ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 17, 2024, 07:15:32 am »


ผู้ให้ธรรม อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์


วันเสาร์, 14 สิงหาคม 2564


ฮู้ซื่อๆปรากฏการณ์แห่งการเรียนรู้ภายใน

แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]




ผู้ถาม : “อยากจะขออนุญาต อาจารย์ ช่วยอธิบายเรื่องของเซนเหมือนกันเนี่ยแหละครับ แต่อยากจะให้อธิบายในส่วนของโกอาน ครับอาจารย์ครับ เพราะยังไม่เข้าใจครับ”

ประมวล เพ็งจันทร์ : “โกอานก็คือการหลอกให้เราจนมุมครับ เพราะเราเนี่ยเชื่อมั่นในความคิดไงครับ เพราะถ้าเราคิดไปแล้วเราจะได้คำตอบ โกอานก็คือปริศนาธรรมที่คิดยังไงก็ นึกถึงภาพโกอาน เช่น ให้นึกถึงประตูที่ไม่มีช่อง เป็นเรา เรามีประตู มันคือทางออกทางเข้าใช่ไหมครับ มันก็ต้องเป็นช่องใช่ไหม มันไปออกไปเข้าได้ไงใช่ไหม

พอเราคิดไป มันก็ มันเป็นกล เป็นกลวิธีให้เราคิดไปแล้วเนี่ย สุดท้ายเราจะตัน พอตันปุ๊บ เราจะถึง โอ้ กูมาเสียเวลาคิดทำไม ประมาณนี้นะ กูมาเสียเวลาคิดทำไม เพราะฉะนั้นเนี่ย โกอานเนี่ย ทีนี้ในญี่ปุ่นเนี่ยมันเป็นแบบแผน ปริศนาธรรมที่อาจารย์ใช้เพื่อให้ลูกศิษย์เนี่ย เข้าไปจะได้รู้ไงว่าความคิดที่ว่าเนี่ย คิดไปเนี่ย มันใช้ไม่ได้”



ผู้ถาม : “...”

ประมวล เพ็งจันทร์ : “ใช่ อย่าคิดเชียวนะครับ ฮ่าๆๆ...  

...

เช่น โกอานข้อที่หนึ่ง “มู” ให้นึกถึงคำว่ามู คิดถึงคำว่ามู “มู” เป็นความว่าง เรานึกถึง คิดถึงความว่าง มันจะคิดถึงขึ้นมาอย่างไร ในปรัชญาปารมิตาที่ผมบอกว่าฉบับยาวสุดแสนโฉลก ฉบับสั้นอักษรอักขระตัวเดียว ใครเรียนบาลีสันสกฤตมาจะรู้เวลาเฉลยนี่ อักษร “อ (อะ)” อ (อะ) ไม่มีรูป อาจารย์เรียนบาลีมาแล้วรู้ใช่ไหม อ (อะ) เนี่ย มันออกเสียง อะ แต่จะไม่มีรูป อะ บ้านเราเมืองไทยเนี่ย ไปทำให้รูปเกิดขึ้น ประวิสรรชนีย์จะไม่สิ้นสุดแค่นี้นะ แต่ถ้าในบาลีสันสกฤต คำว่าอะ ไม่มีครับ ไม่มีรูป ไร้รูป และคำว่า อ (อะ) เนี่ยครับ นึกถึงภาพสิ เวลาเราต้องการจะเจริญกุศล ในพระพุทธศาสนาจึงบอกว่าจะต้องทำยังไงให้เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวลาเราพูดถึงสิ่งที่เจริญภาวนา เราไม่ได้พูดถึงกุศลอะไรนะ เราพูดถึงคำว่า อ (อะ) เลยนะ อโลภะ ไม่โลภ อโทสะ คือไม่โกรธ อโมหะ คือไม่หลง เนี่ย เพราะตอนที่มีผู้ ปรัชญาปารมิตามาถึงจุดๆ หนึ่ง อาจารย์เนี่ยบอกว่าฉบับที่สั้นสุดมีอักขระตัวเดียว เพราะฉะนั้นไม่มีปรากฎเป็นคัมภีร์ที่ไหน แต่รู้กันอยู่ทันทีว่า ที่สั้นที่สุดก็คืออักษร อ (อะ) ซึ่งไม่ปรากฏรูปให้เราเห็นด้วยตา ไม่มีความหมายให้เราต้องมาคิดถกเถียงกัน แต่ให้เราเข้าใจ เข้าถึง ปรัชญาปารมิตาฉบับสั้นสุดคืออักขระตัวเดียวเนี่ยครับ แต่ทีนี้ประเด็นที่พูดถึงนี้น่ะครับ ก็คือกลับไปสู่ความหมายที่เราพูดถึงเนี่ยนะครับ ก็คือการที่เราทำในสิ่งที่คิดนี่นะครับ เราจะได้รู้เท่าทันสิ่งที่เรียกว่าความคิดที่เราสร้างขึ้นมาในใจเรา เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่มันเป็นความหมายที่เกิดจากความคิด มันจะทำให้เกิดทวิภาวะ นี้เป็นหลักทางปรัชญาเลยนะครับ ในพุทธศาสนานิกายเซน ต้องการให้เราเนี่ยสลายทวิภาวะ ทวิภาวะคือสภาวะที่มีตัวเรา ที่เป็นผู้กระทำการ และมีสิ่งที่เรากระทำหรือถูกกระทำ ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่มันเป็นความหมายแบบนี้เขาเรียกว่าทวิภาวะ ทวิภาวะคือมีตัวผู้กระทำ มีสิ่งที่ถูกกระทำ ทวิภาวะที่เป็นสภาวะข้างนอก เช่นเรามีคำว่าผิด คำว่าถูก เราก็ผลิตสิ่งที่มันเป็นกรอบคิดเรื่องถูกขึ้นมา แล้วก็บอกว่าสิ่งที่ตรงข้ามนี้ผิด อย่างนี้เนี่ยนะครับ แล้วมันก็มีกระบวนการเยอะเลย เป็นในเรื่องของความคิดเนี่ย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่าในพระพุทธศาสนา ช่วงหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วเนี่ย ก็มีการจดจำพระพุทธวจน พอจดจำมาก็มีการนำมาถกเถียงกันว่าพระพุทธวจนที่พระองค์ตรัสไว้เช่นนี้ หมายความว่าอย่างนั้น แล้วก็โต้เถียงกัน สุดท้ายเต็มไปด้วยการโต้เถียง ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ ในความหมายเชิงการภาวนา เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เลยกลายมาเป็นว่า พุทธศาสนานิกายชาน หรือนิกายเซน หรือนิกายโยคาจาร ในอินเดีย ก็เกิดขึ้นเพื่อที่ทำหน้าที่แบบนี้ครับ

จาก https://pagoda.or.th/aj-pramuan/2021-08-14-15-32-04.html