ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 13, 2024, 10:05:08 am »

The Four Dignities : สัตว์วิเศษของนักรบชัมบาลา

“In heaven the turquoise dragon thunders

The tiger‘s lightning flashes abroad

The lion‘s mane spread turquoise clouds

Garuda spans the threefold world…”

เพลงชาติชัมบาลา

– ประพันธ์โดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช




มีสำนักคิดมากมายที่พยายามจัดกลุ่มความหลากหลายของมนุษย์ออกเป็นรูปแบบต่างๆ และหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือการจัดกลุ่มตามบุคลิกภาพ ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินถึงโมเดลอย่าง MBTI, Enneagram, DISC ฯลฯ ไปจนถึงลัคนาราศี ดวงกำเนิด ฯลฯ ที่ต่างก็เป็นรูปแบบของการอธิบายลักษณะนิสัยของคนออกเป็นกลุ่มๆ

ในคำสอนชัมบาลา ที่ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช พัฒนาขึ้น ก็มีรูปแบบการแบ่งกลุ่มที่นำมาใช้เพื่ออธิบายความแตกต่างของมนุษย์ด้วยเช่นกัน แต่การแบ่งกลุ่มในชัมบาลา ไม่ได้แบ่งจากลักษณะบุคลิกภาพ แต่แบ่งจากเอกลักษณ์ของพลังปัญญาญาณที่ได้รับการปลดปล่อยในพื้นที่ว่าง

ชัมบาลาอธิบายคุณลักษณะของปัญญาญาณออกเป็น 4 รูปแบบ (Wisdom Archetype) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักรบผู้รู้แจ้ง (Enlightened Warrior) โดยคุณสมบัติทั้งสี่นี้ แท้จริงแล้วมีอยู่ในตัวเราทุกคน เพียงแต่ในบางคน บางสถานการณ์ หรือบางช่วงเวลา หนึ่งในสี่รูปแห่งปัญญาญาณนั้นจะโดดเด่นขึ้นมาจากอันอื่น

อีกสิ่งที่น่าสนใจของปัญญาญาณทั้ง 4 ในคำสอน Shambhala คือการใช้สัตว์วิเศษ 4 ชนิด (The Four Dignities) มาเป็นตัวแทนของคุณสมบัติประเภทต่างๆ

เสือ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความอ่อนโยน (Meek)

สิงโตหิมะ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความกระปรี้กระเปร่า (Perky)

พญาครุฑ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความองอาจ (Outrageous)

มังกร เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความลึกเกินหยั่ง (Inscrutable)

สัตว์วิเศษทั้งสี่ มีความสำคัญต่อคำสอนชัมบาลาอย่างมาก ถึงขนาดที่ปรากฎเป็น “แถบสี” บน “ธงชาติ” ของอาณาจักรชัมบาลาเลยทีเดียว ทั้งรูปลักษณ์ของสัตว์ทั้งสี่ยังถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์บนเครื่องประดับต่างๆ ของชุมชนชัมบาลาอีกด้วย



ธงชาติชัมบาลา

ใน Shambhala Retreat ที่จัดขึ้นโดยวัชรสิทธา ณ อาศรมวงศ์สนิท สอนโดย อ.ณัฐฬส วังวิญญู และ อ.วิจักขณ์ พานิช ได้มีการจัดกิจกรรมที่ลองให้เรา Identify ตัวเองกับคุณสมบัติของปัญญาญาณประเภทต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้สะท้อนถึงที่มาที่ไปของคุณสมบัติที่ตัวเองมี รวมถึงประโยชน์ที่เราแต่ละคนจะนำเอาความโดดเด่นทางปัญญาไปมอบแก่โลกใบนี้

สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อแต่ละกลุ่มออกมาบอกเล่าถึงจุดเด่นของปัญญาญาณประเภทต่างๆ รวมถึงประโยชน์ที่คุณสมบัติของปัญญานั้นสามารถมอบให้แก่โลก กลุ่มเสือสะท้อนว่าจุดเด่นของพวกเขาคือพร้อมที่จะโอบอุ้มและเยียวยาผู้อื่นด้วยความมั่นคงและหนักแน่น กลุ่มสิงโตหิมะช่วยสร้างสรรค์ความสนุกสนานและบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียด กลุ่มครุฑคือความกล้าหาญใจการเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ทั้งยังมอบความเป็นระเบียบให้กับความยุ่งเหยิงวุ่นวาย ขณะที่มังกรคือความหยั่งรู้ของปัญญาญาณ พร้อมตอบโต้กับสถานการณ์อย่างแม่นยำและฉับพลัน รวมถึงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

เมื่อจบกิจกรรม พวกเราก็ได้พบว่าทุกคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจากปัญญาญาณล้วนมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ละคุณสมบัติไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่ส่งเสริมซึ่งกันและกันและช่วยสร้างสมดุลให้กับโลกใบนี้

นอกจากแง่มุมความหลากหลายของคุณสมบัติที่เกิดจากปัญญาญาณแล้ว คำสอนเรื่องสัตว์วิเศษทั้ง 4 หรือ The Four Dignities ยังสามารถอธิบายถึง “เส้นทาง” หรือ “พัฒนาการ” ของนักรบที่เติบโตจากคุณสมบัติหนึ่งสู่อีกคุณสมบัติหนึ่งอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อที่จะเปิดตัวเองสู่ความกว้างขวางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกใบนี้ด้วยความตื่นแห่ง The Great Eastern Sun

โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากการข้ามขอบของตัวตนที่นักรบจะต้องเรียนรู้และข้ามผ่าน ตั้งแต่ความเย่อหยิ่ง ความลังเลสงสัย ความหวั่นกลัว และความแปลกแยกจากตัวเอง

คุณสมบัติแห่งเสือ



ในการฝึกฝนคุณลักษณะของเสือ หรือ ความอ่อนโยน นักรบชัมบาลาจะต้องดำรงตนอยู่บนความถ่อมตน ความติดดิน และความอ่อนโยน เพื่อที่จะข้ามพ้นความเย่อหยิ่งของตัวตน

ความเป็นเสือในฐานะความอ่อนโยนนั้น มักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความแข็งแกร่ง แต่ในมุมมองของ Shambhala ความแข็งแกร่งอย่างเป็นธรรมชาตินั้นผุดพรายขึ้นมาจากความอ่อนโยน เพราะความอ่อนโยนมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับความเรียบง่าย ติดดิน และไม่แปลกแยกกับตัวตน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากความเย่อหยิ่งหรือยโสโอหัง

เมื่อนักรบสามารถดำรงอยู่กับความเรียบง่ายแห่งตัวตน สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือความมั่นใจอันไร้เงื่อนไข เช่นเดียวกับเสือที่เหยียบย่ำผืนป่าด้วยความเต็มเปี่ยมแห่งตัวตนที่จริงแท้ มันไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผืนป่า ทุกก้าวย่างของเสือคือความมั่นคงและผ่อนคลาย ขณะเดียวกันในทุกการเคลื่อนไหวของมัน ก็แฝงไว้ด้วย Awareness ต่อสรรพสิ่งทั้งภายนอกและภายใน

ด้วยความมั่นใจ ความอ่อนโยน และ Awareness อันผ่อนคลาย คุณสมบัติของเสือในตัวนักรบชัมบาลา จึงช่วยให้นักรบมองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน แม่นยำ และทะลุปรุโปร่ง ซึ่งทำให้ผู้ฝึกตนบนหนทางแห่งนักรบมีฐานที่ดีในการแยกแยะ “ความตื่น” ออกจาก “ความหลับใหล”

คุณสมบัติแห่งสิงโตหิมะ



ในขั้นนี้เป็นการบ่มเพาะความแหลมคม ความมีชีวิตชีวา และ พลังงานที่กระปรี้ประเปร่า เพื่อที่จะข้ามพ้นกับดักของความลังเลสงสัย นักรบที่มีคุณสมบัติของสิงโตหิมะสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตด้วยความมีเกียรติและความผ่อนคลาย

สิงโตหิมะคือสัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนที่สูง พวกมันใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี กระโจนไปตามสันเขา ผ่านดงดอกไม้ภายใต้อากาศที่สดชื่น ความรื่นรมย์ของทิวทัศน์จากที่สูงทำให้พวกมันกระปรี้กระเปร่าและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเมื่อนักรบมีพื้นฐานของความเป็นเสือในตัวเอง ความอ่อนโยนและมั่นใจของเสือทำให้คุณสมบัติของสิงโตหิมะผุดพรายขึ้นมาอย่างไร้เงื่อนไข ไม่ว่ามันจะดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด

เชอเกียม ตรุงปะ กล่าวถึงคุณลักษณะของความกระปรี้ประเปร่าเอาไว้ว่า มันคือความสามารถที่จะยกระดับจิตใจของตัวเองให้รื่นรมย์ขึ้นมาได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าขณะนั้นเราจะกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากเข็ญเพียงใด นอกจากนี้ความกระปรี้ประเปร่า ยังเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เราไม่หลงไปกับความลังเลสงสัย เนื่องจากมันสามารถแปรเปลี่ยนพื้นที่แห่งความคิดแง่ลบ การต่อสู้กับตัวเอง ความโกรธเกรี้ยว สู่ความผ่อนคลาย ความยินดีต่อชีวิตที่ตัวเองมี และความเป็นมิตรต่อสรรพสิ่งในโลกใบนี้

ในภาษาของชัมบาลา คุณสมบัติความรื่นรมย์ของสิงโตหิมะ เกิดขึ้นมาจากความไว้วางใจใน Basic Goodness ที่มีอยู่ในทุกสิ่ง และเมื่อเราสามารถสร้าง “วินัย” ในการสัมพันธ์กับ Basic Goodness ได้แล้ว เมื่อนั้นเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบก็จะเผยตัวออกมาให้เราก้าวเดินไปอย่างสง่าผ่าเผย

คุณสมบัติแห่งครุฑ



จากผืนดินของเสือ สู่ทิวเขาและยอดไม้ของสิงโตหิมะ สูงขึ้นไปอีกก็คือผืนฟ้าอันเป็นดินแดนของครุฑ ซึ่งมีพลังอำนาจแห่งการโบยบินอย่างอิสระเสรี

ในตำนาน ครุฑ คือราชาแห่งปักษาทั้งปวง มันมีปีกมหึมาที่พาตัวของมันทะยานไปในโลกทั้งสามได้ภายในพริบตา คุณสมบัติที่โดดเด่นของครุฑ จึงเป็นภาพสะท้อนของสภาวะจิตที่กว้างใหญ่ไพศาลมิมีประมาณ

ความองอาจและกว้างขวางของครุฑ คือคุณสมบัติที่ทะลวง “ดักแด้” หรือ ตัวตน ที่ห่อหุ้มเราไว้ให้มลายสิ้น มันคือความกล้าหาญที่จะดำรงตนอยู่บนเส้นทางอย่างไม่ครั้นคร้ามที่จะทะยานไปยังดินแดนที่ตัวตนของเราเคยหวาดหวั่น มันเป็นคุณสมบัติที่จะพาเราโบยบินข้ามผ่านความกลัวต่างๆ ของอัตตาสู่ความเปิดโล่งของท้องฟ้าที่มีความเป็นไปได้นับอนันต์

ในการทำงานกับตัวตนบนเส้นทางนักรบ บ่อยครั้งที่เราจะพาตัวเองไปเผชิญหน้ากับ “ขอบ” ของตัวตน พื้นที่ซึ่งเราไม่กล้าแม้แต่จะสบตา มันเป็นดินแดนที่ทำให้เราสั่นไหว รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งกระตุ้นความต้องการที่จะควบคุมขึ้นมาอย่างรุนแรง เพื่อทำให้เราหันหลังกลับไปยังกรงขังที่ดูเหมือนจะอบอุ่นของตัวตนเดิม

ความเป็นครุฑ จึงเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรายืนหยัดต่อวินัยแห่งนักรบ ปลุกความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับขอบเหล่านั้นอย่างองอาจ เปิดรับความกลัวเข้ามาอย่างไม่หวาดหวั่น ปล่อยวางความพยายามในการควบคุม แล้วสยายปีกอันกว้างใหญ่ของตนออกมา เพื่อที่จะทะยานข้ามขอบเหล่านั้นสู่ดินแแดนใหม่ที่เราไม่เคยไปถึง


คุณสมบัติแห่งมังกร



คุณสมบัติสุดท้ายของนักรบคือ ความเป็นมังกร เราเริ่มต้นจากการทำงานกับความอ่อนโยนของเสือซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็นนักรบ ตามมาด้วยความกระปรี้ประเปร่าของสิงโตหิมะที่เสริมสร้างวินัยแห่งความเบิกบานและรื่นรมย์ต่อชีวิต จากนั้นก็คือความองอาจของครุฑที่ช่วยให้เราก้าวข้ามความหวั่นกลัว บ่มเพาะความกล้าหาญ ซึ่งพาเราโบยบินออกสู่ดินแดนแห่งความตื่นที่พ้นไปจากตัวตนเดิม

ตำนานของโลกตะวันออกเล่าถึงมังกรไว้ว่า พวกมันเป็นสัตว์ที่สัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสภาวะอากาศและฤดูกาล ในยามหน้าหนาวมังกรจะหลับใหลอยู่ใต้ผืนดิน และเมื่อถึงฤดูใบไม้พลิมันจะเผยตัวออกมาพร้อมสายหมอกและหยดน้ำค้าง ยามหน้าร้อนมันจะร่อนไปบนแผ่นฟ้า แล้วหยอกล้อกับเมฆสีขาว และในบางคราที่พายุโหมกระหน่ำ มังกรจะคำรามออกมาเป็นเปลวเพลิงและสายฟ้า

คุณสมบัติของมังกรจึงเป็นความลื่นไหลที่สามารถแปรเปลี่ยนได้อย่างฉับพลัน โดยสอดคล้องไปกับฤดูกาลและสภาวะ ลม ฟ้า อากาศ มันจึงเป็นความยืดหยุ่นที่ไม่อาจคาดเดาได้ แต่ความลึกลับเกินหยั่งของมังกรจึงไม่ได้หมายถึงการมีเล่ห์เหลี่ยมหรือความอ้อมค้อม แต่มันหมายถึงการให้กำเนิดความองอาจที่ปราศจากความกลัว

ความลึกเกินหยั่งถึงของมังกร คือการแสดงออกถึงความมั่นใจในตัวเอง มันเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อนักรบชัมบาลาผสานตัวเองเข้ากับประสบการณ์ ณ ขณะนั้นอย่างเต็มที่ มันจึงไม่มีความลังเลและไร้ซึ่งความหวาดกลัว นักรบชัมบาลาที่มีคุณสมบัติของมังกร ไม่จำเป็นต้องกีดกันประสบการณ์ใดๆ ก็ตามออกไปจากตัวเอง เพราะนักรบผู้นั้นเปี่ยมด้วยความมั่นใจที่จะดำรงอยู่กับทุกประสบการณ์แม้สถานการณ์นั้นจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนก็ตาม

ความเป็นมังกรของนักรบยังทำให้ไม่มีความจำเป็นใดๆ ในการเร่งรีบเพื่อหนีออกจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น นักรบชัมบาลาสามารถอดทนรอการคลี่คลายของสถานการณ์ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องคิดค้นหาวิธีในการควบคุมสิ่งใดเลย ด้วยเหตุนี้ นักรบชัมบาลาจึงสามารถทำงานกับสถานการณ์อย่างตรงไปตรงมา พร้อมหัวใจแห่งความกรุณาอันไร้เงื่อนไขที่ไม่หวั่นไหวต่อความกลัวใดๆ



จะเห็นว่าสัตว์วิเศษทั้ง 4 แสดงถึงคุณลักษณะของปัญญาญาณที่แตกต่างกัน แต่ส่งเสริมกันและกันอย่างสอดคล้องกลมเกลียว ขณะเดียวกันปัญญาญาณทั้ง 4 ก็ยังสามารถมองจากมุมเชิงพัฒนาการของการฝึกตนได้ด้วย

ความอ่อนโยนของเสือ คือพื้นแห่งเส้นทาง ความกระปรี้กระเปร่าของสิงโตหิมะนำพาวินัยและพลังงานในการก้าวย่างบนเส้นทางนั้น ครุฑคือความกล้าหาญที่จะกระโจนสู่ดินแดนอื่นนอกขอบของตัวตน และมังกรเป็นความมั่นใจโดยธรรมชาติ ที่ทำให้นักรบพร้อมสัมพันธ์กับทุกสิ่งด้วยธรรมชาติอันมิอาจหยั่งถึงภายในตน เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้คนและสถานการณ์อย่างกว้างขวางล้ำลึก

การเรียนรู้คำสอนชัมบาลา รวมทั้ง The Four Dignities – หรือพลังวิเศษทั้ง 4 สะท้อนให้เราเห็นว่าเราสามารถเป็นนักรบที่กล้าแกร่งและอาจหาญได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพูน “ตัวตน” ของเราให้หนาหรือซับซ้อนยิ่งขึ้น กลับกัน ความแข็งแกร่งอันแท้จริงในแนวทางของชัมบาลา เริ่มต้นจากความอ่อนโยนภายใน หัวใจที่อ่อนนุ่มซื่อตรงกับตัวเอง นักรบไม่กลัวการดำรงอยู่ใน space พร้อมเผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์อย่างเปิดกว้าง ผ่อนคลาย และฉับไวที่จะตอบสนองในสิ่งที่พึงกระทำอย่างมั่นใจและเปี่ยมทักษะ

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-fourdignities/