ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 04:32:17 pm »



จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะหายจาก
การที่เพ่งโทษผู้อื่นได้ขาด !!!

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร

 ผ.

จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะหายจากการที่เพ่งโทษผู้อื่นได้ขาด

เช่น ในเวลาที่เห็นคนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
ก็ทำใจให้ประกอบด้วยเมตตากรุณา
ใจที่เพ่งโทษอาจหายไปได้ชั่วคราว

แต่พอเมตตากรุณาเสื่อมลงไป
ใจชนิดนั้นอาจเกิดขึ้นได้อีก

ข้าพเจ้าไม่มีอุบายที่จะละได้
เพราะฉะนั้นจึงต้องหนีจากหมู่ขึ้นมาอยู่บนเขา
ขอท่านจงช่วยบอกอุบายให้ด้วย

 ฝ.

ว่า การเพ่งโทษคนอื่นนั้นสำคัญนัก
เพราะขาดเมตตากรุณา
เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตนแลคนอื่น

สมด้วยพระพุทธภาษิตว่า

ปรวชฺชนานุปสฺสิสฺส เมื่อบุคคลมักตามมองดูซึ่งโทษของผู้อื่น
นิจจํ อุชฺฌานสญฺญิฌน เป็นผู้มีความหมายจะยกโทษอยู่เป็นนิจ
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นแก่บุคคลนั้น
อาชา โส อาสวกฺขยา บุคคลนั้นเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ

เพราะฉะนั้นควรทำในใจให้แยกออกไป เป็นอริยสัจ ๔

ส่วนบุคคลนั้นต้องทำความเห็นว่า

เป็นขันธ์ ๕ หรืออายตนะ ๖ เป็นประเภททุกขสัจ
ความประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
ของบุคคลนั้นเป็นสมุทัย

เพราะเขาไม่ได้เจริญมรรค จึงไม่ถึงนิโรธ

เพราะฉะนั้น ถ้าจะไม่ชอบ หรือเพ่งโทษว่าไม่ดี
ต้องเพ่งส่วนสมุทัย

ส่วนคนนั้นเป็นขันธ์ ๕ หรืออายตนะ ๖ กลับจะน่าสงสาร

เพราะความทำผิดเช่นนั้นเป็นส่วนสมุทัย
ทำเพราะผู้ที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมีอริยสัจ ๒
ขันธ์ ๕ และอายตนะ ๖ นั้นเป็นทุกขสัจ
กิเลสความอยากนั้นเป็นสมุทัย
จึงได้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต วจิทุจริต มโนทุจริต

เหมือนทารกที่ไม่รู้จักไฟจงได้จับ เพราะไม่ทราบว่าร้อน
ส่วนผู้ใหญ่เขาไม่จับ เพราะเขาทราบว่าร้อน
ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติก็ฉันนั้น

 ผ.

ถามว่า ถ้าเช่นนั้น ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ
มีอริยสัจ ๒ คือทุกข์กับสมุทัย
เวลาที่เราเข้าไปเพ่งโทษ
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ของเราเป็นทุกขสัจ
การเพ่งโทษเขานั้นเป็นสมุทัย

เวลานั้นเรากับเขาก็ไม่แปลกอะไรกัน
เพราะมีแต่ทุกข์กับสมุทัยสองอย่างเท่านั้น

 ฝ.

รับว่า ถูกแล้ว ถ้าไม่ทำความเห็นให้เป็นอริยสัจ ๔
ก็ยากที่จะหายจากใจที่เพ่งโทษคนอื่น

 ผ.

ถามว่า ถ้าเช่นนั้น พระเสขบุคลทั้งหลาย
ผู้ทำกิจของอริยสัจ ๔
ท่านคงไม่มีความเพ่งโทษผู้อื่นกระมัง

 ฝ.

ตอบว่า แน่ทีเดียว ข้าพเจ้าเข้าใจว่า

พระเสขบุคคลทั้งหลายตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
ย่อมไม่เพ่งโทษคนอื่น จึงจะพ้นจากความเบียดเบียน

เพราะพ้นจากความเบียดเบียน
จงพ้นจากบาป จึงพ้นจากทุคติ

เพราะพ้นจากความทุคติ คือได้ทำกิจของอริยสัจ๔
ท่านจึงไม่มีความเพ่งโทษใครๆ
อาสวะทั้งหลายจึงไม่เจริญขึ้น

ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
จนเป็นพระอเสขบุคคล

   

(คัดลอกบางตอนมาจาก : สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ – ปฏิปัตติวิภัชน์
โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตใน“จิตตภาวนา มรดกล้ำค่า
ทางพุทธศาสนา : รวมพระธรรมเทศนาภาคปฏิบัติของพระสุปฏิปันโน”
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในโอกาสมหามงคลสมัย
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒,
รวบรวมโดย มูลนิธิหลวงปู่มั่น และชมรมคุณภาพชีวิต พิมพ์ครั้งที่ ๑,
๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเผยแพร่เป็น ธรรมทาน, หน้า หน้า ๒๔๗-๒๔๘)

   

(หมายเหตุ : สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ – ปฏิปัตติวิภัชน์
โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
เป็นมรดกธรรมขิ้นสุดท้ายที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ได้มอบให้แก่คณะศิษยานุศิษย์ไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ฉบับเดิมพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาได้จัดพิมพ์ครั้งแรก
โดยคณะอุบาสกอุบาสิกา
เพื่อแจกในงานถวายเพลิงศพของท่าน เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ เมื่อวานนี้, 03:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง.
ขอบพระคุณที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=34729
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 16, 2010, 11:44:54 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่น้ำฝน
ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: กันยายน 16, 2010, 02:46:29 am »

" ไม่ควรติเตียน" ..  :13:

๏ ยอดคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๏

 
 
 


ไม่ควรติเตียน
ยอดคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



“การตำหนิติเตียนผู้อื่น
ถึงเขาจะผิดจริง ก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง
ให้ขุ่นมัวไปด้วยการกล่าวโทษผู้อื่น
โดยขาดการไตร่ตรอง

เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์
จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน
งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย

ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงควรเห็นคุณค่าของผู้อื่น
ผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่
มีความพากเพียรแยกกิเลสให้หมดไป
จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียร ทั้งกลางวันและกลางคืน

ใครผิดถูกชั่วดีก็ตัวเขา
ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอมอย่าให้อกุศลวนมาตอม
ควรถึงพร้อมบุญกุศล ผลสบาย”


 



:13: ขอขอบพระคุณและร่วมอนุโมทนาที่มาของข้อมูลทั้งหมดจาก :

ศาลาธรรมดอทคอม
มาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ ..