ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 07:54:38 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ^^ ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 04:50:32 pm »


*** อารมณ์ขึ้น ทำให้เย็นแล้วค่อยคุย
       
       อย่างไรก็ดี ถ้าทำทุกวิธีแล้ว ยังเกิดเรื่องร้าวฉาน หรือมีเรื่องที่ทำให้ต้องขัดแย้งกันอยู่อีก "ท่านว.วชิรเมธี" ให้หลักคิดเตือนสติไว้น่าสนใจว่า "เวลามีปัญหา อย่าเพิ่งพยายามแก้ปัญหา เคยสังเกตหรือไม่ว่า เวลาที่สามีภรรยาหลายคู่มีปัญหา มักจะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกว่า จะต้องเจรจาให้เสร็จตรงนั้น เดี๋ยวนั้น ต้องมาคุยตรงนี้ ไม่ให้ไปตรงนั้น กระชากกันไป กระชากกันมา ผลสุดท้ายจบทุกคู่"
       
       ทางที่ดี เวลามีปัญหาอย่าพยายามแก้ปัญหา แต่จงถอยออกมา จนเห็นปัญหา แล้วแก้ที่สาเหตุของปัญหา ซึ่ง "ปัญหา" เปรียบได้กับน้ำแข็งที่ลอยโผล่พ้นน้ำ ใขณะที่ "สาเหตุของปัญหา" คือ 9 ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ ดังนั้นพระพุทธเจ้าบอกให้แก้ 9 ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ อย่าไปแก้ 1 ส่วนที่โผล่พ้นน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดปัญหา แต่ส่วนใหญ่สามีภรรยาที่ทะเลาะกันมักจะแก้ 1 ส่วนที่โผล่พ้นน้ำก่อน ทำให้ไม่รู้ว่า สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ปัญหาจึงไม่ถูกแก้อย่างตรงจุด และถูกทาง
       
       "เมื่อแก้ที่สาเหตุของปัญหาให้เข้าใจแล้ว เวลาทะเลาะกัน จะทำให้ยิ่งรักกันมากขึ้น นั่นเพราะการทะเลาะกันอย่างมีสติ และเข้าใจกัน จะยิ่งทำให้รักกลมกล่อม และลงเนื้อลงตัวมากขึ้น ดังนั้นขอฝากไว้ว่า ถ้าทะเลาะกัน ขอให้เป็นการสันดาปทางสติปัญญาของชีวิตคู่ หมายความว่า การทะเลาะกันแต่ละครั้ง ต้องให้เกิดการปรับตัว ปรับตัว และก็ปรับตัวอยู่ทุกครั้ง ไม่ใช่ทะเลาะกันแล้ว มีแต่คำว่า แยกกัน แยกกัน และแยกกันอยู่ทุกครั้งไป" ท่านว.วชิรเมธีให้แง่คิดทิ้งท้าย


                               
       
       การมีชีวิตรักที่มั่นคง และมีความสุขนั้น ก่อนจะลงหลักปักฐานกับใคร ขอให้ใช้เวลา และดูใจให้ดีเสียก่อน เหมือนกับที่ท่านว.วชิระเมธีได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า "อยู่กับใครให้มั่นคง ต้องดูคู่ชีวิตที่เราจะแต่งงาน" และเมื่อแต่งงานกันแล้ว การครองรัก ควรครองธรรมไปพร้อมๆ กันด้วย เพื่อให้สอดรับคำกับอวยพรของญาติผู้ใหญ่ที่ให้ไว้ก่อนเข้าหอว่า "อยู่กันจนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรนะลูก" ดังนั้นอย่าทำให้ท่านเสียใจ และผิดหวัง เพราะเรื่องทะเลาะเล็กๆ น้อยๆ จนทำให้ต้องแยกทางกัน



 :45:  http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000012275
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 04:26:29 pm »



หลักคิดชีวิตคู่ อยู่อย่างไรให้เหนียวแน่นหนึบ

หากพูดถึงครอบครัวไทยสมัยก่อน ภาพที่เห็นได้ชัด คือครอบครัวขนาดใหญ่ ที่อยู่กันพร้อมหน้า หลากหลายช่วงวัย ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ลงมาจนกระทั่งถึงลูกหลาน
       
       แต่ในปัจจุบัน ภาพเหล่านั้นได้เลือนหายไปเกือบหมด จากครอบครัวใหญ่ ลดขนาดลง เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางด้านวัตถุ ทำให้คน ต่างคนต่างอยู่ มีความหวาดระแวงสูงขึ้น รวมทั้งทำงานหาเงิน จนลืมให้เวลา และความรักกับครอบครัว ส่งผลให้อนาคตอันใกล้นี้ ครอบครัวไทย มีโอกาสเสี่ยงต่อการสลายตัวได้ง่าย
       
       ทั้งนี้ เพื่อให้มีสติ และรู้หลักการใช้ชีวิตบนสังคมโลกาภิวัตน์ ธรรมะ ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งของคนในสังคม ถ้าใช้อย่างเข้าใจ และใช้ให้เป็น ย่อมช่วยให้ชีวิตคู่มั่นคง เหนียวแน่น ไม่หน่ายเร็ว หรือที่เรียกกันว่า อยู่กันจนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรกันไปเลยทีเดียว
       
       นับเป็นโอกาสอันดีของทีมงาน Life and Family ที่ได้ฟังสนทนาธรรมกับ "พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี" หรือ ท่านว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย โดยท่านได้กล่าวให้หลักคิดในประเด็นการครองรักให้ยั่งยืนว่า
       
       "การอยู่ด้วยกันให้มั่นคง และยืนยาว อยู่ที่การเริ่มต้นตั้งแต่การคบหาดูใจกัน หรือก่อนแต่งงานด้วยซ้ำ ว่าเราแต่งงานกับใคร ซึ่งทางพุทธเรา บอกไว้ว่า การครองรัก หรือการครองเรือน ควรให้การครองธรรมด้วย ซึ่งพระพุทธเจ้าบอกเลยว่า จะอยู่กับใครให้มั่นคง ต้องดูคู่ชีวิตที่เราจะแต่งงานด้วย"
       
       *** '4 เสมอ' เทคนิคเลือกคู่ก่อนแต่งงาน
       
       วิธีการเลือกคู่นั้น พระนักคิดแนะว่า ทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ต้องมีส่วนที่เสมอกัน 4 ส่วน คือ

1. มีศรัทธาเสมอกันหรือไม่ (การที่จิตใจยึดมั่น ความเชื่อถือ เลื่อมใส)
2. มีความประพฤติเสมอกันหรือไม่
3. มีความเสียสละเสมอกันหรือไม่
4. มีปัญญา หรือมีกึ๋นเสมอกันหรือไม่ ถ้ามี 4 เสมอนี้ โอกาสที่จะอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืนย่อมเกิดขึ้นได้สูง
       
       ส่วนในกรณีคู่รักที่แต่งงานเป็นสามี-ภรรยากันแล้ว การครองรักให้มั่นคง ต้องหมั่นครองธรรมร่วมกันด้วย เริ่มจาก

1.รักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจ
2.มีขันติ อดทนอดกลั้นต่อปัญหาต่างๆ
3.เมื่อเกิดปัญหาต้องยืดหยุ่นให้เป็น พร้อมกับปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์
4.ไม่ทอดทิ้งกัน

ทั้ง 4 ข้อนี้ ถือเป็นข้อหลักในการครองคู่ ที่ถ้าทุกคู่มีให้แก่กัน จะช่วยให้รักยั่งยืน ปัญหาในด้านความเข้าใจผิดกัน จึงเกิดขึ้นได้น้อย