ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 07:23:42 am »

บัตรเครดิต ต้องใช้ให้เป็น 

ไม่ใช่เป็นแต่การใช้

เพราะหากเป็นแต่การใช้

ชีวิตจะพังได้ เห็นมาเยอะ  เห็นมาเป็นร้อยๆคนแล้วที่ชีวิตที่ผิดพลาดและพังเพราะบัตรเครดิต


.
ข้อความโดย: RTUazaFD
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2012, 09:30:39 am »

ขอบคุณคับ
ข้อความโดย: kool639
« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2012, 09:39:03 am »

ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2011, 10:14:35 pm »

ผู้ถือบัตรเครดิตควรมีความฉลาด และความถ้วนถี่ในการใช้บัตรเครดิต รู้ทันอุบายเล่ห์เหลี่ยมบัตรเครดิตที่คอยหาช่อง และผลประโยชน์จากผู้ถือบัตรเครดิต การตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท และมีสำนึก เป็นคุณลักษณะที่ดีของผู้ถือบัตรเครดิตที่ไม่ได้บอกไว้ในข้อตกลงการสมัครบัตรเครดิต หากแต่เป็นสิ่งที่ผู้ถือบัตรเครดิตต้องใช้ความรอบคอบไม่ให้ตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อของการโกงบัตรเครดิต..

การรักษาบัตรเครดิต เป็นจุดแรกเริ่มของความปลอดภัย ตัวบัตรเครดิตควรเก็บไว้ และให้ความสำคัญเหมือนเอกสารสำคัญเช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ ฯลฯ ซึ่งถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรเก็บไว้ในที่มองเห็นได้ง่าย ซึ่งมักจะล่อตาล่อใจ เหล่ามิจฉาชีพให้เข้ามาหาผู้ถือบัตรโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเก็บบัตรเครดิตไว้ในกระเป๋าสตางค์ ก็ต้องถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ฝากหรือมอบกระเป๋าสตางค์ให้แก่คนที่ไม่น่าไว้ใจ..

ผู้ถือบัตรเครดิตต้องเขียนไว้รายละเอียดของบัตรเครดิตเช่น หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อเกี่ยวกับเรื่องบัตรเครดิตในกรณีฉุกเฉินไว้ในที่ปลอดภัย และ แยกเก็บไว้คนละที่กับกระเป๋าสตางค์ เนื่องจากกระเป๋าสตางค์จะเป็นเป้าหมายอันดับแรกที่จะถูกขโมย เพราะเช่นนั้นหากเก็บรายละเอียดบัตรเครดิต และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ในกระเป๋า สตางค์ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร.

เลือกใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้า และบริการกับ ร้านค้าที่มีความน่าไว้วางใจเท่านั้น หากสังเกตเห็นร้านค้าที่ไม่น่าวางใจ ให้หลีกเลี่ยงโดยชำระเป็นเงินสด อย่าเสี่ยงรูดบัตรเครดิตเพราะอาจถูกโกงบัตรเครดิตได้ .


-http://www.tutor-2bee.com/smf/index.php?topic=6513.0-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2011, 10:08:39 pm »

.




การคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เรื่องจริงที่ควรรู้
Credit Card Interest Charge:
The Facts Everyone Should Know

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชุลี โชติกประคัลภ์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


-http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_11/pdf/aw12.pdf-


.
















ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 10:38:15 pm »

.
มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต (2)

-http://www.mnet.co.th/main/content.php?page=sub&category=9&id=13-



ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด

paiboona@mail.ilct.co.th

ครั้ง ที่แล้วผมได้คุยถึงมาตรการการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต ปรากฎว่าได้รับอีเมลล์จากท่านผู้อ่านหลายรายว่าเป็น เรื่องที่น่าสนใจและอยากให้ช่วยอธิบายว่ามีวิธีการตรวจสอบทางเทคนิค หรือไม่ว่าหมายเลขบัตรเครดิตที่ใช้นั้นเป็นหมายเลขบัตรเครดิต ปลอม วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ
วิธีการป้องกันการใช้บัตรเครดิต ปลอมวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้คือการกำหนดวิธีการชำระเงินค่าซื้อขายสินค้าและ บริการในข้อกำหนดและ เงื่อนไข ( Terms & Condition)บนเว็บไซท์ให้มีความรัดกุมโดยเฉพาะในเรื่องการใช้บัตรเครดิตในการ ซื้อสินค้าและบริการโดยอาจ กำหนดให้ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจพิสูจน์ได้ว่า การใช้บัตรเครดิตปลอม เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของ บัตรเครดิตเพราะกฎหมายที่ควบคุมเรื่องการใช้บัตรเครดิตทั่วโลกนั้นจะเหมือน กันคือให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคหรือเจ้าของบัตรเป็นหลัก เนื่องจากการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตนั้นมีเรื่องของอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์และแฮคเกอร์เข้ามาเกี่ยวข้องและก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้บริโภคที่อยู่คนละประเทศกับผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและแก้ปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิตปลอมบน อินเตอร์เน็ต ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจากการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตตามกฎหมายจึงมัก จะเป็นธนาคารหรือร้านค้าที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

ใน ส่วนของกฎหมายไทยก็มีหลักการเช่นเดียวกันโดยระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในส่วนของประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญา เรื่อง การให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 ข้อ 3 ระบุว่า
“ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีข้อตกลงกับผู้ขายสินค้าหรือผู้ ให้บริการที่ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ผู้บริโภคเพียงแจ้ง ความ- ประสงค์ขอชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการโดยการแจ้งหมายเลขบัตรเครดิตด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการทำการเรียกเก็บเงิน จากผู้ประกอบธุรกิจ ต้องมีข้อสัญญาดังต่อไปนี้

(ก )ถ้าผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือไม่ได้เป็นผู้ขอรับ บริการ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะระงับ การเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หรือกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้วจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้ว่าภาระ หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้ บริโภคในภายหลัง

(ข) ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้หรือรับบริการภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อ หรือขอรับบริการ หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ในกรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าหรือบริการที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าผู้บริโภคพิสูจน์ได้ว่า

1) ไม่ได้รับสินค้า หรือไม่ได้รับบริการ หรือ

2) ได้รับแต่ไม่ตรงตามกำหนดเวลา หรือได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วนหรือ ชำรุดบกพร่อง หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ประกอบ
ธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว .....”

จาก หลักกฎหมายข้างต้นหาก บริษัท ก เปิดบริการขายสินค้าหรือให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตและนาย ข เข้ามาสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ หมายเลขบัตรเครดิตของนาย เอ ที่ได้มาโดยการขโมยหรือการแฮ็กมาจากระบบอินเตอร์เน็ต นายเอไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ธนาคาร หรือบริษัท ก เรียกเก็บแต่อย่างใด
มา ถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการบนอินเตอร์เน็ต จึงต้องรับความเสี่ยงค่อนข้างสูง วิธีการที่ร้านค้าบน อินเตอร์เน็ตมักใช้ในการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมมี 2 วิธีครับ คือ

1) การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหมายเลขบัตรเครดิตที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตกับ ธนาคารเจ้าของบัตร (Verification Service) ซึ่งโดยส่วนใหญ่การใช้บัตรเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการบนอินเตอร์ เน็ตมักใช้บัตรเครดิตในเครือข่ายของ วีซ่า (VISA) มาสเตอร์การ์ด (MASTERCARD) และ อเมริกันเอ็กเพรส ( AMERICAN EXPRESS) การตรวจสอบกับบริษัทผู้ให้บริการ บัตรเครดิตดังกล่าวจึงแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งโดยร้านค้าที่ขายสินค้าบน อินเตอร์เน็ตและต้องการได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง ของบัตรเครดิตของลูกค้าที่ใช้บริการซื้อสินค้าหรือบริการต้องสมัครเพื่อใช้ บริการตรวจสอบจากวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด ท่านผู้อ่านที่ สนใจบริการนี้อาจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ www.visa.com www.americanexpress.com หรือ www.mastercard.com ครับ

อย่าง ไรก็ตามการตรวจสอบดังกล่าวก็แก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเพราะในกรณีที่ ผู้ที่มีเจตนาทุจริตใช้หมายเลขบัตรเครดิต และวันหมดอายุจริงในการซื้อสินค้า การตรวจสอบดังกล่าวก็ไม่สามารถคลุมถึงเว้นแต่ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตดัง กล่าวจะใช้รหัสส่วนตัว (password)เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตอีกครั้งหนึ่งซึ่งการ ใช้รหัสดังกล่าวจะทำให้แก้ไขปัญหาการใช้บัตร
เครดิตปลอมรวมถึงปัญหาแฮ กเกอร์บนอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ต้องการซื้อหนังสือผ่านเว็บไซท์อเมซอนดอทคอม นาย ก แฮ็กหรือขโมยหมายเลขบัตรเครดิตของนาย ข มาใช้ หาก นาย ข ใช้รหัสผ่านเพื่อยืนยันการใช้บัตรเครดิตอีกครั้ง นาย ก หากไม่ ทราบรหัสดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำการซื้อขายบนอินเตอร์เน็ตได้

2) วิธีการตรวจสอบสถานที่ส่งมอบสินค้า วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในอเมริกาเนื่องจากในอเมริกามีการให้บริการตรวจสอบว่า ที่อยู่ที่จัดส่งสินค้าว่ามีอยู่จริงและเป็นที่อยู่เดียวกับ เจ้าของบัตรหรือไม่ ในประเทศไทยบริการนี้ยังมีอยู่น้อยและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะจึงไม่เป็น ที่นิยมครับ

ในส่วนของตัวบทกฎหมายที่อาจนำมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมบ้างก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายอาญาของเราคือ

มาตรา 341 ความผิดฐานฉ้อโกง เนื่องจาก การใช้บัตรเครดิตปลอมถือว่าเป็นการหลอกลวงไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการ แสดง ข้อความอันเป็นเท็จ ครับซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนวิธีการดำเนินคดีก็ต้องตรวจสอบ หมายเลขไอพีแอดเดรสหรือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตและหลักฐานอื่นๆเพิ่มเติมครับ

จาก สถิติปรากฎว่าประเทศไทยนั้นอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมนั้นยังไม่สูงมากนัก หากเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีค่านิยมในการใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดที่สูงมาก คดีในประเทศไทยที่ผมรับทราบมาส่วนใหญ่มักเป็นคนใกล้ชิดกับเจ้าของบัตร- เครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มที่นำเอาบัตรเครดิตหรือบางทีบัตรเอทีเอ็มไปใช้ส่วน ตัวโดยเจ้าของบัตรไม่ทราบซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าของบัตรก็
อาจต้องรับผิด หากธนาคารเจ้าของบัตรพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของบัตรประมาทเลินเล่อไม่ดูแลบัตรของ ตนให้ดี อีกคดีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ ประมาณ 3-4 ปีที่แล้วในไทยคือ กรณีที่พนักงานของธนาคารแห่งหนึ่งที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แก้ไขระบบโปรแกรม ของครื่องเอทีเอ็มของธนาคารแห่งหนึ่งให้จำรหัสผ่านของผู้ที่ใช้บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิตทุกคนที่เบิกถอนผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
โดยเขียนเป็นภาษาโค บอลท์เพิ่มเติมเข้าไปเป็น 8 หลัก หลังจากนั้นนำบัตรพลาสติกที่ตนเองจัดเตรียมไว้ปั๊มแถบแม่เหล็กและรหัสของ บัตรเครดิตและเอทีเอ็มลงบนแผ่นพลาสติกเปล่าและนำไปเบิกถอนเงินเป็นจำนวนหลาย สิบล้านบาท สุดท้ายก็ถูกจับกุมและดำเนินคดี ในที่สุดครับ

สุด ท้ายนี้ผมมีความเห็นว่า ทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการก็คือควรใช้เทคโลยีในการป้องกันการ ใช้บัตรเครดิตปลอมและ พิจารณาการซื้อขายที่น่าสงสัยเป็นรายๆไปเหมือนที่เว็บไซท์ยาฮูดอทคอมแนะนำใน ครั้งที่แล้วครับ หรือไม่ก็ใช้โปรกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่บางบริษัทนำมาขายเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของการใช้ บัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ละรายน่าจะแก้ไขปัญหาการ ใช้บัตรเครดิตปลอมได้ในระดับหนึ่งครับ

ที่มา www.ecommerce.or.th
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 10:28:29 pm »

.


บัตรเครดิต ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี



ถ้าใครสังเกตสถานการณ์ การแข่งขันของสถาบันการเงิน ในช่วงนี้ จะพบว่า หลายสถาบันทั้งของไทย และของต่างชาติ ต่างมุ่งเป้าหมาย การหารายได้ ลงมาในส่วนของสินเชื่อลูกค้า รายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ ซึ่งนอกจาก การให้สินเชื่อ ลักษณะ เงินกู้ส่วนบุคคล ประเภทต่างๆ และวงเงินหมุนเวียนหลากหลายชื่อแล้ว ของเก่าที่ยังนำมาเป็น เครื่องมือเพิ่มรายได้ให้กับสถาบันอีกอย่างก็คือ บัตรเครดิต ซึ่งมีทั้งบัตรที่ออกโดย สถาบันการเงิน เอง ที่เรียกกันว่า LOCAL CARD หรือบัตรที่มีลักษณะเป็น INTERNATIONAL อย่าง VISA / MASTER CARD / AMEX / DINERS บางสถาบันการเงิน ยังมี บัตรลูกผสมที่เป็นทั้ง LOCAL และ INTERNATIONAL ในใบเดียวกัน เพื่อให้ผู้ถือบัตร มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันด้านบัตรเครดิตที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2544 ต่อเนื่องจน ถึงปัจจุบัน เมื่อประกอบกับ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดวงเงินรายได้ของผู้มีสิทธิ์ถือบัตรเครดิต จากเดิมต้องมีรายได้ 20,000.- บาท / เดือน คงเหลือไม่ต่ำกว่า 15,000.- บาท / เดือน ทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้ถือบัตรรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก ธนาคาร แห่งประเทศไทยระบุว่า มีจำนวนบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2544 จำนวน 1.89 ล้านบัตร และคาดว่า จะเพิ่มเป็นมากกว่า 2.0 ล้านบัตร ในปี 2545 ซึ่งจะเป็นจำนวนที่สูงที่สุด และมากกว่าช่วงก่อน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ด้วยซ้ำไป


จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า จำนวนบัตรเครดิต ที่เพิ่มขึ้น และจะต้องมี การบริโภค มากขึ้นตามมานั้น ไม่ได้สอดคล้อง หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง กำลังซื้อโดยรวมลดลง หากมองกันใน แง่ร้ายจะเห็น ความเสี่ยงที่จะเกิด NPL ขึ้นใหม่อีกครั้ง นกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ ซึ่งนั่นเป็นปัญหาระดับประเทศ สำหรับผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่จะดูแล และกำกับควบคุมต่อไป แต่ในส่วนของผู้บริโภค หรือผู้ถือบัตรเอง ก็ควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่ใช้บัตรเครดิต ให้ถูกแนวทาง หรือมีความเข้าใจไม่เพียงพอ
โดยคุณสมบัติพื้นฐานบัตรเครดิต คือ เครื่องมือที่ผู้ออกบัตรออกให้กับผู้ถือบัตรเพื่อนำไปใช้ในการชำระค่าสินค้า และบริการ แทนเงินสด ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ตกลง ผู้ถือบัตรจะต้องชำระเงินส่วนนั้นคืนให้กับผู้ออกบัตร แต่เดิม การชำระคืน แต่ละรอบ ผู้ถือบัตรจะต้องชำระคืนเต็ม จำนวนที่ได้รับการแจ้งยอด ธนาคาร หรือผู้ออกบัตร จะมีรายได้หลัก 1 - 3 % จากรายการใช้จ่ายของ ผู้ถือบัตรแต่ละรายการ โดยหักเอาจากร้านค้าที่ขาย ผ่านบัตรเครดิต (นอกจากรายได้จาก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี) ในปัจจุบันมี การกำหนดเงื่อนไข การชำระคืนเป็นสามารถผ่อนชำระได้ 5 - 10 % ของยอดการใช้จ่ายต่องวดหรือยอดคงค้าง (แต่ต้อง ไม่ต่ำกว่า 2,000.- บาท ตามประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในแง่ของผู้ถือบัตรมีแนวทางเลือกมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดยอดคงค้าง ในบัตรเครดิตมากขึ้น ทำให้ผู้ออกบัตรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก ทางจากดอกเบี้ยซึ่งคิดจากยอดหนี้คงค้าง (ข้อมูล ในไตรมาสที่ 1 ปี 2544 พบว่า ยอดหนี้คงค้างในระบบบัตรเครดิต ทั้งประเทศมีประมาณ 32,000.- ล้านบาท) นอกจากนี้ผู้ออกบัตร ยังมีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสด ฉุกเฉินล่วงหน้า และค่าธรรมเนียมจาก การชำระล่าช้าอีกด้วย


กลยุทธ์ต่างๆ ของผู้ออกบัตร ที่นำมาชักชวนผู้บริโภค ตั้งแต่ต้นปี 2544 อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี การให้ ของแถมมูลค่า ตั้งแต่หลักร้อยบาท จนถึงพันกว่าบาท สำหรับผู้สมัครใหม่ การให้โบนัสหรือรางวัลเป็นสิ่งของ หากมีการใช้จ่ายผ่านบัตร ถึงเป้าที่กำหนด หรือการใช้นโยบายราคา โดยลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับโอนหนี้ เพื่อแย่งชิงลูกค้ากลุ่มเดิม เป็นการแข่งขันที่ไม่เคย ปรากฎมาก่อนตั้งแต่บัตรเครดิต เริ่มเข้ามามีบทบาท ในระบบสถาบันการเงินของประเทศ เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน อาจกล่าวได้ว่า ภาวะตลาด บัตรเครดิต ปัจจุบันเป็นของผู้บริโภคก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะถือบัตรเครดิตสักใบ หรือจะใช้จ่ายผ่านบัตร


เครดิตที่มีอยู่แล้ว ผู้ถือบัตรน่าจะมีกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ สำหรับตัวเองคือ

1. เลือกเงื่อนไขชำระคืนที่เหมาะสม การเลือกเงื่อนไขผ่อนชำระคืนเต็ม ตามจำนวนในใบแจ้งยอด แม้จะเป็น การแสดงความตั้งใจ ในการรักษาวินัยทางการเงินของผู้ถือบัตร แต่ในบางครั้งเป็น การบังคับตนเอง เกินไปจน ไม่มีทางถอย และอาจสร้างปัญหาให้กับ ผู้ถือ บัตรได้ในอนาคต โดยเฉพาะใน ภาวะเศรษฐกิจ ที่ยังไม่มีความแน่นอน ผู้ถือบัตรหลายรายเลือกเงื่อนไขชำระคืนเต็มตามจำนวน ในใบแจ้งยอด แต่กลับพบภายหลังว่า ตนเองกลายเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีปัญหา เมื่อไม่สามารถ ชำระคืนได้ตรงตาม กำหนดทุกครั้ง ซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่เลือกผ่อนชำระขั้นต่ำ 10 % ผู้ถือบัตรเหล่านั้นสามารถ กำหนดเงื่อนไขให้ตนเองที่จะเลือกชำระเต็มจำนวนได้ โดยที่ ผู้ออกบัตร ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด แต่หากเดือนใดมีเหตุขัดข้องก็ยังสามารถเลือกชำระ 10 % ตามที่ตกลงกับผู้ออกบัตรไว้ได้เรียกว่า ยังเก็บ ทางถอยไว้ให้กับ ตนเอง และในแง่ของสถาบันผู้ออกบัตรจะถือว่าเป็นลูกค้าเกรด A ด้วยซ้ำ เนื่องจากสามารถชำระได้ดีกว่า เงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

2. พยายามชำระหนี้เต็มตามใบแจ้งยอด หลีกเลี่ยงยอดค้างชำระ ไม่ว่าจะเลือกเงื่อนไขใด ในการชำระคืน ก็ตามสิ่งสำคัญที่ ผู้ถือบัตรต้อง คำนึงไว้ตลอดเวลา คืออัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือบัตรถูกคิดจากยอดค้างชำระ (หลังจากครบกำหนดชำระแล้ว) จะอยู่ที่ประมาณ 17 - 18 % ต่อปี หรืออาจสูงถึง 24 - 27 % ต่อปีในกรณีผู้ออกบัตรที่เป็นสถาบันต่างชาติ อัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก เพราะฉะนั้น คงจะไม่ถูกต้องตาม หลักทฤษฎีการบริหารเงินแน่ หากสามารถชำระเต็มได้แต่ไม่ชำระ โดยเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝาก

3. หลีกเลี่ยงการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉิน หรือ CASH ADVANCE โดยทั่วไป บัตรเครดิต จะมีวงเงิน ให้เบิก เงินสดฉุกเฉิน ได้ 50-100 % ของวงเงินบัตรหรือ ยอดคงเหลือขณะนั้น การเบิกแต่ละครั้ง ต้องแน่ใจว่าฉุกเฉินจริง ๆ เนื่องจากผู้ถือบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 4 - 5 % ของยอดที่เบิกทันที และผู้ออกบัตรบางราย ยังคิดดอกเบี้ย จากยอดดังกล่าวนั้น ตั้งแต่วันที่เบิกอีกด้วยซึ่งแสดงว่าจะมี ีต้นทุน ดอกเบี้ยจาก เงินก้อนดังกล่าวนั้น 5 - 6 % ต่อเดือน หรือ 60 - 70 % ต่อปีทีเดียว

4. หลีกเลี่ยงการชำระไม่ตรงกำหนด เนื่องจากจะมีค่าปรับเกิดขึ้นมากน้อยตามแต่สถาบันผู้ออกบัตรจะกำหนด ผู้ออกบัตรบางสถาบัน กำหนดเป็นเกณฑ์แน่นอน 100 - 200 บาทต่อครั้ง แต่ผู้ออกบัตรบางราย กำหนดเป็น เปอร์เซ็นต์ของยอด ที่ต้องชำระคืนตามใบแจ้งยอด ซึ่งหากเดือนใดผู้ถือบัตรหลงลืมชำระไม่ตรงกำหนด อาจจะต้อง ถูกปรับเป็นหลักพันบาททีเดียว
ข้อคิดสำคัญที่ต้องคิดทุกครั้งในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ ก่อนรูดบัตรแต่ละครั้งเพื่อซื้ออะไรก็ตาม ลองคิดดูสักนิดว่า เรามีเงิน ในบัญชีขณะนั้น มากพอที่จะชำระคืนหรือไม่ เงินในบัญชีนั้นต้องเป็นสำหรับส่วนที่กันไว้สำหรับใช้จ่าย ไม่ใช่เงินออมด้วยจึงจะถูกต้อง หากไม่มีเงินพอในขณะนั้น และการรูดบัตรนั้น เป็นการใช้จ่ายเพื่อรอการเงิน ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรควรจะหยุดคิดสักนิด ว่า สินค้าหรือบริการนั้นมีความจำเป็นเพียงใด บัตรเครดิต จะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ถือบัตรใช้แทนเงินสดที่มีอยู่ และมีเวลาอีก 40 - 45 วันที่จะต้องจ่ายเงินสด ที่มีอยู่นั้นออกไป นั้นคือการใช้บัตรเครดิตที่ถูกวิธี แต่ผู้ถือบัตรจะเป็นฝ่ายถูกใช้โดยผู้ออกบัตรให้เป็นลูกหนี้ และภาระหนี้ที่ต้องชำระคืน ไม่จบสิ้นในอนาคตทันที ถ้าผู้ถือบัตรใช้จ่ายโดยหวังว่าจะนำเงินรายได้ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรดังกล่าว จะต้องทำงาน เพื่อตามใช้หนี้ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถ วางแผนการเงิน ให้ถูกแนวทางได้อีกเลย



กลเม็ดใช้บัตรเครดิตแบบถูกวิธี

ทุกวันนี้การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตของคนไทยทั่วไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ประกอบการทั้งธนาคาร และสถาบันที่ออก บัตรเครดิต ต่างดึงดูดใจลูกค้าด้วยโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย จนทำให้จำนวนผู้ใช้บัตรเครดิต เพิ่มอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีบัตรเครดิตแล้วก็ควรใช้อย่างสบายใจและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้ ใช้บัตรเครดิตกับสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น จากสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้ ส่งผลทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฉะนั้น การจะซื้อสินค้า ก็ควรจะเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น ส่วนสินค้าจำพวกอำนวยความสะดวก ให้ชีวิตนั้นคงจะต้องรอไว้ก่อน จนกว่าสภาพคล่องทางการเงินดีขี้นกว่าปัจจุบัน

คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ หลังจากใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าแล้ว ควรชำระหนี้ที่ถูกเรียกเก็บ ให้เจ้าหนี้เต็ม จำนวนที่เรียกเก็บและตรงกำหนดเวลาวันชำระ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดอกเบี้ยและค่าปรับจากการชำระหนี้ช้า ฉะนั้น ก่อนใช้บัตรเครดิต ควรคำนึงถึงรายได้ของตน หรือความสามารถในการชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้

ดูวันก่อนออกจากบ้านไป ช้อปปิ้ง พยายามใช้บัตรครดิต ให้ได้ระยะเวลาในการปลอดหนี้ให้มากที่สุดจากธนาคาร โดยเลือก หลังจากวันที่มี การสรุปยอดการใช้จ่ายทุกครั้ง เนื่องจากถ้านำบัตรเครดิตไปใช้ใกล้ถึงวันตัดยอด ก็จะได้เวลา ในการปลอดหนี้น้อย และต้องชำระเงินเร็ว ยึดแนวนี้ไม่มีพลาด

- ศึกษาเงื่อนไขของบัตรเครดิตที่ถืออยู่อย่างละเอียด
- หมั่นติดต่อกับธนาคารเพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
- ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้า หรือบริการในระยะเวลาปลอดหนี้
- ตรวจสอบความถูกต้องของรายการสินค้าและจำนวนเงินที่จ่ายผ่านบัตรเครดิตทุกครั้ง
- เก็บสลิปที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้
- เก็บรักษาบัตรเครดิตให้ปลอดภัย
- ยกเลิกการถือบัตรเครดิต หากไม่มีความจำเป็น

เริ่มต้นอย่างไรดี ถ้าต้องการมีบัตรเครดิตไว้ใช้สักใบ บัตรเครดิต หลายท่านต้องการมีไว้ใช้จ่ายอย่างน้อย 1 หรือ 2 ใบ เพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินของท่านในแต่ละเดือน ปัจจุบันบัตรเครดิตมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเดิม ซึ่งเคยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 25 % - 29 % ต่อปี เหลือเพียง 18 % ต่อปีเท่านั้น อีกทั้งค่าธรรมเนียม ในการเบิกถอน เงินสดก็ปรับลดลงอีกด้วยเหลือเพียง 3 % ของยอดที่เบิกถอน

ข้อดีของการมีบัตรเครดิต คือ ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องชำระค่าสินค้า หรือบริการ เป็นเงินสด ท่านสามารถใช้บัตรเครดิตของท่าน ชำระค่าใช้จ่ายได้ทันที โดยเงินสดของท่าน ก็ยังคงมีอยู่ ที่สำคัญค่าบริการหรือสินค้าที่ท่านใช้จ่ายนั้น ท่านสามารถชำระคืน ได้ในภายหลัง โดยมี ระยะเวลาประมาณ 45 - 55 วันแล้วแต่บัตรของธนาคาร ท่านไม่จำเป็น ที่จะต้องชำระคืนเต็ม จำนวน เพราะท่านสามารถเลือกชำระคืนเพียง 5 % ของค่าใช้จ่ายท่านของท่าน บัตรเครดิตยังให้ท่านเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า

สำหรับเหตุการณ์ในทุกสถานการณ์ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน และบัตรเครดิตยังมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมากมาย ไม่ว่า จะเป็น การผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าอัตราดอกเบี้ย 0 % การสะสมคะแนนแลกของกำนัล ต่างๆ การเห็นไหมครับว่า บัตรเครดิตน่าสนใจจริงๆครับ

ข้อเสียของการมีบัตรเครดิต

ข้อนี้ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมของท่านเองว่า ท่านสามารถควบคุมการใช้บัตรของท่านได้ถูกวิธีหรือไม่ หากท่านมีการใช้วงเงินเกิน

การชำระคืนของท่าน การมีบัตรเครดิตก็เป็นดาบ 2 คมเช่นกัน ดังนั้นเมื่อท่านมีบัตรเครดิต ท่านควรมี วิธีการบริหารการใช้จ่าย อย่างถูกวิธี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารการเงินของตัวท่านเอง
สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกสมัครบัตรเครดิต

1. อัตราดอกเบี้ย
2. ค่าธรรมเนียมต่างๆในการใช้บัตร
3. การให้บริการ
4. ค่าบริการรายปี
5. โปรโมชั่นของบัตรแต่ละประเภท

วิธีเลือกบัตรเครดิต

พิจารณาเงื่อนไขในการสมัครของบัตรนั้น ๆ เช่น เงินเดือนขึ้นต่ำ เงินเดือนต้องผ่านแบงค์ เป็นต้น ใช ้บัตรเครดิต อย่างฉลาด

สินเชื่อหรือเครดิต มีหลายหลายรูปแบบในประเทศไทย นอกเหนือจากบัตรเครดิตที่ช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความยืดหยุ่น และคล่องตัว ในการใช้เงินสูงสุดแล้วก็ยังมี บัตรเครดิต อีกหลายประเภท อาทิ บัตรเพื่อการกู้ยืม สำหรับนักเรียน การกู้เพื่อ วันพักผ่อน การกู้เพื่อซื้อบ้าน หรือการจำนองแม้ว่า บัตรเครดิต เหล่านี้จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่มีลักษณะพิเศษร่วมกัน บางประการ เช่น ช่วยให้เราคง รูปแบบการใช้ชีวิตตามความปรารถนาได้ โดยไม่ต้อง จ่ายเงินครั้งละมากๆ ดังนั้น การใช้บัตรเครดิต อย่างชาญฉลาดจะช่วยให้ผู้ใช้บัตรได้รับประโยชน์ ความปลอดภัย และความสะดวก
ในทางกลับกัน การใช้บัตรเครดิตอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้คุณตกอยู่ในความเดือดร้อน มีหลายกรณีที่ผลของ

การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นภาระหนักทางการเงินของคุณ แทนที่จะช่วยส่งเสริมการเงินส่วนตัวของคุณ แนวทางต่อไปนี้เป็นวิธี การใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด และการล่วงรู้สัญญาณอันตรายจากการใช้เครดิตอย่างไม่เหมาะสม ผู้บริโภคที่เฉลียวฉลาด จะใช้เครดิตเพื่อส่งเสริมการใช้เงิน มากกว่าการทำให้กลายเป็น ภาระทางการเงิน ลองพิจารณาแนวทาง อันชาญฉลาดใน การใช้บัตรเครดิตดังนี้
จัดทำงบค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ คอลัมน์แรกเขียนรายการค่าใช้จ่ายและคอลัมน์ที่สอง เขียนรายได้หลังหักภาษี เมื่อคุณนำค่าใช้จ่ายมาเปรียบเทียบกับรายได้ คุณจะเห็นทันทีว่าคุณเป็นหนี้เท่าไร และคุณสามารถ รับภาระได้หรือไม่ ขั้นตอนนั้นนับว่ามีความสำคัญมาก
วิธีการที่ดีที่สุดใน การสร้างกรอบให้ตัวเอง คือการยืมเงินหรือใช้จ่ายเงินล่วงหน้าภายในวงเงินที่คุณสามารถใช้คืนได้ พิจารณาว่าคุณสามารถใช้เงินในจำนวนเท่าไร แล้วค่อยใช้เครดิตตาม จำนวนนั้นแทน การนั่งคำนวณว่า คุณจะได้รับเครดิตเท่าไร

กฎทั่วไป คือ คุณควรจะจำกัดยอดการกู้ยืมเงินไว้ที่ 20% ของรายได้หลังหักภาษี ควรจำกัดตัวเองด้วยการใช้บัตรเพียงใบเดียว เช่น บัตรเครดิตของห้างสรรพสินค้าที่คุณชอบ หรือบัตรสถานีบริการน้ำมัน ควรแน่ใจว่า ในการชำระเงินที่กู้ยืมมานั้น คุณไม่ต้องจ่ายค่าปรับ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมี ความยืดหยุ่น ในการชำระเงินเวลาใดก็ได้

อย่าคิดเอาเองว่า คุณได้รับอนุญาตให้กู้ยืม ดังนั้นคุณจึงพร้อมแล้วที่จะใช้เครดิตให้มากกว่ายิ่งขึ้น หากคุณมีเป้าหมายที่ จะควบคุมการเงินของคุณ ควรแน่ใจว่า การเงินของคุณมีเสถียรภาพเพียงพอก่อนการยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติม ควรอ่าน รายละเอียดต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพราะมีข้อแตกต่างมากมายระหว่างผู้ออกเครดิต และเงื่อนไขการจ่ายคืน ปรึกษาคู่สมรส หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในภาระหนี้สิน ควรหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกอย่างดำเนิน ไปอย่างราบรื่น การทำเช่นนี้จะช่วยไม่ให้เกิดการใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือการใช้เงิน อย่างไม่สมเหตุผล อีกทั้งช่วย สร้างความมั่นใจว่า ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทุกคน เต็มใจทำตามข้อตกลง ควรคิดเสมอว่า การเซ็นชื่อร่วมกันถือเป็นสัญญา ถ้าผู้ทำสัญญาไม่อาจชำระหนี้ได้ คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว

ดังนั้นก่อนเซ็นชื่อควรแน่ใจว่าอีกฝ่ายมีความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และพิจารณาว่าคุณ สามารถจัดการกับหนี้สินต่างๆ ได้หากคุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากคุณเป็นนักชอปปิ้งด้วย ที่ไม่อาจห้ามใจตัวเองได้ และมักทำผิดเงื่อนไขการกู้ยืม เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน คุณยังไม่ควรใช้บัตรเครดิตจนกว่า คุณจะสามารถใช้เงินภายในวงเงินที่มีอยู่ได้ ให้บัตรเครดิตเป็น เพื่อนร่วมทางที่คุณวางใจได้ ไม่มีใครต้องการเผชิญกับภาวะเงินขาดมือ ในขณะอยู่ต่างประเทศ แต่ถ้าคุณมีบัตรเครดิต ที่ใช้ได้ทั่วโลกสักใบ ฝันร้ายนี้ย่อมจะไม่เกิดขึ้น




ได้ข้อมูลมาจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ข้อมูลมาจาก -http://www.sfac.or.th- -

-http://www.novabizz.com/NovaAce/Money/Credit_Card.htm-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 10:27:52 pm »

.

วิธีใช้บัตรเครดิต(How to use Credit card?)โดยไม่เกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิต

ผู้เขียน Choke Chira

บัตรเครดิตมีประโยชน์ในแง่ความปลอดภัยไม่ ต้องพกพาเงินสดจำนวนมาก ใช้สะดวก เท่ห์และได้รับระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 40-50 วัน หากผู้ถือบัตรเครดิตรู้จักวิธีใช้บัตรเครดิตก็จะได้รับประโยชน์จากบัตร เครดิตและยังไม่เกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิตอีกด้วยเรียกว่าได้ประโยชน์สองต่อ เลยทีเดียว

นอกจากนี้ผู้ถือบัตรเครดิตยังได้รับสิทธิประโยชน์และส่วนลดต่างๆจาก การใช้บัตรเครดิตที่ในความเป็นจริงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าผู้ถือบัตร เครดิตจะต้องชำระยอดเต็มทุกเดือน(100 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นต้องมีการคิดและวางแผนก่อนการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าเพื่อเตรียมกัน เงินสดไว้ชำระหนี้ที่เรียกเก็บจากธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตให้เพียงพอเมื่อถึง กำหนดชำระจึงจะไม่เกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิต

วิธีใช้บัตรเครดิตโดยไม่ทำให้เกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิตนั้น ผู้ถือบัตรเครดิตต้องเตือนตนเองอยู่เสมอว่า การใช้บัตรเครดิตเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้และคำพูดที่ว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” ยังคงเป็นจริงอยู่เสมอ ดังนั้นอย่าสร้างภาระหนี้บัตรเครดิตมากเกินกำลังที่จะจ่ายชำระได้(เต็มจำน วน100%) มิฉะนั้นผู้ถือบัตรเครดิตจะมีลักษณะเหมือนค่อยๆก้าวเข้าสู่วังวนหรือกับดัก บัตรเครดิตโดยไม่รู้ตัว

วิธีใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องคือ ผู้ถือบัตรเครดิตต้องรู้กำลังของตนเอง โดยกำหนดวงเงินสูงสุดต่อเดือนที่จะสามารถใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าได้ โดยพิจารณาจากรายได้ต่อเดือนหลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้วว่ามีเงินเหลือ อยู่ในบัญชีจำนวนเท่าใด นั่นคือยอดหนี้บัตรเครดิตสูงสุดที่ผู้ถือบัตรเครดิตจะใช้ซื้อสินค้าได้โดย ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิตตามมา

การมีวินัยโดยรู้จักควบคุมวิธีใช้บัตรเครดิตให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ถือบัตรเครดิตโดยไม่ต้องเป็นห่วงว่าธนาคารผู้ ออกบัตรเครดิตจะไม่ได้อะไร อย่างน้อยที่สุดธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตก็ได้รับค่าธรรมเนียม(1-3 %) ที่เรียกเก็บจากทางร้านค้าอยู่แล้ว ดีไม่ดีร้านค้าผู้รับบัตรจะหาทางผลักภาระค่าธรรมเนียมตัวนี้มาให้แก่ผู้ถือ บัตรเครดิตเสียอีก

ปัญหาหนี้บัตรเครดิตจะไม่มีทางเกิดขึ้นหาก ผู้ถือบัตรเครดิตรู้-เข้าใจวิธีใช้บัตรเครดิตและมีวินัยในการใช้บัตรเครดิต ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาทจนตกหลุมพรางหรือกับดักบัตรเครดิตต่างๆเช่น ยอมซื้อสินค้าที่ดาวน์ 0 เปอร์เซ็นต์ ผ่อน 0 เปอร์เซ็นต์(โดยมีเงื่อนไขที่ต้องระวัง) หรือยอมจ่ายบัตรเครดิตตามยอดขั้นต่ำ 5-10 % (ถูกคิดดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระ) หากผู้ถือบัตรเครดิตตกหลุมพรางหรือติดกับดักบัตรเครดิตแล้วปัญหาหนี้บัตร เครดิตจะค่อยๆก่อตัวขึ้นโดยที่ผู้ถือบัตรเครดิตไม่ทันระวังตัว ดังนั้นจงมีสติ(รู้ตัวอยู่เสมอเมื่อจะสร้างหนี้) รู้เขา รู้เรา รู้ทันบัตรเครดิตแล้วชีวิตจะไม่ตกอยู่ในความทุกข์.



-http://thai-debt-solutions.blogspot.com/2009/02/how-to-use-credit-card.html-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 10:26:58 pm »

.


วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย


-http://www.bfiia.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=5324673&Ntype=2-



    เซ็นชื่อหลังบัตรทันทีที่ได้รับบัตรมาใหม่
    รักษาบัตรของท่านเสมือนเป็นเงินสด
    ไม่ควรเขียนหรือเก็บรหัสไว้รวมกับบัตร
    ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้รับบัตรคืนหลังการใช้ทุกครั้ง
    หากเป็นไปได้ ควรให้บัตรอยู่ในสายตาตลอดเวลาในขณะที่ร้านค้ากำลังดำเนินการขออนุมัติวงเงิน
    ตรวจสอบ Sales Slip ทุกครั้งว่าจำนวนเงินถูกต้องหรือไม่ก่อนเซ็นชื่อ และเก็บสำเนา รวมทั้งใบบันทึกรายการ ATM ไว้ทุกครั้ง
    ไม่ควรบอกรหัสบัตรของท่านกับใครทางโทรศัพท์
    ควรตรวจสอบใบแจ้งยอด ค่าใช้จ่ายของบัตรทุกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากการเดินทาง โดยตรวจสอบจำนวนเงินในแต่ละรายการเทียบกับสำเนา Sales Slip ควรบันทึกหมายเลขบัตรแต่ละใบ รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน เช่น บัตรหาย หรือ ถูกโจรกรรม และเก็บแยกไว้ต่างหาก
    หากรู้สึกว่าพนักงานขายทางโทรศัพท์คะยั้นคะยอขอหมายเลขบัตรเครดิตของท่าน ให้สงสัยไว้ก่อนและปฏิเสธไป
    ไม่ควรเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวใดๆ ของท่านกับใครขณะใช้บัตรเครดิต และแสดงบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่นๆ เมื่อท่านเห็นสมควรว่าจำเป็นเท่านั้น
    ไม่ควรเปิดเผยรหัสบัตรของท่านกับใคร ท่านควรเป็นผู้เดียวที่รู้
    ในการ ตั้งรหัสบัตร พยายามเลือกรหัสที่ท่านสามารถจำได้ง่าย แต่ไม่ควรใช้ตัวเลขที่ผู้อื่นอาจเดาได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ทะเบียนรถ เป็นต้น
    หาก บัตรของท่านติดอยู่ในเครื่อง ATM ควรระวังผู้ที่แสดงความหวังดีเข้ามาช่วยเหลือ เพราะผู้ที่มาช่วยอาจแฝงด้วยเจตนาที่ไม่ดีและอาจใช้วิธีการต่างๆ เพื่อล่วงรู้รหัสบัตรของท่าน แล้วอาจนำบัตรของท่านที่ค้างอยู่ในตู้ ATM มากดถอนเงินในภายหลัง อย่าชะล่าใจ…ภัยทุจริตบัตรเครดิต




    คณะทำงานป้องกันทุจริตบัตรเครดิต ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต สมาคมธนาคารไทย ได้แจ้งประกาศเตือนภัย ผู้ถือบัตร คนไทยที่ใช้บัตรเครดิต ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เนื่องจากมีปัญหาอาชญากรรมด้านบัตรเครดิตค่อนข้างรุนแรง หรือพูดง่ายๆ ก็คือมีอัตราการทุจริตจากการใช้บัตรเครดิตที่สูงมากในขณะนี้ หากไม่นับรวมกรณีที่ผู้ถือบัตรเจตนาทำทุจริตเสียเอง ลักษณะการทุจริตบัตรเครดิตประเภทต่างๆ เท่าที่มีการติดตามรวบรวมสถิติกันไว้พอจะ สรุปได้ ดังนี้

    1. ผู้ถือบัตร ทำบัตรเครดิตหล่นหาย หรือลืมบัตรไว้ที่ร้านค้าที่ไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการโดยไม่รู้ตัว และที่สำคัญไม่ทันได้แจ้ง อายัดบัตรโดยทันที พอมีคนเก็บบัตรได้ก็นำไปใช้ในทางทุจริต เช่น ปลอมลายเซ็นในเซลสลิป หรือนำบัตรไปใช้จ่าย ในจำนวนเงินไม่สูงนักต่อครั้ง

    2. บัตรเครดิตถูกขโมยทั้งกรณี ที่ถูกขโมยก่อนส่งให้เจ้าของบัตร และกรณีที่ผู้ถือบัตรถูกโจรกรรมหรือล้วงกระเป๋า หลังจากที่ได้ รับบัตรแล้ว ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นการทุจริตที่มีความเสียหายสูงมากในขณะนี้ สำหรับเทคนิคการทุจริตโดยนำบัตรที่ถูกขโมยไปใช้ ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นการปลอมลายเซ็นในเซลสลิป หรือไม่ก็สมรู้ร่วมคิดกับร้านค้าสมาชิกให้ใช้บัตรโดยมิชอบ

    3. การขโมยข้อมูลบัตรเครดิตไปทำการปลอมแปลง ซึ่งการทุจริตประเภทนี้มีมากในแถบเอเชียเช่นมาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น 4. วิธีการก็มีตั้งแต่ง่ายๆ เช่น นำบัตรเครดิตที่หมดอายุ หรือถูกอายัดแล้วมาแก้ไขข้อมูลใหม่ ไปจนถึงวิธีที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฮเทคหน่อยเข้าช่วย เช่น ทำบัตรปลอมโดยการสำเนาข้อมูลในแถบแม่เหล็กจากบัตรจริง เป็นต้น

    5. ร้านค้าทุจริต เช่น ร้านค้าแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในเซลสลิป ร้านค้าเจตนารูดบัตรทำรายการหลายครั้ง ร้านค้าขายสินค้า แพงเกินกว่าที่เป็นจริงหรือ สินค้ามีคุณภาพต่ำกว่าที่ได้ตกลงกัน ร้านค้าไม่จัดส่งสินค้าไปให้แก่ลูกค้าตามกำหนดเวลาที่ได้ ตกลงกันไว้ เป็นต้น

    6. คำแนะนำที่น่าสนใจของชมรม ธุรกิจบัตรเครดิตก็คือ ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตกับร้านค้าที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ร้านดิวตี้ฟรีช็อป (ร้านค้าขายของปลอดภาษี) ของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ร้านขายจิวเวลลี่ราคาแพงที่เน้นขาย เฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกในประเทศเกาหลีและไต้หวัน ร้านอาหารในโรงแรม หรือร้าน ที่เปิด ดำเนินกิจการเฉพาะในตอนกลางคืน เป็นต้น

    7. แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตชำระ ค่าสินค้าหรือค่าบริการในร้านค้าที่มีความเสี่ยงก็ต้องหัดเป็นคนช่างสังเกต เสียหน่อย รวมทั้งควรติดตามพนักงานขายไปจนถึงเคาน์เตอร์แคชเชียร์เลยเพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีการนำบัตรเครดิตไปรูดกับเครื่องอย่างอื่น นอกจากเครื่องอนุมัติวงเงินของแบงก์เท่านั้น หรือไม่ได้มีการรูดบัตรทำรายการซ้ำหลายครั้ง

    8. ต้องตรวจสอบหมายเลขบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และยอดเงินในเซลสลิปว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนลงลายมือชื่อ

    9. นอกจากนั้นผู้ถือบัตรควรจดหมายเลขบัตรเครดิต และหมายเลขโทรศัพท์ของแบงก์ผู้ออกบัตรติดตัวเอาไว้ด้วยหากทำบัตรหล่นหายหรือ บัตรถูกขโมยหรือสงสัยว่าบัตรของตนเองจะถูกทุจริตจะได้สามารถแจ้งอายัดบัตร ได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ตลอด 24 ชั่วโมง

    :: แหล่งข้อมูลจาก : ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)