ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 10:17:28 pm »

 :13: อนุโมทนาครับน้องฝน^^
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 09:15:04 pm »

พ้นทุกข์เมื่อปันสุขให้ผู้อื่น   

การรับรู้ว่ายังมีคนอีกมากมายที่ทุกข์ยิ่งกว่าเรา ช่วยให้เราทานทนเคราะห์กรรมได้มากขึ้น แต่ดียิ่งกว่านั้นก็คือการก้าวพ้นจากโลกของตัวเอง ออกไปช่วยเหลือคนเหล่านั้น
 

ภาวัน

มิเนโกะ อิวาซากิ เป็นอดีตเกอิชาที่มีชื่อเสียงทั่วโลกจากหนังสือเรื่อง Geisha และยังเป็นที่มาของหนังสือยอดนิยมเรื่อง Memoirs of a Geisha ของอาเทอร์ โกลเดน ในวัยเด็กนั้นเธอมีชีวิตที่ลำบากแสนเข็ญ เนื่องจากเป็นเด็กกำพร้าและไร้การศึกษา ลุงจึงนำเธอไปขายให้แก่สำนักเกอิชาตั้งแต่ยังเล็ก ชีวิตของเธอเต็มไปด้วยเคราะห์กรรม นอกจากสูญเสียน้องชายที่รักแล้ว เธอยังสูญเสียคนรักที่เป็นทุกอย่างในชีวิต

แล้ววันหนึ่งเธอก็ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง เธอเดินเข้าไปในป่าท่ามกลางพายุหิมะและนั่งรอความตายอันหนาวเหน็บ แต่ชายชราผู้หนึ่งช่วยชีวิตเธอเอาไว้

ชายชราพูดประโยคหนึ่งซึ่งเตือนใจให้เธอได้คิด "คนที่คิดถึงแต่ตัวเองย่อมอยากตายทั้งนั้น" ชายชราขอให้เธอกลับเข้าไปในเมือง และทำดีกับผู้อื่นวันละคน หลังจากนั้นถ้าเธอยังอยากตาย เขาจะช่วยเธอให้สมปรารถนา

เธอทำตามที่ชายชราแนะนำ เธอเริ่มต้นด้วยการซื้อหนังสือให้เด็กยากจนคนหนึ่ง จากนั้นเธอก็เล่านิทานให้เด็กฟังวันละคนสองคน ต่อมาเธอเริ่มแต่งนิทานเอง นับแต่วันนั้นเธอไม่เคยกลับเข้าไปในป่าแห่งนั้นอีกเลย

ในยามที่เราประสบเคราะห์กรรม เรามักคิดว่าโลกนี้โหดร้ายกับเราเป็นอย่างยิ่ง "ทำไมถึงต้องเป็นฉัน ?" ทุกคนอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามนี้ราวกับว่ามีฉันคนเดียวที่โชคร้ายอย่างนั้น แต่ทันทีที่เรามองพ้นตัวเองออกไป จะพบว่าคนที่ทุกข์อย่างเราก็มีไม่น้อย และคนที่ทุกข์ยิ่งกว่าเรายังมีอยู่อีกมากมาย

การรับรู้ว่ายังมีคนอีกมากมายที่ทุกข์ยิ่งกว่าเรา ช่วยให้เราทานทนเคราะห์กรรมได้มากขึ้น แต่ดียิ่งกว่านั้นก็คือการก้าวพ้นจากโลกของตัวเอง ออกไปช่วยเหลือคนเหล่านั้น การได้ช่วยเหลือผู้อื่นไม่เพียงช่วยให้เราหมกมุ่นกับความทุกข์ของตัวเองน้อยลงเท่านั้น หากยังทำให้จิตใจได้รับความสุข สุขเพราะรอยยิ้มของผู้ที่ได้รับไมตรีจากเรา และสุขเพราะได้พบว่าชีวิตของเรายังมีคุณค่าอีกมาก หาได้ไร้ค่าอย่างที่เคยเข้าใจไม่

"ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข" พุทธภาษิตนี้คือความจริงที่คงทนต่อการพิสูจน์เสมอ

.............................................

หญิงผู้หนึ่งซึ่งเป็นแพทย์เด็กได้สูญเสียสามีอย่างปัจจุบันทันด่วน เธอโศกเศร้ามากจนไม่มีใจทำอะไรทั้งสิ้น แม้จะกลับไปที่ทำงานหลังเสร็จสิ้นพิธีศพ เธอก็ได้แต่นั่งจับเจ่าอยู่ในห้อง ไม่ออกไปหาคนไข้ และไม่พูดไม่จากับใคร หัวหน้าและเพื่อน ๆ ในแผนกกุมารเวชพยายามปลอบโยนและให้กำลังใจ แต่ก็ไร้ผล

ผ่านไปสองสัปดาห์เธอก็ยังไม่สร่างซาจากความโศกเศร้าและความเงียบงัน ในที่สุดหัวหน้าก็คิดวิธีหนึ่งขึ้นมาได้ เขานำทารกคนหนึ่งที่ป่วยหนักไปวางไว้บนโต๊ะทำงานของเธอ พร้อมกับบอกว่าทารกคนนี้ต้องการการดูแลรักษา แล้วเขาก็เดินออกจากห้องไป

ทีแรกเธอก็นั่งเฉย แต่ไม่นานทารกก็เริ่มร้องไห้ เธอยังคงนั่งนิ่งไม่ไหวติง แต่เมื่อทารกร้องดังขึ้น เธอก็อยู่เฉยไม่ได้ ลุกขึ้นมาดูทารก และพบว่าจำต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมและป้อนนม เสร็จแล้วเธอก็กลับไปจับเจ่าเหมือนเดิมอีก แต่ทารกไม่ยอมให้เธอทำเช่นนั้นได้นาน เธอจึงต้องลุกขึ้นมาดูแลเด็กเป็นระยะ ทีนี้ไม่ใช่แค่เปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนนม แต่เยียวยาอาการเจ็บป่วยของเด็กน้อยด้วย

วันรุ่งขึ้นเมื่อกลับมาที่โรงพยาบาล สิ่งแรกที่เธอทำคือถามว่าทารกคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เธอเข้าไปตรวจดูอาการของทารกถึงเตียง และพบว่ายังมีทารกอีกหลายคนที่รอคอยการดูแลรักษาจากเธอ

วันนั้นทั้งวันเธอจึงง่วนอยู่กับการรักษาเด็ก วันถัดไปก็เช่นเดียวกัน เธอไม่มีเวลาที่จะเจ่าจุกกับความทุกข์อีกต่อไป ไม่นานเธอก็คลายจากความโศกเศร้า และกลับมาเป็นคนเดิมที่แย้มยิ้มหัวเราะได้

.....................................

คนเราทุกข์ไม่ใช่เพียงเพราะว่าประสบกับสิ่งไม่สมหวังเท่านั้น หากยังเป็นเพราะเราเอาใจไปหมกมุ่นเจ่าจุกกับความไม่สมหวังด้วย ยิ่งหมกมุ่นก็ยิ่งทุกข์ แต่เมื่อใดที่ถอนใจออกไปจดจ่อกับสิ่งอื่นแทน ความทุกข์ก็จะบรรเทาลง การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถดึงจิตออกไปจากความทุกข์ได้ อีกทั้งยังมีความสุขเป็นรางวัลตอบแทน

คนเราทุกข์ไม่สร่างก็เพราะมัวแต่คิดถึงแต่ตัวเอง เพราะเหตุนี้ใช่ไหมชายชราจึงเตือนสติมิเนโกะอิวาซากิว่า "คนที่คิดถึงแต่ตัวเองย่อมอยากตายทั้งนั้น"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้ารักตัวเองจริงก็อย่าลืมนึกถึงผู้อื่นให้มาก ๆ

 

จาก www.budpage.com
 ขอบคุณโพสจาก  http://www.carefor.org/content/view/1431/153/