ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 18, 2024, 07:41:30 am »

ภาพแสดงขั้นตอนพัฒนาจิตแบบเซน Zen Meditation




ภาพที่ 1 ชายหนุ่มกำลังเดินตามหาอะไรอย่าง ท่ามกลางป่าเขา เป็นภาพเปรียบเทียบ แทนชีวิตทั่วๆ ไป ที่เกิดมาแล้ว ใช้ชีวิตไปตามจุดหมายระดับสัญชาตญาณทั่วๆ ไป คือ เกิดมา เติบโต เล่าเรียนศึกษา เพื่อฝึกหัดวิชาอาชีพ แล้วทำมาหากินเลี้ยงชีวิตของตน และครอบครัว แสวงลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทางกามคุณ หรือวัตถุกาม ระหว่างนั้น ก็ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง จนถึงวาระ แก่ เจ็บ ตาย ไปตามวิถีชีวิตของคนทั่วๆ ไป แต่ตลอดชีวิต ก็ไม่เคยตั้งคำถาม หรือแสวงหาจุดมุ่งหมาย คุณค่าของชีวิต ว่ามีอะไรมากไปกว่านั้น ประเสริฐ ประณีต มากกว่านั้นหรือเปล่า



ภาพที่ 2 เขาเห็นร่องรอยของสิ่งที่กำลังตามหาแล้ว เปรียบเหมือนคนที่ตั้งคำถามกับตนเองว่า ชีวิตเกิดมาทำไม อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ของการเกิดมาที่ชีวิตควรได้ ควรไปให้ถึง แล้วเริ่มแสวงหาคำตอบ




ภาพที่ 3 เขาตามรอยไป พบสิ่งที่เขาตามหาคือโค เขาอาศัยการศึกษาหลักในพระพุทธศาสนา จากกัลยาณมิตร เช่น พระ ครูบาอาจารย์ หรือแหล่งข้อมูลทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง จนได้คำตอบว่า ชีวิตควรมีจุดมุ่งหมาย 3 อย่าง คือ


1. ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ คือ จุดมุ่งหมายภายนอก หรือเป้าหมายในปัจจุบัน คือ - ทรัพย์สมบัติ หรือปัจจัยสี่ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงชีวิต ของตน และคนในครอบครัว - การทำตนให้อยู่ในหลักแห่งศีลธรรม และจรรยาที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมที่ตนอยู่อาศัย มียศ มีเกียรติ ตามฐานะ - การทำหน้าที่ต่อบุคคลรอบข้าง ตามบทบาทฐานะของตน เช่น ฐานะลูกที่จะพึงปฏิบัติต่อพ่อแม่ ฐานะสามีภรรยา ที่จะพึงปฏิบัติต่อ ภรรยาสามี ฐานะพ่อแม่ ที่จะพึ่งปฏิบัติต่อลูก ฐานะบุคคลในสังคมที่จะพึงปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวมที่ตนอยู่อาศัย เป็นต้น เป้าหมายของชีวิตระดับแรกนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ธรรมชาติบังคับอยู่แล้วโดยส่วนหนึ่ง การบรรลุจุดหมายในชีวิตระดับนี้ จะทำให้ชีวิตได้รับความสุขภายนอก และทำให้ชีวิตมีความเป็นปกติ มีความเรียบร้อยดีงาม สิ่งสำคัญอยู่ที่ิวิธีการที่จะบรรลุจุดหมายดังกล่าว ต้องอาศัยธรรมเป็นสิ่งกำกับขับเคลื่อน ต้องเป็นไปโดยชอบธรรม มิเช่นนั้น ความสุขหรือการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็จะนำความเดือดร้อนวุ่นวายมาให้ชีวิตด้วย


2. สัมปรายิกัตถะประโยชน์ จุดมุ่งหมายภายใน หรือจุดมุ่งหมายในอนาคต เพราะชีวิตมิได้มีแต่ส่วนกายภาพ หรือสังคมและบุคคลรอบข้าง ภายนอกอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนจิตใจที่สัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา โดยที่คุณภาพของจิตใจมีผลต่อการปฏิบัติต่อสิ่งภายนอกนั้นโดยตรงด้วย มีผลต่อความสุขในชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าสุขที่เกิดจาก การบรรลุจุดมุ่งหมายภายนอกนั้นด้วย คุณธรรมภายใน จึงเป็นจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายของชีวิตในระดับที่สองนี้ คือ

1) ศรัทธา การมีหลักความเชื่อที่ถูกต้อง เป็นแนวยึดถือปฏิบัติ 2) ศีล มีพฤติกรรมความประพฤติ ทางกายวาจา ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ไม่สร้างความร้อนอกร้อนใจแก่ตนเอง 3) จาคะ การรู้จักขัดเกลาจิตใจตนเอง ด้วยความเสียสละ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้จักมีเมตตา และให้อภัยผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีอัธยาศัยกว้าง มีจิตใจสะอาดปลอดโปร่ง 4) ปัญญา คือ เป็นคนมีเหตุผลไม่งมงาย เชื่อง่าย เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ด้วยความเข้าใจ ไม่ด่วนสรุป พิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบด้าน แล้วปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นด้วยอำนาจของปัญญาความรู้ความเข้าใจนั้น


3. ปรมัตถะประโยชน์ คือ จุดมุ่งหมายสูงสุด ได้แก่ ความบรรลุถึงแก่นแท้แห่งสัจธรรมความเป็นจริงของชีวิต เห็นชีวิต ที่ประกอบด้วยกายใจ หรือ ส่วนกายภาพ ส่วนนามธรรม ตามความเป็นจริง ว่าไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตน ไมใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนปล่อยวางสาเหตุแห่งความทุกข์ได้ตามลำดับ ชีวิตเป็นอิสระปลอดโปร่ง จากความยึดมั่นสำคัญผิด มีความสุขอย่างสมบูรณ์ ไม่ถูกครอบงำด้วยโลกธรรมคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ สูญยศ ถูกนินทา ประสบทุกข์ อยู่ในโลกแต่ไม่เป็นทุกข์ไปกับโลก




ภาพที่ 4 เขาใช้เชือกมัดโค และยื้อยุดฉุดโค เพื่อทำให้โคเชื่องให้หายพยศ เขาต้องอาศัยเรี่ยวแรงกำลัง ต้องใช้ทั้งขันติ และสติปัญญา เพื่อให้ฝึกโคได้สำเร็จ เขาต้องทั้งเหน็ดทั้งเหนื่อย ทั้งต้องระวังไม่ให้โดนโคขวิดด้วยภาพนี้เปรียบเทียบ ได้กับการที่บุคคล ที่หลังจากรู้จุดมุ่งหมายในชีวิตแล้ว เริ่มลงมือฝึกฝนตนตามหลักธรรมปฏิบัติที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ในขั้นของการฝึกหัด ต้องอาศัยความอดทนอย่างหนัก ต้องทนต่อแรงยั่วยุของอำนาจความเคยชินทางใจเดิมๆ ที่จะทำให้ท้อถอย ท้อแท้ เพราะกิเลสมักจะดึงจิตดึงใจให้ไหลลงต่ำ ให้ละเลิกเพิกเฉย ต่อสิ่งที่จะนำพาชีวิตให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม เสมอ





ภาพที่ 5 เขาจับโคและฝึกให้โคเชื่องหายพยศได้สำเร็จจึงจูงโคนำกลับไปเปรียบเหมือน บุคคลที่ฝึกฝนตน จนบรรลุจุดมุ่งหมายได้บ้างแล้ว ได้รับความสุขความสำเร็จในชีวิต บ้างแล้ว แต่ยังต้องประคับประคองตนอยู่ ชีวิตจะยังประสบความทุกข์อยู่ จากอุปสรรคขัดข้องในหน้าที่การงาน แต่ก็มีความสุขมีความราบรืน เพราะเหตุแห่งความทุกข์ถูกกำจัดไปบ้างแล้วตามลำดับถ้าพูดในแง่ของสัจธรรม บุคคลในระดับนี้ เห็นความจริงของชีวิตได้ส่วนหนึ่งแล้วว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่ความยึดมันยังไม่หมดอย่างสิ้นเชิง มีตัวตนที่เบาบางลงแล้ว และไม่มีความสงสัยในสัจธรรม





ภาพที่ 6 โคหายพยศ ฝึกจนเชื่อง ชายหนุ่มสามารถนั่งเป่าขลุ่ยอย่างสบายอารมณ์บนหลังโค เปรียบเหมือน บุคคลที่ฝึกฝนตนจนบรรลุจุดมุ่งหมายต่างๆ ได้มากขึ้น และไม่ต้องเหนื่อยกับการฝึกฝนตนมากเหมือนเมื่อก่อน อุปาทานความยึดมั่นสำคัญผิดเหลืออยู่น้อยมาก ความยึดมั่นสำคัญผิดว่ามีตัวมีตนเบาบางลงมาก กิเลสซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์ความเร่าร้อนวุ่นวายต่างๆ น้อยลง




ภาพที่ 7 เขากลับถึงบ้าน หมดภาระที่ต้องฝึกโคแล้ว เปรียบเหมือน บุคคลที่แทบจะหมดภาระในการฝึกฝนตนแล้ว เกือบบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างสูงสุดในชีวิตแล้ว ความยึดมั่นในตัวตนเจือจางจนแทบมองไม่เห็น เป็นบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในความสุขความยินดี ในกามคุณห้า ไม่ว่าทาง รูป เสียง กลิ่น รส และ การกระทบสัมผัสทางกาย ก็ตาม เป็นเหมือนผู้หันหลังให้กับกามคุณอย่างสิ้นเชิง




ภาพที่ 8 ภาระหน้าที่หมดสิ้นแล้ว เหลือเพียงความว่างเปล่า ในภาพเหลือเพียงวงกลมที่ว่างเปล่า เปรียบเหมือน เป็นผู้เสร็จกิจหน้าที่ที่ต้องทำ สิ้นภาระส่วนตนแล้ว ไม่ต้องขวนขวายทำอะไรอีก เพราะความยึดมั่นในตัวตน ในกายในใจ ไม่เหลืออยู่แล้ว เป็นผู้จบกิจ บรรลุจุดมุ่งหมาย คือ ปรมัตถะประโยชน์ขั้นสูงสุด





ภาพที่ 9 ภาพต้นไม้ที่ผลิดอกออกใบ งอกงาม เมื่อไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตนเองอีกต่อไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นและเป็นไปในชีวิต คือ คุณธรรม ความเมตตา สติปัญญา จะงอกงามโดยส่วนเดียว เป็นผู้มีความสุข มีความเบิกบาน มีความสงบเย็นอย่างเต็มที่ เพราะหมดจดจากกิเลสเหตุแห่งความเศร้าหมองแล้วอย่างสิ้นเชิง ไม่มีความทุกข์ หรือความเร่าร้อนวุ่นวายใดๆ เข้าถึงใจได้อีกต่อไป




ภาพที่ 10 บุรุษเดินเที่ยวแจกตะเกียงแก่คนทั่วไป เปรียบเหมือน เมื่อบุคคลบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของตน ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความเมตตากรุณา และสติปัญญาที่มีอยู่ ก็จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเต็มที่ โดยจะเผยแผ่ บอกวิธีการแห่งการนำตนออกจากทุกข์ที่ตนทำได้สำเร็จแล้ว แก่ผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นบรรลุถึงความสุข ความเย็น ความเบิกบาน เหมือนเช่นตนเองบ้าง ในภาพเขากำลังเที่ยวแจกตะเกียง เพราะตะเกียง เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งปัญญา ในเมื่อเขาพ้นจากความมืด คือความไม่รู้ ซึ่งเป็นเหตุแห่งกองทุกข์ใหญ่ ด้วยปัญญาคือแสงสว่างแล้ว เขาจึงเที่ยวแจกปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดความมืด ให้พบกับแสงสว่าง และส่องทางไปสู่ความพ้นทุกข์


หมายเหตุ การแปลความหมายของภาพปริศนาธรรมนี้ อาจตีความหมาย หรือแปลความหมายได้หลากหลายนัยยะ ตามที่ได้อธิบายไปนี้ เป็นการอธิบายความหมายอย่างสูงสุด ถ้าจะเทียบเคียงในภาพ ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในครรลอง เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเหล่านี้ ถือว่าเป็นมาตรฐานของชาวพุทธทั่วไปได้แล้ว แม้จะยังไปไม่ถึงที่สุดคือ ภาพที่ 10 ก็ตาม ถ้าไม่มุ่งความหมายอย่างสูงสุด เป็นความหมายทั่วๆ ไป อาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า


ภาพที่ 1 ยังไม่รู้ว่าชีวิตมีเป้าหมายอะไร ภาพที่ 2 เริ่มแสวงหาเป้าหมาย ภาพที่ 3 รู้เป้าหมายในชีวิตแล้ว ภาพที่ 4 เริ่มลงมือเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ภาพที่ 5,6,7,8 การบรรลุเป้าหมายไปตามลำดับ ภาพที่ 9 เป้าหมายที่ได้บรรลุแล้ว เริ่มให้ผลเป็นความสุข เป็นลาภ ยศ ต่างๆ ภาพที่ 10 เมื่อได้บรรลุความสำเร็จส่วนตนได้แล้ว ก็เริ่มทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น มีความเสียสละส่วนเกินเพื่อส่วนรวม มีสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลรอบข้าง และสังคมโดยรวม


ทั้งนี้ เป้าหมายในชีวิต อาจจะไม่สูงเช่นการอธิบายข้างต้น แต่ก็อยู่ในครรลองแห่งธรรมะ ไม่เป็นเป้าหมายที่ไปถึงได้ด้วยการเบียดเบียนให้ผุ้อื่นเดือดร้อน และทำชีวิตของตนให้เร่าร้อน มุ่งที่เมื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย อันเป็นประโยชน์ส่วนตนบ้างแล้ว ก็ไม่ละเลยประโยชน์เพื่อส่วนรวม

 จาก https://www.siddharthaway.com/blank-1/2018/01/11/Zen-Meditation

อีกเวอร์ชั่น
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11504.0.html

เด๋วมา อัพเดทต่อ รอเดี๋ยว