ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 15, 2024, 09:13:00 pm »

“อิเคบานะ” จัดดอกไม้ญี่ปุ่นกับแนวคิดพุทธ-เซน ดอกไม้ดอกเดียวแทนจักรวาลได้อย่างไร?



ภาพประกอบเนื้อหา - การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น "อิเคบานะ"

เผยแพร่วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2563

วัฒนธรรมญี่ปุ่นแพร่กระจายและได้รับความนิยมไปทั่วโลก อาหาร สื่อบันเทิง วิถีชีวิต หรือแม้แต่แนวคิดหลายอย่างล้วนเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาจนถึงแถบภูมิภาคใกล้เคียง ไม่เพียงแค่วัฒนธรรมร่วมสมัยเท่านั้น วัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคโบราณยังมีลมหายใจและอาจเรียกได้ว่า “ฟื้นคืนชีพ” ขึ้นมาในโลกยุคโมเดิร์นด้วย ตัวอย่างของวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ว่าคือ การจัดดอกไม้แบบที่เรียกว่า “อิเคบานะ” (Ikebana)

ช่วงปี 2560 จนถึงปี 2563 ปรากฏบทความและหลักฐานหลายประการที่สามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งแห่งหนของวัฒนธรรมการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “อิเคบานะ” ในหลายพื้นที่ เดบอราห์ นีเดิลมัน (Deborah Needleman) คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) เขียนเล่าในบทความเมื่อปี 2560 เล่าว่า ในพื้นที่ของ “โดเวอร์ สตรีท มาร์เก็ต” (Dover Street Market) แหล่งค้าปลีกที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก เคยวางขายเสื้อยืดที่มีสกรีนลายดอกไม้อันจัดตกแต่งแบบ “อิเคบานะ” และมีขายหนังสือเก่าเกี่ยวกับการจัดดอกไม้แบบนี้


ความเป็นมาของ “อิเคบานะ”

อิเคบานะ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบทางวัฒนธรรมซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคศตวรรษ วัฒนธรรมที่ยังคงรักษาตัวตนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมานานหลายร้อยปีนั้น คงไม่ได้พึ่งพิงเพียงแค่ผู้คนที่สืบทอดต่อกันมา ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า กลุ่มคนที่ปรับและประยุกต์วัฒนธรรมเหล่านั้นก็มีส่วนสำคัญด้วย การจัดดอกไม้แบบอิเคบานะ จึงไม่ได้มีแค่ลักษณะแบบดั้งเดิมเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป มันถูกคนรุ่นใหม่ตีความและแตกแขนงออกไปเป็นลักษณะต่างๆ แต่แน่นอนว่า การตีความนั้นก็ต้องอาศัยความเข้าใจแก่นดั้งเดิมของมันด้วยเช่นกัน

เดบอราห์ นีเดิลมัน อธิบายถึงบริบทแวดล้อมของวัฒนธรรมญี่ปุ่นชนิดนี้ว่าอยู่ท่ามกลางสังคมญี่ปุ่นที่มีวัฒนธรรมแบบ “ชินโต” (Shinto) ซึ่งมีความเชื่อลักษณะพหุเทวนิยม (polytheism) ควบคู่ไปกับความเชื่อเชิงจิตวิญญาณ พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าสถิตอยู่ในทุกสิ่ง ตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงดอกไม้และสายลม

เทพเจ้าคือทุกสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ และทุกสิ่งที่เป็นธรรมชาติก็คือเทพเจ้า การจัดดอกไม้จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อเรื่องการประสานสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ขณะที่กิจกรรมนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นรับอิทธิพลของพุทธจากจีนเข้ามา โดยกิจกรรมต้นกำเนิดก็เริ่มมาจากการจัดดอกไม้บูชาพุทธะ จากนั้นจึงเริ่มปรากฏการจำแนก “สำนัก” ของรูปแบบการจัดดอกไม้ในศตวรรษที่ 15 สำนักแรกและเป็นสำนักเก่าแก่ที่สุดคือ “อิเคโนโบะ” (Ikenobo) ในเกียวโต ซึ่งยังเปิดทำการจนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้นเป็นต้นมา การจัดดอกไม้จึงเริ่มแตกแขนงออกเป็นสำนักต่างๆ แต่ละสำนักมีผู้นำทางความคิดผู้ถ่ายทอดวิชาของตัวเองให้ผู้ติดตาม “อิเคบานะ” จึงเริ่มแปรรูปจากเชิงพิธีกรรมมาสู่กิจกรรมในวิถีชีวิตชนชั้นสูง นับตั้งแต่นั้นมา อิเคบานะ ก็ค่อยๆ มีพัฒนาการเรื่อยมาสะท้อนภาพผ่านการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย และอิทธิพลทางความคิดจากบุคคลต่างๆ

สำหรับประเทศไทยในยุคปัจจุบันก็ปรากฏผู้นิยมศึกษาและถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับวิถีนี้ด้วย ศิลปินนักจัดดอกไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในไทยคือ ดิเรก ชัยชนะ เขาอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดว่า อิเคบานะ (ikebana) มาจากคำว่า “อิเค” หมายถึง การจัด การวาง หรืออีกความหมายคือมีชีวิต และ “บานะ” หรือ “ฮานะ” หมายถึง ดอกไม้ ดังนั้นคำว่า อิเคบานะจึงหมายถึง การรักษาดอกไม้ (ให้คงชีวิตชีวาในภาชนะที่บรรจุน้ำ)

“กระบวนการของอิเคบานะ เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจตนเอง เพื่อให้เราค้นพบความสง่างามของเราที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ สถานที่”

รูปแบบการจัดดอกไม้ที่ปรากฏในช่วงแรกจะเรียกว่า “ริกกะ” (Rikka) ปรากฎขึ้นในศตวรรษที่ 15 จัดในแนวตั้ง ใช้การจัดดอกไม้สื่อสารจักรวาลวิทยาแบบพุทธ อธิบายองค์ประกอบการจัดดอกไม้ตามหลักบันทึก Sendensho ที่ประกอบด้วยสองส่วนคือ Shin (กิ่งหลัก) และ Soe-mono (ส่วนประกอบหรือกิ่งรอง) ดอกไม้ไม่ได้มีความหมายในตัวมันเอง แต่เป็นสัญลักษณ์บางอย่างในพุทธ เช่น กิ่งหลักแทนเขาพระสุเมรุ อธิบายหลักคิดแบบพุทธ ดังนั้น ริกกะแบบดั้งเดิมจึงมีแนวทางชัดเจนมาก จัดกิ่งต้องเป็นแนวไหน ทำมุมกี่องศา มีกิ่งประกอบอย่างไรบ้าง

“ริกกะ เหมือนแนวคิดแบบจิตนิยม เชื่อว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่อยู่ ใช้การจัดดอกไม้เพื่อเข้าถึงความยิ่งใหญ่ตรงนั้นซึ่งอาจเป็นพุทธะ หรือแก่นคำสอนพุทธศาสน์”

ในยุคเดียวกันก็ปรากฏแนวคิดการจัดดอกไม้อีกชนิดคือ “นะเงะอิเระ” (Nageire) เป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดเดิม จะอยู่บนฐานของพุทธแบบเซน อธิบายว่า ดอกไม้หนึ่งดอกสามารถแทนจักรวาลได้ทั้งหมด ความหมายคือ เราสามารถเข้าถึงความเป็นพุทธะในชั่วขณะหนึ่ง เหมือนกับการเข้าใจธรรมชาติของดอกไม้หนึ่งดอก การจัดดอกไม้จะเน้นเรื่องรูปแบบตามธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติดั้งเดิมของดอกไม้ เป็นเครื่องมืออันนำไปสู่การทำความเข้าใจธรรมชาติของตัวเราเองด้วย


การจัดแบบ “นาเงะอิเระ”

นอกจากนี้ ตำราอิเคบานะบางเล่มยังแยกการจัดแบบ “นาเงะอิเระ” กับอีกแบบคือ “ชาบานะ” (chabana) ซึ่งเป็นดอกไม้ในพิธีชงชา ถึงแม้ว่าจะมีเทคนิคแบบเดียวกัน กล่าวกันว่า ต่างกันในแง่ของแนวคิด กฎพื้นฐานของชาบานะคือ การจัดแบบธรรมชาติมากที่สุดไม่ใช้เทคนิคหรือตัวช่วยใดในการจัดวางให้ดูเป็นธรรมชาติ เน้นการใช้ดอกไม้ในฤดูกาลนั้น และที่สำคัญคือการชื่นชมความงามของชีวิตชั่วขณะหนึ่งอย่างเต็มที่ เน้นการจัดดอกไม้หนึ่งดอกเพื่อจัดวางความงามทั้งหมดของธรรมชาติ จะมีที่จัดวางโดยเฉพาะ พอจัดเสร็จจะนำมาวางในจุดนี้เพื่อให้คนที่เข้าห้องชาได้ชื่นชม

เมื่อเวลาผ่านไป การจัดดอกไม้ก็ปรากฏอีกหนึ่งรูปแบบที่เรียกว่า เซกะ (Seika) หรือ โซกะ (Shoka) เกิดในช่วงศตวรรษที่ 18 เรียกได้ว่าเป็นการผสมแนวคิดแบบริกกะ กับ นาเงะอิเระ เข้าด้วยกัน มีทั้งรูปแบบทางการ และแบบที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้การวางโครงสร้าง 3 กิ่งหลัก ที่เรียกว่า ฟ้า ดิน มนุษย์

ภายหลังเมื่อญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ดอกไม้ก็มีหลากหลายขึ้น ประเภทของแจกันก็มีมากขึ้น ก่อนหน้านี้แจกันที่ใช้จัดเป็นแบบโถ และแจกันเครื่องจักรสาน เมื่อมีวัฒนธรรมแบบใหม่เข้ามา จึงเริ่มมีแจกันแบบถาดน้ำ มีรูปแบบการจัดแบบใหม่ที่เรียกว่า “โมริบานะ” (Moribana) แปลว่า “กองดอกไม้” โดยจัดดอกไม้ในแจกันปากกว้าง ทรงตื้น หรือถาดน้ำ ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดอิเคบานะรูปแบบใหม่



การจัดแบบ “โมริบานะ”

อิเคบานะ ในไทย

สำหรับดิเรก ชัยชนะ เขาศึกษาและเปิดสอนการจัดอิเคบานะ แบบผสมผสานระหว่างแนวคิดธรรมศิลป์ (dharma art) ของเชอเกียม ตรุงปะ (Chögyam Trungpa) จากทิเบตที่มองว่า “ศิลปะอันจริงแท้หรือธรรมศิลป์เป็นการกระทำที่เรียบง่ายอันปราศจากความก้าวร้าว” กับเทคนิคการจัดดอกไม้แบบโคริงกะ ตามแนวคิดของโมกิจิ โอกาดะ จากมูลนิธิ MOA ซึ่งเน้นการรับรู้ว่า พืชมีชีวิต และการจัดดอกไม้ตามรูปทรงธรรมชาติ และการรื่นรมย์ความงาม

เชอเกียม ตรุงปะ อธิบายว่า ฟ้า ไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่า หากคือมิติตั้งเดิมอันเป็นอิสระจากเหตุปัจจัย (เงื่อนไข หรือแบบแผนความคิด) ฟ้าโน้มมาสู่ดิน เพื่อเผยแสดงตนอันได้แก่ ความรู้สึกถึงความดีงาม ความอ่อนโยน และดุลยภาพ อิสรภาพอันมิอาจประมาณดำรงอยู่ในภาระรากฐานนี้

ดิเรก ชัยชนะ อธิบายเพิ่มว่า ในการจัดดอกไม้ ฟ้าเป็นตัวแทนของกิ่งแรกที่จะปักลงไป

ดิน คือพื้นที่รองรับเต็มไปด้วยพลังเกื้อหนุนทุกสิ่ง และส่วนสุดท้ายคือมนุษย์ ความเป็นมนุษย์และชีวิตที่เชื่อมฟ้าและดิน โดยมนุษย์เป็นตัวแทนของความรื่นรมย์ การดำรงอยู่ของฟ้าและดิน

ดิเรก เชื่อว่าภายใต้แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เปิดกว้าง และสามารถสื่อสารความคิดสำหรับผู้สนใจระยะแรกเริ่มของการศึกษาการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น และเชื่อว่าการจัดดอกไม้แบบอิเคบานะไม่ได้เป็นแค่งานศิลปะเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความจริงด้วยความเรียบง่าย โปร่งเบา และอิเคบานะสอนการดำเนินชีวิตที่ต้องอาศัยการใส่ใจอย่างยิ่งยวด ปราศจากความก้าวร้าว และไม่เร่งรีบ




ดิเรก ชัยชนะ ในกิจกรรมจัดดอกไม้ “อิเคบานะ”

ดอกไม้ในไทย

สำหรับชาวไทยที่สงสัยว่า ดอกไม้ที่จะนำมาจัดเป็นดอกไม้อะไร ดิเรก ชัยชนะ อธิบายว่า เป็นดอกไม้ชนิดใดก็ได้ เมื่อเข้าใจว่าทุกกิ่งทุกดอกตามธรรมชาติมีความงามอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจัดให้เหมือนญี่ปุ่น โดยรากฐานของจิตวิญญาณแล้วคือจัดเพื่อแสดงความงามของธรรมชาติ ของดอกไม้ดอกนั้น จึงคิดว่าเป็นดอกไม้ชนิดใดก็ได้

“เช่น ใช้กิ่งมะกรูดในการจัดอิเคบานะ หรือบางครั้งก็เอากิ่งฝรั่งที่บ้านไปให้ผู้เรียนจัด เมื่อเขาเข้าใจรูปทรงของกิ่งมะกรูดที่โค้งมีน้ำหนักแล้วก็จัดวางในแจกันก็ทำให้เห็นความงามของมันได้ เขาก็ไปเพิ่มดอกไม้ ใช้ดอกลิลลี่เข้าไปได้ ภาพรวมของแจกันก็จะออกมาสวยได้” ดิเรก ชัยชนะ กล่าว

สำหรับการจัดดอกไม้นี้ ผู้ที่ลงมือทำจะผ่อนคลายกับตัวเอง ได้สัมผัสกับมุมมองบางอย่าง ประสบการณ์บางอย่างชั่วขณะหนึ่ง มีแนวโน้มเปิดมุมมองกว้างขึ้น ส่วนในแง่เทคนิคแล้ว เชื่อว่าคนที่จัดดอกไม้อยู่แล้วจะได้มุมมองที่ต่างจากการจัดดอกไม้แบบตะวันตก ตะวันตกเริ่มจากรูปแบบที่ชัดเจน พยายามจัดวางให้ลงในฟอร์มนั้น ส่วนอิเคบานะ ไม่ได้มีฟอร์มชัดเจน ใช้ความเข้าใจธรรมชาติ และค่อยๆ หาความสัมพันธ์ไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น พืชจะแสดงความงามของมันได้ในท้ายที่สุด

“การได้ชื่นชมความงาม มุมมองจะเปลี่ยนไป เวลาที่เห็นพืช หรือเห็นกิ่งบนท้องถนนอาจเห็นความงามที่ชัดเจนขึ้น เมื่อสามารถชื่นชมความงามของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ของสิ่งเหล่านั้นได้ จะเป็นความรื่นรมย์ของชีวิต เห็นว่ามีความงามอยู่รอบๆ เรา ที่เราสามารถสัมผัสได้ ถ้าเราใช้มุมมองแบบนี้ไปชื่นชมสิ่งรอบตัวมากขึ้น คิดว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตัว การทำกิจวัตรประจำวัน จะมีความละเอียดกับการเลือก การใช้ การดู การสัมผัส การรับรู้ของเราจะเปลี่ยนไปด้วย มีสุนทรียะ และเราใส่ใจมากขึ้น” ดิเรก ชัยชนะ กล่าว

จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_55006