พิธีทำบุญอายุ นั้น จัดขึ้นเพื่อความต้องการความสุขสวัสดี มีอายุยืนยาวเจริญวัฒนาต่อไปในภายภาคหน้า ส่วนใหญ่หากเป็นการทำบุญวันครบรอบวันเกิด โดยทั่วไปมักไม่ค่อย จัดใหญ่โตนัก เพียงทำบุญตักบาตรพระในตอนเช้า หรือถวายภัตตาหารพระที่วัด เสร็จแล้วจึงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมตามศรัทธา เมื่อพระสวดเจริญพระพุทธมนต์ให้พร อนุโมทนา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับการทำบุญอายุนั้น นิยมจัดเป็นงานใหญ่กว่าการทำบุญวันเกิด โดยทั่วไป เมื่ออยู่ในช่วงที่มีอายุเบญจเพส คือ 25 ปี หรือช่วงที่มี อายุกลางคน คือ 50 ปี หรือทำเมื่อครบ รอบ ทุก 12 ปี ซึ่งมักนิยมทำกันเมื่อครบ 5 รอบ คือ 60 ปี และ 6 รอบ คือ 72 ปี
สาเหตุที่นิยมทำเมื่ออายุครบ 25 ปี เพราะวัยเบญจเพสเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต จากวัยรุ่นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ส่วนทำเมื่อครบ 50 ปีนั้น เพราะถือว่าอายุยืนยาว มาได้ครึ่ง หนึ่งของชีวิตแล้ว จึงควรทำบุญและเลี้ยงฉลอง แสดงความยินดี
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์ 2 คนผัวเมีย พาลูกน้อยของตนไปหาพราหมณ์ที่เป็นสหายซึ่งถือพรตบำเพ็ญตบะ เมื่อพราหมณ์ 2 ผัวเมียทำความเคารพ พราหมณ์ที่ บำเพ็ญตบะได้กล่าวอำนวยพรว่า " ขอจงจำเริญอายุยืนนาน" แต่เมื่อให้บุตรของตนทำความเคารพ พราหมณ์ผู้บำเพ็ญตบะหาได้กล่าวอวยพรให้ตามธรรมเนียมไม่ โดยบอก เหตุผลบอกว่า ลูกน้อยของพราหมณ์ 2 ผัวเมียจะต้องตายภายใน 7 วัน
พราหมณ์ผู้บำเพ็ญตบะ ได้แนะนำให้พราหมณ์ 2 ผัวเมียพาลูกไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสแถลงเช่นเดียวกัน และแนะนำอุบายป้องกัน โดยการนิมนต์พระ สงฆ์สวดพระปริตรตลอด 7 วัน ซึ่งพราหมณ์ทั้งสองก็กระทำตาม
ครั้นถึงวันที่ 7 พระพุทธองค์เสด็จไปด้วยพระองค์เอง ทำให้ยักษ์ผู้ได้รับพรมาเพื่อฆ่ากุมารไม่อาจทำอันตรายพระกุมารนั้นซึ่งนอนฟังพระปริตรอยู่ ด้วยพุทธานุภาพ ประกอบกับอายุไม่ถึงการดับแห่งขาร ทำให้ทารกนั้นรอดพ้นอันตราย และมีอายุยืนยาวถึง 120 ปี
http://variety.teenee.com/foodforbrain/28468.html