ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 07:58:31 pm »

:45: ได้ยินชื่อเสียงมานานแล้วครับ ไม่เคยได้ทานเลย ขอบคุณครับผมพี่หนุ่ม

ถ้ามีโอกาส ต้องลองทานดูครับ

แต่ต้องเป็นสูตรของเมืองตรังแท้ๆนะครับ  อร่อยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

.
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 07:54:27 pm »

 :45: ได้ยินชื่อเสียงมานานแล้วครับ ไม่เคยได้ทานเลย ขอบคุณครับผมพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 08:21:02 am »

หมูย่างเมืองตรัง ยอดฮิต-ท้าชิมทั่วโลก

โดย เมธี เมืองแก้ว

ที่มา ข่าวสด




"หมูย่างเมืองตรัง" ได้รับความนิยมมาช้านาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เพราะรสอร่อย เนื้อนุ่ม หนังกรอบ

ย้อน ตำนานไปดูต้นกำเนิด เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อน ขณะที่พ่อครัวพระราชวังกำลังปรุงอาหาร เกิดทำหมูชิ้นหนึ่งตกลงไปในเตาถ่าน จนเนื้อสุกและหนังไหม้ เมื่อลองหยิบมาชิมจึงรู้สึกว่าหมูชิ้นนั้นมีรสชาติดี หอม กรอบ อร่อยกว่าเดิมมาก จึงทดลองนำหมูมาย่างนำขึ้นถวายฮ่องเต้ ปรากฏว่าเป็นที่ทรงโปรด ก่อนเมนูนี้จะแพร่หลายสู่สามัญชน

หมูทอง หรือหมูย่างมาถึงเมืองตรัง เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว เมื่อเริ่มมีคนจีนอพยพเข้ามา ตั้งชุมชนอยู่ที่ปากแม่น้ำตรัง ชาวจีนอพยพนำหมูพันธุ์เล็กลงเรือมาเลี้ยงและย่างกิน ต่อมามีคนต้นตระกูลร้านฟองจันทร์ รับชาวจีนคนหนึ่งชื่อ "นายซุ่น" ซึ่งมีความสามารถในการย่างหมู มาทำงานและนำหมูพันธุ์เล็กมาย่าง พร้อมฝึกผู้ช่วยขึ้น วิชาย่างหมูจึงได้แพร่หลายในเมืองตรังตั้งแต่นั้นมา



เดิมที หมูย่างมักทำกันในช่วงเทศกาล เช่น ตรุษจีน สารทจีน รวมทั้งนำไปเซ่นไหว้ในงานมงคล งานศพ ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ หรือการบนบานศาลกล่าว แต่ต่อมาก็กลายเป็นอาหารยอดนิยม ชาวตรังกินหมูย่างกับโกปี๊ (กาแฟ) ยามเช้า เป็นวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใคร

หมู ย่างก่อนนี้ทำจากหมูพื้นเมืองพันธุ์เล็ก ที่เรียกว่า "หมูขี้พร้า" เพราะตัวไม่ใหญ่มาก และเลี้ยงแบบธรรมชาติ ย่างแล้วหนัง มัน เนื้อ จะพอดีกันทั้งสามอย่าง รสชาติมีคุณภาพสูงสุด เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยทั่วไปคัดเลือกหมูขนาดตัวละ 30-50 กิโลกรัม แต่ช่วงหลังหมูขี้พร้าหาได้ยาก จึงจำเป็นต้องนำหมูฟาร์มมาย่างแทน

ชาว ตรังผูกพันกับหมูย่างตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เมื่อลูกหลานบ้านใดเกิด พ่อแม่ญาติพี่น้องก็จะเอาหมูย่างไปไหว้เจ้า ขอให้เด็กแข็งแรง เลี้ยงง่าย โตเร็วและฉลาด โตมาอีกนิด เมื่อเข้าโรงเรียนพ่อแม่ก็เอาหมูย่างไปไหว้อีก ขอให้ลูกเรียนเก่งๆ ไม่ดื้อ ไม่ซน ครั้นพอถึงเวลาสอบในระดับต่างๆ ก็บนบานด้วยหมูย่าง แต่งงานก็ไหว้ด้วยหมูย่างให้ชีวิตครอบครัวมีสุข ราบรื่น มีลูกเร็วๆ สุดท้ายเมื่อถึงวันตาย ก็มีหมูย่างมาเกี่ยวข้องเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน

มีโอกาสมาเมือง ตรัง อยากจะหาหมูย่างกิน หาซื้อได้ทั่วไป ถ้าจะกินให้อร่อย ควรกินเป็นมื้อเช้าจิบกาแฟไปด้วย หรือกินควบคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ขนมจีบ ซาลาเปา ปาท่องโก๋

หมูย่างเมืองตรัง ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหอการค้าและชมรมหมูย่าง จัดงานเทศกาลขึ้นตั้งแต่ปี 2533 ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับ งานเทศกาลหมูย่างเมืองตรัง ที่จะมาถึงในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 21 จัดขึ้นในวันที่ 5 กันยายน บริเวณลานหน้าศาลากลางหลังเก่า ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ หมูย่างเมืองตรัง มาออกร้านจำหน่ายกว่า 100 ราย นอกจากการจำหน่ายในราคาพิเศษแล้ว ยังมีการแข่งขันประกอบอาหารจากหมูย่าง กิจ กรรมต่างๆ มากมาย

เพื่อ เป็นการส่งเสริมและประชาสัม พันธ์หมูย่างเมืองตรังให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการสร้างเสริมรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ และเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู เพราะปัจจุบัน วันนี้หมูย่างไม่ได้เป็นเพียงอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดตรังเท่านั้น แต่กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรม ที่สามารถนำเสนอให้นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ รับรู้ไปทั่วกันแล้ว

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEEwTURrMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdPUzB3TkE9PQ==