ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:28:31 pm »

ข้อความโดย: bnetgetaway
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2011, 12:40:21 am »

อนุโมทนาด้วยนะครับ อ่านแล้วเข้าถึงจิตใจเลยครับ
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มีนาคม 30, 2011, 09:26:34 pm »

ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ
มิใช่เพื่อหลอกลวงให้คนนับถือ
มิใช่ประพฤติเพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร
มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ
และเสียงสรรเสริญ
มิใช่เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ
หรือเพื่อคัดค้านลัทธิอื่นให้ล้มไป
และมิใช่เพื่อมหาชนเข้าใจได้ว่าเรา
เป็นผู้วิเศษ อย่างนั้นอย่างนี้
.......ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้
เราประพฤติ เพื่อสำรวม เพื่อละ
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความดับสนิทแห่งทุกข์
......พุทธพจน์ /เจโตวิมุติ
ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=37528
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 02:45:52 pm »

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 05:04:10 am »

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 05:16:59 am »

วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา
และทรงสรรเสริญมาก

ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น
จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า...
"ท่านผู้มีอายุ! พระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษาส่วนมาก
ด้วยวิหารธรรมไหนเล่า?" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงตอบแก่พวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ! พระผู้มีพระภาค
ทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรม
คือ อานาปานสติสมาธิ แล" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้
เราเป็นผู้มีสติอยู่ หายใจเข้า,
มีสติอยู่ หายใจออก,
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า
"เราหายใจเข้ายาว" ดังนี้,
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า
"เราหายใจออกยาว" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใดโดยชอบ
ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหารก็ดี,
เขาพึงกล่าวโดยชอบซึ่งอานาปานสติ สมาธินั้น
ว่าเป็นอริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดยังเป็นเสขะ
มีวัตถุประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว...
ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคักเขมธรรม
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่...
อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใดเป็นอรหันต์ขีณาสพ
มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจควรทำอันกระทำแล้ว
มีภาระหนักปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว
มีสัญโญชน์ในภพอันสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ด้วยปัญญาโดยชอบ

อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้ว
ก็ยังเป็นไปเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วย
เพื่อสติสัมปชัญญะอยู่ด้วย
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 04:45:34 pm »

ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยากเกี่ยวกับพระองค์เอง

ภิกษุทั้งหลาย! สมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้
มีน้ำทั่วถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด
บุรุษคนหนึ่งทิ้งแอก(ไม้ไผ่!)
ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น
ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก,
ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก,
ลมทิศเหนือพัดไปให้ลอยไปทางทิศใต้,
ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้

ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่ง...ตาบอด
ล่วงไปร้อยๆปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ
ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้อย่างไร
จะเป็นไปได้ไหมที่เต่าตาบอดร้อยปีจึงจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
จะพึงยื่นคอเข้าปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น?

"ข้อนี้ ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า!
ที่เต่าตาบอดนั้นร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว
จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น"

ภิกษุทั้งหลาย! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน
ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์...
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน...
ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
จะเกิดขึ้นในโลก...
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน
ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว
จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก...

ภิกษุทั้งหลาย! แต่ว่าบัดนี้
ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว...
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว...
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว
ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว...

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น
ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม
เพื่อให้รู้ว่า"นี้ ทุกข์...
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์...
นี้ ความดับแห่งทุกข์...
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์" ดังนี้เถิด
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2011, 05:04:21 am »

ผู้มีหลักเสาเขื่อน

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีสังวรนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเห็นรูปด้วยตา,
ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น,
สัมผัสโผฎฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ,
ก็ไม่สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก
ไม่เครียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก
เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ
มีจิตหาประมาณไม่ได้, ย่อมรู้ตามที่เป็นจริงซึ่ง เจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับแห่งบาปอกุศลที่เกิดแล้ว แก่เขานั้นโดยสิ้นเชิง

ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด
อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน
มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง,
จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก, และจับลิง
มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้วนำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน
หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น สัตว์ทั้ง 6 ชนิดเหล่านั้นมีที่อาศัย
และที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน
เพื่อที่จะไปสู่ที่อาศัยและที่เที่ยวของตนๆ
งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ,
สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, และลิงก็จะไปป่า

ภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล
ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้ง 6 ชนิดเหล่านั้น
มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว,
ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า
อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุรูปใด
ได้อบรมกระทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตาก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,
รูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
หูก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง,
เสียงที่ไม่น่าฟังก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
จมูกก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม,
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
กายก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ,
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
และใจก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ,
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีสังวร เป็นอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย!  คำว่า "เสาเขื่อน หรือเสาหลัก" นี้
เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่งกายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
"กายคตาสติของเราทั้งหลาย...
จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก
กระทำให้เป็นยาน...เครื่องนำไป
กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้...
เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ
เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย !   พวกเธอทั้งหลาย
พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล ...

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 08:24:01 am »




:12:     :13: :13: :13:
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 04:00:54 am »

ผู้แบกของหนัก

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าจักแสดงของหนัก
ผู้แบกของหนัก และการแบกของหนักแก่พวกเธอ,
เธอทั้งหลาย...จงฟังข้อความนั้น

ภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า...ชื่อว่าของหนัก?
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั่นแหละ
เรากล่าวว่าเป็นของหนัก...

อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า...เหล่าไหนเล่า?
ห้าคือ...ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ,
ภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก....

ภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า?...ชื่อว่าผู้แบกของหนัก?
ภิกษุทั้งหลาย! บุคคล(ตามสมมติ)นั่นแหละ...
เราเรียกว่าผู้แบกของหนัก...เขามีชื่ออย่างนี้...
มีโคตรอย่างนั้น...ตามที่รู้กันอยู่...
ภิกษุทั้งหลาย! นี้  เราเรียกว่า  ผู้แบกของหนัก...

ภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า?...ชื่อว่าการแบกของหนัก?
ภิกษุทั้งหลาย! ตัณหานี้ใดที่ทำให้มีการเกิดอีก...
อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจแห่งความเพลิน
ซึ่งมีปรกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ....
ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น...
ภิกษุทั้งหลาย!นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก...