ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 01:00:22 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่กบ 
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:23:56 pm »




ประวัติ หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ สำนักสงฆ์ทับมิ่งขวัญ

"ความรู้สึกตัวเป็นรากเหว้าของบุญ ความไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป" ธรรมโอวาทของ "หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ" แห่งสำนักสงฆ์ทับมิ่งขวัญ อ.เมือง จ.เลย พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

อัตโนประวัติหลวงพ่อเทียน เกิดในสกุล อินทผิว เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2454 ตรงกับวันอังคารเดือนสิบ ปีกุน ขึ้น 13 ค่ำ ที่บ้านบุฮม อ.เชียงคาน จ.เลย โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจีนและนางโสม อินทผิว

หลวงพ่อเทียน มีนามจริงว่าพันธ์ อินทผิว เหตุที่ท่านเป็นที่รู้จักในนามหลวงพ่อเทียน เนื่องจากท้องถิ่นของท่านนิยมเรียกชื่อกันตามชื่อของลูกคนหัวปี บุตรชายคนแรกของหลวงพ่อชื่อเทียน ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านจึงเรียกท่านว่าพ่อเทียน ภรรยาของท่านชื่อหอม ก็ได้รับการเรียกขานว่าแม่เทียนเช่นเดียวกัน

ในวัยเด็ก ต้องออกช่วยพ่อแม่ทำนาเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียน เนื่องจากในท้องถิ่นของท่านยังไม่มีโรงเรียน เมื่ออายุได้ราว 10 ขวบ หลวงน้าของท่านซึ่งไปเรียนหนังสือมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาขอกับบิดามารดาของท่านให้ท่านบวชเป็นเณรคอยรับใช้หลวงน้า เรียกว่าเณรใช้

ในระหว่างบวชเป็นเณรอยู่กับหลวงน้า ที่วัดบรรพตคีรี จ.เลย หลวงน้าสอนท่านให้ท่องนะโม ตัสสะ ทำวัตรเช้า วัตรเย็น อาราธนาศีล อาราธนาธรรม ดูฤกษ์ยาม ทำกัมมัฏฐาน เดินจงกรม หลวงพ่อเทียน ได้เรียนตัวลาวหรือตัวไทยน้อย และอักษรธรรมซึ่งเขียนบนใบลานกับหลวงน้า

สำหรับการเรียนการสอนนี้เป็นแบบปากเปล่า ไม่มีการเขียน ใช้วิธีจดจำ เวลากลางคืนหลังจากเลิกเรียนหนังสือแล้ว หลวงน้าจะพา หลวงพ่อเทียน เดินจงกรม หลวงน้าเป็นพระที่ขยันปฏิบัติ บางครั้งท่านก็ลุกขึ้นเดินจงกรมในเวลาดึก

ท่านได้บวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงน้าเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน จำต้องลาสิกขาบทแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อเทียน ได้มาบวชอยู่กับหลวงน้าอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระครูวิชิตธรรมาจารย์ เจ้าคณะอำเภอเชียงคาน เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ฝึกวิชาต่างๆ กับหลวงน้าต่อไปเช่นเดิม คือฝึกกรรมฐานและเรียนวิทยาคมต่างๆ นอกจากนี้ มีการเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นการทำตามประเพณี ยังไม่เข้าใจว่าธุดงค์หมายถึงอะไร การธุดงค์ที่หลวงพ่อทำในขณะนั้น คือ ไปอยู่ตามป่าช้าใกล้บ้านคน

แต่บวชเป็นพระอยู่ได้ 6 เดือน จึงลาสิกขาบท มารดาของท่านได้จัดการให้ท่านมีครอบครัว เมื่ออายุราว 21 ปี ภรรยาของท่าน ชื่อ หอม เป็นญาติกับท่าน มีบุตรชาย 3 คน

กระทั่งอายุได้ 40 กว่าปี ท่านได้เฝ้าแต่ครุ่นคิดไม่หยุดหย่อนว่า คนเราเกิดมาแล้วก็ตาย ไม่เห็นมีอะไรไปด้วย คนรวยก็ตาย คนจนก็ตาย ไม่เห็นมีอะไร มีแต่บาปกับบุญ ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจออกปฏิบัติธรรม เพื่อหาทางพ้นทุกข์ให้ได้

ท่านได้บอกความตั้งใจของท่านกับภรรยา ภรรยาของท่านจึงได้จัดเสื้อผ้าใส่กระเป๋าให้ท่าน ท่านไม่ได้บอกภรรยาของท่านว่าจะไปอยู่ที่ใด และจะไปนานเท่าไร เพียงแต่บอกว่า หากท่านไม่ตายเสียก่อนก็จะกลับมาอีก

หลวงพ่อเทียน ได้บวชเป็นพระครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2503 ที่วัดศรีคุณเมือง ต.บ้านบุฮม อ.เชียงคาน จ.เลย โดยมีพระวิชิตธรรมาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชุน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสุบรรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 48 ปี

เมื่อบวชเป็นพระแล้ว หลวงพ่อเทียนได้ทำหน้าที่สอนธรรมะให้ทั้งพระสงฆ์และญาติโยม ก่อนย้ายเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงคาน ขณะนั้น หลวงพ่อเทียนตั้งสำนักวิปัสสนาอยู่ที่อำเภอเชียงคาน 2 แห่ง คือ ที่วัดสันติวนาราม และที่วัดโพนชัย นอกจากนี้ หลวงพ่อเทียนยังได้ข้ามไปเปิดสำนักอบรมวิปัสสนาที่เมืองลาวอีกแห่งหนึ่งด้วย

หลวงพ่อเทียน เล่าว่า "บางคนไม่เข้าใจเรื่องการทำบุญ คนประเภทนั้นเมื่อไม่รู้จักบุญ ก็ย่อมเอาบุญไม่ได้ หรือทำบุญ แต่อาจกลายเป็นบาปไปได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อญาติโยมมีศรัทธาช่วยกันสร้างโบสถ์หรือกุฏิขึ้น ความรู้สึกศรัทธา ยินดีในสิ่งที่ทำนั้น ทำให้ใจเป็นสุข นับว่าเป็นบุญ แต่เมื่อลงมือสร้างไปได้สักระยะหนึ่ง มีเรื่องทะเลาะวิวาทบาดหมางใจกัน ก็กลับกลายเป็นบาปไปแล้ว เราจึงได้บุญในขณะที่เราดีใจ แต่ในขณะที่โกรธขึ้นมาความดีใจหรือบุญนั้นก็หมดไป"

ช่วงปัจฉิมวัย หลวงพ่อเทียน เริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคมะเร็ง กลางเดือนสิงหาคม 2531 ขณะเดินทางกลับจากจังหวัดเลย หลวงพ่อเทียน ถูกฝน ต่อมามีไข้สูงและอ่อนเพลียลง แพทย์ตรวจพบว่า หลวงพ่อเทียน อาพาธด้วยโรคปอดบวม จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันอาการของโรคมะเร็งได้กำเริบหนักขึ้น สุขภาพของหลวงพ่อทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว

วันอังคารที่ 13 กันยายน 2531 เวลา 18.15 น. หลวงพ่อเทียน ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ ศาลามุงแฝกของเกาะพุทธธรรมทับมิ่งขวัญ สถานที่ปฏิบัติธรรมที่หลวงพ่อเทียนได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในช่วงสุดท้ายของชีวิต