ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2016, 05:32:00 pm »

<a href="https://www.youtube.com/v/84lwDqKmOPY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/84lwDqKmOPY</a>


    เรื่องเล่าจาก VR 019 “มนัส ทรงแสง” อดีตรองอธิบดีกรมไปรณีย์โทรเลข และอดีตรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ถึง VR 009 พระราชอัจฉริยภาพทางด้านการสื่อสารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการใช้งานวิทยุสมัครเล่น



  นายมนัส ทรงแสง อดีตรองอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ผู้ใช้รหัสนักวิทยุสมัครเล่น VR019 เล่าให้ฟังถึงพระราชอัจฉริยภาพทางด้านการสื่อสารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ว่าพระองค์ท่านถือเป็นที่สุดแล้วในประเทศไทย และไม่มีใครเทียบเคียงได้ และเชื่อว่าพระองค์ท่านไม่ได้ไปไหน และยังอยู่ในหัวใจนักวิทยุสมัครเล่นกว่า 2-3 แสนคนทั่วประเทศ
       
       พร้อมกับกล่าวถึงเหตุการณ์ประทับใจตลอดช่วงเวลาที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท ทั้งในส่วนของการที่พระองค์ท่านให้ความสนใจในการใช้งานคลื่นถวามถี่วิทยุของทั้งส่วนราชการ และเอกชน รวมถึงเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ หรือเกิดเหตุขัดข้องในการใช้งานก็จะมีการพระราชทานคำแนะนำให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเชิงเทคนิค



      สำหรับเหตุการณ์แรกที่ประทับใจ คือ เมื่อตอนที่ศูนย์วิทยุสายลมได้เครื่องรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ FT-726R มาใช้งานจาก VR241 หรือ สนั่น นภาศักดิ์ นักวิทยุสมัครเล่น ที่ซื้อเข้ามาในประเทศไทย 3 เครื่อง โดยเครื่องแรกได้ทูลเกล้าถวายพระองค์ท่าน เครื่องที่สองได้ส่งมอบให้แก่ศูนย์วิทยุสายลม และเครื่องที่สามแก่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า แต่สุดท้ายก็กลับมาอยู่ที่ศูนย์สายลมจากเหตุผลที่ว่า มีปุ่มเยอะเกินไป ไม่เหมาะกับการใช้ในศูนย์ราชการ
       
       “เมื่อติดตั้งเครื่องวิทยุเรียบร้อย แต่เจ้าหน้าที่ใช้ไม่ถูกก็มีการรายงานของสมาชิกว่า มีการส่งสัญญาณแปลกๆ โดยพระองค์ท่านได้ติดต่อเข้ามา และทรงแนะนำ เนื่องจากเครื่องรุ่นนี้มีปุ่มเยอะมาก พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงอธิบายทีละปุ่มว่า ควรปรับตั้งค่าปุ่มไหน ไปที่ทิศกี่นาฬิกาด้วยภาษาธรรมดาเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องได้ พร้อมกับทรงแนะนำ และทดสอบด้วยพระองค์เองว่า ส่งสัญญาณได้แล้วหรือยัง มีค่าความเบี่ยงเบนของสัญญาณหรือไม่”
       
       นอกจากนี้ พระองค์ยังตรัสอีกว่า เครื่องของสายลม และเครื่องของ VR 009 เป็นเครื่องพี่เครื่องน้องกัน พร้อมกับทรงแนะนำในการใช้งาน พูดถึงเรื่องคลื่นรบกวน การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า รวมถึงลูกเล่นต่างๆ ในเครื่องนี้ ซึ่งพระองค์สามารถตอบได้หมด ที่สำคัญ คือ ในเวลาที่ติดต่อสื่อสาร เมื่อต้องการพูดแทรกเข้ามานักวิทยุสมัครเล่นจะใช้คำว่า “เบรก” แต่พระองค์ท่านใช้คำว่า “ขออนุญาต”



เครื่องรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ FT-726R

      ส่วนอีกเหตุการณ์ที่สำคัญ คือ เมื่อปี 2528 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13 ซึ่งขณะนั้นตนเป็นหัวหน้าศูนย์สายลม เป็นหัวหน้าฝ่ายช่าง ทำหน้าที่วางระบบสื่อสารรายงานผลการแข่งขันกีฬาที่แข่งขันกัน 2 แห่ง คือ กรุงเทพฯ และชลบุรี ที่การสื่อสารต้องใช้วิทยุวอล์กกี้ทอล์กกี้บนคลื่นความถี่ VHF ที่มีปัญหาในช่วงแรก เนื่องจากส่งสัญญาณไม่ถึง เมื่อต้องติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณที่เขาฉลาก ก็พบปัญหาสัญญาณรบกวน
       
       “จังหวะนั้นได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์ท่านติดต่อเข้ามาถึง VR 019 พร้อมกับรับสั่งว่า พระองค์ท่านรับฟัง และติดตามอยู่ ทรงถามถึงความถี่ภาคส่ง ความถี่ภาครับ วิธีการติดตั้งเสาอากาศเป็นอย่างไร ความสูงระดับไหน แล้วทรงแนะนำการติดตั้งเสาสัญญาณ การติดตั้งตัวกรองคลื่น ใช้เวลาประมาณ 45 นาที จนใช้การได้”
       
       โดยขณะที่ทดลองทรงให้ปรับมาใช้ความถี่ย่าน UHF ของพระองค์ท่าน เพื่อติดต่อกัน หลังจากนั้น ทุกวันช่วงบ่ายจะทรงติดต่อเข้ามาทุกวัน โดยติดต่อสมาชิกในพื้นที่เพื่อถามถึงเครื่องทวนสัญญาณ ผลการแข่งขันเรือใบเป็นอย่างไร จะทรงขอทราบผลรายงานสัญญาณจากศูนย์สายลมตลอด ถ้ามีสิ่งผิดปกติจะแจ้งเข้ามา แล้วสอนวิธีการแก้ไขให้ปรับปรุงอุปกรณ์
       
       ส่วนเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด คือ “สัญญาณจากฟ้า VR 009” ที่เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นจริงจากเหตุวาตภัยที่อำเภอ สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีนักวิทยุสมัครเล่นรวมกลุ่มกันออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน และติดต่อเข้ามายังศูนย์สายลม เพื่อเตรียมการ ขณะนั้น พระองค์ท่านติดต่อเข้ามา เพื่อแนะนำวิธีที่ถูกต้องในการออกไปช่วยเหลือประชาชน
       
       “สิ่งสำคัญ คือ การไม่เข้าไปเป็นภาระของคนในพื้นที่ พร้อมเตรียมระบบเครื่องมือสื่อสารที่มีความพร้อม ด้วยการนำวิทยุในรถยนต์ไปติดตั้งในตัวเมือง โดยให้หาพื้นที่สูงติดกับเสาสัญญาณ เพื่อให้นักวิทยุที่เข้าไปในพื้นที่สามารถติดต่อออกมาได้ และยังละเอียดถึงขั้นต้องเตรียมเรื่องแบตเตอรี่สำรอง ต้องมีฉนวนหุ้มแบตเตอรี่ป้องกันไม่ให้โดนโลหะ หรือเศษสตางค์ทำให้ช็อต และไม่มีพลังงานใช้”
       
       นอกจากนี้ ก็จะมีเรื่องพระราชอารมณ์ขันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อตอนหนึ่งพระองค์ ท่านถามเข้ามาในข่ายสายของศูนย์สายลม ที่เป็นเครือข่ายราชการว่า พระองค์ท่านสามารถใช้ข่าย “VR 009” ในการติดต่อสื่อสารนั้นถูกต้องหรือไม่ ทางศูนย์สายลม ซึ่งได้เตรียมการไว้ให้ท่านแล้ว ก็ได้ถวายให้พระองค์ท่านใช้ข่าย “สายลม 09” ในการติดต่อผ่านข่ายราชการแทน
       
       “พระองค์ท่านทรงมีระเบียบวินัย มีการใช้วิทยุอย่างคล่องแคล่วในการติดต่อสื่อสาร ถ้าเป็นเครือข่ายวิทยุก็จะใช้ VR009 แต่ถ้าติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายราชการก็จะเปลี่ยนไปใช้สายลม 09 แทน นอกจากนี้ คณะกรรมการสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยุอาสาสมัคร ยังได้มีการเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง และสัญญาณเรียกขาน HS 1A”
       
       สุดท้าย พระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณกับวงการวิทยุสื่อสารอย่างมากมายมหาศาล เนื่องจากในยุคแรกการขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสารทำได้ยากมาก ต้องขอนุญาตสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งไม่เห็นด้วยจะให้ใช้ จึงมีใช้เฉพาะทหารอเมริกัน พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข นำความกราบบังคมทูลขอพระราชวินิจฉัย และมีพระราชวินิจฉัยให้ใช้วิทยุสื่อสารเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ โดยให้มีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องแอบใช้กัน
       
       “พระองค์ท่านรับสั่งว่า ก็ดีสิ เขาได้ภูมิใจ จากนั้น จึงมีการตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัครขึ้น แล้วทูลเกล้าฯ ถวายควอไซท์ VR 009 เมื่อถวายแล้วท่านรับ และใช้ตอนแรกๆ ใช้เฉพาะข้อความสั้น จำได้ว่า ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา พล.ต.ต.สุชาติ ได้ให้สมาชิกมาถวายพระพรในคลื่นความถี่ พอถวายพระพรเสร็จแล้ว พล.ต.ต.สุชาติ ได้สรุปว่า มีผู้มาถวายพระพรกี่คน หลังจากนั้น VR 009 ได้เรียกเข้ามาว่า ขอบใจ VR 001 (พล.ต.ต.สุชาติ) ที่ได้มาอวยพรวันเกิดให้ VR 009 ในวันนี้”
       
       ทั้งนี้ ช่วงที่พระองค์ติดต่อเข้ามาบ่อยๆ คือ ราวปี 2528 ที่พระราชทานความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งเสาอากาศ พระราชทานความรู้ นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนในประเทศไทย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และจะทำความดีเพื่อสังคม ในงานพระบรมศพเราจะไปให้บริการอำนวยความสะดวกกับประชาชนด้วย โดยเฉพาะหลังวันที่ 28 ต.ค. ประชาชนคงมามาก นักวิทยุสมัครเล่นจะไปทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชน

จาก http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000105403

<a href="https://www.youtube.com/v/HVkirn45BQ4" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/HVkirn45BQ4</a>


คลิปเสียงที่ในหลวงทรงติดต่อสนทนากับศูนย์ควบคุมค่ายวิทยุสายลม โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน VR009 ในสมัยนั้น ซึ้งในช่วงนั้นเป็นช่วงปี พ.ศ.2528 ซึ่งในกรุงเทพฯ ได้เกิดน้ำท่วม และทรงได้แนะนำในเรื่องการใช้วิทยุสื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการแก้ปั­ญหาน้ำท่วมในครั้งนั้น และทรงใช้คำพูดในการสนทนาแบบเรียบง่ายเป็นกันเองในการติดต่อกับศูนย์วิทยุสายลม ซึ่งผมฟังดูแล้วรู้สึกประทับใจมากครับ และปลาบปลื้มอย่างยิ่งครับผม

<a href="https://www.youtube.com/v/o5oIZAsS8n8" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/o5oIZAsS8n8</a>