ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 11:59:47 pm »



อุปกิเลส ๑๐  ดุจพงหนามของผู้ปฏิบัติธรรม


พระถังซัมจั๋งและสานุศิษย์ออกเดินทางจากเมืองเจ่จั้ยก๊ก มุ่งหน้าสู่ทิศปราจีน บรรลุถึง“ทางที่ไม่มีคนเดินนานแล้ว จึงเกิดพงหนามยาว ๘๐๐ โยชน์” โป้ยก่ายเนรมิตร่างกายตนเองให้ใหญ่แล้วใช้คราดวิเศษกวาดพงหนาม นำหน้าคณะคืบหน้าไปที่ละน้อย
 
จนเวลาจวนจะค่ำหาพ้นดงหนามไปได้ไม่ ศิษย์และอาจารย์เดินเปะปะมาพบศาลเจ้า ขณะที่รีรอกันอยู่นั้นปีศาจตาเฒ่าจับโป้ยกง (สุข) กับปีศาจหน้าเขียว (นิกันติ) ออกมาร้องเชิญให้พระถังซัมจั๋งกินขนมแก้หิว เห้งเจียพิจารณาแล้วรู้ว่าเป็นปีศาจจึงชักตะบองออกจากหูเงื้อจะตีปีศาจเฒ่า จับโป้ยกงและปีศาจหน้าเขียวจึงบันดาลให้ สายลมหอบพระถังซัมจั๋งหายไป เห้งเจีย โป้ยก่าย ซัวเจ๋งต่างเที่ยวตามหากันโกลาหลไม่พบ
 
ฝ่ายปีศาจเฒ่าจับโป้ยกงหอบพระถังซัมจั๋งมาได้แล้วเรียกปีศาจน้องชายอีก ๓ คน คือ โกเต็กกง(วิริยะ) ลินกงจื้อ(ปัสสัทธิ) และฮุดหุ้นโซ้ (อุเบกขา)ให้มาฟังพระถังซัมจั๋งเทศนา ปีศาจตาเฒ่าทั้งสี่นั้นเป็นปีศาจ ที่ใคร่ต่อการฟังธรรมยิ่งนัก
 
เวลานั้นเดือนหงาย(โอภาส) กระจ่างฟ้า พระถังซัมจั๋งให้มีใจเคลิบเคลิ้ม (ญาณ) และยินดีต่อการแสดงธรรมจึงได้เทศน์เสียไพเราะลึกซึ้ง เป็นอัศจรรย์ปีศาจทั้ง ๔ สรรเสริญกันไม่หยุดปาก แล้วชวนพระถังซัมจั๋งต่อกลอนโต้กันไปมาเป็นเพลิดเพลิน
 
ยังมีปีศาจอีกตนหนึ่งคือนางเซียนหนึง(ปิติ) เห็นพระถังซัมจั๋งแล้ว ให้มีใจรักใคร่กำหนัด ครั้นเห็นพระถังซัมจั๋งกำลังเคลิบเคลิ้ม จึงได้กล่าวเกี้ยวพาราศีด้วยโคลงกลอนอันไพเราะกลางแสงเดือน ฝ่ายพระถังซัมจั๋งเพิ่งรู้สึกตัวว่าถูกผู้หญิงเกี้ยว ก็โกรธร้องตวาดไล่แล้วตัวเองวิ่งหนี ฝ่ายพวก ปีศาจทั้งหลายคือตาเฒ่าทั้ง ๔ พร้อมทั้ง สาวใช้ ๒ คน (สติ และอธิโมกข์) ของนางเซียนหนึง(ปิติ)รุมล้อมวิ่งไล่จับพระถังซัมจั๋งและสกัดไว้ทุกทิศ พระถังซัมจั๋ง จนมุมอยู่ตรงกลางจึงส่งเสียงตวาดนางเซียนหนึง(ปิติ)
 
เสียงตวาดของพระถังซัมจั๋ง ทำให้เห้งเจีย (ปัญญา)จำได้จึงขานรับ ขณะนั้นเองเมื่อพระถังซัมจั๋งได้ยินเสียงเรียกของเห้งเจีย ปีศาจทั้ง ๘ พลัน อันตรธานหายไปเพราะเสียงของเห้งเจีย (ปัญญา) เห้งเจียเห็นพระถังซัมจั๋งนั่งเคลิบเคลิ้มอยู่ที่เพิงหินมีต้นไม้ครึ้มแผ่คลุมอยู่ จึงได้กำหนดรู้ว่าเป็นปีศาจต้นไม้ทั้ง ๘ นั่นเองที่จับพระถังซัมจั๋งไว้ คือ
 
ตาเฒ่าจับโป้ยกง คือ ปีศาจต้นสน (สุข)
 
ตาเฒ่าโกเต็กกง คือ ปีศาจตันเป็ก (ปัคคาหะ)
 
ตาเฒ่าลินกงจื้อ คือ ปีศาจต้นไทร (ปัสสัทธิ)
 
ตาเฒ่าฮุดหุ้นโซ้ คือ ปีศาจต้นไผ่ (อุเบกขา)
 
นางเซียนหนึง คือ ปีศาจต้นตะเคียน (ปิติ)
 
สาวใช้ คือ ปีศาจต้นสารภี (อุปัฏฐาน)
 
สาวใช้ คือ ปีศาจต้นอบเชย (อธิโมกข์ )
 
ปีศาจหน้าเขียว คือ ต้นเคี่ยม (นิกันติ)
 
เดือนหงาย (โอภาส)
 
เคลิบเคลิ้ม (ญาณ)
 
เห้งเจียบอกโป้ยก่ายให้รู้ โป้ยก่ายเอาคราด ๙ ซี่ สับต้นไม้ๆ ปรากฏมีโลหิตไหลออกมา โป้ยก่ายจึงถอนรากถอนโคนเสียจนตายสิ้น
 
(ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายเมื่อเฝ้าสังเกตด้านในจนเกิดอุททยัพพยญาณ ได้เห็นการเกิดดับของสังขารแล้วก็จะบังเกิดอุปกิเลสในระหว่างวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ คือ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ
 
 
๑. โอภาส คือ แสงสว่าง จนสำคัญว่าตนได้ของวิเศษ
 
๒. ญาณ คือ ความรู้แจ่มแจ้งในธรรม จนสำคัญตนว่าบรรลุอรหัตผล
 
๓.ปัสสัทธิ ความสงบรำงับเกิดขึ้น แบบไม่เคยประสพมาก่อนจน สำคัญตนว่า บรรลุอรหัตผลแล้ว
 
๔. ปัคคาหะ (ความเพียร)
 
๕. ปิติ (ความอิ่มใจ)
 
๖. สุข (ความสุขสบายใจ)
 
๗. อุเบกขา (ความมีจิตที่เป็นกลาง)
 
๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า)
 
๙. อธิโมกข์ (น้อมใจเชื่อ)
 
๑๐. นิกันติ (ตัณหา-อาลัย ความพอใจ ติดใจ)
 
เป็นเส้นทางที่ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องผ่าน(มรรค) และเข้าใจในอุปกิเลสที่เกิดขึ้น เมื่อใช้ปัญญาพินิจ หยั่งรู้ความจริง ว่าเป็นเพียง “มรรค-หนทาง” เท่านั้น หาใช่การบรรลุไม่)


จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=21

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1