ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2016, 03:40:51 pm »



ศีลที่เกิดจากปัญญา

แล้วมาวันหนึ่งที่จวนจะใกล้ค่ำแล้ว เห้งเจียจูงม้าพระถังซัมจั๋งนั่งอยู่บนหลังม้า คิดว่าต้องหาที่พักสำหรับคืนนี้ ครั้นเห็นหมู่บ้านเกาเล้าจึง ณ บ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านคือเกาท้ายกง มีลูกสาว ๓ คน คนโตชื่อ กล้วยไม้กลิ่นหอม(จุลศีล) คนกลางชื่อ กล้วยไม้หยก (มัชฌิมศีล) คนสุดท้องชื่อ กล้วยไม้เงิน (มหาศีล)
 
ในเวลานั้น ทั้งบ้านได้รับความทุกข์โศกด้วยปีศาจหมูตนหนึ่งเข้าข่มขืนชำเรากล้วยไม้เงิน จะใช้หมอผีใดมาขับไล่ ก็ไม่สามารถไล่ไปได้ เพราะปีศาจมีฤทธิ์มาก ปีศาจหมูตนนี้ ชื่อ ตือหงอเหนง (ทุศีล) เป็นปีศาจ ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก มีอาวุธวิเศษคือ คราดเก้าซี่ (สังฆคุณ ๙) เมื่อได้ฟังเรื่องบอกเล่า เห้งเจียจึงขันอาสาที่จะปราบปีศาจตนนี้ให้ โดยปลอมกายเป็นนางจุ๋ยลั้น (กล้วยไม้เงิน) เมื่อปีศาจหมูมาถึงห้องนอนตรงเข้าปลุกปล้ำทันที
 
นางจุ้ยลั้น(เห้งเจียแปลงกาย) ทำทีเป็นดิ้นรนพักหนึ่งแล้วแปลงกายกลับเป็นเห้งเจีย สู้รบกันเป็นสามารถต่างแปลงกายในรูปร่างต่างๆ เห้งเจียเห็นว่าปีศาจตนนี้มีความสามารถมาก จึงสู้กันไปต่างพูดจาไถ่ถามกันไป
 
ตือหงอเหนงจึงรู้ว่าพระถังซัมจั๋ง คือผู้ที่จะไปอาราธนาพระไตรปิฎก ที่ไซทีจึงเข้าถวายคำนับและนับถือเห้งเจียเป็นพี่ พร้อมขอติดตามไปไซทีด้วย พระถังซัมจั๋งจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า ตือโป้ยก่าย (มิจฉาศีล) ทั้งคณะต่างเปลี่ยนรองเท้าใหม่ แล้วอำลาเกาท้ายกงออกเดินทางจากหมู่บ้านเกาเล้าจึง บ่ายหน้า สู่ไซที
 
(ในระยะแรกศีลยังเป็นมิจฉาศีล ยังไม่มีปัญญากำกับให้อยู่ในสัมมาศีล จึงยังเป็นทุศีล และมีความปรารถนาในศีลชั้นเลิศ คือ มหาศีล เปรียบเช่น การเข้าข่มขืนนางจุ๋ยลั้น (กล้วยไม้เงิน = มหาศีล) คือ การเสแสร้งแสดงตน ว่าเป็น ผู้ถือศีลชั้นเลิศ
 
คราด ๙ ซี่ที่ตือโป้ยก่ายใช้เป็นอาวุธนั้น ได้แก่สังฆคุณ ๙ หมายถึง คุณธรรม ของพระสงฆ์ ๙ ประการ ได้แก่
 
๑. สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
 
๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
 
๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
 
๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร พอเหมาะพอควร
 
๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ
 
๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
 
๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน คือ ควรแก่การทำบุญ
 
๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่กราบไหว้
 
๙. อนุตตรํ ปุญญักเขตตํ โลกสฺสะ เป็นเนื้อนาบุญของโลก แหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีของโลก)




จาก http://www.khuncharn.com/skills

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1