ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 09:25:05 pm »

 :13: อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:06:19 pm »

สาธุสาวแก้มป่อง :06:
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:05:01 pm »



爱 หรือ 愛 จีนกลาง = ไอ้ จีนแต้จิ๋ว ไอ่ แปลว่า รักด้วยความจริงใจ ชอบในสิ่งที่ควร หวงแหน สิ่งที่ตนนิยม อันแสดงถึง ความรักที่เป็นสาธารณะ หรือ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้องนี่เองที่ชาว จีนถือว่าเป็นคุณธรรมประจำใจ อันตกทอดสืบต่อกันมาของสายเลือดมังกร และถือว่าเป็นมงคลแห่งชีวิตที่ควรประพฤติปฏิบัติตาม ดั่งคำที่ชาวจีนมักกล่าวกันไว้ว่า เมื่อคนเรามีคุณธรรมแล้วโชคลาภความร่ำรวยชื่อเสียงเกียรติยศย่อมตามมาหรือใน

มุมกลับกัน ถ้าไร้ซึ่งคุณธรรมเสียแล้ว แม้จะเก่งกล้าหรือดวงดีสักแค่ไหน สุดท้ายก็จะพบแต่ความพินาศดังนั้นจึงเห็นว่าชาวจีนมักจะติดวลีคุณธรรม มงคลไว้กันในบ้านเรือนเพื่อเตือนใจว่า 孝悌忠信礼义廉耻 หรือคำว่า 忠孝仁愛禮義廉耻 กันอยู่ เสมอเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจถึงการมีคุณธรรมประจำใจ อันจะนำมาซึ่งโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตทั้งมวล


ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:03:56 pm »




6.义 หรือ 義 จีนกลาง = อี้ จีนแต้จิ๋ว หงี หมายถึง มโนธรรมความสันโดษมักน้อย หลักธรรมนองคลองธรรม สัจธรรม ถ้าหากมีความเป็นธรรมในหัวใจอันเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำแล้ว มนุษย์ย่อมไม่กระทำในสิ่งชั่วร้าย จะไม่โลภในทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วจะรู้จักการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นด้วย

7. 廉จีนกลาง = เหลียน จีนแต้จิ๋ว เนี้ยมหมายถึง สุจริตธรรม มือสะอาด ไม่คดโกง และต้องเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายด้วยการกระทำความดี ทั้งใน
ด้านการงาน การเงิน มารยาทระหว่างชายหญิง มีกายวาจาใจที่เที่ยงตรง และมีพฤติกรรมการแสดงออกที่เที่ยงตรง

8. 耻 หรือ 恥 จีนกลาง = ฉวื่อ จีนแต้จิ๋ว  ชี่ แปลว่า ยางอาย ความละอายต่อความชั่ว อีกทั้งคุณธรรมข้อนี้ยังสอนให้รู้จักอดทนอดกลั้นต่อคำสบประมาทหรือเหยียด หยาม โดยก่อนจะโกรธหรือเกลียดใครให้ชั่งใจก่อนว่าสิ่งที่เขากล่าวมานั้น เราได้ทำดีหรือทำผิดไปหรือไม่ ถ้าทำดีแล้วก็ปล่อยวาง แต่ถ้าเราทำไม่ดีอย่างที่เขาว่าก็ควรปรับปรุงตัว
นอกจากคุณธรรมทั้ง 8 ประการของขงจื้อนี้แล้ว ชาวจีนบางท่านอาจนำคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายกันแทนคุณธรรมข้อ 悌 กับ 信 ก็มีคือคำว่า

仁 จีนกลาง = เหยิน จีนแต้จิ๋ว ยิ้ง แปลว่า เมตตาปราณี เมตตาการุณย์ มีสัจจะ มีศีลธรรม มีธรรมประจำใจ หรือ คุณธรรมของบัณฑิต เพราะความเมตตาปราณีนั้นจะนำมาซึ่งมิตรที่ดี



ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:03:01 pm »





1.孝 จีนกลาง = เซี่ยว จีนแต้จิ๋ว เห่า อันหมายถึง การมีความกตัญญูกตเวที อันเป็นคุณธรรมอันดับแรกที่จะขาดเสียมิได้ เพราะชาวจีนจะถือเป็นเรื่องใหญ่ว่า ถ้าคนเราไม่รู้สำนึกในบุญคุณคนและไม่รู้จักการตอบแทนบุญคุณแล้ว ถือว่าคนผู้นั้นไร้ซึ่งคุณธรรมเลยทีเดียว

ซึ่งจะแยกย่อยออกเป็น 4 ข้อใหญ่ดังนี้ คือ........................................

1.ไม่นำความเสื่อมเสียมาให้แก่ผู้ที่มีบุญคุณ

2.ช่วยรับภาระความทุกข์ของผู้มีบุญคุณ

3.ตอบแทนบุญคุณด้วยความเคารพและจริงใจ

และ 4 โอนอ่อนไม่ขัดใจ ไม่ขัดเคืองโกรธตอบในสิ่งที่ท่านสั่งสอน

2. 悌 = จีนกลาง ที่ จีนแต้จิ๋ว ตี๋ อันหมายถึง ความรักใคร่ปรองดอง หรือ การให้ความเคารพปรนนิบัติรับใช้ผู้ที่มีอายุมากกว่าชาวจีนถือว่าการที่ครอบ ครัวหรือชุมชนนั้นมีความปรองดอง รู้จักให้อภัย รู้จักอดทนซึ่งกันและกัน รู้จักเอื้ออารีกัน ย่อมจะทำให้เกิดความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองตามมา

3. 忠 จีนกลาง = จง จีนแต้จิ๋ว ตง หมายถึง ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ตรงไปตรงมา อันสื่อถึงการวางหัวใจของตนนั้นให้เที่ยงตรงไม่โอนเอียง มีความยุติธรรมเป็นหลักไม่หักหลังทำสิ่งน่าละอายต่อตนเองและผู้อื่นซื่อตรง ต่อฟ้าดิน ต่อบ้านเมือง และบุคคลทั่วไป คือ มีความซื่อตรงทั้งต่อหน้าและลับหลัง

4.信 จีนกลาง = ซิ่ง จีนแต้จิ๋ว สิ่ง หมายถึง มีสัจจะ มีสัตย์ ซึ่งวาจาสัตย์นั้นถือว่าเป็นบรรทัดฐานแห่งมนุษยธรรมอันล้ำค่า ดังจะได้ยินจากภาพยนต์อยู่บ่อยว่า พูดแล้วไม่คืนคำ อันจะนำมาซึ่ง ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ และเกียรติคุณในอนาคต

5.礼 หรือ 禮 จีนกลาง = หลี่ จีนแต้จิ๋ว โล่ย ลี่ หมายถึง จริยธรรม จารีตประเพณี การให้ความเคารพ มารยาท ชาวจีนเชื่อว่าคนเรานั้นประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานและคนเราจะได้รับการ ยกย่องก็ต่อเมื่อคนเรานั้นมีจริยธรรม มารยาทอันดีงาม รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสุภาพสง่างาม มีสัมมาคารวะ เคารพในสิทธิของผู้อื่น

ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:02:03 pm »






................................孔子八德...........................

ในตอนที่ขงจื้อนั้นได้เจอกับเจ้ารัฐฉีก็ ได้มีการสนทนากันถึงเรื่องการทำอย่างไรให้รัฐฉีเข้มแข็ง ขงจื้อจึงตอบไปว่าบ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองเข้มแข็งได้นั้น ประชาชนจะต้องมีคุณธรรมก่อนเป็นลำดับแรก
คุณธรรมทั้ง 8 ประการของขงจื้อนั้น ชาวจีนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและอยู่ในสายเลือดของชาวจีนมานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว โดยถือว่าผู้ใดที่มีคุณธรรมทั้ง 8 ประการนี้จะเป็นผู้ที่เจริญรุ่งเรือง มากมายด้วยบารมีและอำนาจ

ขงจื้อ 孔子 นั้นเป็นคำที่ชาวมักรู้จักกันดีว่าเป็นปราชญ์เอกของชาวจีน โดยถ้าจะออกเสียงเป็นสำเนียงจีนกลางแล้วจะออกเสียงว่า ข่งจวื่อ หรือในสำเนียงแต้จิ๋วว่า ค่งจื้อ ซึ่งมีชื่อเดิมว่า ข่งชิว 孔丘 เกิดเมื่อประมาณ 551 ปีก่อนคริสตกาล

ขงจื้อนั้นเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความรู้ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา การดนตรี การบริหารเป็นอย่างดี เขานั้นเกิดมาท่ามกลางกลียุคที่ประเทศจีนแบ่งแยกออกเป็นก๊กต่าง ๆ แล้วทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างเจ้ารัฐทั้งหลายเขาจึงมองหาช่อง ทางอันเป็นช่องทางที่จะทำ ให้เกิดสันติสุขที่แท้จริงในชีวิตของคนเราจึงได้เที่ยวสั่งสอนอบรมศีลธรรมจรรยาให้ผู้คนทั่วไป ครั้นหนึ่งเคยรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แต่ภายหลังด้วยความเบื่อหน่ายในเกมการเมืองจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง แล้วท่องเที่ยวไปในแคว้นต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่คุณธรรมของ

เขาจนเป็นที่รู้จักไปทั่วแผ่นดินจีนในสมัยนั้นบั้นปลายชีวิตขงจื้อได้เดิน ทางกลับสู่ แคว้นหลู่ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน เลิกยุ่งกับการเมือง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์อบรมสั่งสอนสานุศิษย์เพียงอย่างเดียวจนถึงแก่กรรมคำสอน ของขงจื้อนั้นจะสั่งสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนโดยสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติตามคุณธรรม 8 ประการ 八德 หรือ ปาเต่อ ในภาษาจีนกลางและ โป่ยเต็ก ในภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยคุณธรรมทั้ง 8 ประการนั้นจะมีดังนี้........