ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Nadech
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2016, 01:54:20 pm »

อ่านแล้วได้ข้อคิดเป็นอย่างมากเลยครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2012, 12:37:10 pm »



  พุทธศาสนสุภาษิต คำสอนศาสนา

สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมา
เป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา
แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมด
จะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต
/ พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)
ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า
เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์
ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น
-http://www.fungdham.com/

พุทธสุภาษิต หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป
มีทั้งหมด 104 บท ดังนี้...

    1. ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว
ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามินเสีย
    2. ในโลกนี้ พวกที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, คนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้,
ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
    3. บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น,
เพราะความต้องการไม่มีที่สุด,
พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด
    4. บุคคลไม่ความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
    5. เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข

    6. คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล
ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทราม ผู้คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
    7. ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้ว
และยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดู แต่การงาน ของตนที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำเท่านั้น
    8. ธงเป็นเครื่องปรากฎของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฎของไฟ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฎของแว้นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
    9. การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
    10. คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ
ข้อนั้น เป็นเหตุของผู้ฉิบหาย


    11. คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม
และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
    12. ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้
เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
    13. แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
    14. พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
    15. ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว
พึงเจริญมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นพุทธาศาสนี

    16. ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
    17. คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
    18. ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของ
ของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
    19. ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้,
ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก
    20. เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ

    21. ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง 2
เพราะกลัวต่ออนาคต
    22. พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา,
เพื่อนดีที่ไม่ประทุษรายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
    23. ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า
แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ
    24. ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่,
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้

    25. คนใด จักทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี
เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก

    26. สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะของสตรีหรือบุรุษ
ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
    27. คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ในชาตินี้ก็มี
ผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี
    28. สัตว์โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ
และ ธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็นโลกามิสอันร้ายกาจ
    29. พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่า
เป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
    30. ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น,
ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร

    31. ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่
เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
    32. กามคุณ 5 ในโลก มีใจเป็นที่ 6 อันท่านชี้แจงไว้แล้ว,
บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
    33. โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ไม่มีผู้ต้านทาน
ย่อมเดือนร้อนป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษ ต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
    34. ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ
พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
    35. ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรม
อยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

    36. พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
    37. กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากาม
ไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
    38. ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
    39. พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง,
แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
    40. บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้
วิญญาณย่อมดับ


    41. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
    42. อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ
    43. ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
    44. ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
    45. ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ

    46. รูปโฉม พอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย
    47. ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
    48. โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
    49. ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับจากทุกข์
    50. บรรดาทางทั้งหลาย ทางที่มีองค์ 8 (มรรค) เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม

    51. ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
    52. ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า
    53. สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
    54. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
    55. ความเกียจคร้าน เป็นมลทินแห่งผิวพรรณ

    56. ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต
    57. ขณะเวลา อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
    58. ความริษยา เป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
    59. ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง
    60. ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น

    61. หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
    62. ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม
    63. การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
    64. พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
    65. ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

    66. สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย
    67. สิ่งใดที่เข้าไปยึดถืออยู่จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
    68. สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
    69. ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว
    70. ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก


    71. ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
    72. ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่ม ผู้ทอดทิ้งการงาน
    73. กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
    74. ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
    75. พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

    76. ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
    77. อำนาจ เป็นใหญ่ในโลก
    78. ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก
    79. ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
    80. เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด

    81. สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น
    82. ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก
    83. โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
    84. ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
    85. ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา

    86. กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
    87. เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
    88. มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
    89. วัยย่อมผ่านพ้นไปทุกขณะทีเดียว
    90. การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก

    91. ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
    92. ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก
    93. ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก
    94. ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
    95. พึงศึกษาความสงบนั้นแล

    96. เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
    97. ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
    98. ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
    99. ศรี เป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์
    100. พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้

    101. ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
    102. สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี
    103. ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
    104. ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ




-http://www.mahamodo.com/modo/dhama_bud/dhama_zone.aspx?igroup=32&tgroup=พิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป