ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:20:28 am »

 :45: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 03:48:07 pm »


 
 
  ปุจฉา
        ติดใจการตอบข้อปุจฉาของหลวงปู่ ที่ชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นอีก ด้วยมุมมองของผู้มีปัญญา จึงขอโอกาสเข้ามาร่วมถามต่อจากคราวก่อน ที่พูดถึงเรื่องอโคจรไปแล้วในส่วนของโคจรละครับ มันเป็นไฉน ขอหลวงปู่เมตตาตอบ
       
       วิสัชชนา
        ขอยกเอาเรื่อง"โคจร" สถานที่ที่พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้ไปได้มาเสนออย่างที่ถามว่า โคจรเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ควรเข้าใกล้หญิงเเพศยา(หญิงขายตัว) หญิงหม้าย สาวทึนทึก ภิกษุณี กะเทย และร้านสุรา ไม่ควรคลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกข้าราชบริพาร พวกนอกศาสนา แม้พวกคฤหัสที่เขาไม่ศรัทธา แม้ศรัทธาภิกษุนั้นก็มิควรสนิทสนมมากจนเกินงาม
       
        อีกอย่างหนึ่ง เวลาภิกษุเดินไปตามถนนสู่ละแวกบ้าน ต้องเป็นผู้สำรวมกาย วาจา ตา ใจ ไม่หลุกหลิกล่อกแล่ก รุ่มร่าม
       
        อีกอย่าง แม้ภิกษุได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ได้สัมผัส และได้ดมกลิ่นก็ดี ที่ไม่ผิดในธรรมวินัย ต้องไม่ยึดถือสิ่งนั้น ๆ เป็นใหญ่ เช่นนี้ก็ชื่อว่าโคจร
       
        อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า ผู้มีโคจร
       
        สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาเธอ อันเป็นโคจร มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ก็แลที่ที่เป็นแดนของบิดาเธอนั้น ได้แก่ มหาสติปัฏฐาน 4 อันมี
       
        กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือมีสติพิจารณาภายในกาย
        เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติพิจารณาเวทนาคือความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ
        จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติพิจารณาอยู่เฉพาะในจิต ให้รู้ว่ามีอารมณ์อะไรมาเกาะกุมปรุงแต่ง
        ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติพิจารณาในหัวข้อธรรมต่างๆ เป็นอารมณ์
       
        เหล่านี้ชื่อว่าโคจร เป็นแดนแห่งบิดาเรา มารจักมิอาจกรายกล้ำเข้ามาทำร้าย
       
        จบเรื่องโคจร คือที่ที่ควรไป กิริยาที่ควรทำ ธรรมที่ควรน้อมนำมาใส่ตัว แม้บุคคลที่ควรเข้าใกล้แต่พองาม ทั้งหมดนี้เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้ชาวบ้านเขามองว่า ภิกษุงาม นักบวชดี สมณสงบ พระประเสริฐ ครับท่าน
       
        ไหน ๆ ก็ตอบเรื่อง โคจรแล้ว ยังมีหน้ากระดาษเหลือ ขอแถมด้วยศีลและวัตร
       
        พระมหาเถระรูปหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ศีลและวัตรเป็นอย่างไร
       
        พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้น้อยนิด ศึกษาในพระวินัยทั้งหลายแล้วสำรวมในปาฏิโมกข์ สำรวมในศีล ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มรรยาทดีงาม และโคจรที่อันควร เช่นนี้ชื่อว่า ศีล
       
        ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ สมาทานความเพียรปฏิบัติบำเพ็ญในสมถะและวิปัสสนา เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า วัตร

       
        แม้สมาทานปฏิบัติในหลักของธุดงค์
        อารัญญิกังคธุดงค์ คืออยู่ป่า
        ปิณฑปาติกังคธุดงค์ เที่ยวบิณฑบาต
        ปังสุกูลิกังคธุดงค์ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
        เตจีวริกังคธุดงค์ ใช้ผ้า 3 ผืน
        สปทานจาริกังคธุดงค์ เดินบิณฑบาตเป็นแถว
        ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ไม่รับลาภหรืออาหารที่นอกเหนือจากของบิณฑบาต
        เนสัชชิกังคธุดงค์ ถืออิริยาบถ 3 คือ นั่ง ยืน เดิน ไม่นอน
        ยถาสันถติกังคธุดงค์ มีที่อยู่ตามมีตามได้หรือสุดแต่เขาจัดให้ ไม่ขวยขวายให้มากขึ้นกว่านั้น
        แม้ข้อธุดงค์ทั้งแปดนี้ก็จัดว่าเป็นวัตร...
        จบศีลและวัตร
       
        ปีใหม่นี้ ่ขอให้ท่านทั้งหลายได้ลองทบทวนเรื่องราวและสิ่งที่ผ่านเข้ามา แล้วออกไปจากชีวิตท่าน ว่าแต่ละนาที ชั่วโมง วัน เดือน และก็ปี กำไรหรือขาดทุน แต่มิได้หมายถึงกำไรตัวเลข ขาดทุนตัวเลขนะ หมายถึงอารมณ์ท่านต่างหากเล่า ว่าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อาตมาเคยไปบรรยายให้นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ปี 4มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ฟังว่า จักมีประโยชน์อะไร หากเรากำไรตัวเลข แล้วต้องมาทนทุกข์ทรมานนั่งขาดทุนอารมณ์อยู่ทุกวันเวลา ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง
       
        ปีใหม่นี้ไม่อวยพรกันละ แต่อยากจะบอกว่า "ทำดี พูดดี คิดดี ดีกว่าพรใดๆ ในโลก"

http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9470000103185