ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 10:34:30 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 09:55:05 pm »


           นาวัง เคช็อค เคยมาสัมนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่เมืองไทยหลายครั้ง
จากการเชิญขงสมาคม องค์กรพุทธศาสนาต่างๆในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับเชิญ
จากอาจารย์ ส.ศิวรักษ์ มาบรรยาย พุทธศาสนานิกายวัชรยานเป็นส่วนมาก และก็เคยมา
แสดงเพลงขลุ่ยแห่งจอมยุทธ์จากดินแดนลี้ลับในอดีต ในมหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติ
และชีวิต (คอนเสริต์เขาใหญ่) ด้วย นาวัง หวังเพื่อสันติภาพในใจมนุษย์ชาติ ตามแนวทาง
พุทธศาสนา และการคงอยู่ของจิตวิญญาณทิเบต ต่อไป บทเพลงแต่ละเพลงของนาวัง
เปรียบเสมือนบทกวี ใส่ทำนอง มีห้วงจังหวะ อารมณ์สะเทือนใจ ตลอดเวลา บทเพลง
ซึ่งไม่มีเนื้อร้อง คือ เสียงแห่งบทกวีอันไร้ตัวตนฉันนั้น

                                  " May Be All Kind To Each Other"
     
                                                                          Nawang Khechog



                                                                                              พีร์  ระพิชญ์
* ข้อมูลประมวล จาก หนังสือ "อิสระถาพจากการลี้ภัย" นิพนธ์ โดย องค์ทะไลลามะ
   
เว็บไซต์ ของนาวัง www.nawangkhechog.com/

ชมเพลงขลุ่ยของนาวัง

Nawang Khechog

http://www.oknation.net/blog/Ravi/2007/10/24/entry-1
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 09:53:34 pm »

ขลุ่ยของนาวัง
บทบรรเลง ขลุ่ยดิน ถิ่นทิเบต
ยามพลัดพราก ประเทศ เขตต์ขอบขัณฑ์
ขลุ่ยนาวัง พริ้วดัง กังวาลกรรณ
โดนทั่งจันทร์ ดารา พรากแผ่นดิน
๙๙๙๙๙



นาวัง เคช็อค ( Nawang Khechog ) ศิลปิน นักภาวนา นักศาสนา ฯลฯ ชาวทิเบต
ผู้ซึ่งพลัดพรากบ้านเกิดเมืองนอนในถิ่นทิเบต จากการรุกรานของจีนแผ่นดินใหญ่ ครั้งอดีต
สมัยเหมา เซ ตุง จีนเข้ายึดครองลาซา (เมืองหลวงทิเบต) และเข่นฆ่าผู้คน พระสงฆ์ ทิเบต
เป็นจำนวนมาก และกวาดต้อนผู้คนให้ต้องทิ้งแผ่นดิน ไปถิ่นอื่น ทั้งประเทศใกล้เคียง อินเดีย
พม่า และ ประเทศใกล้เคียง แม้กระทั่งองค์ทะไลลามะเองก็มิเว้น ต้องแอบหลบหนี โดยการ
ปลอมตัวเป็นผู้คนธรรมดา ออกมาจากแผ่นดินซึ่งเป็นที่รักของตนเอง



ทะไลลามะ พยายามเจรจาเพื่อขอดินแดนนี้คืน มาจากจีนหลายครั้งตั้งแต่ท่านยังเป็นหนุ่ม
ครั้งสมัย นายยาวหราหน์ เนรูห์ ผู้นำรัฐบาลอินเดียสมัยนั้น( บิดา นางอินทิรา คานธี)
ปกครองและเพิ่งประกาศอิสระภาพมาจากอังกฤษเจ้าอาณานิคมสมัยนั้น นำโดย มหาตมะ คาธี
แต่การเจรจากับจีนทุกสมัย ไม่เคยประสบความสเร็จเนื่องจากจีนเบี่ยงเบนประเด็นตลอด
จนทำให้รับบาลจีน กับ อินเดียสมัยนั้นเริ่มผิดใจกัน


นาวัง เคช๊อค คือ หนึ่งในผู้หลบหนีออกมาจากดินแดนซึ่งตนคุ้นเคย มายังประเทศอินเดีย
นาวังเริ่มฝึกหัดขลุ่ยไม้ไผ่ และบวชเรียนอยู่ 11 ปี ปลีกวิเวก ถึง 4 ปี และเฝ้าภาวนาต่อมาเรื่อยๆ
เพื่อความสันติสุขแก่แผ่นดินและมนุษย์ ตามคำบัญชาขององค์ทะไลลามะ จวบจนปัจจุบันนาวัง
เป็นทั้งอาจารย์ ศิลปิน และนักศาสนา ในตำแหน่งอาจารย์ นาวัง สอนวิชาภาวนาตามแนวทาง
ทิเบต ที่มหาลัย นาโรปะ สหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากแนวความคิดของ เชอเกียม ตรุลปะ รินโปเช
ผู้เขียนหนังสือ Shambhala อันลือลั่น


นาวัง เคช็อค ยังเป็น เซียนขลุ่ย ใช้อุปกณ์ดนตรีประเภทจำพวกเป่า รูปทรงประหลาดๆ
ซึ่งเพลงที่นาวังบรรเลง ล้วนแต่ออกแนววิเวก นิ่ง อุปกรณ์ประกอบในดนตรีของเขาไม่มีอะไร
มากมาย แค่เครื่องเป่า ที่เขาถนัด กลองรูปแบบโบราณ ซึ่งนั่นเป็นเพลงจากดินแดนลี้ลับ
ซึ่งอยู่บนหลังคาโลกอย่างแท้จริง แปลก ฟังยาก เข้าถึงยาก แต่เขาบอกว่านั่นเป็นหนทาง
หนึ่งในการเข้าถึงพุทธะ ของชนชาวทิเบต จอมยุทย์จากดินแดนขุนเขาทะลุเมฆนี้ สามารถ
สร้างความประหลาดใจแก่ชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภาวะภายใน การ
ภาวนาอย่างเข้าถึง จนทำให้ชาวตะวันตกสนใจในศาสตร์แห่งทิเบตย่างมากมายในปัจจุบัน