ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2010, 12:15:32 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2010, 11:35:22 am »




อะไรคือตุ้น ( ฉับพลัน )
กับ
เจี้ยน ( ค่อยเป็นค่อยไป ) ?


ปัญหาฉับพลันกับค่อยเป็นค่อยไป คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิด
เห็นว่าธรรมวิถีของลัทธิฉับพลันกับธรรมวิถีของลัทธิค่อยเป็นค่อยไปนั้น
เป็นวิธีบำเพ็ญที่แตกต่างกันสิ้นเชิง
คนที่ชอบความสะดวกสบายจะนิยมลัทธิฉับพลันปฏิเสธลัทธิค่อยเป็นค่อยไป

ทุกคนทราบดีว่า ฌานสมาธินั้นเป็นทฤษฏีรู้แจ้งอย่างฉับพลัน มีความเห็นว่า
ไม่ต้องใช้ตัวหนังสือก็เข้าถึงแหล่งจิตโดยตรง ดังนั้นคนเป็นจำนวนมาก
ที่ถือพุทธศาสนานิกายฌานมักจะวิพากษ์วิจารณ์ผู้ถือทฤษฏีค่อยเป็นค่อยไป
 
จริงๆแล้ว ธรรมวิถีฉับพลันกับค่อยเป็นค่อยไปเป็นด้าน 2 ด้าน
ในองค์เดียวกับ ฉับพลันนั้น
ฉับพลันจากค่อยเป็นค่อยไป ค่อยเป็นค่อยไปนั้น ก็ค่อยเป็นค่อยไป
จากฉับพลัน ไม่มีค่อยเป็นค่อยไป  ก็ไม่มีฉับพลัน
มีฉับพลันจำต้องมีค่อยเป็นค่อยไปก่อน ค่อยเป็นค่อยไปคือมูลเหตุ
ของฉับพลัน ฉับพลันเป็นผลของค่อยเป็นค่อยไป
 
ต่อปัญหานี้ อาตมามีความเห็นตั้งแต่สมัยสาธารณศกที่ 47 แล้วว่า
" ที่เรียกว่าปัญหาฉับพลันกับค่อยเป็นค่อยไปก็คือ อยู่ที่การชี้จุดแตกฉาน
ด้วยอนุสติหนึ่ง หรือสุกงอมด้วยเหตุปัจจัยในขั้นสุดท้าย
เปรียบเหมือนไข่ไก่ที่ผ่านการฟูมฟักมา 20 วันแล้ว ถ้าลูกไก่ไม่มีแรง
ดิ้นรนออกจากเปลือกไข่
แต่ครั้นแม่ไก่ใช้ปากจิกเปลือกไข่แตกเป็นช่องโหว่ ลูกไก่ก็จะออกจาก
เปลือกไข่ได้ และมีชีวิตชีวา แต่การจิกเปลือกไข่ของแม่ไก่ก็คือ
การหนุนนำให้สำเร็จของเหตุปัจจัย

ทำนองเดียวกัน เราศึกษาพุทธ เนื่องจากในอดีตชาติของเรามีกุศลมูล
แน่นหนา ดังนั้นพอถึงชาตินี้ ขอเพียงได้รับการชี้จุดจากประตูฌาน
โดยบังเอิญ ก็สามารถแตกฉานได้โดยอนุสติหนึ่ง พ้นจากปุถุชน เข้าสู่
ภาวะอริยะบุคคลในฉับพลันทันทีได้
ดังนั้นที่เรียกว่าความรู้แจ้งโดยฉับพลันนั้นก็ไม่เห็นมีอะไรเร้นลับ

" ( จากหนังสือ " พุทธศาสนาในชีวิตคนเรากับศาสนา " หน้า 78 )
 
ฉะนั้น ถ้าพิจารณาสรรพสัตว์จากตำแหน่งอริยผลของพุทธะแล้ว
สรรพสัตว์ทั้งปวง ล้วนมีคุณลักษณะสติปัญญาของตถาคตเจ้า
ล้วนมีธรรมชาติแห่งการจะสำเร็จเป็นพุทธะ

ดังนั้นพุทธะจึงเห็นสรรพสัตว์เสมอด้วยพุทธะ นี่คือทฤษฎีของฉับพลัน

ถ้าพิจารณาพุทธะจากตำแหน่งของสรรพสัตว์ สัตว์ทั้งหลายแม้จะสำเร็จ
เป็นพุทธะได้ แต่ก่อนที่สัตว์ทั้งหลายจะสำเร็จเป็นพุทธะได้นั้น
ก็จะต้องผ่านการบำเพ็ญในระยะยาวถึง 52 ขั้น
จึงจะไปถึงขั้นของพุทธะได้ นี่คือทฤษฎีของค่อยเป็นค่อยไป

เมื่อการบำเพ็ญค่อยเป็นค่อยไปครบถ้วนกระบวนความ ตำแหน่งอริยะผล
ของพุทธะ
ก็จะปรากฏชัดในฉับพลัน บรรลุโสดาบันเป็นสัมมาสัมโพธิญาณ


Credit by : agalico.com
 :13:  sookjai.com/

สุขาวดีนั้นอยู่สุดแสนไกล
นับด้วยล้านโกฏภพ
ฉันจะไปที่นั่นได้อย่างไร
หากอาศัยเพียงรองเท้าฟางคู่หนึ่ง

- ไฮกุ ท่านอิกคิวซัง -
โดย : มดเอ๊กซ
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ