ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 12:30:52 am »

 :13: อนุโมทนาครับ^^

 ขอบคุณคุณนู๋ตาครับ
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 10:49:48 pm »

“โรงเรียนพระดาบส” บทพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
 

 
 
บทพระราชนิพนธ์ใน

 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

 
 
ไม่ว่าจะประทับอยู่ ณ ที่แห่งใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมี พระราชกรณียกิจ นานาประการเสมอมามิได้ขาดทั้งในด้านพระราชพิธี และพระราชกรณียกิจอื่นๆ ที่ต้องอาศัยพระราชวินิจฉัย ดังเราจะได้เห็นแนวพระบรมราโชบายในบางส่วนจากพระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสต่างๆเช่น ในงานพระราชทานพระปริญญาบัตร หรือในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านเป็นต้น

ในปีหนึ่งๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปในภาคต่างๆ ของประเทศเป็นเวลานาน พระราชกรณียกิจขณะที่ประทับอยู่แต่ละแห่ง นอกจากจะเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรและตำรวจ ทหารในท้องถิ่นและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังได้ทรงมีพระราชดำริในอันที่จะปรับปรุงอาชีพของราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเกษตรกร โครงการพระราชดำริต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่ทรงเตรียมการและไตร่ตรอง ใคร่ครวญแล้วเป็นอย่างดี ก่อนที่จะเสด็จราชดำเนินไป ณ ท้องถิ่นใดก็จะต้องทรงศึกษาลักษณะพื้นที่ สภาพของแหล่งน้ำและสันเขาจากพื้นที่ สภาพอากาศจากแผนที่และข่าวอากาศซึ่งทรงได้รับเป็นประจำ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงท้องที่นั้น ทรงได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการไต่ถามราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้เห็นสภาพดิน ภูมิประเทศได้ประชุมปรึกษากับข้าราชการหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องรายละเอียด แล้วจึงทรงเล่าเรื่องการปฏิบัติงานให้แก่ราษฎรที่มารับเสด็จด้วย ในงานพัฒนาและโครงการในพระราชดำรินี้ ทรงถือว่าพระภิกษุสงฆ์ เป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งยวด เช่นเดียวกัน สังคมไทยวัดเป็นศูนย์กลาง พระภิกษุนอกจากจะเป็นผู้สั่งสอนธรรมะแล้วยังมักเป็นที่ปรึกษาทั่วๆไปในการประกอบอาชีพของชาวบ้านด้วย ดังนั้น วัดบางครั้งก็มีสภาพเป็นศูนย์พัฒนาเป็นที่รวบรวมข้อมูลข้อคิดเห็นของราษฎร เป็นที่สาธิตของโครงการที่ทรงแนะนำด้วย

เป็นที่แน่ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาความรู้หลายแขนง ทรงเป็นนักคิดนักค้นคว้า และยังทรงอธิบายถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้ทราบและส่งเสริมการค้นคว้าความรู้ กล่าวคือทรงเป็นครูที่ดี เมือเสด็จออกเยี่ยมราษฎรมักจะทรงแนะนำผู้ที่มาเฝ้ารอรับเสด็จถึงเรื่องต่างๆ เช่นการรักษาต้นน้ำลำธาร การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ตัวอย่างของความเป็นครูของท่านที่เป็นประสบการณ์คือ ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานโดยทางรถยนต์ เมื่อข้าพเจ้ามีอายุได้ประมาณ 7-8 ปี และได้โดยเสด็จในรถด้วย ก็ทักจะทรงสอนข้าพเจ้าและพี่ๆ ให้รู้จักวิธีการคำนวณเวลาจากระยะทางและความเร็วสภาพภูมิประเทศที่เห็น ถ้าเป็นเวลากลางคืนก็จะทรงสอนให้รู้จักดาวต่างๆในท้องฟ้า

วันหนึ่งเมื่อข้าพเจ้าแกล้งถามคนที่อยู่ด้วยว่า ข้าวในกระสอบหนึ่งมีกี่เม็ด ไม่มีใครตอบ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าฯให้ไปเอาข้าวสารมาลิตรหนึ่ง ทรงให้ข้าพเจ้าตกลงใจยอมรับว่า ค่าที่ได้จะเป็นค่าโดยประมาณ และให้เอาถ้วยตะไลเล็กๆ ตักตวงข้าวดูว่าข้างลิตรหนึ่ง เป็นกี่ถ้วยตะไลแล้วนับเมล็ดข้าวในถ้วยตะไลนั้นแล้วเอาจำนวนเม็ดคูนด้วยจำนวนถ้วยได้เป็นจำนวนเม็ดข้าวในลิตร แล้วคูณขึ้นไปก็เป็นจำนวนลิตรในถัง จำนวนถังในกระสอบ ก็จะได้จำนวนเม็ดข้าวในกระสอบ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้ารู้จักจำนวนโดยประมาณ

เมื่อโตขึ้นต้องเรียนเลขและทำโจทย์ในหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตัวโจทย์ที่ตั้งขึ้นคล้ายๆกันไปหมด ข้าพเจ้าจึงมักยกเอาความเบื่อเป็นเหตุผลของความขี้เกียจเรียนวิชานี้โดยอ้างว่าไม่เห็นจะเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขความขี้เกียจนี้ โดยเวลาที่ปิดภาคเรียนใหญ่เกือบ 3 เดือนได้ทรงตั้งโจทย์เลขให้ทำเพียง 2 ข้อ ข้อหนึ่งเกี่ยวกับถังน้ำ ซึ่งข้าพเจ้ารู้จักดี เพราะอำเภอหัวหินที่เราอยู่นั้นค่อนข้างแห้งแล้ง ถังน้ำเป็นของจำเป็น เมื่อหน่วยแพทย์พระราชทานออกไปพัฒนาในหมู่บ้านใกล้ๆ พวกเราจะรวบรวมเงินกันแล้วซื้อถังน้ำให้แก่หมู่บ้านต่างๆ ถังน้ำในเรื่องนี้สมมุติว่าเป็นถังหนึ่งที่ข้าราชบริพารช่วยกันบริจาคข้าพเจ้าต้องคำนวณดูว่าวันๆหนึ่งมีน้ำเท่าไร คนใช้ไปเท่าไร ฝนตกเท่าไร และแถมถังน้ำเจ้ากรรมยังรั่วอีกด้วย โจทย์นี้คิดเท่าไรก็ไม่มีวันเสร็จ

ส่วนโจทย์อีกข้อหนึ่ง เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของครอบครัวหนึ่งซึ่งมีฐานะค่อนข้างยากจนแม้ว่าจะมีลูกเป็นนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระราชทานเงินช่วยค่าครองชีพ ก็ยังไม่ค่อยพอเมื่อเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ทำงานไม่ได้ แถมวันหนึ่งเกิดพายุอย่างรุนแรง หลังคาบ้านชำรุดเสียหาย ต้องเสียค่าสังกะสีมาซ่อมแซม จึงต้องไปกู้เงินเขามาพร้อมเสียดอกเบี้ย โจทย์ข้อนี้ก็ไม่มีวันจบเหมือนกันและมีประโยชน์ดีทำให้รู้ราคาของแห้งของสด ของใช้ ซึ่งต้องสืบสวนหาตัวเลขจริง ไม่ได้แต่งเอาเอง

ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าไม่กล้าบ่นขี้เกียจเรียนเลขอีกเลย

เมื่อเรียนภูมิศาสตร์ แทนการท่องหนังสืออย่างเดียว ก็ทรงส่งเสริมให้ดูสภาพต่างๆ จากของจริง เทียบกับแผนที่ แม้แต่เมฆก็ไม่ได้ให้ท่องแต่เพียงชื่อในหนังสือเท่านั้น ทรงสอนให้ดูเมฆจริงๆทีเดียว วิธีการสอนอย่างนี้ไม่ได้ทรงทำเฉพาะกับลูกเท่านั้นทรงตั้งพระราชหฤทัยให้คนไทยทุกคนมีโอกาสได้ศึกษาวิชาความรู้พระราชปณิธานนี้ จะได้เห็น ชัดจากโครงการหนึ่ง ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนักและหลายคนคงจะรู้สึกแปลกใจเมื่อใครกล่าวถึง โรงเรียนพระดาบส”

เนื่องด้วยมีบุคคลเป็นจำนวนมากที่มีความรักวิชาการ อยากหาความรู้ใส่ตน แต่ไม่สามารถหาที่เรียนได้ โดยขาดแคลนทุนทรัพย์ บางคนก็ไม่มีคุณสมบัติที่จะเข้าศึกษาตามโรงเรียนทั่วๆไปได้ บางครั้งโรงเรียนในระบบก็มีข้อขัดข้องบางประการทำให้ครูไม่สามารถให้ความรู้แก่นักเรียนได้เต็มที่ จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการศึกษานอกระบบขึ้น มีลักษณะเดียวกับการศึกษาในโบราณกาล (เช่นเดียวกับที่มีในหนังสือเก่าๆ เช่น นิทานชาดก เป็นต้น) ผู้ที่ต้องการหาความรู้ มักจะดั้นด้นไปหา “พระอาจารย์” ซึ่งมักจะเป็น “พระดาบส” ตั้งสำนักอยู่ในป่าแล้วฝากตัวเป็นศิษย์ เมื่อพระอาจารย์เห็นว่าบุคคลนั้นมีความตั้งใจจริงก็รับไว้ และถ่ายทอดวิชาให้โดยไม่ปิดบัง พร้อมกันนั้นก็อบรมสั่งสอนศีลธรรมจรรยาด้วย ลูกศิษย์ก็จะตอบแทนคุณพระอาจารย์โดยการปรนนิบัติรับใช้ เช่นหาผลไม้ ตักน้ำ ทำความสะอาดอาศรมกุฎีจนกระทั้งเมื่อมีความรู้พอก็จะลาพระอาจารย์กลับสู่บ้านเมือง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสถานที่เป็นอาศรมของ พระดาบส อาหารและเครื่องยังชีพของพระดาบส และศิษย์ในสมัยโบราณนั้นย่อมได้จากป่า (ผลไม้ หน่อไม้ ฯลฯ) ในกรณีนี้จะต้องมี ป่าสังเคราะห์ กล่าวคือ เงินทุนพระราชทานเป็นค่ากินยู่ และค่าใช่จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งมีหลักคือการดำเนินการของ โรงเรียนพระดาบส นี้จะต้องเป็นการดำเนินกิจการสาธารณประโยชน์และจะไม่จัดเป็นรูปงานธุรกิจโดยเด็ดขาด

วิชาที่ พระดาบส” สมัยใหม่เปิดสอนในระยะทดลอง เป็นวิชาช่างไฟฟ้า วิทยุ ใช้สถานที่ของสำนักพระราชวัง ณ บ้านเลขที่ 384-386 ถนน สามเสน ผู้ที่จะเข้าเรียนไม่จำกัด เพศวัย และวุฒิความรู้ หรือ ฐานะ หลายคนมาจากครอบครัวที่ยากจนและมีปัญหาในชีวิตประจำวัน บ้างเป็นทหาร ตำรวจ พลเรือน ผ่านศึกทุพพลภาพ ส่วนครูเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอาสาสมัครสอน โดยมีศรัทธาที่จะเสียสละให้ความรู้ลุกศิษย์ เป็นวิทยาทานโดยมิได้หวังค่าตอบแทน ผู้ดำเนินการคือองคมนตรีและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นเท่าที่ได้เปิดสอนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2519 (เป็นเวลาเกือบสองปีแล้ว) โดยมีนักเรียนรุ่นแรก 6 คน นับว่าได้ผลดีมาก กล่าวคือ เดิมกำหนดไว้ว่านักเรียนจะมีความรู้ในการสร้างซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุได้ในเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติจริงๆ แล้วใช้เวลาเพียง 9 เดือน และทางโรงเรียนจึงได้เปิดรับงานซ่อมเครื่องไฟฟ้า วิทยุ ติดตั้งไฟ ไฟอาคาร โดยขยายเปิดสอนความรู้ที่สูงขึ้น รวมทั้งเปิดรับนักเรียนใหม่ในขั้นต้น และเปิดวิชาอื่น คือ ช่างเคลื่อนยนต์และช่างประปา

เท่าที่แล้วมานั้น นักเรียนทุกคนรักเชื่อฟังอาจารย์ มีน้ำใจในการปรนนิบัติรับใช้ และมีศีลธรรมเป็นพลเมืองดีของชาติ สำหรับค่าใช่จ่ายในโครงการนั้นนอกจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานแล้ว บริษัทห้างร้านและเอกชนได้บริจาคสิ่งของเครื่องมือ เครื่องใช้และแรงงานโดยเสด็จฯ มากมาย ตามพระราชดำริอันมีแต่แรกนั้น ดาบส ที่ชำนาญในวิชาแขนงอื่นๆ เช่น วิชาศิลปะ วิชาภาษาต่างประเทศ วิชาประวัติศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งจะเปิดสอนตามความเหมาะสม

ถ้าโครงการ โรงเรียนพระดาบส นี้ได้เจริญรุดหน้าไปด้วยดีในอนาคตไทยเราอาจมีระบบการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวก็ได้

-----------

ที่มา: สำนักข่าวเจ้าพระยา
“โรงเรียนพระดาบส” บทพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี