ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 10:15:47 pm »

 :13: ขอบคุณครับน้องฝน^^  เรียนรู้และแสวงหา ชีวิตเราจะมีมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้นครับ^^
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 08:59:21 pm »

  ไว้ใจชีวิตอย่างไม่มีเงื่อนไข   

"การเรียนรู้" ที่จะ "ไว้ใจชีวิตอย่างไม่มีเงื่อนไข" เน้นให้อยู่ตามลำพังและใช้เวลาอยู่กับ "ธรรมชาติ" แล้ว "ฟังเสียงภายใน" ของตัวเราเอง ว่าต้องการจะทำอะไร เราจะค่อยๆ พบว่าเราสามารถที่จะไว้ใจเสียงที่ได้ยินเหล่านั้นได้ และให้ลองเชื่อ "ความคิดแรก"...
 


คอลัมน์ จิตวิวัฒน์

ในการประชุมจิตวิวัฒน์ครั้งที่ 9 ประจำเดือนพฤษภาคม 2547 ทางกลุ่มได้เชิญ คุณณัฐฬส วังวิญญู มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันเกี่ยวกับแนวคิดของ มหาวิทยาลัยนาโรปะ และเรื่องของ นิเวศวิทยาแนวลึก ซึ่งคุณณัฐฬสได้ร่ำเรียนมา

นาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยทางเลือกในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ปรัชญาแบบพุทธเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอน เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยพระชาวทิเบตท่านหนึ่งที่ชื่อ เชอเกียม ตรุงปะ ซึ่งเป็นผู้ที่เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม และมีแปลเป็นภาษาไทยอยู่บ้างพอสมควร เช่น ชัมบาลา : หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ, ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา(Cutting Through Spiritual Materialism)

แนวคิดหลักๆ ของนาโรปะคือ เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากภายในตัวเอง ต้องรู้จักตัวเองก่อน คุณณัฐฬสเล่าหลายเรื่องได้อย่างสนุกและน่าสนใจมากในช่วงเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง แล้วปล่อยให้มีการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม

เรื่องที่สะดุดใจผู้เขียนมากที่สุด เห็นจะไม่เกินเรื่องที่คุณณัฐฬสบอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งที่นาโรปะสอนไว้ก็คือ "การเรียนรู้" ที่จะ "ไว้ใจชีวิตอย่างไม่มีเงื่อนไข" เรื่องที่เป็นรูปธรรมเรื่องหนึ่งก็คือ นักศึกษาปีแรกที่ไปเรียนที่นั่น จะมีหลักสูตรหนึ่งที่จะต้องออกไปอยู่ในทะเลทรายตามลำพังประมาณสามวัน ให้อดอาหารแต่มีน้ำให้ดื่ม โดยที่มีมาตรการด้านความปลอดภัยระดับหนึ่งในเรื่องของระบบบัดดี้ที่อยู่ห่างกันพอสมควร แต่โดยหลักๆ คือเน้นให้อยู่ตามลำพังและใช้เวลาอยู่กับ "ธรรมชาติ" แล้ว "ฟังเสียงภายใน" ของแต่ละคนว่ากำลังต้องการอะไร หรือฝึกการเรียนรู้ที่จะไว้ใจกับธรรมชาติ ว่าจะสามารถทำให้ตัวเองมีชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาวะแบบนั้น

ด้วยการฝึกการ "ฟังเสียงจากภายใน" ของตัวเราเอง ว่าต้องการจะทำอะไร เราจะค่อยๆ พบว่าเราสามารถที่จะไว้ใจเสียงที่ได้ยินเหล่านั้นได้ และให้ลองเชื่อ "ความคิดแรก"

น่าสนใจที่ "เสียงจากภายใน" ตัวเราเองที่ว่านี้ เป็นเรื่องราวเดียวกันกับเรื่องของ "ญาณทัศนะ" ซึ่งเป็นการฝึกการใช้สมองชั้นที่สี่ตามที่โจเซฟ ชิลตัน เพียร์ซ(Joseph Chilton Pearce) ได้เขียนไว้อย่างละเอียดแล้วในหนังสือที่ชื่อ The Biology of Transcendence คือส่วนของ Prefrontal Lobe ซึ่งล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้เป็นส่วนที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำงานวิจัยและพบว่ามีอยู่จริงในมนุษย์ที่ฝึกฝนเป็นพิเศษเรื่อง "สมาธิ" ซึ่งแดเนียล โกลแมน(Daniel Goleman) นักจิตวิทยาผู้โด่งดังมากจากเรื่อง E.Q. เขียนไว้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ Destructive Emotions ซึ่งเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู นำมาย่อยอย่างละเอียดในวงจิตวิวัฒน์แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

กระบวนการเรียนรู้แบบนี้เป็น "วิธีการสร้างคน" ที่เริ่มจาก "การสร้างความมั่นคงด้านในก่อน"

แต่ปัจจุบันพวกเรากลับมีระบบการศึกษาที่เน้นถึง "ความมั่นคงภายนอก" ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณไม่มีปริญญาใบโตๆ จากสถาบันดังๆ คุณก็จะรู้สึกไม่มั่นใจ ถ้ามหาวิทยาลัยของคุณไม่มีตึกใหญ่โตโอ่อ่ายิ่งใหญ่อลังการ คุณหรืออย่างน้อยผู้บริหารสถาบันของคุณก็จะรู้สึกไม่มั่นใจ โยงใยไปถึงความพยายามในการสร้าง "ความมั่นใจภายนอก" ในรูปแบบอื่นๆ เช่น มือถือรุ่นล่าสุด เสื้อผ้านำสมัย รถยนต์คันใหญ่ ฯลฯ

ผู้เขียนคิดว่าเรื่องนี้ระบบการศึกษาต้องหันมามองอย่างจริงๆ จังๆ ไม่ใช่เพียงเฉพาะระบบมหาวิทยาลัย แต่เป็นการศึกษาทั้งระบบที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้เพียงแค่คนสองคนเริ่มจีบกัน ก็ต้องคิดไปถึงโรงเรียนอนุบาลของลูกแล้ว ว่าจะให้ลูกเข้าโรงเรียน "มีชื่อ" โรงเรียนไหน

อีกหน่อยสงสัยว่าต้องคิดข้ามช็อตไปขนาดว่า คลอดลูกคนนี้แล้วโรงเรียนอนุบาลของหลานจะเป็นโรงเรียนไหนด้วยกระมัง

ความมั่นใจและความมั่นคงด้านในของพวกเราหายไปไหนกันหมด

ผู้เขียนคิดว่าตรงนี้ถ้าพวกเราช่วยกันเริ่มสร้างสิ่งต่างๆ เหล่านี้กันตั้งแต่เดี๋ยวนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเกิดขึ้นกับตัวผมเลยในขณะที่ฟังคุณณัฐฬสพูดในวันนั้น ก็คือ "ความสุข" "ความรู้สึกมั่นคงลึกๆ" และเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยว่า "เราต้องฝึกและเรียนรู้ที่จะไว้ใจชีวิต" ของเรากันจริงๆ เสียที

และคิดว่าธรรมชาติมีความแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือว่า "ไม่มีคำว่าสายเกินไป" สำหรับการเรียนรู้ เช่น ตัวผู้เขียนเพิ่งเข้าใจสิ่งที่คุณณัฐฬสพูดเมื่ออายุสี่สิบกว่าแล้ว แต่คุณณัฐฬสรู้เรื่องเหล่านี้ตั้งแต่อายุยี่สิบกว่า ผู้เขียนก็ไม่ได้รู้สึกว่าสายเกินไป กลับรู้สึกขอบคุณและดีใจที่ตัวเองได้เริ่มเห็น "มุมมอง" ตรงนี้ของชีวิต

ลองคิดดูนะครับว่า แค่เราไว้ใจชีวิตและใช้ "ญาณทัศนะ" ในการดำเนินชีวิตนั้น มันช่างเป็นชีวิตที่วิเศษมีความสนุกสนานและมีความเบาสบายเพียงไร

ไม่ต้องแบกภาระให้วุ่นวายใจ-ปล่อยให้เป็นไป แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ทำอะไรหรือขี้เกียจทำ ตรงกันข้ามเลย กลับทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมหาศาล เพราะไม่ต้องเสียเวลาคิดเรื่องไร้สาระ

เป็นชีวิตที่เหมือนกับหนังสือเล่มดังของ เปาโล โคเอโย เรื่อง The Alchemist ที่บอกว่าเหมือนกับมีใครมาคุ้มครองให้เราเดินทางในทิศทางที่ควรจะเป็นไป

ทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตเป็น "การเรียนรู้" ความไม่พอเหมาะหรือขัดสนบางประการ "ไม่ใช่ความผิดพลาด" หากแต่เป็นเสมือน"สัญญาณ" ที่บอกอะไรบางอย่างกับชีวิต เช่น ถ้าคุณเดินชนประตูก็ควรจะแปลความหมายว่า คุณควรจะระวังตัวให้มากกว่านี้ หรือถ้าคุณป่วย ก็เป็นสัญญาณที่แสดงว่าคุณไม่ได้ดูแลตัวเองเลยนะ หรืออะไรประมาณนี้

การศึกษาในปัจจุบันที่ไม่ได้เน้นวิธีการสร้างคน หากแต่จะทำให้คนเกิด "ความมั่นใจจากภายนอก" ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ใหญ่โต ชื่อสถาบัน และใบประกาศที่บอกว่าสำเร็จการศึกษาตามที่ได้เกริ่นมานั้น ทำให้ใบปริญญาบัตรไม่ได้มีความหมายใดๆ เลย นอกจากเศษกระดาษแผ่นเดียว ที่แม้แต่ในปัจจุบันก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้คุณมีงานทำได้ตามที่ต้องการด้วยซ้ำไป ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ "เจ้าเศษกระดาษ" แผ่นนั้นกลับทำให้ "อัตตา" ภายในของพวกเราแต่ละคนเติบโตไปผิดทิศทาง กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้าง "ความขัดแย้ง" ในสังคมให้รุนแรงขึ้นอีกด้วย

กลับมาเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นคงด้านในที่น่าจะดีกว่ากันเถอะ

____________________________________
น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ drwithan@hotmail.com
โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
NewConsciousness@thainhf.org
มติชน วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9730
ขอบคุณโพสจาก  http://www.carefor.org/content/view/681/153/