ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 10:58:31 pm »

พระพุทธรูป ต้องตั้งสูงกว่า พระสงฆ์เสมอนะครับ

.
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 09:24:31 pm »

 :07:สาธุ  สาธุ
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 08:47:45 pm »

:45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม พี่บัว
ผมมีบุญตาที่ได้เห็นห้องพระพี่บัวครับ ดูเย็นๆดีครับ
แอบเห็นท่านพุทธทาสด้วย^^" ใช่ไหมเอ่ย
อนุโมทนาครับพี่บัว :13:


ไม่ถึงกับเป็นบุญหรอกค่ะ

นำรูปมาลงมีเหตุผลสำคัญสองอย่างค่ะ อย่างแรกกำลังบ้าถ่ายรูป เห็นอะไรก็อยากถ่ายไปหมด  :06:
ส่วนอีกเหตุผล นำรูปมาลงเผื่อจะมีท่านผู้รู้แนะนำน่ะค่ะ ว่าต้องปรับ หรือตกแต่งแบบไหนจะได้ถูกหลักน่ะคะ

ส่วนรูปท่านพุทธทาส เป็นภาพวาดค่ะ ได้มานานแล้วค่ะ จนจำไม่ได้แล้วว่าได้มาจากไหน
แต่เห็นครั้งแรกแล้วชอบมากค่ะ แต่กระนั้นก็ยังไม่ได้นำไปใส่กรอบสักทีเลยค่ะ  :38:
 :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 08:33:48 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม พี่บัว
ผมมีบุญตาที่ได้เห็นห้องพระพี่บัวครับ ดูเย็นๆดีครับ
แอบเห็นท่านพุทธทาสด้วย^^" ใช่ไหมเอ่ย
อนุโมทนาครับพี่บัว :13:
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 09:16:28 am »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและสาระดีๆค่ะ ^_^

ที่บ้านก็มีห้องพระค่ะ มีโต๊ะหมู่เล็กๆที่ทำจากไม้สัก (พี่ข้างบ้านหามาให้เป็นไม้จาก จ.น่าน เวลาเดินเข้าห้องพระจะหอมกลิ่นไม้มากค่ะ)
พระที่บ้านมีสามองค์ค่ะ พระประธานองค์ใหญ่หน่อยเป็นพระปางนาคปรก ศิลปะแบบสุโขทัยค่ะ (เพื่อนให้มา)
ส่วนอีกองค์เป็นพระสีวลี (องค์นี้เป็นพระเก่าแก่ที่พ่อกับแม่ให้) ส่วนองค์สุดท้ายเป็นหลวงพ่อโสธรค่ะ (องค์นี้น้าชายให้ค่ะ)
ทั้งเพื่อน พ่อ-แม่ และน้าชายให้พระบูชาตอนขึ้นบ้านใหม่ค่ะ

โต๊ะหมู่หันไปทางทิศตะวันออกค่ะ ห้องทาสีโทนครีมค่ะ ไม่ได้ตกแต่งมาก ห้องก็ดูเรียบๆค่ะ
มีเบาะนั่ง แล้วก็ผ้ารองกราบสีขาวค่ะ  ผนังอีกด้านเป็นชั้นหนังสือทั้งด้านค่ะ ^_^


วันก่อนได้ไปที่ห้องนิทรรศการ วัดไตรมิตร ชอบการตกแต่งผนังมากค่ะ
เลยคิดว่าจะนำแนวคิดมาตกแต่งที่ห้องพระที่บ้านบ้าง

ห้องพระเป็นห้องที่เวลาไม่สบายใจชอบเข้าไปนั่งที่หน้าพระพุทธรูป
จากที่ไม่สบายใจก็รู้สึกสงบเย็น ขึ้นมากค่ะ



ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 08:36:18 am »

ห้องพระกับบ้านร่วมสมัย


ศาสนามีความ ผูกพันและเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เราจนแยกไม่ออก จึงไม่น่าแปลกใจที่ในเกือบทุกหลังคาเรือน จะมีการจัดสรรพื้นที่ว่างสำหรับการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือไว้ ภายในบ้านด้วย

สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงในการทำห้องพระหรือติดตั้งหิ้งพระ ก็คือเรื่องของการจัดหาตำแหน่งที่มีความเหมาะสม ตามปกติแล้วห้องพระควรจัดอยู่ในมุมเงียบสงบที่สุดของบ้าน และมักอยู่ชั้นบนสุดของบ้าน เนื่องด้วยคนไทยเรามีความเชื่อว่าพระพุทธรูปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สักการ บูชาจึงต้องอยู่สูงกว่าคนเสมอนั่นเอง

ตามความเชื่อของไทยที่มีแต่ดั้งเดิมแล้วไม่นิยมหันพระพักตร์ของพระพุทธรูปไป ทางทิศใต้หรือทิศตะวันตก เพราะถือว่าเป็นทิศที่อยู่ภายใต้ ไม่แจ่มใส เช่นเดียวกับทิศตะวันตกที่หมายถึงการสิ้นสุด ส่วนทิศตะวันออกหรือทิศเหนือนั้น มีความหมายถึงการเริ่มต้น การมีชัย จึงถือเป็นทิศที่เป็นมงคล นอกจากนี้ยังไม่ควรอยู่ติดหรือตรงกับห้องน้ำ อีกทั้งถ้ามีห้องนอนอยู่ติดกับห้องพระ ก็ควรระวังในเรื่องที่นอน โดยไม่ควรหันปลายเท้าไปทาง ตำแหน่งของห้องพระหรือหิ้งพระ

องค์ประกอบต่อไปที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องของการระบายอากาศภายในห้อง ห้องพระหรือหิ้งพระควรมีช่องระบาย อากาศที่เหมาะสม เพื่อให้อากาศไหลเวียนถ่ายเทได้สะดวก ช่วยระบายกลิ่นควันจากธูปเทียนภายหลังเสร็จสิ้นจากการกราบไหว้บูชา ทั้งนี้อาจติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยในการระบายอากาศเสริมด้วยก็ได้เช่นกัน

โทนสีที่นิยมใช้ในการตกแต่งห้องพระ ได้แก่ โทนสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล รวมไปถึงการเติมเฉดสีแดง โทนสีเงินและสีทอง อร่าม เพื่อสะท้อนความรู้สึกถึงพลังและความเลื่อมใสศรัทธา ในส่วนของวัสดุตกแต่งก็ควรเลือกสรรชนิดที่มีความทนทานต่อความร้อนของเศษธูป และน้ำตาเทียน โดยวัสดุปูพื้นอาจเลือกเป็นพื้นกระเบื้อง ซึ่งมีพื้นผิวง่ายต่อการทำความสะอาด แต่ถ้าท่านใด ชื่นชอบวัสดุธรรมชาติ อย่างเช่น ไม้และหินธรรมชาติ ก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน โดยอาจปูพรมหรือเสื่อเฉพาะในส่วนที่นั่ง ประกอบพิธี เพื่อป้องกันความชำรุดเสียหายอันเกิดจากเศษธูป และน้ำตาเทียนหยดใส่ ทั้งยังช่วยให้พื้นที่ใช้งานแลดูมีสัดส่วนยิ่งขึ้นด้วย

ผนังห้องส่วนใหญ่มักเป็นสีโทนอ่อน เช่น สีขาวและสีครีม ส่วนผนังด้านหลังองค์พระพุทธรูปก็สามารถตกแต่งสร้างความโดดเด่นได้อย่างหลาก หลายตามแต่ความชื่นชอบและรสนิยม เช่น การกรุประดับด้วยไม้ฉลุเป็นซุ้มเรือนแก้วอย่างวิจิตรสลับกับการบุผ้า หรือนำกระจกเงามาใช้ตกแต่งเพิ่มความรู้สึกแห่งความร่วมสมัยเข้ากับบรรยากาศ ของบ้าน หรืออาจเลือกเพนท์ประดับเป็นลวดลายแบบไทยประยุกต์ลงบนผนังโดยตรงก็ได้

แนวทางในการตกแต่งห้องพระก็เช่นเดียวกับการตกแต่งพื้นที่ใช้งานอื่น ๆ ภายในบ้านที่สามารถเติมเต็มไอเดียได้อย่างอิสระ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ควรคำนึงถึงหลักความเชื่อศรัทธา ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยการศึกษาทำความเข้าใจ.
บ้านในฝัน


ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
Daily News Online > เสาร์สปอร์ต > อสังหาริมทรัพย์ > บ้านสวยด้วยมือคุณ > ห้องพระกับบ้านร่วมสมัย
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=510&contentId=89547