ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 04:40:53 pm »


   นิวรณ์  ศัตรู หรือ ครูผู้สอนใจ
   หลวงพ่อชา สุภัทโท   
   
   หลวงพ่อท่านให้ภาวนาตั้งท่าทีทัศนะต่อนิวรณ์ที่กำลังรุมเร้ารบกวนจิตใจอยู่ว่า เป็นครูบาอาจารย์หรือเครื่องทดสอบสติปัญญาของตน มากกว่าที่จะมองเห็นนิวรณ์เป็นตัวศัตรูที่น่าเกลียด อันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดเป็น วิภวตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้ความไม่อยากให้นิวรณ์นั้นอยู่ในใจของตนทุกข์เพิ่มทวี อีกวิธีการหนึ่งที่หลวงพ่อสอนสำหรับแก้องค์นิวรณ์ คือคำว่า ไม่แน่
   
   เมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่ มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่เราชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมันไปเลยว่า อันนั้นมันไม่แน่ จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะ สับมันลงไป ไม่แน่ ไม่แน่ อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสับลงไป ไม่แน่ทั้งนั้นแหละ มันแน่ตรงที่ไหนล่ะ ถ้าเห็นว่ามันไม่แน่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ราคามันก็น้อยลง อารมณ์ทั้งหลายมันเป็นของที่ไม่มีราคาแล้ว ของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม
   เรื่อง การปฏิบัติต่อ นิวรณ์ จึงขึ้นกับ ทัศนะมุมมอง และ ท่าทีของการปฏิบัติต่อมัน
   
   ถ้า ปฏิบัติด้วยการรู้เท่าทัน เช่นที่ทรงแสดง ใน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ คือ

   รู้ชัดว่า มีหรือไม่มีอยู่ในจิต

   รู้ชัดว่า ที่มีนี้ มีเพราะเหตุใด

   รู้ชัดว่า ที่มันดับไป ดับด้วยเหตุใด

   รู้ชัดว่า ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด

   และ เห็นสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่อง"สักแต่ว่า" ที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
   
   ถ้าอยู่ในหลักการนี้ การปฏิบัติต่อจิต ไม่ว่าจะเป็นการอบรมจิตด้วยสมาธิภาวนาวิธีใดๆ ก็จะจัดเป็นฉันทะ เป็นเหตุแห่งความเจริญ และ ก็จะบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ทั้งสิ้น
   
   แต่ ถ้าปฏิบัติต่อจิต ด้วยการไปตั้งหน้าตั้งตารังเกียจนิวรณ์ เห็นนิวรณ์เป็นศัตรูที่จะต้องกำจัด จนกลายเป็นการปฏิบัติต่อนิวรณ์ด้วยวิภวตัณหา(อยากให้ไม่เกิด หรือ ไม่อยากให้เกิด) ก็จะกลายเป็นความเครียด และ ทุกข์ เมื่อจิตมีนิวรณ์เข้า
   
   การฝึกจิต อบรมจิต ด้วยกรรมฐานต่างๆ ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร

   เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง
   
   การฝึกจิต ไม่ใช่เป็นการทำจิตที่เป็นอนัตตา(บังคับไม่ได้) ให้กลายเป็นจิตที่เป็นอัตตา(บังคับได้)
   
   การฝึกจิต ไม่ใช่การสั่งจิตว่า "จงสงบเดี๋ยวนี้ จงหายโกรธเดี๋ยวนี้ จงสงัดจากกามเดี๋ยวนี้" โดย ไม่ประกอบเหตุอันควร ....ซึ่ง นั่นคือ การบังคับจิต และ เป็นสิ่งที่ไม่ถูก
   
   แต่ การฝึกจิต คือ "การประกอบเหตุที่จะเป็นเหตุนำจิตไปสู่ความสงบ ที่จะนำจิตไปสู่ความมีเมตตา ที่จะนำจิตไปสู่ความจางคลายจากราคะ " แล้ว ปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่ผล ....เป็นกุศโลบายที่พระพุทธองค์ท่านประทานไว้ให้แก่ผู้เดินตามที่มีจริตนิสัยบางประเภท สำหรับอบรมจิต