ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 17, 2024, 08:22:08 am »


“โซโล่รีทรีท” กับการค้นพบครูภายใน

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย อุทัยวรรณ ทองเย็น



เช้าวันนั้นขณะที่ท้องฟ้ายังมืดอยู่และคนในบ้านยังไม่มีใครตื่น ฉันออกมาจากบ้านด้วยความรู้สึกโหวงๆ ในหัวมีคำว่า “สละละวาง” ผุดขึ้น บรรยากาศของการเดินทางไปในความมืดนั้นคล้ายว่าฉันกำลังละทิ้งชีวิตของตัวเองเพื่อออกบวช และนั่นคือตอนที่ฉันตัดสินใจจะไปฝึกภาวนาแบบปลีกวิเวก หรือ “โซโล่รีทรีท” เป็นเวลาร่วม 2 อาทิตย์  ณ กระท่อมฝึกแห่งหนึ่งที่อำเภอหัวหิน 

การเข้า solo Retreat คือการที่เราจะไปใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายที่สุดเพียงลำพัง เพื่อใช้เวลากับการปฏิบัติภาวนาด้วยตนเองอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง งดการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกและโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นอะไรที่ยากมากๆ สำหรับพวกเราในยุคนี้

ก่อนจะไปก็มีความกังวลร้อยแปดพันประการ เพราะนี่เป็นครั้งแรกของฉัน แต่ด้วยการตั้งเจตจำนงของการเป็นผู้ฝึกปฏิบัติในสายธรรมของวัชราจารย์เชอเกียม ตรุงปะ และสังฆะวัชรปัญญา  ฉันมีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติภาวนาผ่านการเรียนจากครู ทั้งที่เป็นบุคคลและครูที่มาในรูปคำสอนผ่านตัวหนังสือมาแล้วอย่างมากมาย ทว่าการไปเข้า solo Retreat คือการนำตัวเองไปมีประสบการณ์ของการฝึกภาวนาด้วยตนเอง ซึ่งไม่ง่ายนักสำหรับคนที่ชีวิตทางโลก เช่นเรา เรายังไม่ได้สละชีวิตแบบคฤหัสถ์หรือผู้ครองเรือน เพียงแต่เป็นผู้ที่สนใจปฏิบัติภาวนาที่เอาจริงเอาจังเท่านั้น แล้วเราจะไปใช้ชีวิตแบบนักบวชได้ยังไงกันนะ ใจฉันได้แต่กังวลกับการใช้ชีวิตอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า    

และเมื่อไปอยู่จริงก็พบว่าตนเองก็มีสภาวะความกลัวอย่างที่คิดไว้ล่วงหน้าจริงๆ เริ่มต้นจากการเอาชีวิตไปอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยและห่างไกลผู้คน มันสั่นคลอนความมั่นคงทางใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วง สามวันแรก เวลาเย็นตะวันเริ่มอ่อนแสง ฉันรู้สึกเหงาและว้าเหว่คิดถึงบ้านอย่างมาก ความกลัวก็ผุดขึ้นมาเล่นงานตลอด และเริ่มสงสัยว่าการที่เราต้องมาอยู่โดดเดี่ยวเพื่อฝึกภาวนามันจะไปสัมพันธ์อย่างไรกับการที่ฉันยังใช้ชีวิตแบบมนุษย์โลกๆ ของฉันกันนะ (หมายถึงว่าเราไม่ได้เป็นนักบวช) เจ้าความคิดลังเลสงสัยนี้ผุดขึ้นมาในหัวอย่างไม่หยุดหย่อน และแม้ว่าพอเริ่มชินเข้าที่เข้าทางกับการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายสุดๆ มีเพียงการฝึกภาวนาและกิจวัตรประจำวันไม่มากมาย ไม่มีภาระการงาน ไม่มีโลกออนไลน์ ไม่มีผู้คนให้พูดคุย เพื่อนก็มีเพียงจิ้งจก แมลง กิ้งก่า นกนานาชนิด และเสียงไก่ขันเท่านั้น  และความเงียบสงบของพื้นที่ก็เริ่มดึงให้จิตใจและร่างกายของฉันสงบลงและอยู่กับวิถีของผู้ฝึกภาวนาได้อย่างราบรื่น แต่ทุกวันฉันก็คอยเฝ้านับนิ้วว่าเหลืออีกกี่วันกันนะ




ทุกเช้าฉันจะสวดบทรับไตรสรณคมน์ “ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาพุทธะเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาธรรมะเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาสังฆะเป็นที่พึ่ง” สิ่งนี้เหมือนเป็นการย้ำเตือนให้ตัวเองได้ตระหนักถึงเจตจำนงที่จะไม่พึ่งพาสิ่งอื่นใดนอกไปจาก พุทธะอันหมายถึง พระพุทธเจ้าหรือคุรุ ครูในสายธรรมที่ได้ส่งต่อคำสอนมายังฉัน ธรรมะคือคำสอนในสายธรรมหรือเทคนิคการภาวนาต่างๆ และสังฆะก็คือวิถีชีวิตของการเป็นผู้ฝึกปฏิบัติ  ดังนั้นแม้ว่าในแต่ละวันสภาวะจิตใจและร่างกายจะแปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ เพียงไร  การระลึกถึงครูและคำสอนในสายธรรม วินัยของการฝึกภาวนาและเทคนิคการภาวนาต่างๆ คือเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิตฉันตลอดสองอาทิตย์นี้ และทำให้ฉันสามารถฝึกภาวนาตามตารางที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน 

ชีวิตที่นี่ สิ่งที่ฉันรู้สึกเป็นทุกข์มากคือการกลัวความมืด ช่วงค่ำจึงเป็นความทรมานสุดๆ ในขณะที่เวลารุ่งเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แสงสว่างขับไล่ความมืดหายไป  ฉันจะมีความสุขที่สุด  และความคิดนี้ก็ล่องลอยไปสู่ช่วงการภาวนา ในครั้งหนึ่ง ขณะที่กำลังภาวนา ฉันนึกว่า ที่เรามาภาวนา เพื่ออะไรกันนะ? เพื่อทำงานกับความทุกข์ของตัวเองด้วยการศิโรราบและไม่ผลักไสดิ้นรนหนีความทุกข์ใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นเราแค่รับรู้ความทุกข์แล้วยังไงต่อ แล้วจู่ๆ ฉันก็นึกได้ว่าเวลาเรามีความทุกข์ เรามักไม่ค่อยรู้ตัวว่าเรากำลังขังตัวเองไว้ในห้อง แล้วพยายามดิ้นรนอยู่ในนั้นโดยไม่รู้ตัวว่าเราถูกขัง  แต่เมื่อใดที่เราเริ่มรู้สึกตัวว่าเราขังตัวเองไว้ในนั้น เราจะเริ่มลุกขึ้นและเดินออกมาจากห้องขังของเราเองได้ เริ่มมองเห็นว่าชีวิตมันมีทั้งด้านในและด้านนอก มีการยึดและการวาง การปล่อยตัวเองออกมาจากห้องก็ต้องเริ่มจากการที่เรารู้ตัวก่อนว่าเราอยู่ในห้องและมีข้างนอกที่เดินออกมาเองได้ เมื่อเราเห็นว่าความเจ็บปวดในชีวิตมาจากการยึดติดของตัวเอง เราก็จะเริ่มปล่อย

การที่เราเริ่มมองเห็นแล้วว่าปมปัญหาในชีวิตที่เรารู้สึกคับแค้นหรือไม่พอใจ ซื่งกลายเป็นสิ่งเศร้าหมองในชีวิตนั้น มันคือ “karmic situation” ของชีวิต วินาทีที่รับรู้เรื่องนี้ ฉันถึงกับสะอึก สภาวะที่บอกกับตัวเองว่านี่คือชีวิตเธอ เกิดมาต้องเจอสิ่งนี้ ฉันก็ขนลุกซู่น้ำตารื้น จังหวะนั้นยังจำได้ว่ามองเห็นควันธูปสีขาวลอยเข้ามาที่ตัวราวกับว่าครูมายืนยันว่าสิ่งที่รู้นั้นใช่แล้ว มันคือวินาทีของการศิโรราบ มองเห็นความคิดยึดติดความคาดหวัง เลิกผลักไสหรือก่นด่าใครๆ  มีเพียงความรู้สึกว่ากำลังเปิดใจยอมรับว่าชีวิตเป็นแบบนี้ ก็แค่ทำงานกับมันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุด มันก็แค่นั้นเอง

มีหลายครั้งที่เรามักจะไม่รู้เท่าทันส่วนลึกของจิตใจตนเอง  ฉันเจอว่าสิ่งที่ฉันพูดออกไปนั้นไม่ใช่ความรู้สึกจริงๆ ของตัวเองเลย เช่น ฉันมักคิดว่าอยากใช้ชีวิตเงียบๆ คนเดียวไม่ชอบสุงสิงกับใคร ถึงขนาดบอกกับตัวเองและคนอื่นๆ เสมอว่าฉันเป็นอินโทรเวิร์ท แต่สิ่งที่พบในการไปอยู่อย่างโดดเดี่ยวครั้งนี้ บอกความจริงให้ฉันรู้ตัวแบบหงายหลังไปเลยว่า ฉันไม่ใช่คนชอบอยู่คนเดียวเลยสักนิด ฉันยังจำความรู้สึกได้ชัดๆ เวลาที่นั่งพักแล้วเหม่อมองออกไปข้างนอก พอเห็นคนอยู่ข้างนอกไกลๆ อาจจะกำลังขี่รถมอเตอร์ไซค์ผ่านมาหรือเข้ามาทำงานในสวนข้างๆ ก็ตาม ใจฉันก็วิ่งตามเค้าไปทันที รู้สึกหิวคนเป็นอันมาก อยากพูดคุยกับคน มันชัดเจนในใจขนาดนั้น การตามดูจิตใจตนเองอย่างถึงพริกถึงขิง มันช่วยลอกเปลือกให้เราได้เปลือยเปล่าและคลายการยึดเหนี่ยวกับภาพลักษณ์ที่แข็งทื่อตายตัวเช่นเคย เราสามารถเป็นได้มากกว่าที่เราบอกกับตัวเอง ขอบของตัวตนเริ่มพร่ามัวไม่ชัดเจน

หลังจากผ่านช่วงยากลำบากใน 3-4 วันแรกไป ฉันก็พบว่าการที่เราใช้เวลาอยู่กับการฝึกภาวนาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง คำสอนต่างๆ ที่เก็บสะสมไว้ในเนื้อในตัวก็ได้ถูกดึงออกมาใช้งาน ประสบการณ์ตรงของสภาวะจิตต่างๆ ที่การภาวนาได้พาความตระหนักรู้ในสภาวะนั้นไปเรื่อยๆ เราจะมีจังหวะที่เกิดความกระจ่างถึงสภาวะธรรมและกระบวนการทำงานของอัตตา เปรียบเหมือนว่าฉันกำลังกลั่นความเข้าใจต่อความเป็นจริงของชีวิตตนเองออกมาจากการเคี่ยวกรำตัวตนและคำสอนในสายธรรมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งครูของฉันบอกว่านี่คือผลของการมาฝึก solo Retreat ที่ทำให้เราสามารถสอนตัวเองได้ ประสบการณ์ตรงจากการภาวนาคือครูของฉัน




การฝึกภาวนาปลีกวิเวก คือการลดทอนความรกรุงรังของชีวิต ให้เหลือเพียงการต้องอยู่กับตัวเองแบบเปลือยเปล่า ไม่มีข้ออ้างหรือภาระหน้าที่อื่นใดมาดึงเราออกไปจากตัวเอง เหมือนเราถูกแขวนเอาไว้อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีสายสัมพันธ์กับสิ่งใดๆ ทั้งนั้น มันจึงมีเพียงการกลับมาดูกายใจตัวเอง มีความตระหนักรู้ที่มองเข้าไป และเมื่อเราตั้งมั่นที่จะอยู่กับการฝึกภาวนาด้วยวินัย  ฝึกที่จะไม่ exit และอยู่กับประสบการณ์ของการภาวนาไปเรื่อยๆ  ฝึกอยู่กับการผ่อนคลายร่างกายและการวางจิตให้อยู่กับกาย เรามองดูความคิดที่ฟุ้งแล้วก็กลับมาอยู่กับร่างกายที่ผ่อนคลาย เปิดกว้าง ว่าง ไปเรื่อยๆ จิตและกายที่ประสานหลอมรวมกันก็จะให้ประสบการณ์ที่ล้ำค่าแก่เรา

ถึงที่สุดแล้ว การภาวนาก็คือการกลับมาทำงานกับตัวตนของเรา ด้วยการฝึกความตระหนักรู้หรือ awareness ในการที่จะมองเข้าไปให้เห็นการทำงานของจิตใจและตัวตน ได้เข้าใจถึงกลไกและกระบวนการทำงานของตัวตนที่ก่อให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต เรื่องเล่า ปมปัญหา ความสัมพันธ์ โลกภายใน โลกภายนอก ทุกอย่างล้วนขับเคลื่อนผ่านกลไกนี้  การฝึกภาวนาเพื่อการตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงต่างๆ ก็คือเส้นทางจิตวิญญานที่จะค่อยๆ คลี่ออก เป็น unfolding journey ของแต่ละคนที่ต้องดุ่มเดินไปด้วยตนเองเพื่อคลายพันธนาการ และได้พบกับความดีงามพื้นฐานที่มีอยู่แล้วภายใน เป็นเมล็ดพันธ์ดีงามที่เราต้องเฝ้ารดน้ำเพื่อให้งอกงามและเบ่งบานขึ้นในใจของเรา ดังเช่นบทสวดมนต์ ”บทปลุกเร้าโพธิจิต” ที่กล่าวว่า

สับสนเวียนวนไปกับหลากรูปแห่งปรากฏการณ์

บ้าคลั่งกับความหวังและความกลัว

สรรพสัตว์ท่องเที่ยวไปบนวัฏฏปฏิกูลแห่งสังสาร

เพื่อสักวันจะได้สัมผัสกับความจางคลาย

ในแสงเรืองรองประภัสสรของมณฑลการตื่นรู้อันไพศาล

ข้อขอปลุกเร้าความรักและความปรารถนาดี

ความยินดีและความไว้วางใจ

ดั่งแก่นกลางดวงใจแห่งโพธิจิต



จาก https://www.vajrasiddha.com/article-soloretreat2/

วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน