ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Kathrareen
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2017, 02:19:29 pm »

ยาวมากกว่าจะอ่านจบ ^^

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2014, 07:33:18 am »

บทความ (Blog)

Blog เขียนกระจาย ไร้ขีดจำกัด "บล็อกใต้ร่มธรรม"



กฏหลักของเว็บใต้ร่มธรรม

กฏกติกามารยาทของการใช้เว็บบอร์ด "ใต้ร่มธรรม"



ห้องแนะนำการใช้เว็บบอร์ดใต้ร่มธรรม(1 viewing)

แนะนำ และสอนการใช้บอร์ด การสมัคร การโพสตอบ การตั้งกระทู้ และอื่นเกี่ยวกับบอร์ด



เสียงของสมาชิกและทีมงาน

บอกกล่าวเล่าขานเรื่องราว และปัญหาต่างๆได้ที่นี่



พระอริยบุคคล(1 viewing)

เส้นทางสายอริยะ อนุพุทธะในตรีกาล พระอริยบุคคล โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี จน ถึง พระอรหันต์เจ้า



มาลาบูชาครู(2 viewing)

ธรรมะ ประวัติ คุรุผู้ประเสริฐ ปฏิปทาครูบาอาจารย์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คุณของพระสงค์หาประมาณมิได้



บิดามารดาบุพการี (พระอริยะในบ้าน)

เพื่อเทิดทูนบุพการี พ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณ เปรียบท่านดั่งพระอริยะในบ้าน



หยาดฝนแห่งธรรม (4 viewing) (!)

ร่วมแบ่งปันธรรมทาน ให้ชุ่มฉ่ำ ชื่นบาน เย็นใจ ดุจสายฝน อนุโมทนา จ้า



ดอกบัวโพธิสัตว์(6 viewing) (!)

พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พุทธวงค์ พุทธโครต พุทธภูมิ ลงไว้เป็น พุทธบูชา แบบอย่าง แนวทาง คติเตือนใจ ทุกยาน เป็นหนึ่ง คือ พุทธะยาน



พุทธทำนาย ภัยพิบัติ การรับมือ (1 viewing)

เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธทำนาย ที่จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น เราควรเตรียมการอย่างไร



จิตวิวัฒน์ กระบวนการนิวเอจ นิเวศแนวลึก

แด่นักรบแห่งแสงสว่าง ยุคกึ่งพุทธกาล มุ่งสู่ ยุควิไล ยุคพลังงานใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหว องค์ความรู้ใหม่ ๆ อย่างบูรณาการ
การโพสในแต่ละหมวดที่เว็บใต้ร่มธรรม



ธรรมะแนวลึกลับ วิทยาศาสตร์ทางจิต อิทธิปาฏิหารย์

แนววิทยาศาสตร์เชิงธรรมะสมัยใหม่ โปรดใช้วิจารณญาณ มหาพิจารณาอย่างยิ่ง



จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

กรรมฐานทุกกอง ฝึกจิตทุกแบบ พระวิปัสสนา มหาสติปัฏฐาน 4 สมาธิเพื่อการเยียวยา การทำงาน มุ่งสู่ พระนิพพาน



กฏแห่งกรรม-ชาติภพ

กัมมุนา วัตตตี โลโก หมายถึง สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม



ศีลเจพรต

สายน้ำแห่งความกรุณา หยุดการเข่นฆ่า เจริญเมตตา สมาทานเจพรต ธรรมะแนวเมตตา ศีลเจพรต ทุกค่าย ธรรมทาน วิทยาทาน ยัน โภชนาการ



ไหว้พระหน้าคอม

รวมบทสวดมนต์ บริกรรมภาวนา หฤทัยมนตรา สารพันคาถา บทขอขมา แผ่เมตตา ศาสนพิธี



พุทโธโลยี - เวทีสะท้อนธรรม

สื่อธรรม ไฟล์ธรรม ไฟล์เสียง เพลงธรรม e-Book ธรรมะติดปีกไซเบอร์



108 โทรโข่ง

ประชาสัมพันธ์ งานกุศล งานบุญ บอกกล่าวเล่าขาน ทั้งทางโลกและทางธรรม ร่วมอนุโมทนาได้ที่นี่



โครตเกรียนล้างโลก - ลงชักโครกซะ !

จัดการ กระทู้อันตราย มีปัญหา มิจฉาทิฐิ กระทู้เกรียน แถ ถู ไถ หมิ่นเหม่ ฮาร์ดคอ หลอกหลอน บั่นทอนสติปัญญา เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา สาธุชน ควร ใช้วิจารณญาน ไตร่ตรอง ส่องตน



รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

คุยสบายๆ นานาเรื่องราวสาระความรู้ เทคนิค เรื่องราว ไม่หนัก ปล่อยใจไปตามสายลมหน้าบ้านชานเรือน



ดนตรีภาวนา ธรรมคีตา นานาชาติ

ศิลปะศาสตร์แห่งเสียงดนตรีผ่อนคลายจิต พิชิตธรรมด้วยโสตเสียงธรรม



ธรรมะอินเทรนด์ - ธรรมะติดปีก

ธรรมะ สำหรับวัยรุ่น วัยสดใส ทันสมัย ไม่ตกยุค ธรรมะใส่สูท ใส่เสื้อฮิปฮ๊อป ใส่เสื้อนักเรียน



สุนทรียสนทนา - ไดอะล็อก (Dialogue)

วงเล่าเร้าพลัง เปิดหู เปิดตา เปิดใจ ฟังเสียงภายใน (Inner Voice) สติ เบิกบาน จินตนาการ ใน ไดอะล็อกพุทธะ สุนทรียสนทนา



มหัศจรรย์แห่งธรรมะ (Miracles of Dhamma)

แชร์ประสบการณ์ มุมมองความคิด อิสระไร้กรอบ อ่าน เขียนด้วยหัวใจให้เป็นธรรม



ดูหนัง ดูเรา ดูโลก ( Theater and Wisdom )

ดู ดู ที่มากกว่าดู มหรสพทางวิญญาณ ผ่าน แผ่นฟิล์ม ดูหนัง ดูละคร สะท้อนอะไร สนุกสนาน แถมปัญญาญาณ นะเออ !



ปัญหาชีวิต ความทุกข์ ความรัก

มีอะไรไม่สบายใจ สอบถามได้ที่ห้องนี้ เพื่อนๆกัณยาณมิตรและท่านผู้รู้จะมาให้คำแนะนำเพื่อคลายทุกข์



ธรรมะเสวนา

พูดคุยเรื่องธรรมะ ล้วนๆทดสอบภูมิธรรม ผู้มีภูมิประลองธรรม เรียนเชิญ ปุจฉา- วิสัชนา ได้ที่นี่



บทเพลงเยียวยา คีตาบำบัด

เพลงดี ๆ มีความหมาย ให้แง่คิด ธรรมะ กำลังใจ เพื่อ การแปรเปลี่ยน เยียวยาภายใน



หนอนหนังสือ

หนังสือหลากหลาย วรรณคดี วรรณกรรม เรื่องราว



พรรณาอักษร

นักเขียนกวีนิพนธิ์ หรือใจรักในงานประพันธ์ เชิญตรงนี้เลย



สุขภาพกับชีวิต

เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพ วิถีชีวิตการดำรงชีพ ทั้งกายใจ



ศาสตร์สุขภาพแห่งการบำบัด

แหล่งความรู้ด้านสุขภาพและการบำบัดรักษาโรคและความรู้ในการดูแลสุขภาพ


.
.

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2014, 08:32:30 am »

สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
-http://www.oknation.net/blog/ThaiTeacher/2011/07/06/entry-1-

          คำว่า สำเนียง หมายถึง เสียง, น้ำเสียง, หางเสียง หรือวิธีออกเสียง.  สำเนียงส่อภาษา จึงหมายถึง  การออกเสียงที่ทำให้รู้ว่าเป็นคนถิ่นใดหรือมาจากถิ่นใด  เช่นพูดภาษาไทยแต่ออกเสียงเป็นจีน เป็นแขก เป็นฝรั่ง หรือออกเสียงเป็นคนสุพรรณ คนเมืองเพชร คนเมืองจันท์ เป็นต้น.  ส่วนคำว่า กิริยา หมายถึง  มารยาท,  อาการที่แสดงออกมาด้วยกายหรือการกระทำ.  กิริยาส่อสกุล จึงหมายถึง  มารยาทหรือการกระทำของบุคคลที่แสดงถึงระดับการศึกษาอบรมที่ได้รับมาจากครอบครัว

          สำเนียงส่อภาษา  กิริยาส่อสกุล หรือ สำเนียงส่อภาษา  กิริยาส่อตระกูล เป็นคำพังเพยที่กล่าวเตือนให้บุคคลตระหนักถึงการใช้คำพูดและการกระทำว่าสำเนียงภาษาที่พูดและมารยาทที่แสดงออกมาสู่สาธารณชนนั้นจะทำให้ผู้อื่นวิเคราะห์ได้ถึงเชื้อชาติ  สัญชาติ  รวมทั้งประเมินได้ถึงการศึกษาอบรมของผู้แสดงกิริยาวาจานั้น ๆ ว่าเป็นผู้ได้รับการอบรมเลี้ยงดูหรือได้รับการศึกษามาในระดับใด  มักใช้ในทางตำหนิ เมื่อผู้นั้นพูดหรือแสดงกิริยาไม่สมควร เช่น  เขาพูดหยาบคายในที่สาธารณะได้อย่างไร สงสัยไม่ได้รับการอบรม  สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลแท้ ๆ เชียว

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.





-------------------------------------------------------------

สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล : อรรถาธิบายภายใต้ความเป็นผู้ดี
-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=13742-

 “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” คือ หนึ่งในสำนวนไทยที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเปรียบเปรยกระทบกระเทียบอยู่เป็นประจำ เพราะความหมายของสำนวนนี้จะเชื่อมโยงไปถึงการอบรมสั่งสอนของครอบครัวของคนผู้นั้นไปด้วย ความหมายของสำนวนนี้จะถูกสื่อได้เด่นชัดยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ด้วยเหตุที่การอบรมสั่งสอนภายในครอบครัวของคนสมัยนี้ช่างห่างไกลกับแบบแผน “ผู้ดี” เสียเหลือเกิน           

“ผู้ดี” หมายถึง บุคคลผู้มีความประพฤติเรียบร้อยทั้งทางกาย ทางวาจา และทางความคิด ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่า “ผู้ดี” คือ ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย และมียศถาบรรดาศักดิ์ แต่แท้จริงแล้ว “ผู้ดี” ก็เป็นเพียงปุถุชน แต่เป็นมนุษย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยกิริยามารยาทในการแสดงออกทั้งทางกาย วาจาและใจเท่านั้นเอง ดังนั้นการเป็น “ผู้ดี” จึงมิใช่เรื่องที่ต้องลำบากยากเย็นแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเท่านั้น สำหรับผู้ที่ชอบประชดประชันถึงความเป็น “ผู้ดี” สันนิษฐานได้ว่าผู้นั้นก็คงไม่แน่ใจนักว่าตนเองนั้นเป็น “ผู้ดี” หรือไม่...             

“ไม่มีใครที่จะเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดชาติกำเนิดของตนเองได้” ข้อความนี้เป็นสัจธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเรื่องหลักการกำเนิดของมนุษย์ ดังนั้นชาติกำเนิดจึงเป็นเพียงองค์ประกอบที่ส่งเสริมสถานภาพของบุคคลในสังคมเท่านั้น มิใช่ตัวชี้วัดความเป็นผู้ดี อย่างไรก็ตามหากผู้นั้นเป็นผู้ดีทั้งโดยการกระทำและชาติกำเนิดก็ย่อมมีภาษีสังคมเหนือผู้อื่น แต่ในทางกลับกันหากผู้นั้นเป็นผู้ดีแค่โดยชาติตระกูล กล่าวคือ มีชาติตระกูลดีแต่กิริยามารยาทเข้าขั้น “สถุล” คนผู้นั้นย่อมได้รับคำครหาว่าเป็น “ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน” จึงเห็นได้ชัดว่าชาติตระกูลไม่ใช่บรรทัดฐานของความเป็น “ผู้ดี” หากแต่เป็นกิริยามารยาทเท่านั้นที่จะสื่อไปถึงการอบรมสั่งสอนของ “ชาติตระกูล”           

หากจะวิเคราะห์ความหมายของ “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ในการอรรถาธิบาย จำเป็นจะต้องแปลความหมายของแต่ละ “อรรถ” เสียก่อน

             สำเนียง น. เสียง, น้ำเสียง, หางเสียง, วิธีออกเสียง

             ส่อ ก. แสดงออกมาให้เห็นเค้า           

             ภาษา น. เสียงสัญลักษณ์หรือกิริยาอาการที่ใช้สื่อความต่อกัน, คำพูด, ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน

             กิริยา น. การกระทำ; อาการที่แสดงออกทางกายตามความหมายเรื่องมารยาท

             สกุล น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

เมื่อพิจารณาความหมายของ “อรรถ” และรวมความเป็นสำนวนแล้ว ก็น่าที่จะตีความได้ว่าหมายถึง “บุคลิก การกระทำและมารยาทจะแสดงออกมาให้ทราบว่ามาจากชาติตระกูลเช่นไร” สำนวนนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีมารยาท (กิริยาวาจาที่เรียบร้อย) เพราะสิ่งนี้จะสะท้อนไปถึง กำพืดของผู้นั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพูด ซึ่งสามารถบ่งบอกระดับปัญญาของผู้นั้นได้ ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อไม่พูดก็ไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาด จนกว่าจะพูดออกมานั่นแหละ เขาจะหายสงสัย”           

นอกจากการขยายความในเชิงอรรถสัมพันธ์แล้ว การวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของความหมายก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้เข้าใจกุศโลบายของผู้ริเริ่มใช้สำนวนนี้ได้ดียิ่งขึ้น ในประโยคแรกที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา” หากพิจารณาในหมู่คนส่วนใหญ่ ประโยคนี้จะเป็นข้อสรุปที่สมเหตุสมผลในตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใด เพราะคนทั่วไปจะมีสำเนียงพูดที่ต่างกัน ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าผู้ใดใช้ภาษาใด ถึงแม้จะใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาประจำของตน สำเนียงที่ออกมาก็จะแปร่งหูในสำเนียงที่แตกต่างออกไป เช่น คนจีนที่ตั้งรกรากในไทยซึ่งพูดภาษาไทย เป็นต้น ทั้งนี้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีค่านิยมการใช้ภาษาในอีกลักษณะหนึ่ง ก็จะพบว่าสำเนียงจะมิได้ส่อภาษาเสียแล้ว เพราะคนพวกนี้จะเป็น “ดัดจริตชน” ที่พยายามเปลี่ยนแปลงสำเนียงของตนให้กลายเป็นภาษาอื่นที่มิใช่ “ภาษาพ่อภาษาแม่” เพื่อตอบสนองค่านิยมของตนที่ว่าการใช้ภาษาอื่นๆ จะทำให้ให้ดู “โก้” กว่าการใช้ภาษาของตน ซึ่งจะเห็นได้ชัดในคนไทยยุค “ไอที”           

ส่วนในประโยคหลังที่ว่า “กิริยาส่อสกุล” ประโยคนี้ก็สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ในเรื่อง “การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)” ที่หมายถึง กระบวนการทางสังคมและจิตวิทยาซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ เป็นที่ยอมรับกันว่ากระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก ซึ่งตัวขับเคลื่อนกลไกการขัดเกลาทางสังคมเป็นกลุ่มแรกและสำคัญที่สุดก็คือ “สถาบันครอบครัว” ซึ่งมีหน้าที่ปลูกฝังแนวทางการดำเนินชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ การที่พ่อแม่ผู้ปกครองสั่งสอนบุตรจัดเป็นการขัดเกลาทางสังคมทางตรง และการกระทำตนเป็นแบบอย่างให้กับลูกก็เป็นการขัดเกลาทางอ้อม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าครอบครัวจึงมีอิทธิพลในการหล่อหลอมกิริยามารยาทของบุคคลแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ประโยคที่ว่า “กิริยาส่อสกุล” จึงสมเหตุสมผลไปโดยนิปริยาย           

ทั้งนี้การขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่สร้างพฤติกรรมของคนเพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่สร้างบุคลิกภาพของบุคคลได้เช่นเดียวกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ทว่าปัจจัยอื่นนั้นจะลึกซึ้งกว่าปัจจัยด้านครอบครัว ด้วยเหตุนี้คนทั่วไปจึงมองว่ากิริยามารยาทของแต่ละคนจะมาจากครอบครัว เช่น มีเด็กชอบฉกชิงวิ่งราวทรัพย์สินผู้คนตามท้องถนน คนอื่นที่พบก็จะสรุปในทันทีเลยว่าครอบครัวนี้คงยากจน ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก หรือถึงขั้นกล่าวว่าคงเป็นโจรทั้งครอบครัว ซึ่งในความจริงอาจจะเป็นลูกของครอบครัวฐานะดีที่มีความอบอุ่นสมบูรณ์พร้อมก็ได้ แต่สาเหตุมาจากการได้รับอิทธิพลทางความคิดที่ผิดมาจากที่อื่น เป็นต้น ในบางครั้งสำนวนนี้จึงอาจไม่ยุติธรรมสำหรับวงศ์ตระกูลสักเท่าไร จากการวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของความหมายจึงสรุปได้ว่า สำนวนนี้มุ่งที่จะใช้กับผู้ที่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสมให้รู้จักปรับปรุงตนเพื่อมิให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว คล้ายๆ กับการกล่าวว่า “พ่อแม่ไม่สั่งไม่สอน” นั่นเอง           

เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสำนวนนี้กับเรื่องของ “ผู้ดี” ก็จะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะผู้ดีคือผู้ที่ระมัดระวังกิริยามารยาทของตนเอง ดังนั้นผู้ดีก็จะแสดงออกให้เห็นถึงลักษณะการอบรมสั่งสอนที่ดีของครอบครัว ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ด้วยความหมายสำนวนได้ว่า การเป็นผู้ดีเป็นผลลัพธ์จากการขัดเกลาทางสังคมในวิถีที่ถูกต้องของครอบครัว และความเป็นผู้ดีก็จะส่อให้เห็นถึงความมี “สกุลสูง” ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นความสูงส่งทางจริยธรรมมิใช่ทางด้านฐานะ จึงอาจกล่าวได้ว่าลักษณะความเป็น “ผู้ดี” สอดคล้องและสนับสนุนความหมายของสำนวน “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อใดที่ใช้สำนวนนี้กับผู้ดี นัยของความหมายจึงมิใช่การเสียดสีประชดประชันแต่อย่างใด หากแต่เป็นการชื่นชมถึงครอบครัวนั้นอย่างจริงใจ ดังนั้นหากต้องการจะเป็น “ผู้ดี” ก็ต้องเข้าใจความหมายสำนวนนี้ที่อธิบายด้วยความเป็นผู้ดี เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในขณะที่จะทำพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมด้วย           

ในอดีตสำนวนนี้คงจะก่อสำนึกให้กับผู้ฟังได้มาก แต่ปัจจุบันไม่ว่าใครจะด่าว่าถึงวงศ์ตระกูลอย่างไร จะกล่าวถึงสำนวนนี้เป็นร้อยครั้งพันครั้ง ก็คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้ เพราะ “อัตตา” ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้ปิดกั้นไว้ กอปรกับการที่ครอบครัวในปัจจุบันก็ไม่ได้ทำหน้าที่ที่สถาบันครอบครัวพึงกระทำ คือ สั่งสอนให้คนในครอบครัวเป็นคนดี แต่กลับให้ความสำคัญกับเงินตรามากกว่า เหล่านี้คือผลของการพัฒนาในระบอบทุนนิยมโดยไม่ทำไปควบคู่กับจริยธรรมนั่นเอง เราจึงควรให้ความสำคัญกับความหมายของสำนวนนี้ในเชิง “ผู้ดี” บ้าง มิฉะนั้นในอนาคตสำนวนนี้อาจจะเปลี่ยนไปเป็น “สำเนียงส่อภาษา เงินตราส่อสกุล” ก็ได้

หมายเหตุ เรียงความนี้เขียนขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ เพื่อส่งงานในรายวิชา “ภาษาไทยพื้นฐาน (ท ๔๑๑๐๒)” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยกำหนดให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพย

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=13742
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 05:10:44 pm »

มารยาททางสังคม : สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ
-http://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book55_3/easily.html-

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์

        ก่อนที่จะกล่าวถึง “มารยาททางสังคม” ผู้เขียนขอให้มาทำความรู้จักกับคำว่า  “มารยาท” ก่อนว่า คืออะไร “มารยาท” หรือ “มรรยาท” (etiquette or good manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือก็คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไร พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัว แต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่า การกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว (บ้านมหาดอทคอม, 2552) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น (http://management.aru.ac.th) จึงกล่าวได้ว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคลที่แสดงออกทั้งในด้านกิริยา วาจา ซึ่งมีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ ที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม มีความสำรวม ถูกกาลเทศะ และปฏิบัติสิ่งที่พอเหมาะพองาม

        มารยาทจึงเป็นสิ่งที่เราเคยชินกับการได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ทั้งจากในบ้านที่คุณปู คุณย่า คุณตา คุณยาย บิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักพร่ำสอน ตลอดจนคุณครูและอาจารย์ในโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ปลูกฝังเรา เพื่อให้เรามีมารยาททางสังคม รู้จักอะไรควรและไม่ควรกระทำ สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ มารยาททางสังคมจึงเป็นกรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติหรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก โดยเหตุที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ลำพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎกติกากำหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกชาติทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่เรียกกันว่า มารยาททางสังคมนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันบ้าง อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจทำให้คนสมัยนี้หันไปพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง อันเป็นเหตุให้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อมารยาทที่พึงมีต่อกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในทุกสังคม (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553)

        ปัจจุบันด้วยพิษของโลกาภิวัฒน์และโลกของการแข่งขันและการทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่แย่งเวลาในการที่จะปลูกฝังสิ่งดีงามเหล่านี้ไป เกิดการหลงลืมคำว่า “มารยาท” และได้เกิดการทำสิ่งต่างๆ ที่ยึดตนเองเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงคนในสังคมรอบข้างว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ตนเองกระทำ กล่าวง่ายๆ ว่า “ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา เรื่องของเรา คือ เราต้องสบาย ต้องได้ ไม่ต้องเสีย หรือต้องสำเร็จ” จึงทำให้สังคมเกิดความสับสนว่า “สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ” “สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม” “สิ่งใดถูกกาลเทศะหรือไม่ถูกกาลเทศะ” บางคนก็กล่าวไปจนถึงการมีสมบัติผู้ดี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคม ความอคติต่อกันทำลายบรรยากาศดีๆ ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ทำให้สังคมรอบข้างไม่น่าอยู่ แต่ถ้าทุกคนหันมาปรับปรุงบรรยากาศที่ดีในสังคมตั้งแต่หน่วยเล็กจนถึงหน่วยใหญ่ที่สุด จะทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่มากขึ้น จะพบกับความถ้อยทีถ้อยอาศัย น้ำใจที่เอื้ออาทรกันและกัน การช่วยกัน/ ร่วมมือกันทำงาน และเกิดความสุขในการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและการทำงาน 

        ดังนั้น มาช่วยกันทำสิ่งที่หายไปนั้นกลับคืนมาสู่สังคมไทยกันเถอะ นั่นคือ “มารยาททางสังคม” ที่ดูเหมือนสิ่งที่ดูเล็กน้อย แต่มีความสำคัญที่ทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมเราน่าอยู่ เพราะบุคคลเรานอกจากจะมีความสามารถในเชิงการทำงานที่ดีเยี่ยมแล้ว ยังต้องรู้จักรักษากิริยามารยาท และจะต้องรู้จักการสมาคมกับผู้อื่น จึงจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ เพิ่มความสนใจให้กับผู้พบเห็น (http://management.aru.ac.th) จึงนับได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินชีวิตประจำวันและในการทำงาน เพราะคนมีมายาทนั้นไม่ได้วัดกันที่คุณจบวุฒิอะไรมา หรือมีดีกรีระดับใด หรือมีตำแหน่งหน้าที่อะไร หรือมาจากวงค์ตระกูลไหน หรือมีฐานะอย่างไร แต่วัดกันที่บุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงออกมา โดยท่วงทีกริยามารยาทที่แสดงออกมาแล้วบุคคลอื่นรอบข้างเขารับได้หรือไม่ได้ บุคคลที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยมชมชอบและชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง (อัจฉรา นวจินดา) แต่ถ้าบุคคลนั้นมีตำแหน่งหน้าที่สูง เป็นผู้บังคับบัญชา หรือมีความเก่งในหน้าที่การงาน แต่ไร้มารยาททางสังคม บุคคลนั้นก็ไม่น่าชื่นชมหรือน่านับถือ เพราะบุคคลนั้น ยังไม่รู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ ยังนึกถึงแต่ผลประโยชน์ของตน หรือยึดตนเองหรือที่เรียกว่า “อัตตา” เป็นหลัก ยังไม่รู้จักให้เกียรติคนอื่น ลืมมองดูคนอื่นที่อยู่รอบข้างว่า ทุกคนมีความสำคัญในสังคมไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะใดในสังคมก็ตาม เขาก็มีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน จึงควรให้เกียรติไม่ว่าเขาจะมีฐานะด้อยกว่าตนก็ตาม  หลายครั้งที่บุคคลเราเมื่อมีฐานะ มีหน้ามีตาในสังคม หรือมีอำนาจขึ้นมา มักจะลืมนึกถึงคนอื่นที่เขามีความเป็นมนุษย์เช่นตนเอง ที่มีความรู้สึกและมีความต้องการเช่นกัน แต่กลับแสดงอำนาจหรือมีกริยาที่แสดงท่าทีข่มคนอื่น เพื่อให้เขาดูด้อยกว่าตนเอง ซึ่งดูเหมือนจะดีที่สร้างสถานการณ์ที่เหนือกว่าบุคคลอื่น แต่สิ่งที่ทำไปนั้น กลับติดลบ เพราะสิ่งที่ทำไปไม่ได้ใจคนที่เห็นหรือคนที่ถูกกระทำ และบางครั้งกลับกลายเป็นการเอาคืน จึงทำให้บรรยากาศดีๆ ที่จะทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขหายไป และถ้าเป็นหน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกันด้วยแล้ว ความร่วมมือในการทำงานจะหายไป ผลงานที่ได้อาจไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งดูเหมือนประสบความสำเร็จดี แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดแล้วจริงๆ อาจไม่ได้ประสบความสำเร็จจริงๆ ก็ได้ เพราะคนอาจทำให้ด้วยหน้าที่ตามความจำเป็น หรือทำให้เพราะกลัวอำนาจของผู้มีอำนาจหน้าที่เหนือกว่า แต่ไม่ได้ใส่ใจกับงานที่ต้องทำ สิ่งที่ออกมาจึงไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น เป็นการทำให้ผ่านๆ หรือพ้นๆ ตัวไปเท่านั้น และเมื่อวงจรนี้ยังคงอยู่ ไม่มีการปรับปรุง ผลกระทบที่สะสมนั้นสุกง่อม ก็จะแสดงออกมา และวันนั้นการแก้ไขก็จะยากขึ้น ส่งผลร้ายต่อตนเอง คนรอบข้าง หน่วยงาน และสังคมที่อยู่ แต่ก็ไม่มีอะไรที่สายเกินไปที่เราจะหันกลับมาและเอาใจใส่กับคนรอบข้างอย่างจริงใจ ด้วยมารยาททางสังคมที่ดีงามให้แก่กันและกัน จะทำให้สิ่งที่ดีๆ กลับมาสู่สังคมเรามากยิ่งขึ้น เกิดความรักและความสามัคคีกันในสังคม 

        การที่จะทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมน่าอยู่นั้น สิ่งที่ต้องปลูกฝังและฝึกฝนมาตั้งแต่เล็กจนโต ก็คือ การเป็นผู้มีมารยาท หรือบางคนโตแล้ว แต่ในวัยเด็กไม่ได้ถูกปลูกฝังมา ก็สามารถปรับหรือพัฒนาตนเองได้ ถ้าใจคิดที่จะทำให้ดีขึ้น เพราะมารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา  อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้  ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดี มารยาทดีเท่ากัน แต่อาจไม่เหมือนกัน  เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย   มีตัวร่วม  คือ  แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว  เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ   เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น  ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย  สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน  สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ (อมร สังข์นาค) ดังนั้น มารยาทที่พบเห็นกันบ่อยๆ และควรรักษาไว้ในสังคมและปลูกฝังให้ลูกหลานคนไทยต่อไป เช่น

1. มารยาทในการพูด

        มารยาทในการพูดที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้
1.1 คำกล่าว “ ขอบคุณ ” จะใช้เมื่อมีผู้อื่นให้สิ่งของ  ให้ความช่วยเหลือ ให้บริการ หรือเอื้อเฟื้อทำสิ่งต่างๆ ให้ ไม่ว่าจะโดยหน้าที่ของเขา หรือมีน้ำใจหรือไม่ก็ตาม เช่น บริกรเสริฟน้ำให้ คนลุกให้นั่งหรือช่วยถือของให้บนรถประจำทาง คนช่วยหยิบของให้เวลาของหล่นลงพื้น พนักงานรักษาความปลอดภัยช่วยบอกทางในขณะจอดรถ หรือคนช่วยเปิดประตูให้ เป็นต้น  การกล่าวคำขอบคุณนั้น ถ้ากล่าวกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือมีวัยเสมอกันจะใช้คำว่า “ขอบคุณ” หรือถ้ากล่าวกับคนอายุน้อยกว่าจะใช้คำว่า  “ ขอบใจ ” ส่วนระดับของการขอบคุณนั้นจะใช้คำว่า “ขอบคุณ” “ขอบคุณมาก” “ขอบพระคุณมาก” “ขอบใจ” “ขอบใจมาก” ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้พูดต่อสิ่งที่ทำให้หรือได้รับ โดยเฉพาะคำว่า “ขอบพระคุณมาก” จะใช้กับผู้อาวุโส มิใช่แค่คำพูดเท่านั้น น้ำเสียงที่พูด กิริยา ท่าทางที่พูดจะบอกว่า ผู้นั้นพูดออกมาจากความรู้สึกที่อยู่ในใจจริงๆ หรือพูดออกมาตามหน้าที่ หรือตามสถานการณ์ที่บังคับที่ทำให้ต้องพูด ผู้ฟังจะรู้สึกได้ถึงสิ่งที่พูด และยิ่งยกมือไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอบคุณกับผู้อาวุโสไปพร้อมกัน จะทำให้ดูอ่อนน้อม และได้รับความเมตตาจากผู้อาวุโสมากยิ่งขึ้น และการพูดขอบคุณแบบขอไปทีกับไม่พูดนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การพูดก็ดีกว่าการไม่พูด เพราะแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ดีกว่าการไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

1.2 คำกล่าว “ ขอโทษ ” จะใช้เมื่อทำสิ่งที่ไม่ดี /สิ่งที่ผิด / สิ่งผิดพลาด/ สิ่งที่ไม่เหมาะสม/ การรบกวน/ การขัดจังหวะขณะพูดหรือทำงานเมื่อมีธุระด่วน/ การพูดจาหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมต่อบุคคลอื่นทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม  เป็นต้น การกล่าวคำขอโทษนั้น จะใช้คำว่า “ขอโทษ” เมื่อผู้พูดรู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำ/ พูด/ แสดงออกมา ถ้าพูดออกมาด้วยความรู้สึกผิด จะทำให้คำขอโทษนั้นมีความหมายที่ผู้ฟังหรือคนกระทำรู้สึกดีขึ้นและพร้อมที่จะให้อภัย และถ้าเขาให้อภัยแล้ว ผู้ที่ทำผิดต้องกล่าวคำขอบคุณที่เขาให้อภัยเราด้วย แต่ถ้ากล่าวคำขอโทษออกมาแบบเสียไม่ได้ หรือในท่าทีที่ไม่เหมาะสม คำขอโทษนั้นจะมีน้ำหนักน้อยที่อาจทำให้เขาอาจไม่ให้อภัยหรือให้อภัยตามมารยาทสังคมเท่านั้น แต่ในใจยังรู้สึกติดใจอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในอนาคตได้ที่อาจมีการเอาคืนในภายหลัง แต่การกล่าวคำว่าขอโทษแบบเสียไม่ได้ก็ยังดีกว่าการไม่ยอมกล่าวคำขอโทษออกมา เพราะย่อมแสดงถึงว่าเราลดตัวตนหรือทิฐิของเราลงมาในระดับหนึ่ง  และยอมที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต ถึงแม้ความรู้สึกสำนึกผิดจะช้าก็ตาม ในการกล่าวคำขอโทษนั้น ถ้ากล่าวกับผู้อาวุโสควรยกมือไหว้พร้อมกันไปด้วย จะทำให้ผู้อาวุโสที่เราขอโทษเขารู้สึกดี และบอกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของผู้นั้นด้วย จะทำให้ดูดีและน่ารักในสายตาผู้อาวุโสและสายตาของผู้ที่ได้พบเห็นหรืออยู่ในสถานการณ์นั้น

1.3 คำพูดที่ใช้เมื่อสนทนาหรือกล่าวถึงผู้อื่นในลักษณะให้เกียรติ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ดังคำโบราณว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว” ก็แสดงว่า การพูดนั้นเป็นคุณแก่ผู้พูด คำพูดที่จะให้คุณ ก็คือ คำพูดดีๆ ที่พูดต่อกัน น้ำเสียงในการพูดให้น่าฟัง อ่อนโยน ใช้ภาษาที่เหมาะสม ถูกกาลเทศะ แสดงความให้เกียรติ รักษาน้ำใจผู้อื่น และไม่ควรพูดประชดประชันหรือซุบซิบนินทาผู้อื่นให้เสียหาย คำพูดดีๆ นั้นจะหมายรวมถึงการที่ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น หรือยกตนข่มผู้อื่น หรือแสดงตนว่าอยู่เหนือคนอื่น หรือพูดไม่ถูกกาลเทศะ การพูดเหล่านี้นอกจะไม่ให้คุณแล้ว ยังแสดงถึงความไม่มีมารยาทในการพูด จะทำให้เกิดผลกระทบตามมากับผู้พูด ทำให้ผู้พูดขาดทุน เพราะขาดความน่ารัก ไม่ได้ใจผู้ฟัง และยังก่อให้เกิดความขัดแย้งกันตามมาด้วย การพูดที่ให้เกียรติผู้อื่นนั้น ไม่ใช่ให้เกียรติเฉพาะผู้อาวุโส/ ผู้ใหญ่เท่านั้น ต้องรวมไปถึงผู้ที่มีศักดิ์และสถานะเท่าเทียมกัน จนถึงผู้ที่มีศักดิ์หรือสถานภาพด้อยกว่าผู้พูดด้วย โดยเฉพาะถ้าผู้พูดเป็นผู้อาวุโสกว่าหรือเป็นผู้บังคับบัญชา ยิ่งต้องพูดดีและให้เกียรติกับผู้ที่ทำงานร่วมกันไม่ว่าเขาอยู่ในสถานภาพไหนก็ตาม จะทำให้ได้ใจผู้ฟัง และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทำงาน

1.4 การทักทาย ในประเพณีไทยจะทักทายกันโดยการไหว้และกล่าวคำว่า “สวัสดี” ส่วนสากลเวลาพบกันจะทักทายกันโดยยื่นมือขวาจับกันและเขย่ามือเล็กน้อย และทักทายด้วยคำสวัสดีเป็นภาษาต่างประเทศและถามสารทุกข์สุกดิบระหว่างกัน

1.5 การแนะนำบุคคลให้รู้จักกัน หลักโดยทั่วๆไปแล้ว  จะแนะนำผู้อาวุโสมากก่อนผู้มีผู้อาวุโสน้อยกว่า หรือแนะนำผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือมีตำแหน่งระดับสูงกว่าก่อนผู้อื่น  ถ้ามีสถานภาพเสมอกันก็ให้แนะนำตามความเหมาะสม อาจแนะนำผู้ที่มาก่อนก็ได้

2. มารยาทในการรับประทานอาหาร

        การรับประทานอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงการมีมารยาททางสังคมของบุคคลว่า บุคคลนั้นได้รับการอบรมมาดีหรือไม่ มารยาทในการรับประทานอาหาร ได้แก่  มารยาทในการตักอาหาร โดยเมื่อเริ่มรับประทานอาหารต้องรอให้ผู้ใหญ่ แขกผู้ใหญ่ หรือเจ้าภาพตักอาหารก่อน ควรใช้ช้อนกลางในการตักอาหารจากจานกับข้าวกลางเพื่อแบ่งอาหารใส่จานของตน ควรตักอาหารให้พอกับการรับประทาน ไม่ควรตักอาหารมาใส่จานของตนมากจนรับประทานไม่หมด ไม่ควรตักอาหารข้ามหน้าผู้อื่น การรับประทานอาหารควรจับช้อนและซ้อม และ/ หรือตะเกียบให้ถูกหลักการใช้    ไม่พูดในขณะเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก เพราะอาจทำให้อาหารล่วงหล่นจากปากและสำลักอาหารได้ ไม่ควรเคี้ยวอาหารหรือซดน้ำแกงเสียงดัง  ไม่ควรไอ จาม สั่งน้ำมูก หรือล้วงแคะ แกะเกาในขณะรับประทานอาหาร หากจำเป็นต้องใช้มือป้องปาก หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากหรือเช็ดน้ำมูก หากมีอาหารที่ต้องคายออกให้ป้องปากและคายใส่กระดาษเช็ดปากที่รองรับอยู่ แล้วปิดให้มิดชิด ถ้าจะใช้ไม้จิ้มฟัน ควรใช้มือป้องปากไว้ขณะแคะ เป็นต้น 

3. มารยาทในการเดิน ยืน และนั่ง

        การเดิน ควรเดินด้วยอาการสำรวม และเมื่อเดินกับผู้ใหญ่ไม่ควรเดินนำหน้า ควรเดินตาม ยกเว้น ต้องนำทางผู้ใหญ่ และควรเดินเยื้องอยู่ด้านข้างใดข้างหนึ่งแล้วแต่สถานที่ ซึ่งปกติจะอยู่ด้านซ้ายมือของผู้ใหญ่ และห่างพอสมควร  เมื่อเดินสวนทางกันควรเดินชิดซ้าย และถ้าสวนทางกับผู้ใหญ่ควรก้มตัวเมื่อเดินผ่าน ถ้าเป็นทางแคบควรหยุดให้ผู้ใหญ่ไปก่อน ถ้าผู้ใหญ่นั่งอยู่ ควรหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เป็นต้น ส่วนการยืนนั้น ไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่ และถ้ายืนอยู่กับผู้ใหญ่ต้องอยู่ในอาการสำรวม ไม่ยืนถ่างขา ไม่ยืนกอดอกหรือเอามือล้วงกระเป๋า เป็นต้น ส่วนการนั่ง ควรนั่งในท่าที่สบาย แต่อยู่ในอาการสำรวม ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นั่งถ่างขา นั่งโยกเก้าอี้ หรือนั่งประเจิดประเจ้อที่ทำให้ดูโป้ หรือไม่อยู่ในอาการสำรวม  ไม่ควรเยียดขาหรือกระดิกเท้าขณะนั่งเวลานั่งกับผู้อื่นหรือในที่ระโหฐาน และไม่นั่งค้ำศีรษะผู้ใหญ่ เป็นต้น

4. มารยาทในการไปชมมหรสพ การไปซื้อของ หรืออยู่ในที่สาธารณะ

        การไปชมมหรสพ เช่น คอนเสิร์ต หนังหรือละคร ฯลฯ หรือการไปซื้อของ ควรเข้าแถวซื้อตั๋ว/ ซื้อของตามลาดับก่อน-หลัง ไม่แทรกหรือตัดแถวผู้อื่น ในขณะชมมหรสพไม่ควรลุกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็น ไม่ควรส่งเสียงรบกวนผู้อื่นโดยการสนทนากันดังๆ วิพากษ์วิจารณ์การแสดง หรือแสดงอาการสนุกสนาน เป่าปาก ตบมือจนเกินกว่าเหตุ ไม่ควรเกี้ยวพาราสี หรือกอดจับต้องกันเมื่ออยู่ในโรงมหรสพ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

5. มารยาทในการแต่งกาย

        การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ (http://web.eng.nu.ac.th ) ดังนี้

5.1 ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษ โดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย  ได้แก่  เสื้อผ้า ถุงเท้า  รองเท้า  เครื่องประดับ  กระเป๋าถือ  ต้องสะอาดหมด  ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย     ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่   ผม  ปาก  ฟัน  หน้าตา  มือ  แขน  ลำตัว  ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ   ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว  ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
5.2 ความสุภาพเรียบร้อย  โดยเครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย  ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป   ไม่ใช้สีฉูดฉาด   ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น   ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้  เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
5.3 ความถูกต้องกาลเทศะ  โดยการแต่งกายควรให้ถูกกาลเทศะ  เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง  การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยม สถานที่ และงานที่จะไป เช่น งานศพก็ควรใส่สีดำ งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส หรือไปงานที่เป็นทางการควรดูว่าเป็นงานลักษณะใด เช่น ไปประชุม หรือไปศึกษาดูงาน ควรแต่งกายให้สุภาพตามประเพณีนิยม ฯลฯ เพื่อให้สมเกียรติกับงานที่ไป
   
6. มารยาทในการรักษาเวลา

        การนัดหมายกับผู้อื่นในการทำงาน การประชุม การไปเที่ยว จะต้องตรงเวลาและรักษาเวลาให้ดี ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถทำได้ต้องรีบแจ้งหรือบอกผู้ที่เรานัดหมายก่อนล่วงหน้าหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าไม่แจ้งและคนที่นัดรอเก้อ จะถือว่าเป็นคนไม่ตรงต่อเวลา และไม่มีมารยาททางสังคม การรักษาเวลาถือเป็นการให้เกียรติต่อกันที่มีความสำคัญมากพอๆ กับการรักษาคำพูด (http://www.hotcourses.in.th/)

7. มารยาทในที่ประชุม
               
        มารยาทในที่ประชุมเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการให้เกียรติกัน และเคารพในการแสดงความคิดเห็นของกันและกัน มารยาทที่ต้องรักษาไว้ เช่น การตรงต่อเวลาในการเข้าประชุม การขออนุญาตที่ประชุมเมื่อเข้าประชุมสายหรือการออกจากห้องประชุมก่อนกำหนด การยกมือขวาขึ้นเพื่อขอแสดงความคิดเห็นหรือต้องการถาม การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย การเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักอดทนฟังเรื่องราวที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็นให้จบก่อนว่าเขาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือบอกอะไร ไม่พูดแทรกหรือตัดบทไม่ให้พูดขณะที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็น  การไม่พูดกวนหรือต่อเรื่องให้ยาวออกนอกประเด็นจากเรื่องที่ประชุม การเคารพกฎ กติกาของที่ประชุม การเคารพมติของที่ประชุม การไม่คุยเรื่องส่วนตัว คุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์หรือนินทาผู้อื่นในขณะประชุม การพูดในที่ประชุมควรใช้เหตุผล หลักการ และความจริง ไม่ใช้อารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ที่จะเอาชนะ มีอัตตาสูง หรือต้องการพูดปกป้องตนเองก่อนที่จะฟังเรื่องราวให้จบ จะทำให้ที่ประชุมปั่นป่วน ไร้ระเบียบ และทำให้การประชุมนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

        มารยาททางสังคมยังมีอีกหลายด้านที่เราควรยึดในการปฏิบัติ  เช่น การรู้จักเกรงใจในเรื่องการขอความช่วยเหลือ การขอยืมของ การสั่งงาน การไปพบ/การไปเยี่ยม/การใช้โทรศัพท์ติดต่อในเวลาส่วนตัวหรือที่บ้าน เป็นต้น การไม่ถือวิสาสะในเรื่อง การเข้าห้องผู้อื่นโดยไม่เคาะประตู การหยิบหรือใช้หรือเข้าไปสำรวจบ้านหรือห้องของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดจดหมายหรืออิเมลของคนอื่นออกอ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น การให้เกียรติผู้อื่น ด้วยวาจาและท่าทาง การใช้โทรศัพท์ การนอน การช่วยเหลือผู้อื่น การเล่นกีฬาหรือเกมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาจากหนังสือ หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มเติมได้ ดังนั้น การที่มนุษย์เราอยู่ในสังคมเดียวกันจะต้องเคารพกฎ กติกา ขนบธรรมเนียมประเพณี และบรรทัดฐานของสังคมที่เราอยู่ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มารยาททางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้คนเรารู้สึกดีต่อกัน สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ เพราะการมีมารยาทดีเปรียบเสมือนมีอาภรณ์ประดับกายที่งดงาม เป็นที่ชื่นชนและยอมรับของบุคคลรอบข้าง ผู้ที่มีมารยาทดี มักประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือทางสังคม การมีมารยาทดีจึงเปรียบเสมือนในเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ  (อัจฉรา นวจินดา) จึงควรส่งเสริมให้สังคมเรารักษามารยาททางสังคมกันเถอะ

................................................



เอกสารอ้างอิง

บ้านมหาดอทคอม. (พ.ค. 2552). “มารยาทในสังคม”. ค้นคืนวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 จาก http://www.baanmaha.com/community/thread24437.html
อัจฉรา นวจินดา . “มารยาทในสังคม”. ค้นคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 จาก pirun.ku.ac.th/~agrpct/envelop/character3.doc
อมร สังข์นาค. “วิถีธรรมวิถีไทย” ”. ค้นคืนวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 จาก http://www.nayoktech.ac.th/~amon/in11_2.html
อมรรัตน์ เทพกำปนาท. (มิถุนายน 2553). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมารยาททางสังคม.: ค้นคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 2555 จาก  http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1715
www.oknation.net. (ธันวาคม 2552). “ขอโทษไม่ใช่ขออภัย”. ค้นคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 2555 จาก  http://www.oknation.net/blog/four-panya/2009/12/19/entry-1
http://web.eng.nu.ac.th . “มารยาททางสังคม”. ค้นคืนวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 จาก http://web.eng.nu.ac.th/aesthetics/document/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1.pdf

http://www.hotcourses.in.th/. (มิถุนายน 2555). “มารยาททางสังคมของชาวอังกฤษ”. ค้นคืนวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 จาก http://www.studysquares.com/england/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9/

www.udru.ac.th . “มารยาททางสังคม”. ค้นคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 2555 จากwww.udru.ac.th/website/attachments/elearning/02/19.pdf
www.oknation.net. (10 เมษายน 2555). “มารยาททางสังคม..เรื่องเล็กน้อยที่ควรใส่ใจ”. ค้นคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 2555 จาก http://www.oknation.net/blog/nookkill/2012/04/10/entry-1
http://management.aru.ac.th. “มารยาททางสังคม”. ค้นคืนวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 จาก http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/e-book/wanthanee/eb_chapter10.pdf

รูปประกอบ banner จาก www.nanatham.com
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 05:08:31 pm »

ผู้ที่ได้รับการอบรมจากครอบครัว สถาบันการศึกษา และ วัด มาแล้ว

ต้องเป็นผู้ที่เคารพในกติกาของสังคม และ สถานที่นั้นๆ

แต่

มองอีกมุม

สำหรับผู้ที่ไม่เคารพในกติกาของสังคม และ สถานที่นั้นๆ

อาจจะได้รับการอบรมจากครอบครัว สถาบันการศึกษา และ วัด นั้นๆ มาแบบนี้




.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 05:05:10 pm »

 หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved] Presentation Transcript

    1. หน่วยที่ ๓. ความเป็นพลเมืองดี
    2. หน่วยที่ ๓. การเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย หัวข้อศึกษา พลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของพลเมืองดี ความหมายของพลเมืองดี ลักษณะของพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย แนวปฏิบัติเพื่อการเป็นพลเมืองดี ความสาคัญของการเป็นพลเมืองดี ความหมายของสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่พลเมือง หน้าที่ของพลเมืองตามหลักธรรม หน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ ความหมายของพลเมืองดี คุณลักษณะพลเมืองดี ความสาคัญ ลักษณะสังคมไทย
    3. พลเมืองดีตามระบอบ ประชาธิปไตย ความหมายของพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย ลักษณะของพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย แนวปฏิบัติเพื่อการเป็นพลเมืองดี ความสาคัญของการเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างของคาว่าประชากร ประชาชน ราษฎร์ พลเมือง ความหมายของคาว่าพลเมือง หลักพื้นฐานของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
    4. ความหมายของพลเมือง
    5. ความหมายของคาว่า “พลเมือง” (Citizen) ตามรูปศัพท์ คาว่า พลเมือง มาจากคาภาษาอังกฤษว่า citizen มีรากศัพท์ มาจากภาษาลาตินว่า civitas แปลว่า เมือง, นคร กาลังของเมือง หรือ กาลังของประเทศ พล แปลว่า พละ, กาลัง เมือง แปลว่า แดน, ประเทศ, มณฑล ส่วนคาว่า พลเมือง ภาษาไทยแยกศัพท์ + รวมแปลว่า
    6. ความหมายของคาว่า “พลเมือง” (Citizen) ตามรูปศัพท์ กาลังของเมือง หรือ กาลังของประเทศ พล แปลว่า พละ, กาลัง เมือง แปลว่า แดน, ประเทศ, มณฑล ส่วนคาว่า พลเมือง ภาษาไทยแยกศัพท์ + รวมแปลว่า
    7. ความหมายของคาว่า “พลเมือง” (Citizen) หมายถึง หมู่คนที่เป็นกาลังของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่มีความ สานึกในสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของตน รวมถึงการ มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบพัฒนาความเจริญให้ประเทศชาติใน ฐานะเป็นเจ้าของประเทศ
    8. ความแตกต่างของคาว่า ประชากร – ประชาชน – ราษฎร์ - พลเมือง
    9. ความหมายแตกต่างของคาว่า ประชากร – ประชาชน – ราษฎร์ - พลเมือง กลุ่มคนพวกเดียวกันที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ๆ เน้นด้าน การมีสังกัด เช่น สมชายเป็น ประชากรไทย อายุ ๓๕ ปี ประชากร หมายถึง ชาวเมืองที่มีฐานะสามัญชน ทั่วไปที่อาศัยอยู่ในรัฐใดรัฐหนึ่ง เน้นด้าน ผู้ถูกปกครอง เช่น สมคิดเป็นพลเมืองภายใต้การ ปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราษฎร หมายถึง ประชาชน หมายถึง บุคคลที่ถือสัญชาติและได้รับ สิทธิ และการคุ้มครองตาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ เน้นด้าน การมีสิทธิ เช่น สมใจเป็น ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิได้รับ การคุ้มครองตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พลเมือง หมายถึง หมู่คนที่เป็นกาลังของประเทศ ที่ มีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อการพัฒนาประเทศเน้นด้าน สานึกในสิทธิ หน้าที่ ความ รับผิดชอบ เช่น สมชาติเป็นนัก ธุรกิจที่ประกอบอาชีพสุจริตและ เสียภาษีอย่างถูกต้องทุกครั้ง เพราะเขารู้ว่ารัฐจะนาภาษีที่เขา เสียไปพัฒนาประเทศ
    10. ความหมายของพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย
    11. ความหมายของพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองที่ ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ พลเมือง หมายถึง กาลังของประเทศ + กาลังของประเทศที่น่าปรารถนาของการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ดี หมายถึง น่าปรารถนา, น่าพอใจ+ รวมแปลว่า
    12. ความหมายของพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย หมายถึง บุคคลที่เป็นกาลังของประเทศ ที่ประเทศปรารถนาให้ เป็นผู้ที่มีสานึกในสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบโดยการยึดมั่น ในหลักศีลธรรม คุณธรรม มีหลักประชาธิปไตยในการดารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมายปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมอันจะ ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติให้เป็นสังคมประชาธิปไตยอย่าง แท้จริง
    13. คุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย
    14. คุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย คือ คุณลักษณะของบุคคลที่สามารถแสดงบทบาท หน้าที่และ ความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคม ในฐานะเป็นพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยโดยมีหลักการพื้นฐาน ๓ ประการ ดังนี้ หลักการที่ ๑ เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หลักการที่ ๒ เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม หลักการที่ ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
    15. หลักการที่ ๑ การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    16. ความหมายของการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หมายถึง การยอมรับคุณค่าของบุคคลทุกคนที่มีมาพร้อมกับความเป็นมนุษย์ โดยรัฐเป็นผู้ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่ามีคุณค่าเท่ากัน และต้องได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่า เทียม เสมอภาคตลอดไป ทั้งในเวลาที่มีชีวิตอยู่หรือสิ้นชีวิตโดยไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
    17. การเคารพในศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์ มีองค์ประกอบ ดังนี้ การสานึกรู้ในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การตระหนักในความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ การเคารพในความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม การอดทน อดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
    18. การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย การสานึกรู้ในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ การยอมรับในเกียรติภูมิของบุคคล โดยไม่คานึงถึงสถานภาพทาง สังคม และปราศจากเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา วัย คนพิการ ปัญญาอ่อน เป็นเด็ก ผู้หญิง หรือคนชรา เป็นต้น พลเมืองดีจึงต้องเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม กัน
    19. การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย คือ ความเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศอย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะร่ารวย – ยากจน เรียนมาก – เรียนน้อย พลเมืองดีจึง ต้องเคารพหลักความเสมอภาค และจะต้องเห็นตนเท่าเทียมกับผู้อื่น และเห็นคนอื่นเท่าเทียมกับตน การตระหนักในความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์
    20. การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย การเคารพในความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม คือ ความเข้าใจและยอมรับความคิดเห็นที่เกิดจากความหลากหลายทาง สังคมวัฒนธรรม โดยพร้อมที่จะพิจารณาความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยใจ เป็นธรรม และพร้อมที่จะเปลี่ยนความคิดเมื่อได้รับรู้เหตุผลและ ข้อเท็จจริงที่ดีกว่า ละถูกต้องกว่า พลเมืองดีจึงต้องมีความเข้าใจและ ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล
    21. การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย การอดทน อดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมเมื่อเกิด สถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่าง บุคคล พร้อมทั้งสามารถรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นอย่างมีสติเพื่อลด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ พลเมืองดีจึงควรเคารพความคิดเห็นที่ แตกต่างด้วยความอดทน อดกลั้น
    22. หลักการที่ ๒ เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม
    23. ความหมายของสิทธิ สิทธิ (Right) คือ ประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่บุคคลพึงได้รับตามกฎหมาย โดยรัฐบาลต้อง จัดหาให้หรือให้ความคุ้มครองพิทักษ์รักษาให้ได้ประโยชน์ในสิทธินั้น ๆ เช่น สิทธิใน ตัวบุคคลที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น
    24. เสรีภาพ (Freedom) คือ อิสระของบุคคลที่จะกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสิทธิต่าง ๆ ของตนภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการ พูด เขียน การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ความหมายของเสรีภาพ
    25. ความหมายของการเคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาทางสังคม หมายถึง การยอมรับกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสิทธิต่าง ๆ ของบุคคล โดย อยู่ภายในกรอบที่กฎหมายกาหนดและไม่อยู่ภายใต้การครอบงาของใครเพื่อความ สงบสุขของสังคม เช่น เสรีภาพในการพูด เขียน แสดงความคิดเห็นที่ไม่ละเมิด สิทธิของผู้อื่น
    26. การรู้จักสิทธิ เสรีภาพของตนเอง การเคารพและปกป้ องสิทธิ เสรีภาพของตนเอง ผู้อื่นและชุมชน การเคารพกฎกติกาสังคม การยึดหลักนิติรัฐ หลักการที่ ๒ เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยจึงให้ความสาคัญต่อสิทธิ เสรีภาพ กฎกติกาของ สังคมที่ทุกคนมีส่วนกาหนดขึ้น ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
    27. การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม ประกอบด้วย การรู้จักสิทธิ เสรีภาพของตนเอง คือ การรู้ว่าตนเองเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย และมีอิสระในการกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามสิทธิต่าง ๆ ของตน โดยไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยจึง ควรมีชีวตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและรู้จักใช้สิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานตามสถานภาพทางสังคม
    28. ลักษณะของสิทธิ เสรีภาพในความเป็นพลเมือง ๑. สิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐาน เป็นสิ่งที่สาคัญซึ่งมีมาแต่กาเนิดและบุคคลใดจะมาล่วงละเมิด ไม่ได้ เช่น สิทธิเสรีภาพในร่างกาย สิทธิในการนับถือศาสนา และสิทธิในความเป็น ส่วนตัว เป็นต้น ๒. สิทธิเสรีภาพของพลเมือง เป็นสิ่งที่ได้มาเพราะการเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งได้มี กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิทางการศึกษา สิทธิในทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นต้น
    29. ตัวอย่างสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้ มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ สาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
    30. การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม ประกอบด้วย คือ การใช้สิทธิ และเสรีภาพของตนเองเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพราะการละเมิดสิทธิ ของผู้อื่นย่อมทาให้เกิดการกระทบกระทั่งจนไม่อาจทาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข พลเมืองดี ในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย จึงควรเคารพในสิทธิของผู้อื่นและไม่ ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น การเคารพและปกป้ องสิทธิ เสรีภาพของตนเอง ผู้อื่นและชุมชน
    31. การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม ประกอบด้วย การเคารพกฎกติกาทางสังคม คือ การยอมรับข้อกาหนดที่คนในสังคมตกลงว่าจะปฏิบัติตามข้อกาหนดนั้น ๆ เพื่อให้สังคมอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข เช่น วิถีประชา จารีต กฎหมาย พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยจึงต้อง เคารพกติกาและยอมรับผลของการละเมิดกติกา ถ้ามีปัญหาหรือมีความขัดแย้งขึ้นก็ควรใช้วิถีทาง ประชาธิปไตย ไม่ควรใช้กาลังหรือความรุนแรง เช่น การปฏิบัติตามกฎจราจร การปฏิบัติตาม กฎระเบียบของสถานศึกษา การมีมารยาทในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
    32. การเคารพและปกป้ องสิทธิ เสรีภาพของตนเอง ผู้อื่นและชุมชน ๑. เคารพสิทธิของกันและกันโดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ๒. รู้จักใช้สิทธิและแนะนาให้ผู้อื่นใช้สิทธิและรักษาสิทธิของตนเอง ๓. ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ๔. รณรงค์ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคม ๕. ร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เป็นต้น
    33. การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม ประกอบด้วย การยึดหลักนิติรัฐ คือ การยึดหลักการปกครองด้วยกฎหมายที่เป็นธรรม โดยประชาชนทุกคนรวมถึงรัฐบาล จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและไม่กระทาการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยจึงควรสนใจศึกษากฎหมายที่ เกี่ยวกับชีวิตประจาวัน และยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง
    34. หลักการที่ ๓ รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
    35. คือ การตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่มีบทบาท หน้าที่ของความเป็น พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องรับผิดชอบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยไม่ ละเมิดสิทธิหรือก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม ความหมายความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
    36. หลักการที่ ๓ รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ปฏิบัติตนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม มีส่วนร่วมกันกาหนดทิศทางของสังคม แก้ปัญหาสังคมตามหลักประชาธิปไตย ยอมรับเสียงข้างมากและเคารพสิทธิเสียงข้างน้อย พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยจึงให้ความสาคัญต่อบทบาทและหน้าที่ด้วยความ รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
    37. รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ปฏิบัติตนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม คือ การทาหน้าที่ของตนเองในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม พลเมืองดีจึง ควรรับผิดชอบปฏิบัติตนเองตามสถานภาพที่ตนดารงอยู่ เช่น มีความ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น สังคมและประเทศชาติโดยการ ปฏิบัติตามหน้าที่ของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ
    38. มาตรา ๗๐ บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หน้าที่ของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๑ บุคคลมีหน้าที่ป้ องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรา ๗๒ บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มาตรา ๗๓ บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้ องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษี อากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้ อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิ ปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๗๔ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดาเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอานวยความ สะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเองที่ดี
    39. รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ร่วมกันกาหนดทิศทางของสังคม คือ การมีส่วนร่วมกาหนด เสนอแนะทิศทางของสังคมโดยการกาหนด ความต้องการผ่านการใช้สิทธิเลือกตั้ง การร่วมการประชาพิจารณ์ เป็นต้น พลเมืองดีจึงควรใช้สิทธิในการเลือกตั้งด้วยการพิจารณาผู้แทนที่ดี ที่มี ความรู้ความเข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และเป็นผู้ที่ จะทาหน้าที่แทนเราได้อย่างแท้จริง
    40. รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม แก้ปัญหาสังคมตามหลักประชาธิปไตย คือ ความตระหนักว่าตนเองเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งต้อง รับผิดชอบต่อการกระทาของตน ไม่ควรใช้สิทธิตามอาเภอใจหรือ เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ตามอาเภอใจ พลเมืองดีจึงควรรับผิดชอบร่วมกัน แก้ปัญหาสังคมด้วยการไม่ก่อปัญหา และปฏิบัติเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม เช่น นักเรียนตั้งใจเรียน ครูตั้งใจสอน รัฐบาลตั้งใจบริหาร ประเทศ เป็นต้น
    41. รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ยอมรับเสียงข้างมากและเคารพสิทธิเสียงข้างน้อย คือ การเคารพและยอมรับในสิทธิเสรีภาพ ความคิดเห็นที่แตกต่างของ ผู้อื่น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างได้ด้วยเหตุและ ผลโดยไม่ใช้ความรุนแรง พลเมืองดีจึงควรฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ที่เข้าใจ และยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล
    42. ความสาคัญของการพลเมืองดีตามระบอบ ประชาธิปไตย
    43. ความสาคัญของการพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย ๑. ทาให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง ๒. ทาให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ๓. ทาให้สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย ๔. ทาให้สังคมมีความเป็นธรรม สมาชิกทุกคนได้รับสิทธิ เสรีภาพด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ๕. ทาให้สมาชิกมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้าใจต่อกัน
    44. จบ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 05:04:42 pm »

 การเคารพกฏกติกาของสังคม
     น้องๆครับ Mr. Carekidsต้องขับรถไปทำงานทุกวัน ได้สังเกตุเห็นว่าผู้ใช้รถในเมืองไทยของเราจำนวนมากไม่ค่อยเคารพกฏจราจรกันเลยครับ เช่น ขับรถเร็วกว่าที่กฏหมายกำหนด ขับรถย้อนศร ฝ่าไฟแดง ตรงสี่แยกห้ามกลับรถก็มีการกลับรถกันดื้อๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ มีผู้คนบาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย
     น้องๆครับ การเคารพกฏเกณฑ์ของสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญและควรที่เราต้องเคารพและปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะเป็นสิ่งที่สังคมได้พิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของส่วนรวม เราจึงควรฝึกให้มีวินัยที่จะต้องปฏิบัติตามกฏของสังคมที่เราเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น

    ถ้าเราเป็นนักเรียน เราก็ต้องเคารพกฏของโรงเรียน เช่น แต่งกายให้ถูกระเบียบ เชื่อฟังคุณครู เคารพคุณครู ไม่เกเรทำร้ายเพื่อน เป็นต้น
    เวลาเราข้ามถนน ก็ต้องปฏิบัติตามกฏ คือ ข้ามทางม้าลาย หรือ ใช้สะพานลอย เพื่อความปลอดภัย
    ถ้าไปว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำ ก็เช่นกัน ควรเคารพกฏของสถานที่ เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำให้ถูกต้อง ไม่วิ่งเล่นรอบๆสระน้ำ เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
    การไปสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร แต่ละที่ก็มีกฏที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อไม่ไปสร้างความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น

     กฏของสังคมหลายๆอย่างเราอาจไม่ชอบ แต่เมื่อเป็นข้อตกลงเราต้องปฏิบัติตาม การยอมรับปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสิ่งที่เราต้องทำให้ได้ด้วยความเต็มใจเป็นนิสัยที่ดีของเยาวชนทุกคนนะครับน้องๆ สวัสดีครับ

-http://lifecanhandle.blogspot.com/2012/07/blog-post_13.html-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 05:04:12 pm »

การเคารพกฏกติกาของสังคม