ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2016, 03:34:50 am »




24 ตุลาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ น้อมถวายอาลัย เดือนแห่งการสูญเสีย “สองธรรมราชา”



ในหนังสือ "สองธรรมราชา" สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงให้สัมภาษณ์กับคุณอัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ เกี่ยวกับความรู้สึกที่เคยเป็นพระอภิบาลของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งทรงพระผนวชและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า ...

 "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯ มาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชฌาย์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จึงทรงลาผนวช อยู่ ๑๕ วัน

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระพี่เลี้ยงก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้มอบหมายให้สนองพระเดชพระคุณ  จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้มีความรู้สึกว่า 

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้  แต่ทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง  มิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า 'หัวใหม่' ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ  แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา



ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า 'บวชด้วยศรัทธา' เพราะทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

ในหนังสือในหนังสือ 99 คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับทั้งสองธรรมราชาไว้ว่า

 ช่วงก่อนที่จะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มักเสด็จฯ ไปที่วัดเพื่อสนทนาธรรม โดยรับเสด็จที่โบสถ์บ้าง ที่ตำหนักบ้าง แต่ช่วงหลังไม่สะดวก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนิมนต์เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กับพระสงฆ์อีก ๑๕ รูป เข้าไปในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อถวายสังฆทานทุกวันจันทร์ หลังจากถวายสังฆทานแล้ว จะทรงสนทนาธรรมเป็นเวลานับชั่วโมง



นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปบันทึกโอวาทและเทศนาต่างๆ ในพระอุโบสถ และคำสอนพระใหม่ คำอบรมกรรมฐานตอนกลางคืน ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมมสาโร) วัดราชผาติการาม แล้วนำไปฟัง ซึ่งน่าจะเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๐

พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร อดีตนายตำรวจราชสำนัก กล่าวถึงเรื่องเดียวกันนี้ว่า

“ผมเชื่อว่าท่านทรงขึ้นต้นถูก และได้ครูที่มีความสามารถ ครูองค์นี้หรือรูปนี้ คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ท่านเป็นพระพี่เลี้ยงพระเจ้าอยู่หัวในขณะที่ประทับอยู่ที่วัดบวรฯ เพราะฉะนั้นก็ได้ครูธรรมที่เรียกว่าชั้นยอดที่สุดของเมืองไทย

ผมเห็นท่านทรงศึกษาจากตำราของครูบาอาจารย์เอง เสด็จฯ ไปที่ไหนก็ตาม ที่มีพระที่มีความรู้ทางกรรมฐาน ทางวิปัสสนาจะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมและรับสั่งกับพระเหล่านี้ทุกรูป



สองธรรมราชาคู่พระบารมีแห่งแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม



ดังนั้น เดือนตุลาคมนี้...จึงเป็นเดือนที่มีคาวามสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นเดือนที่มีวันคล้ายวันประสูติ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2456

สิ้นพระชนม์วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

และการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559

ทั้งสองงพระองค์ถือเป็นสองธรรมราชาคู่บุญ คู่บารมีแห่งแผ่นดินไทย เดือนตุลาคมจึงนับเป็นเดือนแห่งความสูญเสียครั้งสำคัญ ในหน้าประวัติศาสตร์ประเทศไทย


น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

ทีมข่าว ปัญญาญาณ ทีนิวส์

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/209978/