ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 11:51:53 pm »

 :06: เวลาที่ผมตากฝนกลับมาผมจะอาบน้ำสระทันทีครับ
แล้วถ้ามีอาการไม่ดี จะทานยาพารากันไว้ก่อนเสมอ กลัวเป็นปอดบวมเหมือนกัน อิอิ

ขอบคุณครับพี่แทน :13:
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 08:05:26 pm »



ปอดบวมเป็นหนึ่งในโรคระบบทางเดินหายใจที่พบมากในช่วงหน้าฝน แต่ใครหลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงโรคธรรมดาโรคหนึ่งที่อยู่กับเรานาน แต่อันที่จริงแล้ว ปอดบวมถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยในช่วงฤดูฝนไปเป็นจำนวนมาก

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ประธานชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติในเด็กแห่งประเทศไทย บอกว่า สภาพอากาศชื้นและเย็น จะช่วยเอื้ออำนวยให้เชื้อโรคต่างๆ มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ที่สำคัญยังพบว่า โรคปอดบวมเป็นโรคที่คอยผสมโรง และฉวยโอกาสจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ เยื่อบุโพรงจมูกและลำคอ จะระคายเคืองและถูกทำลาย ทำให้เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว หลุดลงไปที่ปอด และอวัยวะสำคัญอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้อาการต่างๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า จนอาจจะทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคปอดบวม

เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสถือเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญเพราะนอกจากจะก่อให้ เกิดปอดบวมรุนแรงยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ  ที่สำคัญและก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงได้ เช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดและหูอักเสบ เป็นต้น

ผู้ที่มีโอกาส เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคปอดบวม

ได้แก่ เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แม้ว่าจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพดีก็ตาม และผู้สูงอายุ ทั้งนี้จะยิ่งเสี่ยงสูงขึ้น หากเป็นผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคปอด โรคเบาหวาน และโรคเลือดซิกเคิลเซลล์ และในกลุ่มเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ที่ตัดม้ามออก หรือม้ามทำงานไม่ปกติ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น

ในเด็กเล็กซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคปอดบวมนั้น พ่อแม่ควรเฝ้าระวังและป้องกันอย่างใกล้ชิด ด้วยการดูแลสุขภาพของลูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถบอกกล่าวอาการเจ็บป่วยได้ด้วยตนเอง และบางครั้งมีโอกาสมีปอดบวมแทรกซ้อนได้ อาการสำคัญคือ มีไข้ ไอมาก หายใจเร็วกว่าปกติ หอบหรือหายใจลำบากจนซี่โครงบุ๋ม ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกอาจเป็นปอดบวม ควรรีบพาไปพบแพทย์

การป้องกันคือ

 ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ล้างมือบ่อยๆ ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารก เช่น เด็กเล็กควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่ส่งผ่านไปลูกทางน้ำนม และการให้วัคซีน ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ หลายชนิด รวมถึงวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม-โรคไอพีดีและวัคซีนไข้หวัดใหญ่




http://variety.teenee.com/foodforbrain/29411.html