ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 10:15:09 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่มด อนุโมทนาสาธุครับผม
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:24:43 pm »





ผมไปได้ ๓ คำนี้ มาจาก หมอแผนโบราณ

คือ  รู้ปกติ   คือ รู้ว่าร่างกายยามปกติ ทำงานอย่างไร

รู้ผิดปกติ  คือ เมื่อผิดปกติ  เป็นอย่างไร

จากนั้น รู้บำบัด ฟื้นฟู แก้ไข และ ป้องกัน

จาก ๓ คำนี้   ผมเอา เทียบกับ การฝึกจิต

  เช่น

จิตปกติ จิตเป็นกลาง ลมหายใจเป็นอย่างไร  กายเป็นอย่างไร  กล้ามเนื้อผ่อนคลายไหม
จิตผิดปกติ  เป็นกุศล อกุศล   ลมหายใจเป็นอย่างไร  เรากลั้นใจไหม  ลมหายใจถี่หรือแรงขึ้นไหม   กล้ามเนื้อเกร็งตึงไหม
เมื่อจิตผิดปกติ  เป็นจิตอกุศล เราก็ ข่ม ดับ ระงับ  ความคิดอันสืบเนื่องมาจากจิตอกุศลนั้น   ไม่ลำเอียง ไม่เพ่งโทษ ไม่ผลักไส ไม่หวงแหน
การจะดูจิตได้นั้น

(ก) พื้นฐานสมาธิต้องดีในระดับหนึ่ง  มิฉะนั้นจะดูไม่ทัน

(ข) แยกแยะได้แล้วว่า จิตปกติ เป็นยังไง ผิดปกติเป็นยังไง

(ค) จับอาการได้ออกว่า เนี่ยคือ จิตไปส่งอิทธิผลต่อความคิด  และ เนี่ย คือ ความคิดที่เข้าไปทำให้จิตเกิดอาการ    ถ้าไม่มีทักษา  แยกไม่ได้ว่าอะไรคือจิต อะไรคือความคิด ก็จะหลอกตนเองว่า กำลังดูจิตอยู่   แต่ จริงๆ กลายเป็น คิดเองเออเอง 

(ค) จิตเป็นอกุศลให้ดับระงับ  อย่าไปตามดู  เพราะ การตามดูนั้น  อาจจะเคยตัว ทำให้กิเลสกำเริบได้  และ หลายท่าน  ยังแยกจิตกับความคิดไม่ได้  มักจะ เอาความคิด ไปคิดเอง เออเองว่าฉันดูจิต  (หลงไปใช้ฐานคิด)

เมื่อดูจิตบ่อยๆ  กำลังสติก็จะมากขึ้น

การดูจิตได้ต่อเนื่อง ก็ต้องมีสมาธิ (ไม่เผลอ ไม่ลืม) ในการดูจิต  จนในที่สุด จิตเป็นสมาธิ (ไม่วอกแวก ไม่โดนอิทธิพลจากความคิด  ไม่ไหลไปกับกิเลส ไม่อินอะไรง่ายๆ)

ถ้านั่งสมาธิ  เอาดูแต่ ลมหายใจ คือ มีสมาธิในการดูลมหายใจ    เป็นสมถะ   พอสมถะชำนาญแล้ว  ก็หัน มามี สมาธิในรู้เท่าทัน ความคิด รู้เท่าทันจิต  รู้เท่าทันเวทนา  รู้เท่าทันอาการของกาย ของลมหายใจ

ถ้าเอาแต่ดูลมหายใจอย่างเดียว  จนจมลึก จะกลายเป็น สมาธิหัวตอ (ไม่มีปัญญา)

ลองนั่งสมาธิ  จนดูลมหายใจให้ได้นานๆ ไม่เผลอ ---> แล้วลองหัด พัฒนาขึ้นไป  ตามดูความคิด ตามดูจิต ตามดูเวทนา   แล้ว ชำเลือง สำเหนียก (ดูลมหายใจไปด้วย และ ดูจิต ดูความคิดไปด้วย)    สังเกต ความเป็นปกติของจิต ของลมหายใจ     สังเกต ความผิดปกติของลมหายใจ ความคิด และ จิตใจ     รวมทั้ง หัด ดีด ข่ม ละ ความคิดอกุศลออกไป   ดับจิตที่เป็นอกุศลออกไป   ถ้าเป็นกุศล ก็รู้เฉยๆ    อย่าไปอิน    กลับมารักษาความเป็นกลางของจิต    ความคิดแบบปัญญาจะไหลออกมาเองเมื่อจิตปกติ ว่างๆ โล่งๆ ไม่มีอคติ ไม่มีลำเอียง

ในวง Dialogue  ใช้  "สติ" ในการดูจิต  จะทำให้  การสนทนา ไหล (Flow)  เกิดปัญญามากมาย

ถ้าไม่มีสติ  อาจจะ อิน   จนร้องไห้กระจองงอแงแบบขาดสติ   หรือ  รักแต่คนในวง ฯ ไม่รักคนอื่น  หรือ ติดใจ วันๆ เอาแต่ Dialogue ไม่ทำงานทำการ  หรือ เกิดอคติว่า "ใครไม่เข้า วง Dialogue เป็นคนโง่"  หรือ ยกตนข่มท่าน ว่าฉันเนี่ย เก่ง Dialogue  ฉันเก่งกว่าใคร ฯลฯ นี่แหละหลง   ทำ Dialogue ด้วยฐานคิดอย่างเดียว  ขาดสติ 

กลายเป็น Dialogue แบบนินทา  หรือ วง ฯ "พูดในสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้"


http://gotoknow.org/blog/ariyachon/297970