ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:15:56 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:17:44 am »

ที่วัด Tashiding  ชาวสิกขิมถือว่าที่นี่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก  การไปวัดแห่งนี้ต้องนั่งรถขึ้นไปด้วยความยากลำบากพอควร ถนนนั้นเป็นถนนลูกรังแคบๆ เลียบไปตามไหล่เขา เมื่อไปถึงบันไดวัด เราจะต้องเดินขึ้นไปอีกไกลไม่น้อย
 
 

 
 
ที่วัดนี้มีสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของบุคคลสำคัญ ในจำนวนนั้นคืออัฐิของท่านจัมยัง เคนเซ ซือคิ โลธิ  พระลามะที่ได้รับคำยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์สายการปฎิบัติของธิเบต ท่านได้ออกมาจากธิเบตก่อนที่ธิเบตจะแตกเพียงเล็กน้อย ท่านได้จาริกไปยังสังเวชนียสถานในอินเดีย และได้รับการนิมนต์ไปเยือนสิกขิม ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในฐานะประเทศเล็กๆที่มีกษัตริย์ปกครอง
 
 

 
 
ที่สิกขิม ท่านจัมยังล้มป่วย ในช่วงเวลาที่มีข่าวว่าธิเบตแตก ท่านละสังขารที่สิกขิม เรื่องราวนี้ข้าพเจ้าได้อ่านเจอในหนังสือที่ชื่อ ประตูสู่สภาวะใหม่ ( The Tibetan book of living and dying ) ซึ่งแต่งโดย โซเกียว รินโปเช แปลเป็นไทยโดยพระไพศาล วิสาโล
 
 
เป็นการบังเอิญที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องราวของท่านจัมยัง จากหนังสือเล่มนี้ ก่อนที่จะได้ไปสิกขิม ไม่นานนัก
 
 

 
 
ในหนังสือเล่าว่า ท่านจัมยังละสังขารในท่าสีหไสยาสน์ อาการทั้งหมดบ่งชี้ว่าท่านยังอยู่ในสมาธิ ไม่มีใครแตะต้องร่างท่านตลอด 3 วัน  ตอนที่ท่านออกจากสมาธิและละสังขารไป จมูกของท่านพลันยุบลง ใบหน้าเปลี่ยนสีอย่างรวดเร็ว แล้วศีรษะของท่านก็ตกเอียงไปอีกเล็กน้อย
 
 
นี่คือสภาวะของท่านตอนที่ละสังขาร บอกเล่าโดยลูกศิษย์ของท่านเองที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น  ลูกศิษย์ของท่านเล่าในหนังสืออีกว่า ร่างของท่านจัมยังมิได้ส่งกลิ่นหรือทำท่าจะเน่าเลย พวกเขาจึงได้เก็บร่างท่านไว้ถึง 6 เดือน
 
 

 
 
ในที่สุด Tashiding คือสถานที่ที่พวกเขาใช้เป็นที่ปลงศพของท่าน  หนังสือยังเล่าต่อว่า  ลูกศิษย์ทั้งหมดพากันไปที่นั่น และได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิท่านจัมยัง ด้วยน้ำพักน้ำแรงของพวกเขาเอง ทุกคนทั้งหนุ่มและแก่ ไม่เว้นแม้แต่พระลามะที่อาวุโสที่สุด หรือคนธรรมดาสามัญ พวกเขาต่างช่วยกันขนหินขึ้นไปบนเขาและสร้างทั้งหมดด้วยมือเปล่า
 
 

 
 
ในบรรดาสถูปทั้งหลายเหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่อาจทราบได้ว่า สถูปใดเป็นของท่านจัมยัง เพราะไม่มีชื่อเขียนบอกไว้เป็นภาษาอังกฤษ  แต่ข้าพเจ้าก็รู้สึกดีใจที่ได้มาที่นี่  ได้มาคารวะสถูปอัฐิของเกจิอาจารย์ดังสายปฎิบัติของธิเบต
 
ที่นี่ ..สายลมเย็นๆ ที่ช่วยโบกสะบัดธงมนต์มากมายให้ปลิวไสว เหมือนจะบอกกล่าวถึงพลังศรัทธาของผู้คนแถบนี้  ที่ยังมีต่อบุคคลสำคัญในทางพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
 

 
 
http://gotoknow.org/blog/sunmoola/170255