ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 07, 2017, 02:48:12 am »

เปิดประวัติ 3 สมเด็จ นาคหลวง !

ร.3 ร.5 และ ร.9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

แต่ละรูประดับ..เอกอุ !




สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสฺสเทโว ป.ธ.9)

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

สามเณรนาคหลวงในรัชกาลที่ 3

1. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว ป.ธ.9) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ทรงสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณร มีอายุเพียง 18 ปี (พ.ศ.2374) ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับการอุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส (สมอราย) ก่อนจะย้ายตามพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ลาสิกขาออกไประยะหนึ่งจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้อุปสมบทเป็นครั้งที่สอง โปรดให้ไปครองวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" ในปี พ.ศ.2422 ที่สุดได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2434 (ในสมัยรัชกาลที่ 5)




สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9)

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

สามเณรนาคหลวงในรัชกาลที่  5

2. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9) วัดเบญจมพิตรดุสิตวนาราม ทรงสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณร มีอายุเพียง 20 ปี (พ.ศ.2451) ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับการอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (เป็นเณรนาคหลวงที่บวชวัดพระแก้วเป็นรูปแรก) ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
"สมเด็จพระวันรัต" ในปี พ.ศ.2490 ที่สุดได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.2503 (ในรัชกาลที่ 9)





สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ป.ธ.9)

วัดญาณเวศกวัน

สามเณรนาคหลวงในรัชกาลที่ 9
 

3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ป.ธ.9) วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร (ก่อนย้ายไปจำพรรษา ณ วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม) สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณร อายุ 22 ปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เข้ารับการอุปสมบทเป็นนาคหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2504 โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9) สมเด็จพระสังฆราช วัดเบญจมบพิตรฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เป็นกรณีพิเศษ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ รูปสุดท้าย ในสมัยรัชกาลที่ 9 ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา

ถ้าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ป.ธ.9) ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในรัชกาลที่ 10 ก็จะเป็นเณรนาคหลวงองค์ที่ 3 ที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสมเด็จพระสังฆราช นาคหลวง รูปที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรียงรัชกาลจากปีที่สอบได้ คือ รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9
นับว่าน่าอัศจรรย์ !


จาก อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม