ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 08:44:30 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับผม ^^
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 07:37:54 pm »

อนุโมทนาค่ะ

อ่านแล้วชอบจริงเพราะตัวเองก็ยืนอยู่บนโขดหินก่้อนใหญ่โต
แล้วก็ยกกระชังไม่หยุดหย่อน ที่ไหนจะได้อะไร...
 :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 06:05:51 pm »



 :13: อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณ sasita
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 05:49:01 pm »





เคยมีอาจารย์องค์หนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหาเยอะ วันหนึ่งตอนเทศน์อบรมศิษย์ ท่านสอนว่า การปฏิบัติเหมือนเทน้ำใส่กระชอนให้เต็ม ท่านพูดแค่นั้นแล้วจบการแสดงธรรม โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ เลย ผู้ฟังก็งงทั้งนั้น ว่าจะเทน้ำใส่กระชอนให้มันเต็มอย่างไร น้ำที่เทเข้าไปต้องรั่วไหลออกมาตามรู คฤหัสถ์บางคนคิดว่าอาจารย์คงล้อเล่นโยมกระมัง หาว่าฆราวาสเราปฏิบัติอย่างไม่ค่อยได้ผล พอเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมานิดหน่อย ก็ปล่อยให้มันไหลออกไปด้วยความประมาท บรรลุธรรมชั้นสูงไม่ได้ บางคนก็ท้อใจ
           
            แต่คนหนึ่งเขาคิดว่า พระพุทธองค์ เคยตรัสสอนว่า ถ้าเราปฏิบัติดี  ปฏิบัติชอบ โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น เราต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คำพูดของอาจารย์คงไม่ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรอก เพียงแต่ว่าเรายังไม่เข้าใจความหมายของท่านต่างหาก เดี๋ยวนี้เราไม่มีเวลาที่จะไปปฏิบัติธรรม ไม่มีเวลาที่จะพักผ่อน  ไม่มีเวลาที่จะขี้เกียจ เราทำไปเรื่อยๆ ถือเป็นหน้าที่ของเรา เราจะได้ผลน้อย ได้ผลมากก็ไม่เป็นไร เราจะไม่คาดหวังอะไร เราจะทำไป จากนั้น เขาเลยลงมือปฏิบัติ อาจารย์เห็นแล้วชมเชย พาไปชายทะเลอธิบายความหมายของคำสอนของท่าน
           
            ท่านไปยืนอยู่บนหินก้อนใหญ่ที่ยื่นออกไปในน้ำ แล้วเอากระชอนนั้นลงไปในทะเล ยกขึ้นมา น้ำก็ไหลออก ทำสองสามครั้งให้เห็นว่าทุกครั้งที่ยกกระชอนขึ้นมา น้ำไหลออกไป มันไม่อยู่ ท่านบอกว่า การปฏิบัติของปุถุชนมักจะเป็นอย่างนี้ เอาธรรมะน้อมมาใส่ใจของตน แล้วมันก็อยู่ไม่นาน มันไหลออกไป แต่ว่าอันนี้ก็เพราะปุถุชนยืนอยู่บนก้อนหินแข็ง คือ อัตตา การปฏิบัติยึดอัตตาเป็นหลักอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติของฉัน ความก้าวหน้าของฉัน ความสุขของฉัน ความทุกข์ของฉัน การปฏิบัติที่ยืนบนอัตตาเป็นหลักตายตัวแล้ว ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความลึกซึ้งของพระพุทธธรรมได้
           
            อธิบายจบแล้วท่านโยนกระชอนทิ้งไว้ในทะเล กระชอนนั้นเต็มไปด้วยน้ำ แล้วก็จมไปในน้ำ
             
           “เห็นไหมล่ะ?” อาจารย์ถาม “กระชอนมันเต็มไปด้วยน้ำแล้ว”
            คือ แทนที่จะเอาธรรมะน้อมเข้าสู่ใจของเรา เราต้องเอาใจของเราน้อมไปหาธรรมะ เหมือนกับว่าเราเอาความยึดมั่นถือมั่นของเราไปทิ้งในทะเล คือ ความจริงหรือสัจธรรม ทิ้งความหวงแหนทั้งหลายเอาไว้ในความจริง ยอมรับความจริง จงปล่อยวางความคิดแล้วจิตใจของเรามันก็จะค่อยเต็มไปด้วยธรรมะ จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมะ แล้วเราก็เป็นธรรมะ เมื่อเรามีสัมมาทิฐิอย่างเต็มที่แล้ว เราจะทำอะไรจะพูดอะไร จะคิดอะไร มันก็จะเป็นธรรมะหมด  ชีวิตของเรากับธรรมะจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหมือนกับกระชอนที่เต็มไปด้วยน้ำ แล้วค่อยจมลงในน้ำ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทะเล


ที่มาสาระจากเรือนธรรม