ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 02:54:49 pm »

ปัจจุบันกระแสการบริโภคชาเขียวกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ทำให้มีการนำชาเขียวมาดัดแปลงเป็นสินค้าที่มีอยู่ตามท้องตลาดมากมายหลายชนิด ซึ่งส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากชาเขียวกลายเป็นสินค้าที่มียอดขายสูง
       
       อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า แท้ที่จริงแล้ว การดื่มชาเขียวให้ถูกต้องและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น จะต้องดื่มให้ถูกวิธีจึงจะได้รับสารสำคัญต่างๆ ที่มีอยู่อย่างครบถ้วน ที่สำคัญคือ มีข้อมูลจากทางการแพทย์แผนจีนยืนยันด้วยว่า การดื่มจากขวดนั้นเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง
       
       มานพ เลิศสุทธิรักษ์ นายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การนำชาเขียวมาใช้ควบคู่กับพืชชนิดอื่น ๆ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ สำหรับวิธีการใช้มีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ
       
       1.การใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
       2.การใช้ชาเขียวกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด
       3.การใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด ช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม
       4.การใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้แห้งจะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด
       5.การใช้ชาเขียวร่วมกับคึ่นฉ่ายจะช่วยในการลดความดันโลหิต
       6.การใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
       7.การใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้วิงเวียนศีรษะ ตาลาย
       8.การใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะลดอาการบวมน้ำ ตกขาว และมดลูกอักเสบ
       9.การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง
       10.การใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น บำรุงหัวใจ แก้คอแห้ง
       11. การใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะบำรุงสมอง เสริมความจำ
       12. การใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง แสบคอ เสียงแหบ 13. การใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดอาการบวมน้ำ
       14. การใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการตับอักเสบ
       และ 15.การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝันเปียก และยับยั้งการหลั่งเร็ว
       
       นอกจากนี้ นายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทยยังบอกถึงคุณสมบัติหลักของชาเขียวด้วยว่า นอกจากสรรพคุณในเรื่องของการขับพิษ ขับปัสสาวะ ขับไขมันในเส้นเลือด ทำให้เย็น ชุ่มคอแล้ว รสขมอมหวาน หอม ในชาเขียวยังให้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค ทั้งยังช่วยผ่อนคลายอารมณ์ สงบประสาท ระบายความร้อนตื้อ จากศีรษะและเบ้าตา ช่วยให้สดชื่น ไม่ง่วงนอน ช่วยให้หายใจสดชื่น เจริญอาหาร แก้เมาเหล้า ทำให้สร่างเมา ขับปัสสาวะ ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต และสามารถขับเหงื่อ แก้หวัด
       
       ขณะเดียวกันชาเขียวยังช่วยแก้กระหาย ระบายร้อนจากระบบปอด ขับเสมหะ ขับไขมัน ลดความอ้วน แก้ร้อนใน ขับพิษตกค้าง บิด ท้องร่วง ท้องเสีย ช่วยทำให้ฟันแข็งแรงและที่ได้ผลดีคือสามารถเป็นยาอายุวัฒนะ
       
       อย่างไรก็ตาม นอกจากความมหัศจรรย์ของชาเขียวที่สามารถรักษาโรคภายในได้แล้วยังสามารถช่วยรักษาโรคภายนอกได้ด้วย เช่น พอกแผลอักเสบ พุพอง ฝีหนอง ไฟไหม้ ผื่นคัน ผิวร้อนแห้ง ช่วยให้ตาสว่าง เย็น ไม่อักเสบ สามารถดับกลิ่น เป็นยากันยุง และนำไปทำหมอนใบชาเพื่อลดอาการปวดหัวเวลานอนได้อีก
       
       ทั้งนี้ ชาที่ดีจะต้องมีรสขมอมหวานและมีกลิ่นหอม โดยในชาเขียวมีสารต่างๆ ที่อยู่ในใบชา 300-400 ชนิด แต่มีสารสำคัญอยู่ 6 ชนิด คือ 1.กาเฟอีนซึ่งช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ และสามารถขับปัสสาวะได้ดี 2.ทิโอฟิลีนช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยในการขับปัสสาวะ 3.ทิโอโบรมีนช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยในการขับปัสสาวะ 4.แทนนิน 5.มีวิตามินต่าง ๆ เช่น B1,B2,B3,B5, A,D,E,K, C และ 6.มีแร่ธาตุ,ไขมันและน้ำตาล
       
       นายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แม้ชาเขียวจะมีประโยชน์กับร่างกายมากมาย แต่ในความจริงก็มีสารที่มีโทษกับร่างกายด้วยเช่นกันโดยสามารถส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายมากนัก ส่วนมากจะเกิดกับคนที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง โดยเมื่อดื่มแล้วอาจมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ฟันดำ และหากดื่มอย่างต่อเนื่องอาจเป็นการเสพติดได้
       
       “สำหรับชาเขียวในที่นี้ ไม่ใช้เครื่องดื่มชาเขียวที่มีจำหน่ายเป็นขวดในท้องตลาด แต่เป็นชาเขียวที่ต้องเป็นชาที่ชงเองแต่อย่าชงทิ้งไว้ควรดื่มตอนร้อน ๆ และไม่ควรใส่น้ำตาลทรายขาวลงไปในการชงชาเพราะจะทำให้คุณสมบัติทางยาของชาเขียวหมดไป”มานพสรุปอย่างตรงไปตรงมา
       
       ดังนั้น จะเห็นได้ว่าชาเขียวสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรคแต่จะต้องกินให้ถูกวิธีและใช้ให้เหมาะสมกับร่างกาย จึงจะทำให้การดื่มชาเขียวเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะในการวิจัยผู้ดื่มชาเขียวเป็นประจำยังไม่พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ ได้รับโทษจากการดื่มชาเขียว แต่กลับกันกลุ่มคนเหล่านี้กับมีร่างกายที่แข็งแรง และยังมีภูมิคุ้มกันในการต้านโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แล้ววันนี้คุณดื่มชาเขียวแล้วหรือยัง

ที่มา thaifitway