ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: AnamCaraSHC
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 07:48:32 am »

 เปรมา  มาจากคำในภาษาสันสกฤต มีความหมายว่าความรัก  เป็นความรักเมตตาบริสุทธิ์ที่มาจากใจส่วนลึก  เป็นพลังที่ทำให้หัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดอยู่ตลอดเวลา  เราสามารถสัมผัสพลังความรักนี้ได้ด้วยการนั่งลงหลับตาในสถานที่เงียบสงัด  น้อมใจลงไปสัมผัสที่หัวใจ ทุกครั้งที่หัวใจเต้นเราจะสัมผัสได้ถึงกลุ่มก้อนพลังความรักเมตตาบริสุทธิ์เปรมานี้แผ่ออกมาจากใจส่วนลึก  พร้อมกับเลือดที่ส่งผ่านไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย
   
       พลังรักเปรมาเป็นบ่อเกิดของความเมตตาปราณี  เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข เป็นเมตตาที่ไม่มีประมาณ  หากเรารู้จักบ่มเพาะด้วยการเข้าถึงพลังรักนี้  จิตใจจะเข้าถึงความปีติสุขสงบ  เกิดความมั่นคง มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตท่ามกลางความกดดันนานัปการได้อย่างมั่นใจ
     ด้วยการนั่งหรือนอนหลับตาในท่าที่สบาย  หายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ สามสี่ครั้งจนรู้สึกสงบ  ต่อจากนี้ให้น้อมใจเบาๆ (ขอเน้นคำว่า เบาๆ)  ระลึกคำภาวนา “ เปรมา” ให้พลังแห่งเปรมานี้ได้สัมผัสลงไปที่หัวใจ  ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกได้ถึงความสุขสงบภายใน เพราะความรักทำให้เกิดพลังที่อ่อนโยนเยียวยาดูแลจิตใจ
       เมื่อภาวนา “เปรมาๆๆ”  จนจิตเกิดสมาธิแล้วจะพบว่าคำภาวนาจะไม่จำเป็นอีกต่อไป  คงมีไว้แต่สภาพหัวใจที่เปี่ยมด้วยรักบริสุทธิ์  เกิดเป็นความปีติยินดี ความสุขลึกดื่มด่ำเย็น  และความสงบนิ่ง  จนหัวใจกลายสภาพเป็นความรักที่เต้นได้อยู่กลางทรวงอก  ซึ่งในขณะนี้จะเกิดเป็นบูรณาการของ สติ สมาธิ  ให้ประคองใจเช่นนี้ให้เป็นเวลานานๆ  เราได้เข้าถึงแหล่งแห่งพลังชีวิตที่อยู่ภายใน  จะเกิดผลดีต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิต  เป็นเงื่อนไขที่จะให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณ 
        การภาวนาเปรมาอยู่เสมอ  จะทำให้จิตมีความรักความอ่อนโยน  มีความสุขสงบไม่ร้อนรน  ช่วยให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์จิตใจได้มากขึ้น  เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ เช่น เครียด ซึมเศร้า  วิตกกังวล นอนไม่หลับ  มีหลายคนที่นอนไม่หลับเรื้อรังมานานหลายปีก็สามารถนอนหลับได้อย่างง่ายดายด้วยสมาธิภาวนาเปรมานี้ก่อนนอนจนกระทั่งหลับไปไม่รู้ตัว โดยไม่ต้องพึ่งยานอนหลับอีกเลย  ขอให้เกิดประโยชน์แด่ท่านทั้งหลายโดยทั่วกัน

http://anamcarashc.blogspot.com/2011/12/prema-meditation.html