ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 10:15:56 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่มด อนุโมทนาสาธุครับผม
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:35:53 pm »




ฝึกดูจิต ด้วยการเขียนบันทึก


ประโยชน์ของการบันทึก

๑)  ดูความคิดได้ชัดครับ เป็นวิปัสสนาญาณ     ตอนที่เราเขียน  เราจะเห็น ความคิดหลัก ความคิดจร(แทรก) ชัดเจน   ความคิดป่วน ตีกัน   ฯลฯ

(ทักษะเบื้องต้นของวิปัสสนา คือ  แยกเแยะให้เห็นว่า จิต กับ ความคิด เป็นคนละตัวกัน ...  จิตไม่สงบ อย่าเพิ่งเขียน หายใจลึกๆ  สลัดอารมณ์ร้่ายๆ ออกไปก่อน  พอจิตสงบ สบายๆ โปร่งๆ  ก็ เขียนได้ คิดได้

จิง -> ชี่ -> เสิน =  คิดลงสู่ใจ --> ไหล -->  เป็นปัญญาญาณ

นี่แหละ คือ  การเขียนไปด้วย ฝึกธรรมะไปด้วย

การดูจิต เป็นการ dialogue กับตนเอง ...เห็นตัวดี ตัวร้าย ตัวเฉย ตัวปกติ ในกายในใจของเรา )

เมื่อดูความคิด  ก็ขอให้ ชะแว่บ  ชำเหลือง เหลือบ สำเหนียก  สังเกต  จิตของเราด้วย (ดูอารมณ์ก็ยังดี)   ดูการเปลี่ยนแปลงของกายอันเนื่องมาจากจิตเกิดอาการ

จะเห็นตัวโลภ  อยาก จะเขียนโน้น เขียนนี่ จนเปรอะ

จะเห็น พวกอินทรี เมาน้ำลายความคิดตนเอง  เขียนไปเรื่อยๆ จนเบลอ  ( ควรใช้ mindmap ประคอง บังคับทิศทางการเขียน)  และ หลงทาง  จนสุดท้าย จะบอกว่า  อัดเทป แล้วแกะออกมาดีกว่า   ... แกะออกมาก็ เบลอครับ  นี่แหละ อินทรีจอมฟุ้งซ่าน

พวกหนู  ห่วงกิน ห่วงคนข้างๆ  จน ผลัดวันประกันพรุ่ง  เขียนไม่ได้สักที  เริ่มไปได้นิด ก็วอกแวก สมาธิสั้น   และ ก็คิดว่า   "พูดเล่าเอาดีกว่า อย่าเขียนเลย" ... นี่แหละ  หนูจอมตะกละ  ติดสุข

พวกหมี   กว่าจะเริ่มเขียน  ก็จะรอให้ทุกอย่างครบ  ยิ่งเขียนยิ่งผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะ ไม่สมบูรณ์  ไม่ perfect ฉันไม่เขียน    กลัวผิด กลัวพลาด กลัวไม่ละเอียดพอ   กลัวหลุดขั้นตอน ฯลฯ   และก็คิด "เขียนได้ไม่ดี  ไม่เขียนดีกว่า"

พวกกระทิง    จะไม่เขียน ก็เพราะ เอาแต่ ทำๆๆๆ  ไม่ชอบเขียน   เขียนไปโกรธไป  แค้นไป   เขียนแบบเข้าข้างตนเอง    นั่งเขียนนานๆไม่ได้  มีเป้าหมายอื่นที่สำคัญกว่ามาแทรกจนเห็น การเขียนเป็นเรื่องไม่สำคัญ

การฝึกฝืนๆๆๆๆ   เป็น ทักษะของการวิปัสสนา

๒)  ทำให้เราเกิดจิตอาสา    เพราะคนเขียนบันทึก   จะนึกว่า วันนี้ เอาอะไรไปให้คนอื่นดีนะ  มีเรื่องอะไรดีๆ  ไปฝากพวกเขานะ  เมื่อ มีจิตใจจะให้   ก็จะเกิดการสังเกต

สังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวได้แล้ว  ก็จะย้อนไป ข้อ (๑) คือ สังเกต  ตนเอง

๓) ทำให้เรา  รู้จัก การเรียงประโยค    เมื่อเรียงได้แล้ว  เราก็จะมี ทักษะ การพูด  ที่ดีขึ้น

ลอง เขียนดูสิ    ใหม่ๆ ก็เขียนมั่วๆไป  อย่าไปเกร็ง

พอเกิด นิวรณ์ (สงสัย เบื่อหน่าย เครียด ฯลฯ)  ก็ดีดออกไป   ฝึกจิตไปด้วย เขียนไปด้วย

อย่าไปคิดอนาคต เช่น  คนอ่านจะว่าไม่ดี

อย่าไปคิดอดีต   เช่น  ไปนึกถึง สำนวนหรูๆ  แล้วอยากจะเขียนแบบนั้น .... ผมบอกได้เลยว่า  อย่าไปคิดเลียนแบบใคร   เขียนเหมือนคุยกัน

อย่ายกมือ  หากคิดไม่ออก  ก็  จุด ๆๆๆ (......) อย่างที่ผมทำให้ดูนี่แหละ

ใช้ รูปภาพ  แล้วเขียนอธิบายภาพ   อย่างที่ผมทำให้ดู   ก็ถือว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

๔) จดเพื่อกันลืม

**************

จงเขียนแล้วโพสต์  ให้ได้ ๒๑ วัน ต่อเนื่อง    เราจะได้ทักษะนักเขียน  นักสังเกต นักให้ และ นักดูจิต

เขียนแล้วไม่โพสต์  แสดงว่า ยังมี fear แบบหนูอยู่

กระทิง ใจกล้า  เขียนโพสต์เลย  ผิดถูก  ชั่ง potato เลย

อินทรี อย่าร่อนมาก เขียนๆลงมาก่อน   ฟุ้งก็ช่างมัน  วันหลังค่อยๆแก้

หมี อย่ารอ prefect เลย   ชาติหน้าบ่ายๆโน้น    ไม่มีนักเขียนไหนรอสมบูรณ์แล้วเขียนหรอก    ใหม่ๆ ก็มั่วๆ   ทำ ซ้ำๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ก็จะสมบูรณ์เอง


http://gotoknow.org/blog/ariyachon/243619