ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 03:03:37 am »

 :13: อนุโมทนาครับคุณนู๋ตา
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 07:24:32 pm »

อนุโมทนาค่ะ :45: ขอบคุณนะค่ะทำนำมาให้อ่าน :19:
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2010, 12:14:53 pm »

รักษา “ใจ” ยาม “เจ็บ” “ยาธรรม” รพ.หัวเฉียว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 ตุลาคม 2553 09:21 น.




ใน ยามป่วยไข้ ร่างกายถูกโรครุมเร้า ร้อยทั้งร้อยคนไข้ทั้งหลายต่างก็อยากหวังพึ่งโรงพยาบาล ส่วนแพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุขตามโรงพยาบาลต่างๆ ก็มีภาระหน้าที่สำคัญในการรักษาพยาธิสภาพของร่างกายคนป่วยหาย แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่านั้น คือ “สภาพจิตใจ” ของผู้ป่วย ที่ส่วนใหญ่ก็มักจะย่ำแย่สัมพันธ์กับสภาพร่างกายที่ไม่ปกติ มากบ้างน้อยบ้างตามอาการของโรค

โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาหลายเดือนหลายปีในการรักษา หรือกระทั่งผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หาย คนเหล่านี้นอกจากจะต้องทุกข์ระทมด้วยอาการเจ็บไข้ของตัวเองแล้ว จิตในร่างกายอันโทรมทรุดก็ยังหวาดกลัว สับสน ว้าวุ่น และอ่อนแอเพราะการถูกบีบด้วยข้อจำกัดของร่างกายอมโรคนั้นด้วย



กอบชัย ซอโสตถิกุล ประธาน กรรมการบริหารโรงพยาบาล หัวเฉียว ในฐานะลูกที่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีมารดาซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็ง รู้ซึ้งถึงความทุกข์ทรมานของการมีผู้เป็นที่รัก ต้องได้รับความทุกข์จากอาการเจ็บป่วยทางกาย พร้อมกันนั้น ก็มีความป่วยทางใจเนื่องจากเป็นโรคที่รักษาได้ยาก เปิดประสบการณ์ว่า หากในขณะนี้ มีการจัดระบบ “การรักษาใจ” ด้วยธรรมะอย่างโครงการที่ทางโรงพยาบาลหัวเฉียวกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ก็น่าจะทำให้ความทุกข์ในของมารดาและของลูกหลานที่เฝ้าพยาบาลด้วยความเป็น ห่วงอยู่นั้น คงจะเบาบางลงไปได้มาก

“โครงการธรรมรักษานี้ ระยะแรกเราจะเน้นไปในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายก่อน เพราะผู้ป่วยที่รักษาไม่หายแล้วพวกนี้จะทุกข์ทรมานมาก จะกลัว ต้องค่อยๆ พูด เอาหลักธรรมะกับหลักจิตวิทยาเข้าไปดูแล เราใช้ทั้งวิธีนิมนต์พระมาบรรยาย แนะนำการนั่งสมาธิ ใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน เอาเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันมาให้กำลังใจ รวมถึงจัดกิจกรรมอื่นๆ เช่น ระบายสี ทำการฝีมือ อย่าให้เขาว่าง จะได้ไม่จิตตก เพราะพวกนี้ถ้าว่างจะปรุงแต่งจิต แล้วก็จะเกิดความกลัว ความหม่นหมอง ซึ่งขณะนี้แพทย์และเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปดูแลคนไข้ชุดนี้เราอบรมเป็นพิเศษ ทั้งในแง่จิตวิทยาและธรรมะ และตอนนี้ก็ขยายผลไปยังแพทย์และบุคลากรทุกรายด้วย”



ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวถึงโครงการดีๆ ที่เป็นบริการสุดพิเศษฟรีๆ ที่โรงพยาบาลจัดทำขึ้นต่อไปอีกว่า นอกจากทีมแพทย์พิเศษแล้ว ทางโรงพยาบาลก็พยาบาลขยายผลให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกคนใช้หลักธรรมในการผสม ผสานไปกับการบริการคนไข้ด้วย

“ผมได้แรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เขียนเรื่องราวของพยาบาลที่อุทิศชีวิตเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมา 20 ปี เต็ม ก็เลยกลับมาคิดว่า เราในฐานะโรงพยาบาล น่าจะมีวิธีดีๆ ซึ่งการดูแล การอบรม การบริการ การจัดกิจกรรมของโครงการธรรมรักษานี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการบริการฟรี เหมือนฟีเจอร์เสริมของการรักษา คือ รักษากาย แล้วก็เผื่อไปถึงการรักษาใจให้คนป่วย รวมถึงญาติคนป่วยด้วย 10 ปีก่อนคุณแม่ผมก็ป่วย ถ้าตอนนั้นมีวิธีแบบนี้ ก็คงจะดี ผมก็เลยทำโครงการนี้ขึ้นมา เงินสนุบสนุนโครงการเราได้จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคครับ”

ด้านพระราชปฏิภาณมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุร วงศาวาสวรวิหาร ประธานโครงการฝ่ายสงฆ์ ได้แสดงธรรมในโอกาสการแถลงเปิดตัวโครงการธรรมรักษาว่า เพียงชื่อโครงการ ก็ถือเป็นชื่อที่มีมงคลแล้ว เพราะคำว่า “ธรรม” ไม่ว่าจะแปลความในบริบทใดก็แล้วแต่ แต่ความหมายของธรรมก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่มงคลทั้งสิ้น ส่วนร่างกายของคนนั้น ในทางธรรมจะแบ่งออกเป็น “นาม” และ “รูป” ซึ่งก็คือกายและใจ ที่อาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่นั่นเอง

“พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไว้ กายก็มีโรคภัยไข้เจ็บของกาย ส่วนใจก็มีโรคภัยของมันเหมือนกัน เรียกว่า “กิเลส” จริงๆ แล้วกายเป็นเครื่องมือของใจ พอกายป่วย ใจก็ไม่เป็นสุข ผู้ป่วยมักจะเกิดความไม่สมหวัง หงุดหงิด เศร้าซึม โครงการนี้จึงเป็นโครงการจากความกรุณาโดยแท้ อาตมาเองก็อยากจะบอกคุณหมอคุณพยาบาลว่า การที่คุณเอาธรรมเข้าไปหาผู้ป่วย นั่นคือเห็นความเจ็บป่วยเป็นนาบุญ ที่เราจะไปให้ความช่วยเหลือ แล้วธรรมะที่คุณหมอใช้ผสมผสานกับการรักษา ก็จะย้อนมาถึงคุณหมอและคุณพยาบาลด้วย”

พระราชปฏิภาณมุนีแสดงธรรรมต่อไปอีกว่า หาก ขยายผลจากการให้ “ยาธรรม” แก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย กว้างออกไปถึงกลุ่มคุณแม่ใกล้คลอด จะดีมาก เพราะปัจจุบันมีพ่อแม่มือใหม่หลายคนบำรุงครรภ์ของแม่ด้วยอาหารดีๆ อากาศดีๆ ลูกเกิดมาก็ไอคิวสูง แต่ปัญหาคืออีคิวไม่ได้สูงไปด้วย แต่หากแพทย์และพยาบาลให้ “ยาธรรม” ดูแลใจคุณแม่ใกล้คลอด เด็กจะออกมาดีทั้งไอคิวและอีคิวด้วย



http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000147335