ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Partydresses
« เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2011, 03:26:31 pm »

ถ้าทุกคนนำไปใช้ผมว่าจะดีมากเลย
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 07:43:59 pm »

 :38:เหอะ  เหอะ  1 ใน 3ล้านนะเนี่ยเรา  หุหุ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:13:18 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม^^
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 12:54:35 pm »

โรคซึมเศร้า รุกหนักคนไทยป่วยกว่า 3 ล้าน

โรคซึมเศร้า รุกหนักคนไทยป่วยกว่า 3 ล้าน (ไทยโพสต์)

          อธิบดีกรมสุขภาพจิตเร่งคัดกรองผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า ชี้คนไทยป่วยโรคนี้ 3.15 ล้านคน แต่กว่า 90% ยังไม่รู้ตัว วัยทำงานเสี่ยงฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าวัยอื่น แนะออกกำลังกาย-หาคนระบาย-ทำสิ่งที่ชอบ ชูกิน "กล้วยหอม" ช่วยแก้ความผิดปกติสารในสมองแก้เศร้าได้
         
          นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเนื่องในวันคัดกรองโรคซึมเศร้าประเทศไทย 8 ต.ค.ของทุกปีว่า โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย องค์การอนามัยโลกคาดว่า ในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นภาระโรคอันดับ 2 โดย ปัจจุบันโรคซึมเศร้าเป็นภาระโรคอันดับ 4 รองจากโรคเอดส์ เส้นเลือดในสมองตีบ และเบาหวาน ทั้งนี้ตลอดช่วงชีวิต 1 ใน 4 ของเพศหญิง และ 1 ใน 10 ของเพศชายเคยมีภาวะซึมเศร้า และผู้ป่วยโรคนี้จะอยู่ในชุมชนกว่าร้อยละ 60-90 พบว่า คนไทยร้อยละ 5 หรือประมาณ 3.15 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่มีเพียงร้อยละ 11 ของผู้ป่วยที่เข้ารับรักษา ดังนั้น กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยยังเดินปะปนกับคนในสังคมโดยไม่รู้ตัวเองว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 

          "กรมสุขภาพจิตได้จัดทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัว ตาย (DS 8) โดยมีคำถาม 8 ข้อ ในข้อ 1-6 เป็นคำถามเพื่อทดสอบภาวะซึมเศร้า หากตอบเกิน 3 ข้อ แสดงว่ามีภาวะซึมเศร้าที่ควรได้รับการรักษา ส่วนข้อ 7-8 เป็นคำถามเพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เนื่องจากโรคซึมเศร้ามีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยโรค ซึมเศร้ามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไป 20 เท่า และร้อยละ 3% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายจะฆ่าผู้อื่นร่วมด้วย ซึ่งหากในข้อ 7-8 มีการตอบเพียง 1 ข้อ ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย" อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

          นพ.อภิชัยกล่าวว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ชื่อเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีอารมณ์เศร้านานต่อเนื่องเกินกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป มีความรู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก และนอนต่อไปไม่หลับ ฝันมาก ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้คนป่วยเป็นโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุด คือความเครียดเรื้อรัง และประสบกับการสูญเสียในชีวิต แนวทางรักษาสามารถรับประทานยาต้านเศร้า หรือรับประทานอาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม ช่วยแก้ไขความผิดปกติของสารเคมีในสมองทางอ้อมได้ ส่วนการกินช็อกโกแลตมีการยืนยันว่าช่วยคลายเครียดได้แต่ต้องระวังเรื่องอ้วน และการเป็นสิว ทั้งนี้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าดังกล่าวมีอยู่ในเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต dmh.go.th ซึ่งเป็นโปรแกรมอัตโนมัติ เมื่อเข้าไปกรอกข้อมูลแล้วคอมพิวเตอร์จะช่วยประเมินได้ว่าอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าหรือไม่

          สำหรับวิธีดูแลตัวเองสำหรับคนทั่วไปที่พบว่ามีปัญหาซึมเศร้า คือ 1.ออกกำลังกายเป็นประจำ วันเว้นวัน วันละ 30 นาที 2.หาคนที่ไว้ใจระบายพูดคุยปัญหา และ 3.ทำกิจกรรมที่ช่วยให้มีความสุข เพื่อเลี่ยงไม่ให้จมอยู่กับปัญหาของตัวเอง



ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์

http://health.kapook.com/view17707.html