ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:28:22 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 04:13:35 pm »



 

ปุจฉา
       ว่าด้วยเรื่องโคจร
        มีแต่คนปุจฉาถามโน้นถามนี่หลวงปู่กันไม่ว่างเว้น ล้วนเป็นเรื่องของตัวไม่ค่อยเป็นเรื่องของพระ วันนี้ขอถามเรื่องข้อวัตรเกี่ยวกับพระบ้างครับ เพราะเดี๋ยวนี้พระกับคนปนๆ กันชอบกลพร้อมขอพรจากหลวงปู่ด้วยครับ
       
       วิสัชนา
        เอาเป็นว่า ว่าด้วยเรื่อง "โคจร" สถานที่ที่พระพุทธ-เจ้าท่านอนุญาตให้ไปได้ ก่อนก็แล้วกัน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ควรเข้าใกล้หญิงเเพศยา (หญิงขายตัว) หญิงหม้าย สาวทึนทึก ภิกษุณี กะเทย และร้านสุรา ไม่ควรคลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกข้าราชบริพาร พวกนอกศาสนา แม้พวกคฤหัสที่เขาไม่ศรัทธา แม้ศรัทธาภิกษุนั้นก็มิควรสนิทสนมมากจนเกินงาม
       
        อีกอย่างหนึ่ง เวลาภิกษุเดินไปตามถนนสู่ละแวกบ้านต้องเป็นผู้สำรวมกาย วาจา ตา ใจ ไม่หลุกหลิกลอกแลกรุ่มร่าม
       
        อีกอย่าง แม้ภิกษุได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ได้สัมผัสและได้ดมกลิ่นก็ดี ที่ไม่ผิดในธรรมวินัยต้องไม่ยึดถือสิ่งนั้นๆ เป็นใหญ่ เช่นนี้ก็ชื่อว่าโคจร
       
        อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศลเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า ผู้มีโคจร
       
        สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาเธอ อันเป็นโคจร มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ก็แลที่ที่เป็นแดนของบิดาเธอนั้น ได้แก่ มหาสติปัฏฐาน 4 อันมี
       
        กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือมีสติพิจารณาภาย ในกาย
       
        เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติพิจารณาเวทนาคือความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ
       
        จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติพิจารณาอยู่เฉพาะในจิต ให้รู้ว่ามีอารมณ์อะไรมาเกาะกุมปรุงแต่ง
       
        ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติพิจารณาในหัวข้อธรรมต่างๆ เป็นอารมณ์
       
        เหล่านี้ชื่อว่าโคจร เป็นแดนแห่งบิดาเรา มารจักมิอาจกรายกล้ำเข้ามาทำร้าย
       
        จบเรื่องโคจร คือที่ที่ควรไป กิริยาที่ควรทำธรรมที่ควรน้อมนำมาใส่ตัว แม้บุคคลที่ควรเข้าใกล้แต่พองาม ทั้งหมดนี้เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้ชาวบ้านเขามองว่า ภิกษุงาม นักบวชดี สมณสงบ พระประเสริฐ ครับ
       
        ไหนๆ ก็เขียนถามกันถึงเรื่องโคจรแล้ว ยังมีหน้ากระดาษเหลือ ขอแถมด้วย ศีล และ วัตร
       
        พระมหาเถระรูปหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ศีลและวัตรเป็นอย่างไร
       
        พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้น้อยนิด ศึกษาในพระวินัยทั้งหลายแล้วสำรวมในปาฏิโมกข์ สำรวมในศีลถึงพร้อมด้วยอาจาระ มรรยาทดีงาม และโคจรที่อันควรเช่นนี้ชื่อว่า ศีล
       
        ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ สมาทานความเพียรปฏิบัติบำเพ็ญในสมถะและวิปัสสนาเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า วัตร</B>
       
        แม้สมาทานปฏิบัติในหลักของธุดงค์
        อารัญญิกังคธุดงค์ คืออยู่ป่า
        ปิณฑปาติกังคธุดงค์ เที่ยวบิณฑบาต
        ปังสุกูลิกังคธุดงค์ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
        เตจีวริกังคธุดงค์ ใช้ผ้า 3 ผืน
        สปทานจาริกังคธุดงค์ เดินบิณฑบาตเป็นแถว
        ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ไม่รับลาภหรืออาหารที่นอกเหนือจากของบิณฑบาต
        เนสัชชิกังคธุดงค์ ถืออิริยาบถ 3 คือ นั่ง ยืน เดิน ไม่นอน
        ยถาสันถติกังคธุดงค์ มีที่อยู่ตามมีตามได้หรือสุดแต่เขาจัดให้ไม่ขวนขวายให้มากขึ้นกว่านั้น
        แม้ข้อธุดงค์ทั้งแปดนี้ก็จัดว่าเป็นวัตร...
       
       จบศีลและวัตร
        ก็ขอให้ลองทบทวนเรื่องราวและสิ่งที่ผ่านเข้ามาแล้วออกไปจากชีวิตท่านว่า แต่ละนาที ชั่วโมง วัน เดือน และก็ปี กำไรหรือขาดทุนที่เขียนมานี้มิได้หมายถึงกำไรตัวเลข ขาดทุนตัวเลขนะ แต่หมายถึงอารมณ์ท่านต่างหากเล่า ว่าท่านได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อย่างที่เคยไปบรรยายให้นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ปี 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ฟังว่า จักมีประโยชน์อะไร หากเรากำไรตัวเลข แล้วต้องมาทนทุกข์ทรมานนั่งขาดทุนอารมณ์อยู่ทุกวันเวลา ลองคิดกันดูนะ อยากจะบอกว่า "ทำดี พูดดี คิดดี ดีกว่าพรใดๆ ในโลก" สวัสดี


http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000018545