ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: (〃ˆ ∇ ˆ〃)
« เมื่อ: มีนาคม 23, 2013, 01:31:14 pm »

ล้อมวงคุยกัน  :13:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 11:48:47 am »

หลังจากที่เช็คอินเปิดวงไดอะล็อคและอธิบายกติกาคร่าวๆไปแล้ว ก็เป็นการสนทนากันต่อในรอบที่สอง ซึ่งการสนทนาในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อการ “ฝึกการฟัง” ไม่ใช่การฝึกการพูด เราจึงไม่มี“หัวข้อสนทนา” ไม่มีประเด็น หรือวาระในการประชุม
 
ผู้คนที่เริ่มเข้ามาฝึกฝนในการสนทนาแบบใหม่นี้ อาจจะรู้สึกอึดอัดขัดเคืองในครั้งแรกๆ เพราะเป็นการสนทนาที่ไม่คุ้นชิน แต่เมื่อทำไปสักระยะ ก็จะเริ่มได้ประโยชน์กับตนเองอย่างไม่รู้ตัวเช่นเป็นผู้ฟังที่ดีขึ้น ใจเย็นลง ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวก็ดีขึ้น รวมทั้งมีความสุขุมนุ่มลึกขึ้น ถอดถอนอัตตาของตนออกไปได้มากขึ้น ไม่โกรธง่าย ปี๊ดง่ายเหมือนแต่ก่อน
 
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวในวงไดอะล็อค บางครั้งก็เป็นความลับและเต็มไปด้วยความเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ผมจึงไม่อาจนำเรื่องราวเหล่านั้นมาอธิบายในที่นี้ได้ แต่จะขอแนะนำสภาพการณ์ ความเป็นไปที่เราจะสามารถพบได้ในวงไดอะล็อคทั่วๆไป จากประสบการณ์หลายๆปีพบว่า วงจรการเติบโตของไดอะล็อคมีอยู่ 4 ระดับด้วยกัน


ในระดับแรก เมื่ออยู่ในวงที่ใครจะพูดอะไรก็ได้แบบนี้ บางคนก็คิดว่าดี เพราะรู้สึกสบายใจที่จะพูด ไม่มีถูกผิด ไม่มีใครมาว่าหรือตัดสินส่วนคนที่คิดมาก ก็จะคิดว่าไม่ดี  เพราะไม่รู้จะพูดอะไร ดูไม่มีแก่น ไม่มีสาระ เราจึงพบบ่อยครั้งว่า จะมีคนอยู่สองประเภทในวง คือคนที่พูดเยอะๆ กับคนที่ไม่ค่อยออกความคิดเห็นใดๆและสงวนท่าทีอยู่
 
ส่วนบทสนทนาก็จะเต็มไปด้วยเรื่องราวนอกตัว ตามสไตล์คนที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกัน ก็จะเริ่มคุยด้วยเรื่องกว้างๆที่ไม่อาจหาประเด็นโต้แย้งได้ เช่น เรื่องสภาพอากาศ เรื่องบ้าน รถ สัตว์เลี้ยง บางทีก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรม เรื่องดีที่เหมาะควรที่คนควรจะรู้ ควรจะทำ ก็นับว่าเป็นการอุ่นเครื่อง และเป็นไปตามธรรมชาติของวงไดอะล็อค ซึ่งในระยะนี้ เราเน้นที่จะฝึก “การรับฟังอย่างลึกซึ้ง” ไม่ขัด ไม่สอดแทรก เพื่อให้การสนทนาเป็นไปอย่างเลื่อนไหล
 
ในระดับที่สอง หากคนกลุ่มนี้ ยังคงฝึกร่วมกันเป็นเวลาต่อเนื่องสักสัปดาห์ละครั้ง ก็จะเริ่มมีประเด็นบางอย่างเกิดขึ้นมา แล้วเมื่อมีความสนใจร่วมกันอย่างกว้างขวาง คนในวงก็จะเริ่มขมวดปมเข้ามาสู่เรื่องนั้นเองโดยอัตโนมัติ และการคุยแลกเปลี่ยนกันก็จะลงลึกขึ้น เริ่มมีการให้ความคิดเห็นสนับสนุนและขัดแย้งกันเกิดขึ้น นี่ก็เป็นธรรมชาติของวงที่เริ่มคุ้นเคยกัน ซึ่งในขั้นนี้ เราจะต้องเริ่มที่จะฝึก “ห้อยแขวนคำตัดสิน” โดยจับตัวเองให้ได้ เมื่อได้ตัดสิน ตีความ หรือรู้สึกอย่างรุนแรงกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แล้วทำการห้อยแขวน หรือพักคำพิพากษาของตนเองไว้ชั่วคราว แล้วรับฟังต่อไป
 
ในจุดนี้จะถือเป็นการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติตนเองอย่างก้าวกระโดด เพราะเราจะสามารถ “ยอมรับและเข้าใจ” คู่สนทนาที่มีความคิดเห็นที่ “แตกต่าง” กับเราได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้อง “เห็นด้วย” หรือ “ขัดแย้ง” แต่อย่างใด เป็นโอกาสที่เราจะได้เห็นประเด็นนั้นในมุมมองใหม่
 
ส่วนคำตอบที่ได้ อาจจะไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือกของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือเป็นการรอมชอมยอมความ แต่จะเป็นหนทางใหม่ๆที่คิดร่วมกันขึ้นมาได้ จากความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งและตกผลึกแล้ว คนที่ผ่านการไดอะล็อคจะพบปรากฎการณ์นี้บ่อยครั้ง และค้นพบว่า “ไม่มีคำตอบใดที่ถูกเพียงคำตอบเดียว แต่มีคำตอบที่ใช้ได้ หลายๆคำตอบ”


ในระดับที่สาม จะเป็นวงไดอะล็อคของกลุ่มคนที่เข้ามาฝึกด้วยกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน จะเกิดความ “ไว้วางใจต่อกัน” ในระดับลึกซึ้ง เมื่อแต่ละคนรู้สึก “ปลอดภัย”ต่อกัน บทสนทนาในขั้นนี้ จะเห็นการเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัว ที่เป็นประเด็นในชีวิตของแต่ละคนในขณะนั้น หรือแม้กระทั่งความฝังใจบางอย่างในอดีตที่มีผลกระทบต่อคนผู้นั้น
 
แล้วในพื้นที่ของการรับฟังอย่างไม่ตัดสิน เราจะถูกโอบอุ้มด้วยความรักและความปรารถนาดีของเพื่อนๆในวง ทำให้ได้ระบายความอัดอั้นตันใจ และเกิดความอบอุ่นในหัวใจ เกิดพื้นที่ความว่างสงบขึ้นในจิตใจ ทำให้คนผู้นั้น สามารถก้าวข้ามผ่านความยากลำบากหรือความทุกข์ใจในตอนนั้นไปได้ อาจมองเห็นหนทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สถานการณ์นั้นๆคลี่คลายและดีขึ้นได้ โดยที่สมาชิกในวงไม่ได้แนะนำหรือให้ความเห็นใดๆเลย นี่จึงเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของวงไดอะล็อคที่ทำให้คนผู้นั้น รู้สึกว่าตนเอง “มีคุณค่า และพึ่งพาตนเองได้”


วงไดอะล็อคในระดับสูงสุด คือ “วงสนทนาแห่งความเป็นหนึ่งเดียว” ที่จะเกิดเป็นกลุ่มสังฆะหรือเหล่ากัลยาณมิตร ที่พบปะอยู่กันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องหลายๆปี จะมีความอาทรปรารถนาดีต่อกันและกัน สนิทกันเหมือนญาติมิตร ในวงนี้บางครั้ง เมื่อเราคิดคำถามในเรื่องใดๆขึ้นมาแล้ว ไม่ทันจะพูด ก็จะมีคนอีกคนเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่จะให้คำตอบกับเราได้โดยอัตโนมัติ
 
บางครั้งเราก็สามารถแยกแยะได้ว่า เรื่องที่สนทนากันในวงเป็นความคิดของใครกันแน่ มันเสมือนเป็น “องค์ความรู้ร่วมของจักรวาล” ที่ต่างถ่ายทอดวนเวียนไปมาระหว่างสรรพชีวิต แต่ละคนจะมีจุดยืนที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนกัน ให้เกิดการพัฒนาจิตใจภายใน มีสติในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันขณะ ถอดถอนอัตตาความยึดถือในตัวตนออกไปให้มากที่สุด
 
น่าแปลกที่วงไดอะล็อคนั้น “มีชีวิตเป็นของมันเอง” มีวงจรการเริ่มต้นและมีการเจริญเติบโตไปตามสภาพภาวะจิตของสมาชิกในวง ดังนั้นระดับในการพัฒนาตนเองของแต่ละคนนั้น ควบคู่กลมกลืนไปกับระดับวงจรของวงไดอะล็อคอย่างไม่อาจแยกกันได้ และเหล่าสมาชิกย่อมต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ในบางคนก็พบการเปลี่ยนแปลงกับตัวเองทันที แม้เพิ่งฝึกไปครั้งแรก แต่สำหรับบางคนก็ต้องอาศัยการฝึกฝนพัฒนาตนเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับ
 
โดยสรุปจะเห็นได้ว่า ไดอะล็อค ไม่ใช่เพียงการมานั่งสนทนากันทั่วๆไป หรือเป็นแค่การฝึกฟังอย่างลึกซึ้งเท่านั้น หากแต่เป็นการ “ปฏิวัติตนเองผ่านบทสนทนา” เป็นหนทางที่จะนำพาเราก้าวสู่ระดับใหม่ของจิตใหญ่ จิตสาธารณะ ซึ่งจะโอบอุ้มเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สร้างสันติสุขและความปรองดองขึ้นตั้งแต่ในระดับปัจเจก ในครอบครัว และในระดับสังคมต่อไป
 
อย่างไรก็ตาม การอ่านทำความเข้าใจแบบนี้ ก็เป็นเพียงแผนที่นำทางเฉยๆ ไม่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆกับท่านได้ เพราะแม้ความรู้สึก อารมณ์ที่เกิดขึ้นของแต่ละคน ในเรื่องเดียวกัน ก็ยังไม่เหมือนกัน ดังนั้นประสบการณ์และการเปลี่ยนแปลงด้านในจิตใจ “จะต้องเกิดจากการปฏิบัติ และสัมผัสด้วยประสบการณ์ตรงของตนเองเท่านั้น”


หากท่านใดสนใจมาสัมผัสและฝึกฝนไดอะล็อคร่วมกัน ผมเองก็ได้เปิดพื้นที่ให้มีวงไดอะล็อคอย่างประจำต่อเนื่อง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ขอให้ดูรายละเอียดได้ในwww.facebook.com/dialogoasis


และในครั้งต่อๆไป ผมจะได้แนะนำเทคนิคการฝึกฝนตนเอง ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้ผลดีในการสนทนา แม้นอกวงไดอะล็อคก็ตาม เพื่อการฝึกฝนร่วมกันต่อไป หรือบางคนอาจจะนำไปใช้ในที่ทำงานหรือครอบครัวของตนก็ได้เช่นเดียวกัน
.....
จากคอลัมน์ “การเดินทางแห่งความสุข” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เซคชั่นกายใจ ฉบับวันอาทิตย์ที่  13 พ.ค.55
 


https://www.facebook.com/dialog.oasis