เตือนคนชอบกินผัก ผลไม้นำเข้าระวังให้ดี
* อาหาร
* เรื่องเด่น
อาจเจอสารพิษตกค้าง เสี่ยงเกิดมะเร็ง!!
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยตั้งแต่ปี 2551-2553 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจวิเคราะห์ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ และธัญพืชนำเข้า จำนวน 1,047 ตัวอย่างจาก 63 ชนิด พบสารเคมีกำจัดแมลงตกค้าง 27ชนิด ในจำนวนนี้มี 44 ตัวอย่างจาก 12 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 4.2 ที่พบว่ามีการตกค้างเกินเกณฑ์มาตรฐานแนะผู้บริโภคนำผักผลไม้แช่ในน้ำส้ม สายชู 10เปอร์เซ็นต์หรือน้ำเกลือแล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ช่วยลดการตกค้างได้ร้อยละ 29-84
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการเปิดเขตการค้าเสรีของประเทศไทยกับต่างประเทศ ลดภาษีสินค้านำเข้าทำให้มีการนำเข้าอาหารชนิดต่างๆ รวมถึงมีการนำเข้าผักผลไม้ที่ต่างประเทศสามารถปลูกได้มากกว่าประเทศไทยส่งผล ให้ราคาถูกกว่าและบางชนิดไม่สามารถปลูกได้ในประเทศดังนั้นเพื่อเป็นการคุม ครองผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ดำเนินงานเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมี กำจัดแมลงในผัก ผลไม้ เครื่องเทศและธัญพืชนำเข้าโดยการเก็บตัวอย่างอาหารดังกล่าวจากด่านต่างๆของ กองงานด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระหว่างปี พ.ศ.2551 -2553 เพื่อตรวจวิเคราะห์ จำนวน 1,047 ตัวอย่างซึ่งนำเข้าจาก 24 ประเทศ เป็นผัก ผลไม้ เครื่องเทศและธัญพืชจำนวน 63 ชนิด ตรวจพบสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างในผัก ผลไม้ เครื่องเทศ และธัญพืช จำนวน 27 ชนิดได้แก่กระหล่ำดอก คื่นไช่ ฉ่อย ผักไท่ซิม คะน้า กวางตุ้ง ฮ่องเต้หอมหัวแดง แครอท เห็ด ลิ้นจี่ สตรอเบอร์รี่ พลับ ส้ม กีวี่ องุ่น บูลเบอร์รี่แช่แข็ง พลัม ทับทิม แพร์ แอปเปิ้ล แก้วมังกร พริก ข้าวสาลี ข้าวไรน์ ซีเรียล และน้ำผลไม้ ในจำนวนนี้มี 44 ตัวอย่างจาก12 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 4.2 ที่พบว่ามีสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างเกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณ สุขได้แก่ ผักไท่ซิม 1 ตัวอย่าง ผักกวางตุ้ง 2 ตัวอย่าง ผักคะน้า 5ตัวอย่าง ผักฉ่อย 1 ตัวอย่าง เห็ดหูหนูขาวแห้ง 1 ตัวอย่าง ลิ้นจี่ 4 ตัวอย่าง ส้ม 16 ตัวอย่าง พลับ 1 ตัวอย่าง องุ่น 2 ตัวอย่าง แก้วมังกร 2 ตัวอย่างพริกแห้งและพริกสด 8 ตัวอย่าง และข้าวไรน์ 1 ตัวอย่าง
รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า สารเคมีกำจัดแมลงที่พบเกินเกณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และไพรีทรอยด์ ตามลำดับ อาการเป็นพิษของการได้รับสารเคมีกำจัดแมลงดังกล่าว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง แน่นหน้าอก และในกรณีเป็นพิษเรื้อรังอาจจะทำให้เกิดมะเร็งได้ ในกรณีกลุ่มออร์กาโนคลอรีน แม้มีประกาศห้ามใช้แล้วแต่อาจมีการตกค้างเนื่องจากมีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังในการเลือกซื้อ และทำความสะอาดผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนการนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานโดยตรง โดยผู้บริโภคสามารถลดปริมาณการตกค้างของสารเคมีกำจัดแมลงได้ร้อยละ 29-84 ด้วยการแช่ในน้ำส้มสายชู 10 เปอร์เซ็นต์หรือแช่ในน้ำเกลือ (น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะละลายในน้ำ 4 ลิตร) นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง หากเป็นผักให้ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหรือล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำ นานอย่างน้อย 2 นาทีก็ช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้เช่นกัน
นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหน่วยงานตรวจวิเคราะห์อาหาร นอกจากจะดำเนินงานเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมีตกค้างในผัก ผลไม้ เครื่องเทศ และธัญพืชนำเข้าแล้ว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาชุดทดสอบคัดกรองและตรวจหา ชนิดสารกำจัดแมลง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต ออร์กาโนคลอรีนและไพรีทรอยด์ในผัก ผลไม้และธัญพืชขึ้น โดยเป็นชุดทดสอบที่มีราคาถูก ทดสอบได้ด้วยตนเองใช้งานง่ายให้ผลรวดเร็วภายใน 30 นาที ได้ผลถูกต้องแม่นยำมากกว่าร้อยละ 93 ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ อสม. ชุมชน ตลาดสด ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน และห้องปฏิบัติการด่านตรวจสินค้านำเข้าเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเฝ้าระวังการ ปนเปื้อนของสารกำจัดแมลงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งเป็นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะดำเนินงานสุ่มเก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ เครื่องเทศและธัญพืชนำเข้าอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยของผู้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
http://www.thaihealth.or.th/node/16956