ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 12, 2024, 09:15:21 pm »



เข้าพรรษา -วันแม่ทางพุทธศาสนา กับ ต้นกำเนิดพระอภิธรรม คัมภีร์ยิ่งใหญ่ เทียบเท่าค่าน้ำนม พระพุทธมารดา

เหตุใด จึงว่ากันว่า เข้าพรรษา คือ วันแม่ทางพระพุทธศาสนา ?

วันเข้าพรรษา บ้างว่าเป็นวันแม่ของพระพุทธศาสนา เพราะ

เป็นช่วงที่พระสงฆ์ต้องดำเนินตามพระวินัย คือ จำวัดอยู่ที่วัดนั้น ๆ เป็นเวลา ๓ เดือน 

เป็นช่วงที่ พระพุทธเจ้าทรงขึ้นไปจำพรรษาบนเทวโลก ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว


ภาพ : ผู้จัดการออนไฃน์ สืบค้นจาก https://mgronline.com/dhamma/detail/9570000087339


แบบอย่างที่ดีของการเป็นลูกกตัญญู ของมหาบุรุษ

กตัญญูกตเวที ต่อ พระมารดาผู้ให้กำเนิด แม้จะอยู่คนละภพชาติ


แม้พระนางสิริมหามายาจะไม่มีโอกาสได้ฟูมฟักเลี้ยงดู “เจ้าชายสิทธัตถะ” แต่ก็ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลในฐานะแม่ผู้ให้กำเนิด

ดังนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว จึงเสด็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก เพื่อเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นพระมารดาอยู่ในเพศของเทพบุตร คือ เป็นชายบนสวรรค์ชั้นดุสิต ตลอดพรรษา
 

กำเนิดคัมภีร์สำคัญ "พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์"

คัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่า น้ำนมพระมารดาในทุกภพชาติรวมกัน


ซึ่งในการโปรดพระพุทธมารดาตลอดเข้าพรรษา ๓ เดือนครั้งนั้น ได้กำเนิดคำสอนที่พิเศษ "พระอภิธรรม” (แปลว่า ธรรมชั้นยอด หรือธรรมที่มากกว่าธรรม) จำนวน ๗ คัมภีร์ ที่พระสงฆ์ใช้สวดในพิธีศพในทุกวันนี้

 

โดยทรงรำลึกถึงพระคุณของพระมารดา ในทุกภพชาติที่ยิ่งใหญ่นัก มากจนเกินกว่าจะสอนเพียง พระวินัยปิฎก และพระสุตตันปิฎก


"พระคุณแห่งมารดาที่ทำไว้สุดที่จะคณานับได้ว่ากว้างหนาและลึกซึ้งปานใด ธรรมอันใดจึงจะสมควรที่จะทดแทนพระคุณแห่งพระมารดานี้ได้

พระวินัยปิฎกและพระสุตตันปิฎกก็ยังน้อยนัก มิเท่าคุณแห่งพระมารดา เห็นควรแต่พระอภิธรรมปิฎกที่พอยกขึ้นชั่งเท่ากันได้

ดูกรชนนี มานี้เถิดตถาตคจะใช้ค่าน้ำนมข้าวป้อนของมารดา อันเลี้ยงตถาตคนี้มาแต่อเนกชาติในอตีดภพ"


จากนั้นจึงตรัสอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภิร์ ให้สมควรแก่ปัญญา บารมี มีสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และมหาปัฏฐาน

เมื่อทรงแสดงสัตตปกรณาภิธรรมเทศนาจบลง พระมารดาก็เกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน

ซึ่งการที่บุตรทำให้พ่อแม่ บังเกิดดวงตาเห็นธรรม ถือได้ว่า ทำหน้าที่บุตรสมบูรณ์ที่สุด
 

นับว่าเป็นพุทธจริยาอันงดงาม ที่เป็นแบบอย่างของความกตัญญูกตเวที ต่อแม่ผู้ให้กำเนิด ซึ่งแม้จะอยู่ไกลกันคนละภพภูมิแล้ว แต่ยังทรงเสาะหาวิธีที่จะทดแทนพระคุณของแม่ ด้วยการให้อมตะธรรมอันยิ่งใหญ่ จนเกิดดวงตาเห็นธรรม ซึ่งเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือการให้ทั้งปวง



ที่มา : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/103246.html

เหตุใด จึงเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ? ทั้งที่พระมารดาทรงเป็นเทวดาชั้นดุสิต

เทวดานั้นมีระดับชั้น โดยเทวดาชั้นสูงกว่าสามารถลงมายังสวรรค์ชั้นต่ำกว่าได้ แต่เทวดาจากสวรรค์ชั้นล่าง ๆ จะไม่สามารถข้ามขึ้นไปสู่สวรรค์ชั้นสูงได้

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกเทศนา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นสวรรค์ชั้นล่างสุด เพื่อให้เทวดาในทุกชั้นฟ้าสามารถมาร่วมสดับพระอภิธรรมได้

เหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่เสด็จไปเทศนาบนสวรรค์ชั้นดุสิต



https://bit.ly/3vX2i8T

ต้นกำเนิด ตักบาตรเทโว

ภายหลังจากเทศนาโปรดพระพุทธมารดาตลอดถ้วนทั้งพรรษา ๓ เดือนแล้ว พระพุทธองค์จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยบันไดแก้ว เคียงข้างขนาบมาด้วยพระอินทร์พระพรหม และหมู่เทวดาที่มาส่งเสด็จ

ซึ่งแม้ในปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้น ยังคงถูกจำลองไว้ทุกปีหลังจากออกพรรษา ในประเพณีที่เรียกกันว่า “ตักบาตรเทโว”


จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/92060

<a href="https://www.youtube.com/v//8UfGnPgaAnQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//8UfGnPgaAnQ</a> 

https://youtu.be/8UfGnPgaAnQ?si=gmtipr98weh9u4mV

<a href="https://www.youtube.com/v//kXAwwTYGH4w" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//kXAwwTYGH4w</a> 

https://youtu.be/kXAwwTYGH4w?si=M4ZfM9bLfPQJJRLC

ขยายความเพิ่มเติม



พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ | สวดเพื่อปลง เข้าถึงพระธรรม

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือพระธรรมในอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูงหัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สิ้นเนื้อความในพระไตรปิฎกนับ ๑๐,๐๐๐ หน้าพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงโปรดพุทธมารดา( ธรรมแทนค่าน้ำนม) เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล

1 บทสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
2 บทพระสังคิณี
3 บทพระวิภังค์
4 บทพระธาตุกะถา
5 บทพระปุคคะละบัญญัติ
6 บทพระกะถาวัตถุ
7 บทพระยะมะกะ
8 บทพระมหาปัฏฐาน
9 บทสวดพระสะหัสสะนัย
 10 บทสุทธิกะปะฏิปะทา
11 บทสุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
 12 บทอัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
13 บทอะธิปะติ
14 บทสวดแจง
15 บทพระวินัย
16 บทพระสูตร
17 บทธัมมะสังคิณีมาติกา (มาติกาฯ)
 18 บทสวดธรรมนิยาม
19 บทปัพพะโตปะมะคาถา
20 บทอะริยะธะนะคาถา
 21 บทธัมมะนิยามะสุตตัง
22 บทติลักขะณาทิคาถา
23 บทปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ
 24 บทพุทธะอุทานะคาถา
 25 บทภัทเทกะรัตตะคาถา

<a href="https://www.youtube.com/v//6PVJLeYC2WU" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//6PVJLeYC2WU</a> 

https://youtu.be/6PVJLeYC2WU?si=vAVGypHqpfM4tR4t