที่ จึงตัดสินใจรับเข้าทำงาน
 
 

มาณพได้กล่าวกับพ่อค้าต่อไปอีกว่า "ข้าพเจ้าขอความเมตตาจากท่านอีกเรื่องหนึ่ง คือว่า มารดาของข้าพเจ้ามีอายุมากแล้ว ถ้าอยู่ ที่นี่ก็จะไม่มีใครเลี้ยงดูท่าน เพราะว่าข้าพเจ้าไม่มีญาติพี่น้องในที่นี้เลย ข้าพเจ้าไม่อาจจะทิ้งมารดาไว้คนเดียวได้ ดังนั้นจึงอยากจะขอความเมตตาจากท่าน ขอพามารดาไปด้วย"

พ่อค้าตอบว่า "เจ้าเป็นคนมีความกตัญญู รู้คุณต่อมารดาบิดา เราอนุญาตให้เจ้าพามารดาไปด้วยได้"

มาณพนั้นดีใจมาก รีบเดินทางกลับไปบ้าน เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้มารดาฟัง พร้อมกับเก็บข้าวเก็บของเตรียมตัวออกเดินทางไปกับพ่อค้านั้นทันที มาณพนั้นได้พามารดาไปหาพ่อค้า แล้วก็พาขึ้นเรือสำเภา
 
 

ครั้นได้เวลาเรือออกจากท่า เพื่อไปค้าขาย ณ เมืองอื่น พ่อค้านั้นได้มอบหมายหน้าที่การงานให้แก่มาณพหนุ่มนั้น ตามกำลังความสามารถ มาณพนั้นก็ได้ทำงานทุกอย่างที่รับมอบหมายอย่างเต็มที่เต็มกำลังของตนเป็นอย่างดี แล้วก็ได้เลี้ยงดูมารดาของตนโดยไม่ขาดตกบกพร่อง
 
 

ในขณะอยู่บนเรือสำเภาก็ได้ดูแลมารดาไปด้วยทำงานบนเรือไปด้วยนั้น เมื่อเรือสำเภาแล่นไปกลางมหาสมุทรได้ ๗ วัน ลมพายุฝนใหญ่ได้ตั้งขึ้น ขณะนั้นคนในเรือพากันหวาดกลัวต่อ มรณภัยที่จะเกิดขึ้น ต่างพากันเก็บข้าวของที่มีค่าของตน
 
 

ในขณะนั้นคนในเรือต่างพากันหวาดกลัวต่อมรณภัยที่จะเกิดขึ้น พากันเก็บข้าวของที่มีค่าของตนอยู่นั้น มาณพหนุ่มจึงได้รีบไปหามารดาของตนและเตรียมพร้อมต่อภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น ลมพายุฝนใหญ่ยิ่งพัดโหมกระหน่ำหนักยิ่งขึ้น จนกระทั่งเรือสำเภาไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้ ในที่สุด เรือได้อับปางจมลงในท้องมหาสมุทร มาณพจึงได้แบกมารดาผู้ชราภาพกระโดดออกจากเรือสำเภาไปอย่างสุดแรง แล้วก็รีบว่ายน้ำออกไปให้ไกลที่สุด ในขณะเดียวกันก็ได้หันหลังมาดู เห็นบรรดาคนที่อยู่ในเรือสำเภาทั้งหมดนั้น ต่างลอยเคว้งคว้างอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร และตกเป็นเหยื่อของเหล่าปลาร้ายที่อยู่ในมหาสมุทรจนตายกันหมดทุกคน
 
 

มาณพนั้นจึงรีบแบกมารดาว่ายน้ำอย่างสุดชีวิต โดยมีความตั้งใจว่าจะว่ายน้ำช่วยมารดาให้รอดตาย แล้วขึ้นฝั่งให้ได้อย่างปลอดภัย โดยไม่หวั่นไหวว่ามหาสมุทรจะกว้างใหญ่สักเพียงไหน ถึงแม้ว่าตัวเองจะเหนื่อยแสนเหนื่อยสักเพียงใด ก็จะสู้อุตส่าห์อดทนแหวกว่ายพามารดาข้ามมหาสมุทรนี้ไปให้ได้
 
 

เมื่อมาณพนั้นแบกมารดาว่ายน้ำในมหาสมุทรมาตลอดทั้งวันทั้งคืน อาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียย่อมเกิดขึ้น ในขณะที่เรี่ยวแรงของมาณพนั้นหมดลง จนแทบจะจมลงในมหาสมุทร แต่ด้วยกำลังบุญบารมีที่สั่งสมมาจนเป็นบารมีที่ตกผลึก เป็นแหล่งกำเนิดความคิดอันประเสริฐ ซึ่งบารมีตรงนี้จะทำให้เกิดความนึกคิดที่แตกต่างจากมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ได้มากระตุ้นจิตสำนึกของมาณพ ทำให้เกิดความคิดว่าวัฏสงสารนี้เป็นทุกข์หนักหนา ชีวิตมนุษย์เหมือนแหวกว่ายอยู่ในทะเลแห่งความทุกข์ แล้วนึกต่อไปว่า ถ้าเราต้องตายพินาศลงในท้องมหาสมุทรพร้อมกับมารดาในบัดนี้ ขอกุศลผลบุญที่เราได้แบกมารดาว่ายในมหาสมุทรมาด้วย ความเหน็ดเหนื่อย หวังที่จะพามารดาไปขึ้นฝั่ง โดยไม่ได้คิดถึงตัวเองว่าจะเป็นอย่างไร ขอกุศลผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้เราสามารถข้ามพ้นทะเลแห่งความทุกข์ของชีวิตนี้ได้
 
 

ครั้นตั้งจิตเป็นมหากุศลแล้ว ก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า ถ้าหากเราข้ามพ้นห้วงทะเลทุกข์ได้แล้ว ขอให้เราสามารถนำสรรพสัตว์ทั้งหลายข้ามพ้นจากทะเลแห่งชีวิต หรือวัฏสงสารนี้ไปได้ด้วย คือเมื่อเราพ้นแล้วขอให้เราสามารถถ่ายทอด ความรู้ และนำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นจาก ความทุกข์เช่นเดียวกับเราได้ ผู้ที่มีความปรารถนา อย่างนี้จะได้เนมิตกนามว่า พระโพธิสัตว์ ทันที คือเราคิดอย่างนี้เมื่อไร ก็เรียกว่าเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ตอนไหนเลิกคิดก็เป็นสัตวโลกธรรมดา แต่ถ้าคิดก็เรียกพระโพธิสัตว์
 
 

ด้วยแรงอธิษฐานที่ปรารถนาความเป็นผู้นำตนและสรรพสัตว์ให้พ้นจากทะเลทุกข์ จึงทำให้เกิดมหาปีติ จากที่กำลังจะหมดแรงว่ายน้ำก็พลันเกิดกำลังใจ พร้อมกับกำลังกายขึ้นมาเป็นอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น ปีติจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเรานึกถึงสิ่งที่ยาก แล้วเราสามารถทำได้ มหาปีติได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์แล้ว โดยการตั้งใจระลึกนึกถึงบุญกุศลอย่างนั้น ทำให้มีเรี่ยวแรงเกิดขึ้นมา สามารถว่ายน้ำแบกมารดาต่อมาได้อีก ๒-๓ วัน
 
 

ในที่สุดก็พามารดาขึ้นฝั่งได้สำเร็จ พอถึงฝั่งแล้วพระโพธิสัตว์กับมารดาก็เข้าไปอาศัยในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทำงานด้วยความขยันอดทนและได้เลี้ยงดูมารดาเป็นอย่างดี จนกระทั่งมารดาละสังขาร เมื่อถึงคราวที่พระโพธิสัตว์ละโลก ได้ไปบังเกิดในเทวโลก นี่คือปฐมชาติที่ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นผู้นำตนและสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทะเลทุกข์ ซึ่งคือฐานะแห่งความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั่นเอง
 
 
ในชาตินั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ปฐมจิตตุปบาทกาล ปฐมจิต คือ จิตแรก ตุปบาทกาล หมายถึงการเกิดขึ้นของดวงจิตดวงแรกที่คิดจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
http://teamsrangpra.net/buddhabhumi/buddhabumi/make_merit/begin.html