ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 03:50:14 am »



ศูนย์ค้ำคูณแหล่งรวมปราชญ์อีสาน

ปลุกสำนึกชาวบ้านตื่นตัว! คืนระบบนิเวศห่างไกลโรค
 
อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีจำนวนประชากร 43,000 คน ร้อยละ 90 ของประชากร ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพ ค้าขาย การประมงในเขื่อนอุบลรัตน์ รับจ้างและรับราชการ ทีมงานแพทย์ พยาบาลและบุคลากร ภายใต้การนำของ นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผอ.รพ. อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มุ่งมั่นอยากให้ประชาชนกินดีอยู่ดี มีสุขภาพดี ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปัญญา แต่...เริ่มแรก ก็หลงทาง เพราะมีความเชื่อว่า สุขภาพดี หมายถึง โรงพยาบาลดีเท่านั้น
 
เมื่อทีมงานหลงทาง จึงได้เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ปี 2534 โดยทีมงานวิจัยได้ลงไปในหมู่บ้านไปดูชาวบ้านและดูคนไข้ทุกคน ตลอดจนดูคนไข้ที่สถานีอนามัยและที่โรงพยาบาลไปพร้อมกัน พบว่าคนไข้ในช่วงนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่รักษาหายไม่รักษาตายหรือพิการ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ท้องนอกมดลูก ปอดบวม หรือไข้เลือดออก กลุ่มนี้ต้องการการดูแลจากหมอและพยาบาลอย่างใกล้ชิด กลุ่มที่ 2 รักษาตายไม่รักษาหาย หรือที่เรียกพื้น ๆ ว่าโรคหมอทำ กลุ่มนี้ใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทีมบุคลากรช่วยกันทำ อาศัยการจัดการความเสี่ยง
 
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่รักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย เช่น ไข้หวัดเล็กน้อย และ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มรักษาก็ตายไม่รักษาก็ตาย เช่น เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น ซึ่งกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 รวมกันร้อยละ 76 ซึ่งถ้าบอก คนไข้ว่าเป็นอะไรรีบไปหาหมอ สองกลุ่มนี้จะไปกันเต็มโรงพยาบาล เพราะฉะนั้น กลุ่มที่ 3 กับกลุ่มที่ 4 ต้องหาแนวร่วม โดย รพ.อุบลรัตน์ได้หาแนวร่วมเริ่มจากไปพัฒนาบุคลากรตามสถานีอนามัยทั้ง 8 แห่ง อย่างเต็มที่และเป็นระบบ นอกจากนั้น ยังร่วมกับร้านขายยาและกองทุนยา จำนวน 300 แห่ง ทำบุญช่วยคนไข้โดยจ่ายยาดีมีคุณภาพ พร้อมนิเทศติดตามสม่ำเสมอได้ 250 แห่ง
 
ผลปรากฏว่า ภายหลังนำร่องได้ช่วยดูแลคนไข้ได้ 70,000 ครั้ง แต่ที่ต้องทึ่ง อย่างไม่น่าเชื่อก็คือ มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะให้บริการ แพทย์พื้น  บ้านทั้งนวด อบสมุนไพร คือ ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลผู้ป่วย ทำให้เมื่อปี 2547 ก็สามารถช่วยดูแลคนไข้ไปได้ถึง 20,000 ครั้ง ผลจากคนไข้   ลดน้อยลง ทำให้ทีมสุขภาพมีเวลาไปดูแล สร้างสุขภาพของแม่และลูกของ   ผู้สูงอายุ แต่กลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ทำให้การเจ็บป่วยลดน้อยถอยลง จากระบบป้องกันโรคด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน ราคาไม่แพง เพื่อที่ควบคุมโรคระบาดในกลุ่มต่าง ๆ
 
ทำให้ทีมงานสุขภาพของ รพ.อุบลรัตน์ ไปเรียนรู้จากภูมิปัญญาของชาวบ้านหรือจากปราชญ์ ซึ่งคนกลุ่มนี้อาศัยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ ใช้ระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดมีความสุข มีสุขภาวะดีทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา ทำให้อัตราการตาย อัตราการป่วยน้อยลง อัตราที่จะต้องมาโรงพยาบาลน้อยลง
 
ผลพวงที่ได้รับที่สำคัญที่สุด ก็คือ เกิดพลังในกลุ่มชาวบ้าน เองที่จะมาช่วยโรงพยาบาล ยกระดับให้เป็นโรงพยาบาลเพื่อชุมชน เป็นของ ชุมชน และโดยชุมชนเอง ส่งผลให้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนี้เป็นจริงมากขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เหล่านี้
 
กล่าวง่าย ๆ คือ ชาวบ้านหรือปราชญ์ ชาวบ้าน ที่อาศัยหลักอริยสัจสี่ คือ รู้ทุกข์    รู้สาเหตุ รู้ทางเลือก และการวางแผนปฏิบัติ โดยนำแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้ ด้วยการรู้จักตนเอง ลดรายจ่าย อุดรูรั่วทั้งหลาย รวมทั้งรู้จักการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมเงิน สั่งสมกัลยาณมิตร
 
ทำให้สภาพดินดำ น้ำชุ่ม ป่าอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศอันบริสุทธิ์ กลับมาอีกครั้ง เพราะไม่มี การใช้ยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง รวมทั้งปุ๋ยเคมีก็ลดลง หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักแทน
 
ส่งผลให้มีพืชผักและสมุนไพรเพิ่มขึ้น   มีกุ้ง หอย ปู ปลา และหมู เห็ด เป็ด ไก่กิน คือ มีอาหารมากขึ้น สะอาดขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น มีกินมีออมมากขึ้น จนสามารถลดหนี้สินได้ เด็ก ๆ ขาดสารอาหารน้อยลง ปัญหายาเสพติด คนแก่ไม่มีคนดูแลลดน้อยลง ไม่มีความเครียด ไม่มีความเหงา สามีภรรยารักใคร่กันดี และการอพยพแรงงานไปที่อื่น แล้วติดเอดส์กลับมาไม่มี
 
ในที่สุดจึงได้เกิด ศูนย์ค้ำคูณ ขึ้นที่บ้านทุ่งโป่ง อ.อุบลรัตน์ มี นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผอ.รพ.อุบลรัตน์ เป็น ผอ.ศูนย์ฯ จากนั้นก็มีมูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จ.ขอนแก่น มี นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น เป็นประธานมูลนิธิฯ มีปราชญ์ชาวบ้าน เช่น พ่อเธียง ไทยดี จาก จ.สุรินทร์ พ่อผาย สร้อยสระกลาง จาก   จ.บุรีรัมย์ พ่อประคอง มนต์กระโทก จาก จ.นครราชสีมา พ่อบุญเต็ม     ชัยลา อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น ฯลฯ รวม 10 คน จากทุกจังหวัดในอีสานอยู่ในทำเนียบของศูนย์
 
“ผลงานเชิงประจักษ์ในปราชญ์ชาวบ้านเป็นสิ่งดีงาม และสำคัญต่อประเทศชาติบ้านเมือง ช่วยให้คนไทยและสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต จนเกิดสุขภาวะดีทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคมและทางจิตวิญญาณ” นพ.วีระพันธ์ ประธานมูลนิธิฯ กล่าว
 
น่าเสียดาย ทั้ง ๆ ที่มีสิ่งดี ๆ อยู่ปลายจมูกชาวเมืองหมอแคนขอนแก่นแท้ ๆ แต่...ไม่สนใจฝักใฝ่ใคร่เรียนรู้ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้านอันบริสุทธิ์ เท่าที่ควรจะเป็น.

เมธี  สมสีมี


ดูต่อได้ที่ : http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=55930.0

<a href="https://www.youtube.com/v/81sHfUIc4ek" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/81sHfUIc4ek</a>

เพิ่มเติม https://www.youtube.com/user/ThaiPBS/videos