ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 07, 2016, 06:30:54 pm »



นักวิทย์ฯบุกวัดที่หิมาลัย พิสูจน์ชัด “ทำสมาธิ” ส่งผลดีต่อสมอง

แคนาดา : เว็บไซต์ medicalxpress.com รายงานว่า เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้นำพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปเข้าไปในห้องแล็บ เพื่อตรวจวัดคลื่นสมองขณะกำลังทำสมาธิ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เดินทางไปยังแถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล เพื่อตรวจวัดคลื่นสมองของลามะทิเบตที่กำลังทำสมาธิภายในวัด

งานวิจัยดังกล่าวทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2016 เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย (UVic) และมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย วิทยาเขตโอคานากัน (UBCO) นำโดยโอลาฟคริโกลสัน นักประสาทวิทยาแห่ง UVic และกอร์ดอน บินสเต็ด คณบดีคณะพัฒนาสุขภาพและสังคมแห่ง UBCO

เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำสมาธิหรือการเจริญสติช่วยให้เราเข้าถึงสภาวะสมองที่ก่อให้เกิดความสุข รู้จักไตร่ตรองและมีสมาธิ การทำสมาธิระดับลึกมีความสัมพันธ์กับความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าที่เซลล์ประสาทส่งออกมา แต่ยังไม่ทราบว่ามันทำงานอย่างไร

ทีมวิจัยจึงได้นำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ที่ออกแบบเพื่องานวิจัยครั้งนี้ มาคาดศีรษะลามะ 27 รูป ซึ่งพำนักอยู่ภายในวัดนัมจิและวัดเต็งโบจิ ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นขณะทำสมาธิ



ผลลัพธ์ที่ได้ สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้า โดยเบื้องต้นพบว่ามีคลื่นไฟฟ้าในสมองเพิ่มมากขึ้นขณะทำสมาธิ ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเดิมที่ว่ามันจะหยุดพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นสมองระดับอัลฟา (เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลาย) คลื่นสมองระดับเบต้า (เกี่ยวข้องกับสมาธิ) และคลื่นสมองระดับแกมม่า (เกี่ยวข้องกับการประสานกลมกลืน) และสิ่งที่ค้นพบใหม่คือ ปฏิกิริยาที่เซลล์ประสาทมีต่อสิ่งเร้าที่มองเห็นได้ มีเพิ่มขึ้นหลังการทำสมาธิ

บินสเต็ด กล่าวว่า “ผลวิจัยเบื้องต้นบอกเราว่า มีความเป็นไปได้ที่เทคนิคการฝึกสมอง เช่น การทำสมาธิ อาจส่งผลกระทบยาวนานต่อการทำงานของสมอง ซึ่งผลงานวิจัยนี้และในอนาคต อาจนำไปใช้ได้ในทุกๆเรื่อง จากกลยุทธ์ที่ครูใช้สอน ไปจนถึงการพัฒนาแอปฯทำสมาธิบนสมาร์ทโฟน”

ขณะที่คริโกลสันกล่าวว่า “เราแทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับสมอง เรารู้เพียงเล็กน้อยในเรื่องการเรียนรู้และการตัดสินใจของคนเรา งานวิจัยชิ้นนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างภาพการทำงานของสมองในอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังมีหลายส่วนที่ขาดหายไป”



(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 189 กันยายน 2559 โดย เภตรา)

จาก http://dhammapiwat.com/news-update/187030916/

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22105.0