ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: เมษายน 28, 2012, 12:22:13 am »

 :07: :07: :07: สาธุกับบทความธรรมมะ ดีๆครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 27, 2012, 12:45:57 pm »




:13: :45: :07: :45:


ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 26, 2010, 08:35:15 pm »

 :13: พิจารณาตน เราก็ตายได้ตลอดเวลา เราตายได้ทุกขณะจิต พรุ่งนี้ผมก็ตาย ชั่วโมงนี้ผมจะเสีย วินาทีนี้ผมจะสิ้นลม
อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 24, 2010, 09:31:41 am »

 


ค.เมื่อไปงานศพ
 
งานศพไม่ควรเป็นแค่งานสังคมเท่า นั้น แต่ควรเป็นงานบุญในทุกความหมาย กล่าวคือนอกจากทำบุญอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ และให้กำลังใจแก่ครอบครัวของผู้วายชนม์แล้ว ยังควรเป็นโอกาสให้เรามาเตือนสติตนเองเพื่อระลึกถึงสัจธรรมอันเที่ยงแท้แน่ นอนว่าความตายคือปลายทางของทุกคน ครั้งหนึ่งผู้ตายก็เคยมีชีวิตเดินเหินเคลื่อนไหวได้เหมือนอย่างเรา แต่ต่อไปเราก็จะต้องทอดร่างแน่นิ่งเช่นเดียวกับเขา ไม่มีอะไรที่จะเอาไปได้สักอย่างเดียว มีแต่บุญและบาปเท่านั้นที่จะติดตัวไปยังปรโลก
 
ศพที่อยู่เบื้องหน้าเราคือครู สอนธรรมที่ดีที่สุด สามารถปลุกให้เราตื่นจากความหลงและความประมาทในชีวิต ใครที่ยังมัวเมาในความสนุกหรือหมกมุ่นกับการทำมาหากิน ก็อาจได้คิดว่าตนกำลังมีชีวิตอยู่อย่างลืมตาย ใครที่คิดว่าตนเองยังมีเวลาอยู่ในโลกอีกหลายสิบปี อาจต้องทบทวนความคิดเสียใหม่เมื่อมางานศพของเด็กหรือวัยรุ่น ใครที่หลงในอำนาจ ก็อาจได้คิดว่าไม่ว่าใหญ่โตแค่ไหนสุดท้ายก็ยังเล็กกว่าโลง
 
เมื่อเปิดใจรับรู้สัจธรรมที่ ประกาศอยู่เบื้องหน้า เราก็จะพบคำตอบเองว่าพร้อมจะไปหรือยัง และควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร
 
ง.เมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วย
 
ผู้ป่วยที่กำลังล้มหมอนนอนเสื่อ ครั้งหนึ่งก็เคยมีสุขภาพดีเช่นเดียวกับเรา เมื่อไปเยี่ยมเขา จึงควรระลึกว่าสักวันหนึ่งร่างกายของเราก็ต้องเสื่อมทรุดไม่ต่างจากเขา แม้จะมีโอกาสรักษาหาย แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะความเจ็บป่วยจะมาเป็นระลอก ๆ และมีแต่จะรุนแรงขึ้น สุดท้ายก็ตามมาด้วยความตาย ดังนั้นเมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วยจึงควรถือเป็นโอกาสเตือนใจตนเองด้วยว่า สังขารนั้นไม่เที่ยง และที่สุดของความไม่เที่ยงก็คือความตายนั่นเอง
 
พึงถือว่าผู้ป่วยเป็นครูสอนธรรมแก่เรา โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ว่าเขาจะมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บป่วยอย่างไร ก็เป็นประโยชน์แก่เราทั้งสิ้น หากเขาทุรนทุราย กระสับกระส่าย เขาก็กำลังสอนเราว่าควรเตรียมตัวอย่างไรจึงจะไม่ทุกข์ทรมานเหมือนเขา หากเขาสงบและมีสติรู้ตัวแม้ทุกขเวทนาจะแรงกล้า เขาก็กำลังเป็นแบบอย่างให้แก่เราว่าควรวางใจอย่างไร และอาจบอกเราต่อไปด้วยว่าควรเตรียมตัวอย่างไรในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่
 
การรักษาใจให้สงบในยามเจ็บป่วย เป็นเรื่องเดียวกับการรักษาใจให้สงบเมื่อเผชิญกับความตาย ดังนั้นเมื่อเราล้มป่วย แทนที่จะมัวทุกข์ใจ ควรถือว่าความเจ็บป่วยเป็นแบบฝึกหัดอย่างดีสำหรับการฝึกใจรับมือกับความตาย อย่างน้อยก็ควรมองว่าความเจ็บป่วยเป็นบททดสอบขั้นแรก ๆ ก่อนที่จะต้องเจอกับบทสุดท้ายที่ยากที่สุดคือความตาย หากเรายังทำใจรับมือกับความเจ็บป่วยไม่ได้แล้วจะไปรับมือกับความตายได้อย่าง ไร
 
จ. เมื่อสูญเสียทรัพย์
 
เมื่อเงินหาย ทรัพย์สินถูกขโมย เราย่อมเป็นทุกข์ แต่มองในอีกแง่มุมหนึ่ง นี่คือแบบฝึกหัดที่ช่วยให้เรารู้จักปล่อยวางเพื่อรับมือกับความตาย ใช่หรือไม่ว่าความตายคือสุดยอดแห่งความพลัดพรากสูญเสีย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีหรือเป็นไม่ว่ารูปธรรมหรือนามธรรมจะสูญสิ้นไปหมด เมื่อสิ้นลม แต่เราจะเผชิญความตายอย่างสงบได้อย่างไรในเมื่อแม้แต่เงินพันเงินหมื่นหายไป เรายังทำใจไม่ได้ แม้วันนี้จะสูญไปเป็นล้าน แต่เมื่อความตายมาถึงเราจะสูญยิ่งกว่านั้นหลายร้อยเท่า
 
เมื่อใดก็ตามที่ทรัพย์สมบัติสูญ หายไป พึงระลึกว่าความพลัดพรากสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญก็คือเราจะไม่สูญเสียเพียงเท่านี้ แต่จะสูญเสียยิ่งกว่านี้ และในที่สุดก็จะสูญเสียจนหมดสิ้น กระทั่งชีวิตก็ยังรักษาไว้ไม่ได้ เมื่อระลึกเช่นนี้แล้ว แทนที่จะยังหวงแหนติดยึดมัน เราควรตัดใจปล่อยวาง เพราะหากวันนี้ยังทุกข์กับมัน วันหน้าจะทุกข์ยิ่งกว่านี้มากมายหลายเท่า
 
๓.มีอุบายเตือนใจถึงความตาย
 
มรณสติสามารถเกิดขึ้นได้โดย อาศัยสิ่งเตือนใจที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน นอกจากโอกาสหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบแก่ตัวเองดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรายังสามารถหาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นเครื่องเตือนใจตนเองเป็นอาจิณ สุดแท้แต่เงื่อนไขหรือมุมมองของแต่ละคน เป็น “กุศโลบาย” ที่เหมาะเฉพาะตัว
 
อาจารย์กรรมฐานชาวธิเบตบางท่าน เมื่อจะเข้านอน ท่านจะเทน้ำออกจากแก้วจนหมดแล้วคว่ำแก้วไว้ข้างเตียง ทั้งนี้เพราะท่านไม่แน่ใจว่าจะตื่นขึ้นแล้วได้ใช้มันในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ กิจวัตรดังกล่าวเป็นเครื่องเตือนใจท่านว่าความตายจะมาถึงท่านเมื่อไรก็ได้
 
 
นักเขียนไทยผู้หนึ่งอ่านพบเรื่องดังกล่าว จึงนำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ทุกคืนก่อนนอนเธอจะต้องล้างจานชามให้เสร็จหมด เพื่อให้แน่ใจว่าหากหลับไม่ตื่น จะไม่มีจานชามสกปรกตกเป็นภาระให้ผู้อื่นต้องสะสาง จานชามที่ยังไม่ได้ล้างจึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจว่าคืนนี้อาจเป็นคืนสุด ท้ายของเธอ
 
บางคนเตือนใจตนเองโดยใช้ลูกหิน ลูกหิน แต่ละลูกหมายถึงเวลา ๑ สัปดาห์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เขาคาดการณ์ว่าน่าจะมีชีวิตอยู่อีกได้นานเท่าไร โดยคำนวณจากอายุคาดเฉลี่ย (๗๕ ปี) จากนั้นก็แตกออกมาเป็นสัปดาห์ เขาอายุได้ ๕๕ ปีแล้ว จึงคาดว่าน่ามีชีวิตเหลืออยู่อีก ๑,๐๐๐ สัปดาห์ จึงซื้อลูกหินมา ๑,๐๐๐ ลูก ใส่ไว้ในถังพลาสติกใส ทุกสัปดาห์เขาจะเก็บลูกหินออกมา ๑ ลูกแล้วทิ้งไป เวลาผ่านไปจำนวนลูกหินก็ลดลง ทำให้เขาเห็นชัดว่าเวลาของเขาเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ วิธีนี้เตือนใจให้เขาระลึกถึงความตายว่ากำลังใกล้เข้ามา และทำให้เขาเลือกทำสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตเป็นอันดับแรก ไม่หลงเพลินกับสิ่งที่ไร้สาระ
 
แต่ละคนมีวิธีการเตือนใจตนเอง ไม่เหมือนกัน อันที่จริงรอบตัวเรามีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่สามารถเป็นอุปกรณ์ในทางมรณสติ อาทิ อาทิตย์ขึ้นและอาทิตย์ตก ดอกไม้ที่เต่งตูม เบ่งบาน และร่วงโรย ใบไม้ที่ผลิบานแล้วร่วงหล่น ในธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งเตือนใจถึงความไม่จิรังของชีวิต พระพุทธองค์ทรงแนะให้เราพิจารณาชีวิตของเราว่าไม่ต่างจากฟองคลื่น หยาดน้ำค้าง ประกายสายฟ้า คือเป็นของชั่วครู่ชั่วยาม เมื่อเห็นสิ่งเหล่านี้ควรน้อมมาเปรียบกับตัวเองอยู่เสมอ
 
๔. ทำกิจกรรมฝึกใจรับความตาย
 
นอกจากการฝึกตายและการถือเอา เหตุการณ์ที่ไม่สมหวังมาเป็นแบบทดสอบเพื่อฝึกจิตใจของตนเองแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากที่ช่วยให้เราสำรวจตรวจสอบความพร้อมของตน ขณะเดียวกันก็เตรียมตัวเตรียมใจไปด้วย
 
ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ การฝึกปล่อยวางคนรักของหวง โดยเลือกบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของที่เราคิดว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับเรามา ๗ อย่าง จากนั้นให้ถามตนเองว่าในบรรดา ๗ อย่างนั้น หากมีสิ่งหนึ่งที่เราต้องสูญเสียไป อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด หลังจากนั้นให้ถามต่อไปเป็นลำดับว่า
 
 
หากต้องสูญเสีย ๑ ใน ๖ อย่างนั้นไป อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด
หากต้องสูญเสีย ๑ ใน ๕ อย่างนั้นไป อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด
หากต้องสูญเสีย ๑ ใน ๔ อย่างนั้นไป อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด
หากต้องสูญเสีย ๑ ใน ๓ อย่างนั้นไป อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด
หากต้องสูญเสีย ๑ ใน ๒ อย่างนั้นไป อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด
 
กิจกรรมนี้อาจทำให้เป็นรูปธรรมขึ้นโดยใช้การสมมติถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรงอัน นำไปสู่การสูญเสียอย่างฉับพลัน เช่น
สมมติว่าเกิดไฟไหม้บ้าน ทำให้เราต้องสูญเสีย ๑ ใน ๗ อย่างนั้นไป เราจะเลือกตัดอะไรออกไป
ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ๑ ใน ๖ อย่างนั้นเกิดมีอันเป็นไป ถูกทำลายสูญหายไป เราจะเลือกตัดสิ่งใดออกไป
ต่อมาเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ เรารอดชีวิตมาได้ แต่ต้องสูญเสีย ๑ ใน ๕ อย่างนั้นไป เราจะยอมเสียอะไรไป
ต่อมาเกิดสึนามิ ทำให้เราต้องสูญเสีย ๑ ใน ๔ อย่างนั้นไป เราจะตัดสิ่งใดออกไป
ต่อมาเรือโดยสารเกิดพลิกคว่ำ กลางทะเล แม้จะรอดชีวิตมาได้ แต่เราต้องสูญเสีย ๑ ใน ๓ อย่างนั้นไป เราจะยอมเสียอะไรไป
หลังจากนั้นไม่นานเราประสบ อุทกภัย ต้องสูญเสีย ๑ ใน ๒ อย่างนั้นไป เราจะยอมเลือกเก็บอะไรไว้ และตัดใจทิ้งอะไรไป
กิจกรรมดังกล่าวนอกจากฝึกให้เรา หัดปล่อยวางเป็นลำดับแล้ว ยังช่วยให้เราตรวจสอบตัวเองด้วยว่ายังติดยึดอะไรบ้าง และอะไรที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเรา บางคนพบว่าตนเองรักหรือห่วงหมายิ่งกว่าพี่น้อง บางคนยอมสูญเสียทุกอย่างแต่ไม่พร้อมจะสละตุ๊กตาคู่ชีวิต บางคนเลือกที่จะสละเครื่องคอมพิวเตอร์คู่ชีพเป็นอันดับสุดท้าย การรู้จักตัวเองในแง่นี้จะช่วยให้เราปรับจิตวางใจกับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นตัวเองในด้านที่ไม่เคยนึกมาก่อน ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ต่อการเตรียมใจเผชิญความตายทั้งสิ้น เพราะในที่สุดแล้วเราต้องสูญเสียทุกอย่างไปจนหมดสิ้น และแม้จะยังไม่ตาย ก็ยังต้องพบกับความสูญเสียอยู่นั่นเอง โดยที่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถเลือกได้ด้วยซ้ำว่าจะยอมสูญเสียอะไรหรือ รักษาอะไรไว้


 
ตายเป็นก็อยู่เป็น
 
มรณสติเป็นสิ่งที่พึงบำเพ็ญเป็นนิจ บ่อยเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น คราวหนึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสถามภิกษุกลุ่มหนึ่งว่าเจริญมรณสติอย่างไร
 
 
รูปแรกกล่าวว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงหนึ่งคืนกับหนึ่งวันก็จะตาย
รูปที่สองกล่าว ว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงหนึ่งวันก็จะตาย
รูปที่สามกล่าว ว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงครึ่งวันก็จะตาย
รูปที่สี่กล่าว ว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงฉันอาหารได้มื้อหนึ่งก็จะตาย
รูปที่ห้ากล่าว ว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงฉันอาหารได้ครึ่งหนึ่งก็จะตาย
รูปที่หกกล่าวว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลาเคี้ยวอาหารได้ ๔-๕ คำก็จะตาย
 
รูปที่เจ็ด กล่าวว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลาเคี้ยวอาหารได้คำหนึ่งก็ จะตาย
รูปสุด ท้ายกล่าวว่า ตนระลึกอยู่เสมอว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้าก็จะตาย
 
ทั้งนี้ทุกรูปพูดสรุปท้ายว่า เมื่อระลึกถึงความตายของตนแล้ว ก็จะระลึกและพยายามปฏิบัติ ตามคำสอนของพระองค์ให้มาก
 
 
พระพุทธองค์ได้ฟังแล้วตรัสว่า ภิกษุรูปที่ ๑-๖ ยังเป็นผู้ที่ประมาทอยู่ ส่วนภิกษุรูปที่๗ และ ๘ ซึ่งเจริญมรณสติทุกคำข้าว หรือทุกลมหายใจ จัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
 
ควรกล่าวในที่นี้ว่าการเจริญมรณสตินั้นมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความ เบื่อหน่ายในชีวิต ทำให้รู้สึกสลดหดหู่ เห็นชีวิตไร้คุณค่า หรือหมดกำลังใจในการดำเนินชีวิต ในทางตรงกันข้ามมรณสตินั้นหากพิจารณาอย่างถูกวิธี ย่อมทำให้ตระหนักว่าชีวิตและเวลาแต่ละนาทีที่ยังเหลืออยู่นั้นมีคุณค่าอย่าง ยิ่ง ไม่ควรใช้ชีวิตอย่างไร้ค่า หรือปล่อยเวลาทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ คนเรานั้นหากไม่ตระหนักว่าชีวิตและเวลาที่อยู่ในโลกนี้มีจำกัด ก็จะใช้ไปอย่างไม่เห็นคุณค่าเลย บางครั้งกลับทำสิ่งซึ่งบั่นทอนหรือตัดรอนชีวิตตัวเองด้วยซ้ำ กว่าจะตระหนักว่าชีวิตและเวลามีคุณค่า ความตายก็มาประชิดตัวแล้ว ถึงตอนนั้นก็อาจทำอะไรแทบไม่ได้แล้ว
 
----------------------------------------------------------------------
อ่านทั้งหมดที่
http://www.visalo.org/book/raluktung2.htm
 
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 24, 2010, 09:27:46 am »




ทำใจ ให้คุ้นชินกับความตาย
 
อ่านทั้งหมดที่
http://www.visalo.org/book/raluktung2.htm
 
ไม่ว่าจะหลีกหนีให้ไกลเพียงใด เราทุกคนก็หนีความตายไม่พ้น ในเมื่อจะต้องเจอกับความตายอย่างแน่นอน แทนที่จะวิ่งหนีความตายอย่างไร้ผล จะไม่ดีกว่าหรือหากเราหันมาเตรียมใจรับมือกับความตาย ในเรื่องนี้ มองแตญ ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวแนะนำว่า “เราไม่รู้ว่าความตายคอยเราอยู่ ณ ที่ใด ดังนั้นขอให้เราคอยความตายทุกหนแห่ง”
 
สิ่งลี้ลับแปลกหน้านั้นย่อมน่ากลัวสำหรับเราเสมอ แต่เมื่อใดที่เราคุ้นชินกับมัน มันก็ไม่น่ากลัวอีกต่อไป ความตายก็เช่นกัน การเตรียมใจรับมือกับความตายที่ดีที่สุดคือ การทำใจให้คุ้นชินกับมันเป็นเบื้องแรก เพื่อมิให้มันเป็นสิ่งแปลกหน้าสำหรับเราอีกต่อไป เราสามารถทำใจให้คุ้นชินกับความตายได้ด้วยการระลึกนึกถึงความตายอยู่เสมอ นั่นคือเจริญ “มรณสติ” อยู่เป็นประจำ
 
การเจริญมรณสติคือการระลึกหรือเตือนตนว่า
๑) เราต้องตายอย่างแน่นอน
 
๒) ความตายสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อ อาจเป็นปีหน้า เดือนหน้า พรุ่งนี้ คืนนี้ หรืออีกไม่กี่นาทีข้างหน้าก็ได้ เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้ว ก็ต้องสำรวจหรือถามตนเองว่า
 
๓) เราพร้อมที่จะตายหรือยัง เราได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จสิ้นแล้วหรือยัง และพร้อมที่จะปล่อยวางสิ่งทั้งปวงแล้วหรือยัง
 
๔)หากยังไม่พร้อม เราควรใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เร่งทำสิ่งที่ควรทำให้เสร็จสิ้น อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่า หาไม่แล้ว เราอาจไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งเหล่านั้นเลยก็ได้
 
ข้อ ๑) และ ๒) คือความจริงหรือเป็นกฎธรรมชาติที่เราไม่อาจปฏิเสธหรือขัดขืนต้านทานได้ ส่วนข้อ ๓) และ ๔) คือสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่เราจะจัดการได้ เป็นการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของเราโดยตรง
การระลึกหรือเตือนใจเพียง ๒ ข้อแรกว่า เราต้องตายอย่างแน่นอน และจะตายเมื่อไรก็ได้ หากทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เราตื่นตระหนกน้อยลงเมื่อความตายมาปรากฏอยู่เบื้องหน้า เพราะเตรียมใจไว้แล้ว แต่ทันทีที่เราตระหนักว่าความตายจะทำให้เราพลัดพรากจากทุกสิ่งที่มีอยู่ อย่างสิ้นเชิง ในชั่วขณะนั้นเองหากเราระลึกขึ้นมาได้ว่ามีบางสิ่งบางคนที่เรายังห่วงอยู่ มีงานบางอย่างที่เรายังทำไม่แล้วเสร็จ หรือมีเรื่องค้างคาใจที่ยังไม่ได้สะสาง ย่อมเป็นการยากที่เราจะก้าวเข้าหาความตายได้โดยไม่สะทกสะท้าน ยิ่งความตายมาพร้อมกับทุกขเวทนาอันแรงกล้า หากไม่ได้ฝึกใจไว้เลยในเรื่องนี้ ก็จะทุรนทุรายกระสับกระส่ายเป็นอย่างยิ่ง เพราะไหนจะถูกทุกขเวทนาทางกายรุมเร้า ไหนจะห่วงหาอาลัยหรือคับข้องใจสุดประมาณ ทำให้ความตายกลายเป็นเรื่องทุกข์ทรมานอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ลำพังการระลึกถึงความตายว่าจะต้องเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอนไม่ ช้าก็เร็ว จึงยังไม่เพียงพอ ควรที่เราจะต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า เราพร้อมจะตายมากน้อยแค่ไหน และควรจะทำอย่างไรกับเวลาและชีวิตที่ยังเหลืออยู่ การพิจารณา ๒ ประเด็นหลังนี้จะช่วยกระตุ้นเตือนให้เราไม่ประมาทกับชีวิต เร่งทำสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จ ไม่ผัดผ่อนไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันก็เห็นความสำคัญของการฝึกใจให้ปล่อยวางบุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่ยังยึดติดอยู่ กล่าวโดยสรุปคือ ควรพิจารณาทั้ง ๔ ข้อไปพร้อมกัน
 
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ได้ตรัสแนะนำให้ภิกษุเจริญมรณสติเป็นประจำ อาทิ ให้ระลึกเสมอว่า เหตุแห่งความตายนั้นมีมากมาย เช่น งูกัด แมลงป่องต่อย ตะขาบกัด หาไม่ก็อาจพลาดพลั้งหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดีซ่าน เสมหะกำเริบ ลมเป็นพิษ ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์ทำร้าย จึงสามารถตายได้ทุกเวลา ไม่กลางวันก็กลางคืน ดังนั้นจึงควรพิจารณาว่า บาปหรืออกุศลธรรมที่ตนยังละไม่ได้ ยังมีอยู่หรือไม่ หากยังมีอยู่ ควรพากเพียร ไม่ท้อถอย เพื่อละบาปและอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย หากละได้แล้ว ก็ควรมีปีติปราโมทย์ พร้อมกับหมั่นเจริญกุศลธรรมทั้งหลายให้เพิ่มพูนมากขึ้นทั้งกลางวันและกลาง คืน
 
แม้กระทั่งเมื่อพระองค์ใกล้จะปรินิพพาน โอวาทครั้งสุดท้ายของพระองค์ก็ยังเน้นย้ำถึงความไม่เที่ยงของชีวิต ดังตรัสว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด”
ความไม่ประมาท ขวนขวายพากเพียร ไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ เป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงเน้นมากเมื่อมีการเจริญมรณสติหรือเมื่อตระหนัก ถึงความไม่เที่ยงของชีวิต อย่างไรก็ตามเมื่อความตายมาประชิดตัว พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง ดังทรงแนะนำอุบาสกที่จะช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย ว่าพึงน้อมใจเขาให้ละความหวงใยในมารดาและบิดา ในบุตรและภรรยา(สามี) จากนั้นให้ละความห่วงใยในกามคุณ ๕ (หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินทางกาย) ละความห่วงใยแม้กระทั่งสวรรค์ทั้งปวง ตลอดจนพรหมโลก น้อมใจสู่ความดับซึ่งความยึดติดทั้งปวง เพื่อบรรลุถึงความวิมุติหลุดพ้นในที่สุด
 
มรณสติ แบบต่าง ๆ
 
การเจริญมรณสติทำได้หลายวิธี เพียงแค่นึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิต ว่าเราจะต้องตายไม่ช้าก็เร็ว จึงควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เท่านี้ก็ถือว่าเป็นมรณสติอย่างหนึ่ง แต่สำหรับคนทั่วไป การระลึกเพียงเท่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวได้ไม่มากพอ เพราะเป็นเพียงแค่การคิดอย่างย่นย่อ อีกทั้งเป็นการรับรู้ในระดับสมอง แต่ยังไม่ได้ส่งผลไปถึงอารมณ์ความรู้สึกมากนัก อาจทำให้เกิดความตื่นตัวอยู่พักหนึ่ง แต่ไม่นานก็เลือนหายไป ผลก็คือชีวิตหวนกลับไปสู่แบบแผนเดิม ๆ หลงวนอยู่กับงานเฉพาะหน้าหรือเพลินกับความสนุกสนาน จนลืมทำสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตไปเสีย
 
อันที่จริงในชีวิตประจำวันเรามักจะได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับความตายของใครต่อ ใครอยู่เสมอ เพียงแค่ได้ยินข่าวนั้นแล้วโยงมาถึงตัวเองว่า ไม่นานเราก็จะต้องตายเช่นเดียวกับเขา เท่านี้ก็สามารถกระตุ้นเตือนให้เกิดความไม่ประมาทในชีวิต และผลักดันให้ขวนขวายเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับความตายในวันข้างหน้า แต่คนที่จะตื่นตัวเพราะได้ยินข่าวเพียงเท่านี้ นับว่ามีน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วมักรอให้ความตายเข้ามาใกล้ตัวก่อนจึงจะตื่นตัว เช่น เห็นคนตายต่อหน้าต่อตา หรือรอให้ญาติหรือคนใกล้ชิดตายเสียก่อนถึงตื่นตัว หนักกว่านั้นคือตนเองต้องป่วยหนักหรือใกล้ตายเสียก่อนจึงค่อยตื่นตัว พระพุทธเจ้าจึงเปรียบคน ๔ กลุ่มข้างต้นดังม้า ๔ ประเภท ประเภทแรกเพียงแค่เห็นเงาปฏัก ก็รู้ว่าสารถีต้องการให้ทำอะไร ประเภทที่ ๒ ต้องถูกปฏักแทงที่ขุมขนก่อนถึงรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง ประเภทที่ ๓ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อถูกปฏักแทงที่ผิวหนัง ประเภทสุดท้ายต้องถูกปฏักแทงถึงกระดูกจึงค่อยรู้ตัวว่าจะต้องทำอะไร กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนส่วนใหญ่นั้น แค่รู้หรือเห็นความจริงยังไม่พียงพอ ต้องรู้สึกเจ็บปวดเสียก่อนจึงจะกระตือรือร้นเตรียมรับมือกับความตาย
ด้วยเหตุนี้ สำหรับคนทั่วไปการเจริญมรณสติที่จะช่วยให้เกิดความไม่ประมาทได้เป็นอย่างดี ก็คือ การพิจารณาถึงผลกระทบที่จะตามมาหลังจากความตายเกิดขึ้น โดยมองให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าจะต้องสูญเสียอะไรและพลัดพรากจากใครบ้าง ผู้ที่ไม่พร้อมย่อมรู้สึกเจ็บปวดกับความสูญเสียพลัดพรากดังกล่าว แม้จะเป็นความทุกข์แต่ก็ช่วยให้เฉลียวใจได้คิดว่าในขณะที่ยังมีเวลาเหลือ อยู่เราจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อป้องกันมิให้ความทุกข์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ถึงวันที่จะต้องพลัดพรากจริง ๆ
 
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเจริญมรณสติ
 
๑.ฝึกตายหรือเจริญมรณสติก่อนนอน
 
 
ช่วงเวลาก่อนนอนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเจริญสติสำหรับคนทั่วไป เนื่องจากได้ทำภารกิจประจำวันเสร็จสิ้น บรรยากาศรอบตัวมีความสงบมากขึ้น ร่างกายและจิตใจเข้าสู่ช่วงแห่งการพักผ่อน เป็นโอกาสดีสำหรับการน้อมจิตพิจารณาถึงความเป็นไปของชีวิตซึ่งมีความตายเป็น เบื้องหน้า วิธีที่ดีที่สุดคือการน้อมจิตอย่างจริงจังประหนึ่งว่าความตายกำลังเกิดขึ้น กับเรา นั่นคือ “ฝึกตาย”
 
ท่าที่เหมาะแก่การเจริญมรณสติคือนอนราบกับพื้น แขนแนบกับลำตัว ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ไม่มีอาการหน้านิ่วคิ้วขมวด ทิ้งน้ำหนักทั้งตัวลงไปกับพื้น ไม่มีส่วนใดที่เกร็งหรือเหนี่ยวรั้งไว้ หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมกับน้อมใจมาไว้ที่ปลายจมูก รู้ถึงสัมผัสบางเบาของลมหายใจทั้งเข้าและออก ปล่อยวางความนึกคิดต่าง ๆ ไม่ว่าเรื่องราวในอดีตหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อจิตใจเริ่มสงบลงแล้ว ให้พิจารณาว่าเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ความตาย ความตายจะต้องเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอน ไม่มีวันที่เราจะรู้ล่วงหน้าได้ อาจเป็นหลายปีข้างหน้า หรือเป็นปีหน้า เดือนหน้า หรือแม้แต่อาทิตย์หน้า จากนั้นให้พิจารณาต่อไปว่าความตายอาจเกิดขึ้นกับเราในคืนนี้ก็ได้ คืนนี้คือคืนสุดท้ายของเรา จะไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเราอีกต่อไป นี้คือการนอนครั้งสุดท้ายของเรา
 
พิจารณาต่อไปว่าเมื่อความตายมาถึง ลมหายใจก็จะสิ้นสุด ไม่มีทั้งลมหายใจเข้าและออก หัวใจจะหยุดเต้น ท้องที่พองยุบจะแน่นิ่ง ร่างกายที่เคยเคลื่อนไหวจะขยับเขยื้อนไม่ได้อีกต่อไป ที่เคยอุ่นก็จะเริ่มเย็น ที่เคยยืดหยุ่นก็จะแข็งตึง ไม่ต่างจากท่อนไม้ ไร้ประโยชน์
 
จากนั้นพิจารณาต่อไปว่าเมื่อความตายมาถึง ทรัพย์สมบัติทั้งปวงที่เราเฝ้าหาและถนอมรักษา จะมิใช่ของเราอีกต่อไป กลายเป็นของคนอื่นจนหมดสิ้น ไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้าน และ ไม่สามารถทำอะไรกับมันได้อีกต่อไป แม้แต่ของรักของหวงก็อาจถูกปล่อยปละไร้คนดูแล
 
ยิ่งไปกว่านั้น เราจะไม่มีโอกาสพบปะพูดคุยกับลูกหลานหรือคนรักอีกต่อไป กิจวัตรประจำวันที่เคยทำร่วมกับเขาจะกลายเป็นอดีต ต่อไปนี้จะไม่สามารถเยี่ยมเยือนพ่อแม่หรือตอบแทนบุญคุณท่านได้อีกแล้ว แม้แต่จะสั่งเสียหรือล่ำลาก็มิอาจทำได้เลย หากผิดใจกับใคร ก็ไม่สามารถคืนดีกับเขาได้ ขุ่นข้องหมองใจใคร ก็ไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้อีกแล้ว
งานการก็เช่นกัน เราต้องทิ้งทุกอย่าง หากยังไม่เสร็จสิ้นก็ต้องทิ้งไว้แค่นั้น ไม่สามารถสะสางหรือแก้ไขได้อีกต่อไป ถึงแม้จะสำคัญเพียงใดก็ตาม ก็อาจถูกปล่อยทิ้งไร้คนสนใจไยดี เช่นเดียวกับความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สั่งสมมา จะเลือนหายไปพร้อมกับเรา
 
ชื่อเสียงเกียรติยศ อำนาจ และบริษัทบริวารทั้งหลาย จะหลุดจากมือเราไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะมากมายยิ่งใหญ่เพียงใดก็เอาไปไม่ได้ ที่สำคัญก็คือ อย่าหวังว่าผู้คนจะยังแซ่ซร้องสรรเสริญเราหลังจากสิ้นลม เพราะแม้แต่ชื่อของเราสักวันหนึ่งก็ต้องถูกลืม ไร้คนจดจำ
 
ระหว่างที่พิจารณาไปทีละขั้น ๆ ให้สังเกตความรู้สึกของเราว่าเป็นอย่างไร มีความตระหนก เศร้าโศกเสียใจ ห่วงหาอาลัยหรือไม่ เราพร้อมทำใจกับการพลัดพรากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด ถ้าหากยังไม่พร้อม อะไรทำให้เราไม่พร้อม และทำอย่างไรเราจึงจะพร้อม
 
การพิจารณาดังกล่าวจะช่วยให้เราตระหนักว่า ยังมีบางสิ่งหรือหลายสิ่งที่เราสมควรทำแต่ยังไม่ได้ทำหรือทำไม่มากพอ ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่เรายังตัดใจไม่ได้ ความตระหนักดังกล่าวจะช่วยให้เราเกิดความขวนขวายที่จะทำสิ่งสำคัญที่ละเลยไป พร้อมกับเรียนรู้ที่จะฝึกใจปล่อยวางด้วย
 
ที่กล่าวมาเป็นการฝึกตายอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็สามารถยักเยื้องไปได้อีกหลายรูปแบบ เช่น
 
ก.ทบทวนความดีที่ได้ทำ
 
เมื่อน้อมใจจินตนาการว่าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา ขณะที่ร่างกายกำลังจะหมดลม หัวใจกำลังจะหยุดเต้น ร่างกายกำลังจะเย็นแข็งและแน่นิ่งดังท่อนไม้ ให้พิจารณาว่าเราได้ทำความดีหรือดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าสมกับที่เกิดมาแล้ว หรือยัง มีความรู้สึกเสียใจกับชีวิตที่ผ่านมาหรือไม่ อะไรบ้างที่เรารู้สึกว่ายังทำได้ไม่มากพอ และอะไรบ้างที่เราอยากปรับปรุงแก้ไขหากยังมีเวลาเหลืออยู่
 
การพิจารณาในแง่นี้แม้ดูจะเป็น นามธรรมอยู่บ้าง แต่หากเราหันมาดูความรู้สึกของตนเองขณะที่คิดว่ากำลังจะตายไปจริง ๆ ก็จะรู้ว่าที่ผ่านมาเราได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่ากับการเกิดมาเป็นมนุษย์หรือ ยัง หรือมีสิ่งใดที่ยังค้างคาใจที่ทำให้เราไม่พร้อมจะจากโลกนี้ไปในคืนนี้ การระลึกได้เช่นนี้จะทำให้เราตระหนักว่ามีอะไรบ้างที่เราจะต้องลงมือทำเสีย ที หรือต้องทำให้มากกว่าเดิม
 
ข. นึกถึงงานศพของตัวเอง
 
จินตนาการว่าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา จากนั้นให้นึกต่อไปว่าเมื่อหมดลม ร่างกายของเราถูกนำไปดำเนินการตามประเพณี บัดนี้ร่างของเราถูกบรรจุอยู่ในหีบตั้งโดดเด่น ผู้คนมากหน้าหลายตาเดินทางมาร่วมพิธีศพเพื่ออำลาเราเป็นครั้งสุดท้าย มีทั้งลูกหลาน ญาติมิตร เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมรุ่น คนเหล่านี้ต่างพูดถึงเราในวงสนทนาบ้าง พูดต่อหน้าผู้คนที่มาร่วมพิธีศพบ้าง ทีนี้ให้ถามตัวเองว่า อยากให้ผู้คนเหล่านี้พูดหรือเขียนถึงเราว่าอย่างไร อยากให้เขาจดจำเราในลักษณะใด อยากให้เขาประทับใจในเรื่องอะไรบ้างที่เกี่ยวกับตัวเรา จากนั้นให้ถามต่อไปว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่เราได้ทำอะไรบ้างที่ชวนให้เขารำลึกถึงเราในแง่นั้น มีความดีอะไรบ้างที่เราได้ทำอันควรแก่การชื่นชมสรรเสริญ
 
การพิจารณาในแง่นี้จะช่วยเตือนใจให้ใคร่ครวญว่า ที่ผ่านมาเราได้ทำความดีมากน้อยเพียงใด มีความดีอะไรบ้างที่เรายังทำไม่มากพอ และควรทำให้มากกว่านั้น มีหลายครั้งที่เราปล่อยชีวิตไปตามความพึงพอใจส่วนตัว โดยไม่สนใจผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น เราอยากได้ชื่อว่าเป็นคนเสียสละ เอื้อเฟื้อ มีเมตตา เป็นพ่อหรือแม่ที่ดี แต่เรากลับดำเนินชีวิตไปทางตรงกันข้าม เพราะมัวแต่แสวงหาเงินทองและชื่อเสียง มรณสติในลักษณะดังกล่าวจะช่วยเตือนสติเราให้หันกลับมาดำเนินชีวิตในทิศทาง ที่พึงปรารถนา
 
ค.พิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย
 
เมื่อน้อมใจจินตนาการว่าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา ให้พิจารณาว่าเมื่อความตายมาถึงแล้ว เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา เห็นภาพร่างกายของเราที่แปรเปลี่ยนไปหลังจากหมดลมแล้ว ที่เคยอ่อนอุ่นก็กลับแข็งเย็น ที่เคยเดินเหินเคลื่อนขยับได้ ก็กลับแน่นิ่ง ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องรอให้คนอื่นมายกย้ายสถานเดียว แม้เปรอะเปื้อนเพียงใดก็ทำอะไรกับตัวเองไม่ได้ ต้องรอให้คนอื่นมาทำความสะอาดให้ แต่ถึงจะทำให้เพียงใด ไม่ช้าไม่นานก็เริ่มสกปรกเพราะน้ำเหลืองน้ำหนองที่ไหลออกมาตามตัว ร่างกายที่เคยสวยงามก็เริ่มขึ้นอืด ผิวพรรณที่เคยขาวนวลก็กลายเป็นเขียวช้ำ ที่เคยประทินด้วยกลิ่นหอมก็กลับเน่าเหม็น ทุกอย่างแปรผันจนแม้แต่ตัวเองก็จำไม่ได้ คนที่เคยรักและชื่นชมเรา บัดนี้กลับรังเกียจและกลัวร่างกายของเรา แต่จะว่าเขาไม่ได้เลย เพราะแม้แต่เราเองหากมาเห็นก็ยังขยะแขยงร่างกายของตัวเองด้วยซ้ำ
 
การพิจารณาความตายด้วยวิธีนี้ มุ่งหมายให้เราคลายความยึดติดในร่างกาย มิใช่เพราะมีความน่าเกลียดแฝงอยู่ภายใต้ความสวยงามเท่านั้น หากยังเป็นเพราะร่างกายหาใช่ของเราไม่ ไม่ว่าเราจะพยายามควบคุมปรุงแต่งอย่างไร มันก็ไม่อาจเป็นไปดังใจได้ ในที่สุดก็จะแสดงความจริงที่ไม่น่ายินดีออกมา
 
การตระหนักถึงความจริงข้อนี้ นอกจากจะช่วยบรรเทาความทุกข์เมื่อร่างกายเกิดผันแปร เช่น เจ็บป่วย แก่ชรา พิการ หรืออัมพฤกษ์แล้ว ยังช่วยเตือนใจไม่ให้เราหมกมุ่นลุ่มหลงกับร่างกายมากเกินไป จนลืมที่จะทำสิ่งที่มีความสำคัญกว่า โดยเฉพาะสิ่งที่ก่อให้ความเจริญงอกงามแก่จิตใจ ในยุคที่ผู้คนกำลังหมกมุ่นกับการปรุงแต่งร่างกาย เพลิดเพลินหลงใหลไปกับความงามชั่วครู่ชั่วยามของร่างกาย จนไม่สนใจสาระของชีวิต จำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าร่างกายนี้ในที่สุดก็ต้องเป็นซากศพที่ไร้ประโยชน์
 
ง. ฝึกปล่อยวางยามใกล้ตาย
 
การพิจารณาถึงความสูญเสียพลัดพรากนานาประการที่จะเกิดขึ้นหลังความตาย ไม่ว่า ทรัพย์สิน บุคคล งานการ ชื่อเสียงเกียรติยศ ตามที่กล่าวมาข้างต้น อาจนำมาใช้เพื่อฝึกการปล่อยวางโดยเฉพาะ กล่าวคือ
 
 
พิจารณาว่าหากจะต้องตายจริง ๆ ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า ไม่มีเวลาเหลือพอที่จะทำอะไรกับสิ่งเหล่านั้น นอกจากทำใจปล่อยวางอย่างเดียว เราสามารถจะทำเช่นนั้นได้หรือไม่ บางคนอาจพบว่าตนสามารถปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ได้หมด แต่ยังอาลัยลูกหลาน หรือเป็นห่วงพ่อแม่ ส่วนบางคนเป็นห่วงก็แต่งานการเท่านั้น อย่างไรก็ตามการฝึกเช่นนี้บ่อย ๆ จะช่วยให้ตัดใจได้เร็วขึ้น เพราะตระหนักว่าหากความตายมาประชิดตัวจริง ๆ ไม่ว่าจะอาลัยใคร หรือห่วงใยอะไรก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่จะเป็นโทษ คือทำให้เป็นทุกข์สถานเดียว ในภาวะเช่นนี้สิ่งที่ดีที่สุดคือปล่อยวางอย่างสิ้นเชิง วิธีนี้จะเป็นประโยชน์มากในกรณีที่เกิดเหตุปัจจุบันทันด่วนซึ่งบั่นรอนชีวิต อย่างกะทันหัน การฝึกวิธีนี้อยู่เสมอจะช่วยให้สามารถปล่อยวางได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพุทธศาสนาถือว่ามีความสำคัญมาก ดังจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า
 
วิธีการทั้ง ๔ ประการข้างต้น พึงสังเกตว่ามีจุดเน้นหนักต่างกัน กล่าวคือ ๒ วิธีการแรก (ก.และ ข.) เน้นการเตือนใจให้ขวนขวายทำความดี เร่งทำหน้าที่และความรับผิดชอบ ไม่ผัดผ่อนปล่อยให้คั่งค้าง หรือปล่อยให้เวลาสูญเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเตือนใจไม่ให้ประมาท ส่วน ๒ วิธีหลัง ( ค.และง.) เน้นการปล่อยวาง ไม่ยึดติดให้เป็นภาระแก่จิตใจ หรือเหนี่ยวรั้งขัดขวางการดำเนินชีวิตที่ดีงาม หากต้องการให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๒ ส่วน คือเตือนใจไม่ให้ประมาท และฝึกการปล่อยวาง ควรใช้วิธีฝึกตายเต็มรูปแบบดังได้ยกตัวอย่างข้างต้น
 
๒ เจริญมรณสติในโอกาสต่าง ๆ
 
การเจริญมรณสติสามารถทำได้ในหลายโอกาส ไม่จำกัดเฉพาะเวลาก่อนนอน อาจจะทำหลังจากตื่นนอนแล้วก็ได้ โดยพิจารณาว่าวันนี้อาจเป็นวันสุดท้ายของเรา เราพร้อมที่จะไปแล้วหรือยัง นอกจากนั้นอาจใช้โอกาสต่าง ๆ เป็นเครื่องเตือนใจถึงความตายว่าพร้อมจะเกิดกับเราได้ทุกเวลา จึงควรที่จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ข้างล่างเป็นตัวอย่างการเจริญมรณสติในช่วงเวลาต่าง ๆ
 
ก.ก่อนเดินทาง
 
ก่อนเดินทางไม่ว่า ขึ้นรถ ลงเรือ นั่งเครื่องบิน พึงระลึกอยู่เสมอว่าความตายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากอุบัติเหตุ ดังนั้นจึงควรเตรียมใจไว้เสมอ ลองนึกว่าหากเหตุร้ายกำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้า เราจะทำใจอย่างไร นึกถึงอะไรก่อน และพร้อมจะปล่อยวางทุกสิ่งที่เคยผูกพันหรือไม่ จะน้อมระลึกถึงอะไรเพื่อทำใจให้สงบและพร้อมรับกับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยไม่ตื่นตระหนก
 
เมื่อจะเดินทางออกจากบ้าน ก็ควรระลึกถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน ลองสมมติว่าหากนี่เป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเรา เมื่อออกไปแล้วจะไม่มีวันได้กลับมาพบหน้าพ่อแม่ คนรักหรือลูกหลานอีก เราพร้อมหรือไม่ มีเรื่องค้างคาบ้างไหมที่จะทำให้เรานึกเสียใจที่ไม่ได้สะสางให้เสร็จก่อนออก เดินทาง มีความขัดแย้งใด ๆ บ้างไหมที่จะทำให้เราเสียใจที่ไม่ได้คืนดีกันก่อน การระลึกเช่นนี้จะช่วยให้เราหันมาปฏิบัติกับผู้คนในครอบครัวด้วยความใส่ใจ ก่อนที่จะออกเดินทาง ไม่ปล่อยให้มีเรื่องคาใจกันด้วยหวังว่าจะมีโอกาสปรับความเข้าใจในวันข้าง หน้า เพราะวันนั้นอาจมาไม่ถึงก็ได้ ในทำนองเดียวกันก่อนจะเดินทางออกจากที่ทำงาน ก็ควรเจริญมรณสติ เพื่อเตือนใจว่าเราอาจไม่มีโอกาสได้พบหน้ามิตรสหายอีก จึงควรปฏิบัติต่อเขาอย่างดีที่สุดก่อนที่จะลาจากกัน
 
ข.เมื่อรับรู้ข่าวสาร
 
 
ช่วงเวลาที่อ่านหนังสือพิมพ์ หรือดูข่าว เป็นอีกช่วงหนึ่งที่เหมาะแก่การเจริญมรณสติ โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวอุบัติเหตุหรือวินาศภัย แทนที่จะรับรู้แบบผ่าน ๆ หรือเห็นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ควรใช้ข่าวดังกล่าวเป็นเครื่องเตือนใจตนเองว่า ชีวิตนี้ไม่เที่ยงอย่างยิ่ง จู่ ๆ ก็มาตายไปอย่างกะทันหัน ไม่มีสัญญาณล่วงหน้าเลย ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เวลาใดก็ตายได้ทั้งนั้น จะให้ดีกว่านั้นลองโยงเหตุการณ์ดังกล่าวเข้ามาหาตัวเอง โดยน้อมนึกไปกว่าสักวันหนึ่งเราก็อาจต้องประสบกับเหตุการณ์อย่างนั้นเช่นกัน คำถามก็คือเมื่อถึงตอนนั้น เราจะทำใจอย่างไร พร้อมจะตายหรือไม่ ทุกวันนี้เราได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ หากไม่ได้ทำ จากนี้ไปเราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยไม่ตื่น ตระหนกหรือทุรนทุราย
 
ช่วงที่ใจสงบ ลองสมมติว่าเราได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น นึกให้เห็นเป็นภาพอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นรอบตัวเรา นึกถึงสถานการณ์ที่คับขันไร้ทางออก ราวกับว่าอันตรายกำลังเกิดขึ้นกับเราจริง ๆ จากนั้นให้มาสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ว่าเกิดความตื่นกลัว อึดอัด หวาดผวา ทุรนทุราย มากน้อยเพียงใด หากอารมณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างท่วมท้น ก็ให้พิจารณาว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว ถามตัวเองว่าเราควรทำอย่างไรเพื่อน้อมใจให้สงบ อะไรจะช่วยให้เราปล่อยวางหรือรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ดีที่สุด นี้เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฝึกตายในสถานการณ์ที่คับขัน การทำเช่นนี้บ่อย ๆ จะช่วยให้เรามีสติรู้ตัวไวขึ้น และรับมือกับอารมณ์ของตัวได้ดีขึ้น การจินตนาการถึงตัวเองในเหตุการณ์ดังกล่าว ยังช่วยให้เรารู้ว่าควรทำและไม่ควรทำอะไรเพื่อประคองตนให้ผ่านพ้นเหตุการณ์ คับขันไปได้หากเกิดขึ้นจริง ๆ กับเรา