ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2024, 04:45:53 pm »

ศิลปะกับพุทธะ : บทสะท้อนว่าด้วยการปั้นพระพุทธรูป – ถิง ชู



เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนเลยว่าเราใกล้ชิดกับพระได้ จะเป็นพระสงฆ์ พระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า ความสัมพันธ์เดียวที่เรามีกับพระทั้งสามคือ เอาไว้กันผี ยิ่งตอนเราไปเรียนคอร์สวาดทังก้าที่วัชรสิทธา ก็ไปเพราะอยากวาดทังก้าเป็น ไม่ได้คิดว่าคนบาปหนาอย่างเราจะสามารถวาดรูปพระเจ้าที่มีความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงฟังดูตลกมากที่ต่อมาวันหนึ่ง เราจะปั้นพระพุทธรูป เราเนี่ยนะ จะมีความชอบธรรมมากพอที่จะปั้นอะไรที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์

เรื่องนี้ได้ปลุกอะไรบางอย่างในตัวเราขึ้นมา ซึ่งก็คือความหมายที่เราใช้มองตัวเอง และความหมายที่เราใช้มองพุทธะและมองศิลปะ ทั้งศิลปะและพุทธะเป็นสิ่งที่เราต้องบากบั่นเพื่อได้มา? หรือมันเป็นของเราทุกคนอยู่แล้วโดยชอบธรรมแต่กำเนิด? แล้วต้องบากบั่นถึงระดับไหนถึงจะครอบครองมันได้ แล้วใครเป็นคนกำหนดว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว? เราตั้งคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อบอกให้ไม่ต้องบากบั่น ไม่ต้องมีวินัยในการฝึกปฏิบัติ แต่หมายความว่า มือ แขน และเท้าของเราจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้วเหรอ ถ้าเราไม่ฝึกมันให้แข็งแรงเหมือนของนักกีฬาโอลิมปิค?

ตอนนี้เราปั้นพระพุทธรูปเพราะเรารู้แล้วว่าพุทธะเป็นของเราเอง มันคือการที่เราประคองตัวเราอย่างซื่อตรงและเรียบง่ายที่สุด โดยไม่มีทั้งเรื่องเล่าของอัตตาใดๆ หรือการยืนยันจากภายนอกใดๆเป็นที่ยึดเหนี่ยวไว้ เรา คือเจ้าของตัวเองอย่างแท้จริง ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกลมหายใจเข้าออกของเราเองที่ทำให้ให้เรายังมีชีวิตมาถึง ณ วินาทีนี้ ความเมตตาเกื้อกูลทั้งหมดที่เรามอบให้ตัวเราเอง แม้บางครั้งจะรุนแรงและไม่อ่อนโยน แต่ก็ยังอุ้มชีวิตตัวเองไว้อยู่ และด้วยความตระหนักรู้นี้ เราจึงเห็นความสัมพันธ์ของเรากับสรรพสิ่งที่ก็ช่วยประคองโอบอุ้มเรามาเช่นกัน ที่หากไม่มีเขาก็ไม่มีเรา และหากไม่มีเราก็อาจไม่มีเขาเช่นกัน การปั้นพระพุทธรูป จึงเป็นการยืนยันว่า ไม่ว่าวันนี้เราจะแย่แค่ไหน เราจะยังมีพื้นที่ให้ตัวเองเป็นได้ และปั้นจนเสร็จได้

ศิลปะสำหรับเราก็ไม่ต่างจากการภาวนา หรือพูดสั้นๆ มันคือเรื่องเดียวกัน การที่เราประคองพื้นที่หนึ่งๆ ให้มันเปิดกว้างมากพอ ให้มันลื่นไหลมากพอ ให้การตัดสินของเรามีน้อยนิดที่สุด ให้เกียรติกับสุนทรียะที่หลากหลายและแปลกใหม่ ให้ตัวเราเป็นภาชนะในการไหลผ่านของพลังงานสร้าง และพอเสร็จสิ้นกระบวนการ พื้นที่หรือความหมายของชีวิตก็จะกว้างใหญ่มากขึ้นหลายครั้งที่เราเห็นความหมายของศิลปะที่ถูกให้คะแนน หรือถูกทำไว้เพื่อบ่งบอกสถานะที่ตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดว่าใครมีรสนิยมกับสุนทรียะหรือไม่ เราจะรู้สึกอึดอัด ในทางเดียวกัน หลายครั้งที่เราเห็นความหมายของพุทธะถูกใช้เป็นสถานะเพื่อตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกทำให้เป็นสิ่งสูงส่งจากพื้นฐานธรรมดาของเราทุกคน ถูกใช้จากคนกลุ่มหนึ่งในการชี้ขาดคุณค่าความดีของสังคมที่ทุกคนควรทำตาม เราก็รู้สึกอึดอัดไม่แพ้กัน

หากการภาวนาคือการขยายเขตแดนในใจเราให้เปิดกว้างต่อทุกสภาวะในตัวเราอย่างไม่ตัดสินและอ่อนโยน จนมันกลายเป็นท่าทีเดียวกันกับที่เรามีต่อสรรพสัตว์ภายนอก การทำงานศิลปะก็คือการขยายเขตแดนให้ครอบคลุมทุกสิ่ง ที่แม้กระทั่งหญิงค้าบริการหรือคนชายขอบอื่นๆ ก็มีพื้นที่และหนทางในสุนทรียะของเขาเองได้

พุทธะทั้ง 50 ชิ้นนี้ จึงเป็นทั้งการภาวนาและการแสดงออกทางศิลปะของเรา ในรูปนี้คือองค์ต้นแบบที่เราจะเก็บไว้บูชาเอง ทุกครั้งที่เราเห็นความบกพร่องและความสวยงามในองค์นี้ มันก็ย้ำเตือนให้เราบูชาความเป็นธรรมชาติของเราทุกคน


บทสะท้อนการปั้นพุทธะในฐานะผลงานทางศิลปะ โดย ถิง ชู
ติดต่ามผลงานพระพุทธรูปสไตล์ถิงชูได้ที่เพจ Ting Chu Studio


จาก https://www.vajrasiddha.com/tingchubuddha/