ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2024, 09:05:32 am »

ความสุขวงใน

หัวใจเปิดกว้างด้วยทัศนะแห่งมหายาน


เรื่องโดย ทีมงานความสุขประเทศไทย



โลกนี้มักแยกเป็นสองขั้วอยู่เสมอ ชาย-หญิง ขาวดำ-สีสันแสบตา ธรรมะธรรมโม-ขี้เมาหยำเป ผู้รู้-คนโง่ เถรวาท-มหายาน ฯลฯ อาจเพราะสีสันหลากหลายนี่ก็ได้ที่ประกอบร่างให้มนุษย์คนหนึ่งสนใจเรื่องศาสนาหลายๆ ด้าน โดยไม่นิยามว่าตนเองเป็นใคร



ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยาเป็นคนที่เราจะคุยด้วยในวันนี้ เขาเป็นชายหนุ่มวัย 39 ปีที่มีหนวดเคราพอประมาณ สนใจศิลปะในศาสนาต่างๆ ทั้งพุทธ คริสต์ ฮินดู อิสลาม ฯลฯ ในส่วนของศาสนาพุทธ เขาสนใจทั้งในฝ่ายเถรวาท มหายาน และวัชรยาน โดยเฉพาะด้านสัญลักษณ์ในพุทธศิลป์ วิวัฒนาการทางศิลปะ และศิลปะเปรียบเทียบ ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระสร้างสรรค์ผลงานพุทธศิลป์แบบร่วมสมัย และเป็นอาจารย์พิเศษคณะจิตรกรรมฯ และคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ผู้คนจึงมักเรียกเขาว่าอาจารย์ดอน)

ในวัยเด็กเขาชอบวาดรูปและมักขลุกตัวอยู่ในห้องสมุดเพื่อพลิกหนังสือหมวดเทวนิยายเพราะในนั้นมีรูปภาพเทวรูปอินเดียและฮินดูที่สวยงามแปลกตา เมื่อเห็นภาพจึงอ่านตัวหนังสือและซึมซับเรื่องเล่า ตำนานของศาสนาต่างๆ ตั้งแต่เล็ก หลังจากนั้นจึงได้อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสซึ่งมีความสนใจทั้งงานศิลปะและพุทธศาสนาลัทธิอื่น เช่น เซน มหายาน วัชรยาน เมื่อเขาเรียนต่อด้านศิลปกรรมในระดับอุดมศึกษาจึงมักค้นคว้าหนังสือเก่าๆ ทั้งศิลปะโบราณและศิลปะร่วมสมัย ประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา

แต่ถ้าถามว่าเขาเป็นนักปฏิบัติธรรมไหม เขาส่ายหัวทันที เขาเป็นเพียงคนธรรมดาที่เอาชีวิตรอดไปวันๆ มีเมีย ไม่มีลูก กินเหล้ากินเบียร์บ่อยๆ แค่มีความรู้พอจะบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและศาสนาได้ ทำงานศิลปะที่มีเนื้อหาเรื่องนี้และคุยธรรมะแต่กับเพื่อนที่สนิท ฉะนั้นการแลกเปลี่ยนกับ ‘ความสุขประเทศไทย’ ครั้งนี้จึงมิใช้การเทศน์สอน แต่แบ่งบันประสบการณ์จากเพื่อนที่ได้ทดลองมาบ้าง

ผมมีพระอาจารย์ทิเบตที่เคารพเป็นริมโปเชชั้นสูง แต่ท่านบอกว่าอย่าเรียกท่านว่าลามะซึ่งหมายความว่าเป็นพระชั้นสูง ให้เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อน เราฟังแล้วก็คิดว่าเราเป็นใคร ทุกวันนี้ยังทำบาป จะไปอ้างว่ารู้อะไรเยอะแยะ




ศิลป์ + ธรรม

เขาทำงานศิลปะ แถมยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธเสียด้วย เขาคิดว่างานศิลปะนั้นมีฤทธิ์ทำให้ใจสงบ เพราะเป็นการงานที่จดจ่ออย่างต่อเนื่อง ส่วนเนื้อหาทางธรรมก็ช่วยโน้มนำใจให้อ่อนโยนและใกล้ชิดกับธรรมะ แต่ก็นั่นล่ะ เขาคิดว่าคนทำงานพุทธศิลป์ไม่ได้พิเศษ ไม่ได้มีธรรมะเหนือคนอื่นคนบางคนอาจวาดรูปหรือปั้นพระด้วยกิเลสที่มากกว่าคนวาดรูปไม่เป็นเลยด้วยซ้ำ

แก่นคือการได้สำรวจตัวเองระหว่างทำงาน งานศิลปะเป็นการฝึกสมาธิ และการฝึกสมาธิไม่ใช่ก้อนหิน สมาธิคืออารมณ์เดียว นี่เป็นคำสอนของพระนะครับ ผมไม่ได้พูดเอง เช่น บริกรรมพุทธโธ พอเราทำไม่ได้ เพราะคิดถึงแฟน หลวงพ่อก็จะให้บริกรรมชื่อแฟนแทน แต่อารมณ์เดียวในที่นี่ไม่ได้ฝึกเพื่อไปยิงหรือทำร้ายใคร เราฝึกที่จะอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลและอ่อนโยน ฉะนั้นไม่ว่าจะเย็บปักถักร้อยก็ทำให้เกิดสิ่งนี้ได้ แต่ถ้ามีเนื้อหาเข้ามาด้วย เช่น เราจะทำภาพเรื่องความกรุณา เราก็จะอยู่กับหัวข้อที่เราอยากนำเสนอ ทบทวนว่าเราเข้าใจหรือมีประสบการณ์อย่างไร อยู่กับงานไปอย่างเป็นพลวัติ




Zen Smile Zen Wisdom

นอกจากงานศิลปะ เขายังทำเพจเฟสบุ๊คชื่อ Zen Smile Zen Wisdom ซึ่งเป็นเพจการ์ตูนเซนที่ได้แรงบันดาลใจจากนักวาดการ์ตูนเซนชาวไต้หวันคนหนึ่งที่ใช้ลายเส้นเรียบง่ายเล่าเรื่องธรรมะนิกายเซนเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เมื่อเห็นว่านักวาดคนนี้ไม่ได้ตีพิมพ์หนังสือมานานมากแล้ว เขาเลยลองวาดการ์ตูนเซนด้วยลายเส้นง่ายๆ ลงในเฟสบุ๊คตัวเอง จนเพื่อนชอบและยุให้เปิดเพจนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว

เราเป็นคนอ่านหนังสือศาสนา เราเลยอยากจะสานต่อสิ่งนี้ เอาเรื่องที่เรารู้มาวาดเป็นการ์ตูนเซน ซึ่งเนื้อหาจะพูดตรง พูดชัด เพื่อปลุกให้เราตื่น กระชากตัวเราให้ออกมาจากความคิด และเข้าถึงแก่นบางอย่างของพุทธ

ทุกวันนี้เพจมียอดไลค์ประมาณ 34,000 คน เขาทำเล่นๆ ทำเรื่อยๆ เพื่อเป็นพื้นที่ของการแบ่งปันความคิดและความรู้กับคนอื่นๆ บางครั้งมีคนเข้ามาถาม เขาก็ตอบโดยอ้างอิงคำสอนของครูบาอาจารย์ หลายครั้งก็มีลูกเพจคนอื่นเข้ามาช่วยตอบ ถือว่าเป็นชุมชนออนไลน์ที่ดี

แต่อย่างไรก็ดี ในโลกออนไลน์ทุกที่ต่างมีประเด็นร้อนๆ ครั้งหนึ่งเขาวาดภาพการ์ตูนเป็นภาพผู้หญิงใส่บิกีนี่ แต่มีเศียรเป็นพระพุทธรูป โดยมีเนื้อหาว่าพุทธภาวะนั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ปรากฏว่ามีคนเข้ามาสาปแช่งรูปนี้มากมาย แม้ว่าจะพยายามอธิบายว่ามีเจตนาบริสุทธิ์อย่างไรก็ไม่สามารถดับไฟโกรธได้ แถมคนที่เห็นด้วยกับภาพดังกล่าวก็เข้ามาต่อว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างเผ็ดร้อน

ข้อดีคือมีคนที่เข้าใจและเขียนให้กำลังใจ มีผู้หญิงบางคนส่งข้อความมาบอกว่า เขาก็เคยคิดว่าเป็นผู้หญิงแล้วปฏิบัติธรรมได้ไหม แต่พอเห็นรูปนี้แล้วเขาเข้าใจว่าได้สิ ไม่มีข้อจำกัดเลย ข้อความนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า โอเค จบ





มหายานหนทางที่เปิดกว้าง

ตัวเขาเป็นชาวพุทธที่สนใจศึกษามหายาน แต่ไม่ได้แสดงตนชัดเจนว่าเป็นเถรวาทหรือมหายาน เพียงแต่คำสอนของมหายานนั้นดีสำหรับเขา โดยเฉพาะเรื่อง ‘กรุณา’ ที่พูดว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนเคยเป็นพ่อแม่ของเรา คำสอนที่ย้ำแบบนี้อยู่เสมอได้กล่อมเกลาใจเขาให้นุ่มนวลและเห็นคุณค่าของชีวิตอื่นมากขึ้น

จริงๆ มหายานหรือเถรวาทไม่ได้ต่างกันมาก แต่มุมมองของมหายานจะกว้างกว่า เช่น เถรวาทจะมองว่าหลุดพ้นเป็นเรื่องของตัวเอง แต่มหายาน การหลุดพ้นของเราเป็นไปเพื่อสรรพสัตว์ เรามีหน้าที่ช่วยเหลือเขา เพราะสรรพสัตว์นั้นยังเป็นทุกข์และเราต้องพาไปด้วย ฉะนั้นแม้แต่คนเลวคนบาป เราก็ปรารถนาเข้าไปดูแล คำสอนนี้มันพลิกชีวิตเรา พลิกมุมมองของเราต่อคนอื่น

องค์ทะไลดามะเคยบอกว่าคนเห็นแก่ตัวที่ฉลาดที่สุดคือคนที่เห็นแก่คนอื่นด้วย การเห็นแก่ตัวโง่ๆ คือเอากูก่อนๆ แต่คนที่ฉลาดจะทำให้คนอื่นมีความสุขด้วย เพราะมันจะส่งผลต่อกันในวงกว้างและเราจะมีความสุข

นอกจากนี้เขายังชอบที่มหายานเปิดกว้างและยืดหยุ่นต่อรูปแบบชีวิต ไม่ตัดสินว่าแบบนั้นไม่ดี แบบนี้ไม่ได้ หากทำสิ่งนั้นไปแล้วให้ประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่นก็ปรับเปลี่ยนกฎกติกาได้ ดังที่เราเห็นว่าพระในฝ่ายมหายานสามารถปลูกข้าว ทำนา เล่นดนตรี หรือในบางที่ยังมีครอบครัวได้ด้วย

ศีลของเถรวาทจะบอกว่าการฆ่านี่ยังไงก็ผิด แต่ในฝ่ายมหายาน ถ้าเรารู้ว่าคนๆ นี้กำลังจะไปฆ่าคน แล้วศีลพระโพธิสัตว์ข้อหนึ่งบอกไว้ว่า ถ้าเรารู้ว่าสัตว์โลกกำลังจะตาย แล้วเราไม่ช่วยก็ถือว่าศีลขาด ดังนั้นถ้าเราไม่ห้ามคนที่กำลังไปฆ่า เราก็ผิดศีล หากสุดท้ายแล้วเราจำใจต้องฆ่าคนคนนั้น เพราะไม่เห็นทางอื่นจริงๆ เราก็ยอมตกนรก…ฉะนั้นในฝ่ายมหายานเราจึงเห็นรูปแบบชีวิตที่ต่างออกไป มีทั้งองค์กร มูลนิธิ นักบวชและฆราวาสทำงานด้วยกันโดยไม่ระบุว่าเป็นพระดีกว่าฆราวาส ซึ่งในภาพศิลปะเอง คุรุบางท่านก็เป็นฆราวาส มีผมยาว ฉะนั้นชีวิตเราก็ปฏิบัติธรรมและช่วยเหลือคนอื่นได้เหมือนกัน

ผมเคยฟังท่านติช นัท ฮันห์ ตอบคำถามเด็กเรื่องความรักในวัยหนุ่มสาว ท่านไม่ปฏิเสธความรักเลย ถ้าความรักของชายหญิงนั้นช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ทำร้ายกัน ความรักในมุมมองของมหายานจึงเป็นเรื่องสวยงาม แต่ในทางเถรวาทจะไม่พูดแบบนี้ มักจะพูดว่าความรักและการแต่งงานเป็นบ่วง เป็นภาระมากกว่า



 

หากสนใจอ่านการ์ตูนเซนของเขาเข้าไปอ่านได้ที่ www.facebook.com/zensmilecomic

สำหรับผู้ที่สนใจพุทธมหายาน เขาแนะนำว่าในเมืองไทยมีองค์กรและหนังสืออยู่มากมาย เข้าไปหาได้ในร้านหนังสือและ search engine ต่างๆ

จาก https://www.happinessisthailand.com/