ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 10:58:21 pm »

 :13:อนุโมทนาครับผม
ตกลงน้องพีมหรือพ่อกบโพสครับ อิอิ
ข้อความโดย: ขุนแผน
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 09:58:04 pm »

                                                         


                                                      ประวัติ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน
                                                             พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม


  " จงบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญาให้เป็นอธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา" คำกล่าวปรารภของ "พระอาจารย์สิงห์" หรือ "หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม" แห่งวัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

ประวัติหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
อัตโนประวัติ หลวงปู่สิงห์ มีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2432 ที่บ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี

โยมบิดา ชื่อ นายอ้วน บุญโท มีตำแหน่งเพีย อัครวงศ์ อันเป็นตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองลาวกาว-ลาวพวน มีหน้าที่จัดการศึกษาและการพระศาสนา โยมมารดา ชื่อ นางหล้า บุญโท

พ.ศ.2446 ได้บรรพชาที่วัดบ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบล ราชธานี เมื่ออายุครบบวชได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2452 โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์

พระสิงห์ ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้ฝึกอบรมสมาธิภาวนากัมมัฏฐานอยู่กับหลวงปู่มั่น จนมีกำลังอันแก่กล้าแล้ว

เนื่องจากหลวงปู่สิงห์ ท่านเป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจจากพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก หลวงปู่มั่นจึงได้แยกย้ายไปอบรมสั่งสอนประชาชน

พระอาจารย์สิงห์ เป็นพระที่สามารถให้อุบายธรรมแก่บรรดาลูกศิษย์ โดยไม่ว่าผู้ใดติดขัดปัญหาธรรมแล้ว ท่านจะแนะนำอุบายให้พิจารณาจนกระจ่างแจ่มใสเลยทีเดียว

พระอาจารย์สิงห์ มักจะฝึกให้ศิษย์ทั้งหลายได้อสุภกรรมฐานจากซากศพที่ชาวบ้านนำมาฝังหรือใส่ โลงไม้อย่างง่ายๆ เก็บเอาไว้รอวันเผา บางครั้งท่านจะพาลูกศิษย์ไปเปิดโลงศพหรือขุดขึ้นมาดูเพื่อฝึกพระลูกศิษย์ของ ท่าน

ท่านได้เคยพาคณะศิษย์ของท่านไปปักกลดโดยยึดเอาสถานที่เป็น ป่าช้าเก่าแก่เรียกว่า ป่าช้าบ้านเหล่างา จ.ขอนแก่น ซึ่งในกาลต่อมาเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าวิเวกธรรม

ต่อมา หลวงชาญนิคม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเลื่อมใสในพระธุดงค์กัมมัฏฐาน มีประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟู จ.นครราชสีมา ให้เป็นศูนย์รวมของพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จึงได้นิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ให้ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวัน เพื่อเป็นวัดป่าตัวอย่างของฝ่ายวิปัสสนาธุระ

หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ก็รับนิมนต์ตามคำขอร้องของหลวงชาญนิคม สร้างวัดป่าสาลวันจนเป็นที่เรียบร้อย

พ.ศ.2463 พระอาจารย์สิงห์ ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาพักจำพรรษา อยู่ที่วัดบ้านนาสีดา ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านได้พบกับเด็กหนุ่มรุ่นคนหนึ่ง มีความเคารพนับถือพระอาจารย์สิงห์มากเป็นพิเศษ ได้เข้ามารับใช้อุปัฏฐากทุกสิ่งอย่าง เด็กรุ่นหนุ่มคนนั้น คือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง ซึ่งต่อมา คือ พระราชนิโรจรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) ในขณะนั้น มีอายุ 16 ปี

พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มองเห็นความตั้งใจของหลวงปู่เทสก์ตั้งแต่แรกพบ เมื่อคณะธุดงค์ของท่านจะออกจากวัดบ้านนาสีดา นายเทสก์ได้ขอติดตามพระอาจารย์ไปด้วย พระอาจารย์สิงห์ จึงได้ให้ไปขออนุญาตบิดามารดาเสียก่อน และก็ได้เป็นไปตามสภาพกุศลเกื้อกูลทุกประการ ท่านได้พาคณะธุดงค์เดินตัดตรงไปทางอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้พักจำพรรษาโดยปักกลดในบริเวณป่าช้าแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งปฏิบัติสมาธิภาวนาธรรม ชื่อว่า "วัดป่าอรัญญวาสี" อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

หลวงปู่สิงห์ ท่านได้พร่ำสอนลูกศิษย์ คือ นายเทสก์ เรี่ยวแรง ให้รู้จักเจริญพรหมวิหารธรรม ต่อมาท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์ลุย เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาสามเณรเทสก์ ขึ้นที่วัดบ้านเค็งใหม่ จ.อุบลราชธานี

ในการทดแทนพระคุณบิดามารดา พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้เดินทางไปโปรดบิดามารดาจนมีจิตใจแจ่มใสเบิกบานในธรรม ท่านได้ให้บิดามารดาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยการแนะนำไปทีละน้อยๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของบุตรพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับพระราชสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามว่า พระญาณ วิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2500

เมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2507 เวลา 10.20 น. พระอาจารย์สิงห์ได้มรณภาพลงอย่างสงบ จากอาการอาพาธด้วยโรคมะเร็ง เรื้อรังในกระเพาะอาหาร ณ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา สิริอายุ 73 ปี

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด อริยะโลกที่ 6