ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 15, 2024, 07:50:47 am »

“สายน้ำ ชุมชน ผืนป่า พญานาค” : สายสัมพันธ์กับ unseen world ของพุทธธรรมลุ่มน้ำโขง

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย วิจักขณ์ พานิช



ตำนานเล่าว่า ในสมัยที่พุทธธรรมเดินทางจากอินเดียสู่ทิเบต มีคณะสงฆ์อินเดียนำโดยภิกษุสันตรักษิตะ เดินทางดั้นด้นไปจนถึงดินแดนเทือกเขาหิมาลัย พวกเขาปรารถนาจะตั้งวัดที่นั่นเพื่อเผยแผ่พระสัทธรรม ทว่าเกิดเหตุคาดไม่ถึง คือพยายามสร้างวัดเท่าไรก็ทำไม่สำเร็จ ราวกับมีภูติผีศาจหรือวิญญาณท้องถิ่นขัดขวาง ต่อต้าน ไม่ยอมรับ

พระพุทธะสมณโคดมได้ฝากปณิธานการเผยแผ่พระสัทธรรมกับเหล่าสาวก “จงเดินท่องไปเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์” วิถีแห่งการเดินจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งของเหล่าผู้ฝึกฝนปฏิบัติ คือหัวใจสำคัญของการเผยแผ่พุทธธรรมในทุกยุคทุกสมัย การเดินทางสู่ความไม่รู้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะฝึกตนกันมาดีเท่าไหร่ เมื่อต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์ ผู้คน และบริบทที่ต่างออกไป ก็จำเป็นต้องละทิ้งวิธีการหรือกระทั่งความรู้ความเข้าใจเดิม เพื่อหาวิธีการสื่อสารประสบการณ์แห่งการตื่นรู้ในบริบทใหม่

ตำนานเล่าต่อว่า สันตรักษิตะไม่สามารถ “สอนพุทธธรรม” ในทิเบตโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับที่เขาเคยเรียนมาได้ ในวินาทีแห่งความสิ้นหวัง เขาร้องขอความช่วยเหลือจาก “คุรุรินโปเช” หรือปัทมสัมภาวะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อเดินทางมาถึง คุรุรินโปเช ใช้อุปายวิธีในการสัมพันธ์กับภูตผีและจิตวิญญาณท้องถิ่นจนเกิดการยอมรับระหว่างกัน กระทั่งเปิดทางให้กลุ่มของพระสันตรักษิตะสามารถสร้าง “สัมเย” อารามแห่งแรกบนผืนดินทิเบตได้สำเร็จ

ตำนานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า นอกจากความรู้ในคัมภีร์คำสอน ยังมีอีกมิติหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือความสัมพันธ์ที่ผู้ปฏิบัติมีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงมิติเร้นลับที่มองไม่เห็นอย่างการสัมพันธ์กับเจ้าที่ท้องถิ่น วิญญาณ ผีสางนางไม้ ทวยเทพเทวดา ฯลฯ

มิติเร้นลับเหล่านี้สอดแทรกอยู่ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนามาโดยตลอด และถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเดินทางของพุทธศาสนาเปี่ยมด้วยมนต์ขลัง มีเสน่ห์ น่าค้นหา





ธุดงควิถีของพระป่าในลุ่มน้ำโขง

พุทธเถรวาทก่อนจะกลายมาเป็นพุทธศาสนาแบบสถาบัน (Institutionalized Buddhism) ที่แข็งทื่อตายตัวอย่างที่เห็นเช่นทุกวันนี้ ในอดีต การเดินทางของพุทธศาสนาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเชื่อมโยงถึงกันหมด ด้วยพลวัตสำคัญที่เรียกว่า “Forest Tradition” หรือสายปฏิบัติของผู้อยู่ป่า

เราไม่อาจเข้าใจวิถีของผู้อยู่ป่าได้เลย หากปราศจากการให้คุณค่ากับการภาวนา ดั่งนักรบที่ออกเดินสู่ความไม่รู้ สมณะเดินท่องไป เพื่อแสวงหาสถานที่วิเวกสงัดที่เอื้อต่อการฝึกฝนจิตใจ ในภาคอีสาน อิทธิพลของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทำให้จินตนาการของวิถีสมณะเดินท่องไปยังมีชีวิตและเปี่ยมด้วยพลัง ผู้ฝึกตนรับคำสอนและเทคนิคปฏิบัติจากครูบาอาจารย์แล้วกระจายตัวออกไปแสวงหาสถานที่สัปปายะต่อการภาวนา เผชิญกับความเดียวดายสงัดเงียบ ป่ารกชัฏ สัตว์ป่า และความคาดไม่ถึงของประสบการณ์เร้นลับทุกรูปแบบ

ร่องรอยของสายปฏิบัติผู้อยู่ป่ายังคงมีให้เห็น ตามหมู่บ้านริมโขง ยังมีพระธุดงค์มาพำนักตามถ้ำ ตามป่าใกล้หมู่บ้าน สามสี่วันจึงเดินลงมาบิณฑบาตรสักหน โดยเฉพาะในฤดูฝน ที่มีเวลายาวนานในช่วงเข้าพรรษา ความเขียวขจีของผืนป่า ความชุ่มชื้นของธารน้ำ ที่ไหลรวมลงไปสู่แม่โขงอันทรงพลัง





สายน้ำ ชุมชน ผืนป่า พญานาค

นั่งมองการเยื้อยย่างของสายน้ำโขงในฤดูฝน ณ บ้านตามุย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี พลังของแม่น้ำสะกดผมกับเพื่อนๆ ให้นิ่งงัน เราตกอยู่ในภวังค์สมาธิ ราวกับต้องมนตร์ แม่น้ำไม่ได้เป็นแค่แม่น้ำ แต่คือผลรวมของการเคลื่อนไหวอันมีชีวิต ข่ายใยสายสัมพันธ์อันถักทอ แรงสันสะเทือนของสรรพสิ่ง แม่น้ำที่ยังไหลเปรียบเหมือนชีพจรที่ยังเต้น หัวใจที่ยังสูบฉีดเลือด ความยิ่งใหญ่ตรงหน้าสะท้อนภาพผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ฤดูกาลที่ผันเปลี่ยน ชุมชนที่ยังเคารพเกื้อกูลธรรมชาติ ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อที่สัมพันธ์อยู่กับพลังงานอันศักดิ์สิทธิ์ที่แทรกซึมอยู่ในทุกอณูของวิถีชีวิต

ชาวบ้านริมโขงไม่ได้แค่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ แต่พวกเขาเคลื่อนชีวิตไปกับสายน้ำ แม่น้ำคือความศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงพลังเกินกว่าที่มนุษย์ตัวเล็กๆ จะอหังการไปท้าทายหรือทำลาย อีกทั้งความศักดิ์สิทธิ์นั้นก็หาใช่สิ่งที่อยู่นอกตัวและแยกขาด โลกทัศน์ที่ชาวบ้านมีต่อแม่น้ำจึงเป็นมากกว่าแม่น้ำที่มองเห็นได้ด้วยตา แต่มันหยั่งลึกไปถึงระดับตัวตน ความรู้สึก จินตนาการ ความสัมพันธ์ กระทั่งอาจเรียกได้ว่า จิตวิญญาณ

ยิ่งหากมีพื้นฐานการภาวนาอยู่บ้าง โลกธรรมชาติสามารถกลายเป็นครูสอนธรรมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การเกิด แก่ เจ็บไข้ได้ป่วย และความตาย คือคำสอนจากสายน้ำ พร้อมๆ กับความเข้าใจเรื่องการยอมรับและการปล่อยวางไปตามกระแสธารแห่งความไม่เที่ยง



พญานาค กับธรรมะ

เส้นทางการฝึกตนของผู้อยู่ป่า เชื่อมโยงกับโลกปรากฏการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ การนั่งภาวนาอยู่ในป่าไม่ใช่แค่การไปนั่งชมนกชมไม้ แต่คือการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในครรภ์มารดาธรรมชาติ ความรู้สึกตัวที่ไม่ใช่แค่การตามลมหายใจเข้าออก แต่คือการเปิดผัสสะแห่งการรับรู้ทั้งหมด เชื่อมโยงกับมณฑลอันไร้การปรุงแต่ง ความเย็นวาบ ความร้อนผ่าว ขนที่ลุกชัน เหงื่อที่ไหลยามต้องแสงแดด ความชุ่มฉ่ำเปียกปอนของสายฝน กลิ่นดิน ความชื้นของหมอกยามเช้า เสียงลมกระทบใบไม้ปลิวไหว ฟ้าคะนอง ซุ่มเสียงเซ็งแซ่ของจั๊กจั่นเรไร ความมืดอันลึกล้ำเร้นลับ แรงสั่นสะเทือนเคลื่อนที่ของสายน้ำที่กระทบวิญญาณระดับลึก เมื่อตัวฉันไม่มีอยู่ ความรู้สึกตัวกลายเป็นศักยภาพในการเชื่อมโยงกับสรรพสิ่งอย่างไร้ขอบเขต การปรากฏกายของสภาวะธรรมตามธรรมชาติที่สื่อสารกับจิตวิญญาณ ปลุกเร้าเมล็ดพันธุ์แห่งการตื่นให้ผลิบาน ความตื่นที่ไม่ใช่ความตื่นกลัว แต่คือการเปิดกว้างต่อประสบการณ์ วาบของปัญญาญาณ ที่สื่อสารถึงการดำรงอยู่อันไปพ้นจากขอบเขตตัวตน

เพียงไม่กี่นาทีของการนั่งอยู่ในความสงบเงียบในผืนป่าลุ่มน้ำโขง ที่แตกต่างไปจากการนั่งภาวนาอยู่ในคอนโดใจกลางเมืองหลวง หากจะมีถ้อยคำที่สื่อสารถึงประสบการณ์ในเนื้อในตัวตรงนั้น คงไม่มีถ้อยคำใดดีไปกว่า “พญานาค” ผืนป่าแห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาธรรมะ …ธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติธรรม และผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทั้งหลาย

ในพุทธศาสนาทิเบต ความสัมพันธ์กับ Unseen World หรือโลกที่มองไม่เห็น ถือเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนสำคัญของพิธีกรรมและการภาวนา เจ้าที่ หรือเทพท้องถิ่น สามารถร่วมรับรู้เจตจำนงทางธรรมอันดีงามของผู้ปฏิบัติ และเมื่อใดที่เจตจำนงนั้นมีความชัดเจนมากพอ การสื่อสารให้เทพเหล่านั้นเป็นสักขีพยานรับรู้ จะได้รับการตอบรับและสนับสนุนจากอีกฟากหนึ่งอย่างเต็มที่ พันธกิจที่ยิ่งใหญ่เชื่อมต่อกับจิตใหญ่ที่ไปพ้นตัวตนที่จำกัด และเมื่อจิตใหญ่เปิดสัมพันธ์กับโลกทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น มิติแห่งการ co-creation ก็ระเบิดพลังออกมาอย่างคาดไม่ถึง อย่างน้อยก็ในฐานะกำลังใจและแรงสนับสนุนในพันธกิจนั้นที่ไม่มีวันเหือดแห้ง




การฟื้นสายสัมพันธ์กับพญานาค ในฐานะการยกระดับจิตสำนึกทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

คำปิ่น อักษร นักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ที่เอาตัวเองมาสิงสถิตอยู่ที่บ้านตามุยกว่าสองทศวรรษ เธอต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อน และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาประเพณี และวิถีชีวิต ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับผืนป่าและสายน้ำให้คงอยู่ บางครั้งแนวทางการต่อสู้แบบเอ็นจีโอ ก็ทำให้เธอเหนื่อยล้าและมองไม่เห็นหนทางที่จะต้านทานกระแสของโลกาภิวัฒน์ ที่ถูกหนุนเสริมด้วยบรรษัทข้ามชาติ หรืออำนาจรัฐที่เบื้องหลังคือประเทศมหาอำนาจ

หลังทำความรู้จักกันได้ไม่นาน ค่ำปินเริ่มแบ่งปันความผูกพันที่เธอมีต่อพญานาค จากมุมมองของเธอ การฟื้นสายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพญานาค อาจมีพลังยิ่งกว่าวิธีการต่อสู้ใดๆ ในการยกระดับจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม

พวกเราเล่าให้คำปิ่นฟังถึงประสบการณ์การจัดงาน Sacred Mountain Festival ตลอดสี่ครั้งที่ผ่านมา พญานาคได้ปรากฏตัวและเป็นส่วนสำคัญของงานเทศกาลภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง ครั้งแรกเราเปิดเทศกาลด้วยการตั้งศาลพญานาคที่ค่ายเยาวชนเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สถานที่จัดงาน โดยมี อ.ประมวล เพ็งจันทร์ และ อ.ตุล คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง เป็นประธานและผู้ประกอบพิธี โดยรับเอารูปแบบและแนวคิดการตั้งศาลพญานาคของชุมชนผู้ปฏิบัติธรรมชาวทิเบต ที่เมืองเครสโตน รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

ศาลพญานาคที่เมืองเครสโตน ทำเป็นกระโจมไม้ง่ายๆ บริเวณโดยรอบเงียบสงบ มีธงมนตร์ทิเบตผูกไว้ ผู้คนสามารถมานั่งภาวนา เชื่อมโยง และแสดงความเคารพสายน้ำและภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นต้นกำเนิด เรานำเอาศาลรูปแบบเดียวกันนี้มาไว้ที่เชียงดาว อัญเชิญท่านมาร่วมในพันธกิจและเจตจำนงในการยกระดับจิตสำนึกที่ผู้คนมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปีที่สองของ Sacred Mountain เราสานต่อสายสัมพันธ์ดังกล่าว ด้วยการอัญเชิญเจ้าหลวงคำแดง เทพท้องถิ่น มาร่วมงานและแต่งตั้งท่านเป็นธรรมบาล (dharma protector) ผู้นำเทพท้องถิ่นในการปกปักพิทักษ์ธรรม ในครั้งที่สาม เราไปจัดงานที่เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี ระหว่างการเตรียมงาน เราได้รับการทำนายทายทักจากร่างทรงผู้ทำพิธี ณ ศาลเจ้าแห่งหนึ่งบนเกาะพะงัน เธอได้มาช่วยเราสื่อสารกับเทพท้องถิ่นบนเกาะพะงันถึงเจตนารมณ์ของการจัดงานในครั้งนั้น เธอเปิดทางให้เราได้สัมพันธ์กับ “มังกรมหาสมุทร” หรือพญานาคประจำถิ่นของที่นั่น และอัญเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน













เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคำปิ่นอย่างออกรส และเห็นตรงกันว่าสายสัมพันธ์กับ unseen being ไม่ใช่สิ่งงมงายหรือเป็นไปไม่ได้ ในยุคสมัยแห่งวัตถุนิยมและการตัดขาด ผู้คนจำนวนมากเริ่มมี “calling” ให้หวนกลับไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ mythical being เหล่านั้น มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเชื่อมโยงกับพญานาค ประหนึ่ง “ลูกหลานพญานาค” ที่ถูกเรียกให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่แท้จริงของตน

“น้อย” ประสิทธิ์ จำปาขาว ชาวบ้านบะไห ซึ่งอยู่ติดกับบ้านตามุย เป็นคนนำทางเราเข้าไปชมธรรมชาติของผืนป่าริมผาแต้ม ผมถามน้อยว่าเขาเชื่อการมีอยู่ของพญานาคหรือไม่และแค่ไหน เขาตอบว่า ไม่มีทางเลยที่พญานาคจะไม่มีอยู่ เขาเข้าใจดีว่าถ้าคนไม่เชื่อก็คือไม่เชื่อเรื่องนี้เลย แต่สำหรับคนที่โตมากับวิถีชีวิตริมโขงเช่นเขา พญานาคคือทุกสิ่งทุกอย่าง โลกที่มองไม่เห็นมีอยู่ รุกขเทวดา ทวยเทพ วิญญาณ ผีสาง นางไม้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของโลกที่มีชีวิตของชาวบ้าน ผมถามน้อยต่อว่า เวลาเขาเข้าป่า เขากลัวที่จะต้องสัมพันธ์กับรุกขเทวดา หรือโลกทางพลังงานที่มองไม่เห็นเหล่านี้ไหม? น้อยตอบว่าไม่กลัว จริงๆ แล้ว unseen being เหล่านี้ไม่ได้ต้องการทำให้เรากลัว ลึกๆ เขาต้องการให้เรารับรู้ ต้องการสื่อสารอะไรบางอย่างกับเรา ยิ่งเรามีมิติของการภาวนาด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่มีอะไรต้องกลัว เราสามารถเปิดรับการสื่อสารจากอีกฟากฝั่งหนึ่ง บางทีเราได้ยินสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน มีวาบของความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน สำหรับน้อย พญานาคนั้นมีจริงแน่นอน ไม่ใช่ว่ามีตัวตนจริงที่จับต้องได้ แต่มันคือมิติทางอารมณ์ความรู้สึก เป็นพลังงานที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่นเดียวกัน การมีอยู่ของพญานาค ไม่ได้ทำให้เรากลัว แต่เราเคารพท่าน เราสื่อสารเชื่อมโยงกับท่าน มุมมองเช่นนี้สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้ยินจากชาวบ้านตามุยอีกหลายคนที่เราได้สนทนาพูดคุยก่อนหน้านี้

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปเยือนดินแดนลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของการภาวนา ในฐานะหนทางสู่การหลุดพ้นที่เชื่อมโยงกับสรรพสัตว์และสรรพชีวิตทั้งปวง มณฑลแห่งการตระหนักรู้ที่สามารถแผ่ขยายไปไม่มีขอบเขต หลอมรวมกับ natural world / phenomenal world เป็นหนึ่งเดียวในโลกเวทมนตร์แห่งพุทธภาวะ วิถีแห่งการเดินท่องไป การอยู่ป่า และนิเวศภาวนา กำลังพาเราย้อนกลับไป reconnect และ revitalize ภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะรากและทางออกจากวิกฤติ เป้าหมายคือการย้อนคืนสู่โลกทัศน์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ ภูเขาที่มีชีวิต ผืนดินที่มีชีวิต สายน้ำที่มีชีวิต รุ่มรวยไปด้วยการประชุมของทวยเทพน้อยใหญ่ และสายสัมพันธ์อันเป็นมิตรที่ทวยเทพเหล่านั้นมีต่อมนุษย์ผ่านประเพณี พิธีกรรม อันเป็นมิติที่ขาดไม่ได้ของชุมชนที่มีชีวิต

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-naga/